ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

วิธีดูสุริยุปราคาที่ถูกต้อง


ความรู้ทั่วไป เปิดอ่าน : 20,865 ครั้ง
วิธีดูสุริยุปราคาที่ถูกต้อง

Advertisement

สุริยุปราคาเป็นปรากฏการณ์ที่ห้ามดูด้วยตาเปล่า ต้องมีแว่นกรองแสงหรือแผ่นกรองแสงที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับส่องดูดวงอาทิตย์และอาจใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีแผ่นกรองแสงปิดบังหน้ากล้อง นอกจากนี้เรายังสามารถหลีกเลี่ยงอันตรายจากแสงอาทิตย์โดยสังเกตปรากฏการณ์ด้วยวิธีทางอ้อม เช่น ฉายภาพดวงอาทิตย์ผ่านกล้องโทรทรรศน์หรือกล้องสองตาลงบนฉากรับภาพ แล้วดูดวงอาทิตย์ที่ปรากฏบนฉาก ควรเฝ้าระวังอย่าให้เด็กหรือผู้ที่ไม่รู้มองเข้าไปในกล้อง


          วัสดุกรองแสงที่ไม่ปลอดภัยและควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ กระจกรมควัน แว่นกันแดด กระดาษห่อลูกอม แผ่นดิสเก็ตต์ ฟิล์มเอกซ์เรย์ ฟิล์มถ่ายรูป ฯลฯ อย่านำมาใช้ดูดวงอาทิตย์ แม้ว่าวัสดุเหล่านี้จะมีความสามารถในการกรองแสงย่านแสงขาว แต่รังสีอินฟราเรดสามารถทะลุผ่านได้และจะเป็นอันตรายต่อดวงตา

          สำหรับผู้ที่ไม่มีแผ่นกรองแสงหรือทัศนูปกรณ์อื่น อาจใช้วัสดุง่าย ๆ ในบ้านมาช่วยในการสังเกตสุริยุปราคาโดยใช้หลักการของกล้องรูเข็ม สิ่งที่ต้องมีคือกระจกเงาบานเล็ก กระดาษขนาดใหญ่กว่ากระจก มีดคัตเตอร์หรือกรรไกร และเทปกาว

          วิธีทำคือ นำกระดาษมาเจาะรูเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1 เซนติเมตร (อาจใช้มีดกรีดโดยตรงหรือพับกระดาษแล้วใช้กรรไกรตัด) จากนั้นนำไปประกบกับบานกระจกด้วยเทปกาว เวลาใช้งานให้นำกระจกเงาดังกล่าวไปสะท้อนแสงอาทิตย์ให้แสงตกบนผนังสีอ่อนหรือฉากรับภาพสีขาวที่อยู่ภายในบ้าน ภาพที่เห็นบนฉากจะเป็นดวงกลมซึ่งเป็นภาพสะท้อนของดวงอาทิตย์

                   

          เมื่อเกิดสุริยุปราคา ดวงกลมที่เห็นบนฉากจะแหว่งตามลักษณะดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า ขนาดของดวงอาทิตย์บนฉากแปรผันตามระยะห่างระหว่างกระจกกับฉากรับภาพ โดยที่ระยะหนึ่งเมตรจะได้ภาพดวงอาทิตย์ขนาดประมาณ 9 มิลลิเมตร ดังนั้นที่ระยะห่าง 10 เมตร จะได้ภาพดวงอาทิตย์ขนาด 9 เซนติเมตร วิธีนี้ทำให้เราสามารถสังเกตสุริยุปราคาได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นอันตรายต่อดวงตา แต่พึงระวังอย่าให้ใครที่เดินผ่านไปมามีโอกาสหันมามองแสงอาทิตย์ที่สะท้อนออกมาจากกระจก

Õ อันตรายจากแสงอาทิตย์  Õ

          สุริยุปราคาเป็นปรากฏการณ์ที่เปิดโอกาสให้เราได้ศึกษาและทำความรู้จักกับธรรมชาติของดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ อย่างไรก็ตามการดูดวงอาทิตย์ด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้องทำให้เกิดอันตรายได้ เพราะรังสีจากดวงอาทิตย์สามารถทำลายเนื้อเยื่อและเซลล์ของจอตาทำให้ตาบอด เร่งการเสื่อมสภาพของกระจกตา และเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคต้อกระจก

          หากจ้องดูดวงอาทิตย์โดยปราศจากสิ่งป้องกัน แสงอาทิตย์จะไปรวมกันที่จอตา ทำลายเซลล์จนทำให้เกิดอาการตาบอดชั่วคราวหรือถาวรได้ ที่สำคัญกว่านั้น คือ ขณะที่จอตาถูกแสงอาทิตย์เผาเราไม่สามารถรับรู้ได้ เพราะในนั้นไม่มีเซลล์ประสาทสำหรับรับความรู้สึก ดังนั้นทุกคนจึงควรตระหนักว่าการสังเกตสุริยุปราคาที่ถูกต้อง คือ อย่าดูดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่า วิธีที่ปลอดภัยที่สุดคือดูจากภาพสะท้อนบนฉากที่ฉายออกมาจากอุปกรณ์

ภาพและข้อมูลจาก
http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/eclipses/200703pse.html


วิธีดูสุริยุปราคาที่ถูกต้อง

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

8 วิธีกำจัดขาโต๊ะสนุ้ก

8 วิธีกำจัดขาโต๊ะสนุ้ก


เปิดอ่าน 10,621 ครั้ง
สมุนไพรน่ารู้

สมุนไพรน่ารู้


เปิดอ่าน 15,764 ครั้ง
สมจิตร จงจอหอ

สมจิตร จงจอหอ


เปิดอ่าน 21,750 ครั้ง
มหัศจรรย์อาหารไทย

มหัศจรรย์อาหารไทย


เปิดอ่าน 8,956 ครั้ง
ประกาศสงกรานต์ ปี ๒๕๕๒

ประกาศสงกรานต์ ปี ๒๕๕๒


เปิดอ่าน 9,792 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เลี้ยงปลามงคลเสริมโชคลาภ

เลี้ยงปลามงคลเสริมโชคลาภ

เปิดอ่าน 21,684 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ทำไมเวลาเกา จึงหายคัน
ทำไมเวลาเกา จึงหายคัน
เปิดอ่าน 15,740 ☕ คลิกอ่านเลย

ตกแต่งห้องให้ดูกว้างขึ้น
ตกแต่งห้องให้ดูกว้างขึ้น
เปิดอ่าน 15,193 ☕ คลิกอ่านเลย

สมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน
สมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน
เปิดอ่าน 27,036 ☕ คลิกอ่านเลย

สุดยอดสมุนไพร"รางจืด"ราชายาแก้สารพัดพิษ ต้านมะเร็ง ช่วยลด-เลิก"ยาบ้า"
สุดยอดสมุนไพร"รางจืด"ราชายาแก้สารพัดพิษ ต้านมะเร็ง ช่วยลด-เลิก"ยาบ้า"
เปิดอ่าน 19,296 ☕ คลิกอ่านเลย

กำหนดมาตรฐานใหม่เครื่องชาร์จ ครอบจักรวาล ใช้ได้ทุกยี่ห้อ
กำหนดมาตรฐานใหม่เครื่องชาร์จ ครอบจักรวาล ใช้ได้ทุกยี่ห้อ
เปิดอ่าน 8,791 ☕ คลิกอ่านเลย

เลือดกำเดามาจากไหน?
เลือดกำเดามาจากไหน?
เปิดอ่าน 16,906 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

"ช้างน้าว" ยิ่ง "เหลือง"พรึ่บ!! เท่าไหร่ ยิ่งรวย..
"ช้างน้าว" ยิ่ง "เหลือง"พรึ่บ!! เท่าไหร่ ยิ่งรวย..
เปิดอ่าน 26,269 ครั้ง

เทคนิคการคูณเลข เมื่อไม่มีเครื่องคิดเลข
เทคนิคการคูณเลข เมื่อไม่มีเครื่องคิดเลข
เปิดอ่าน 15,752 ครั้ง

เคล็ดลับเพื่อผิวสวยใสของสาววัย 20+
เคล็ดลับเพื่อผิวสวยใสของสาววัย 20+
เปิดอ่าน 9,851 ครั้ง

งานหนักมาก เหนื่อย ทำอย่างไรดี
งานหนักมาก เหนื่อย ทำอย่างไรดี
เปิดอ่าน 9,995 ครั้ง

โซเชียลเน็ตเวิร์กทำครอบครัวร้าว
โซเชียลเน็ตเวิร์กทำครอบครัวร้าว
เปิดอ่าน 15,278 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ