ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวจากกระทรวงศึกษาธิการ  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

มอบนโยบายรอง ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ


ข่าวจากกระทรวงศึกษาธิการ 24 ส.ค. 2556 เวลา 13:37 น. เปิดอ่าน : 10,744 ครั้ง
มอบนโยบายรอง ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ

Advertisement

นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาการพัฒนาเครือข่ายร่วมพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับสมาคมนักพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหาร สพฐ. รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา 225 เขต นักวิชาการ และผู้เกี่ยวข้อง รวม 300 คน เข้าร่วมการประชุมสัมมนา เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2556 ที่ห้องประชุมบุณยเกตุ โดยให้แนวคิดและนโยบายในประเด็นต่างๆ ดังนี้

- การทดสอบ O-Net

ในระยะหลังได้มีการวัดการจัดการศึกษาด้วยการทดสอบ O-Net ซึ่งผลการสอบยังไม่เป็นที่พึงพอใจ เพราะมีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งบางพื้นที่ก็สามารถทำคะแนนสอบได้ดี แต่บางพื้นที่ที่มีปัญหา ก็พยายามแก้ไข รวมทั้งยังมีข้อถกเถียงว่า O-Net เป็นการทดสอบที่ตรงกับหลักสูตรหรือไม่ แต่ไม่มีใครหาสาเหตุว่า ทำไมเด็กจึงทำคะแนนไม่ได้ เป็นเพราะข้อสอบไม่ตรงกับที่เรียน หรือเด็กไม่สนใจสอบเพราะสอบตรงเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว หรือเด็กอ่อนจริงๆ จึงทำข้อสอบไม่ได้ ส่วนการทดสอบ National Test (NT) ผลล่าสุดพบว่า นักเรียน ป.3 ยังอ่อนในหลายวิชา โดยเฉพาะวิชาภาษาไทย

- การประเมินผลการทดสอบ PISA

ผลการทดสอบล่าสุด เด็กไทยอยู่ในอันดับ 50 ซึ่ง ศธ.ต้องการจะยกระดับอันดับให้สูงขึ้น จึงต้องขับเคลื่อนการศึกษาของประเทศ ซึ่งในบางประเทศก็ไม่ได้ให้ความสนใจ แต่พอเริ่มทำอย่างจริงจังในปีแรกก็สามารถติดอันดับ 1 ได้ เช่น ฟินแลนด์ ส่วนบางประเทศที่ให้ความสำคัญ มีการวางระบบที่ดี เมื่อวัดแล้วได้อันดับที่ดีก็มี ในส่วนของ ศธ. จะเลื่อนอันดับให้ได้ โดยประกาศเป็นเป้าหมายหลังจากการประกาศผลในเดือนธันวาคม 2556 อย่างไรก็ตาม การยกระดับการทดสอบ PISA เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษา ที่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมของนักเรียนตั้งแต่อายุ 13 ปี เพื่อวัดหรือทดสอบในขณะที่อายุ 15 ปี





- การจัดอาชีวศึกษา

ต้องการยกระดับคุณภาพของอาชีวศึกษา เพิ่มและขยายการพัฒนาและจัดการศึกษาร่วมกับเอกชนตลอดกระบวนการ ตั้งแต่การกำหนดคุณลักษณ์ หลักสูตร การเรียนระหว่างฝึกงานในสถานประกอบการ เพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีวะต่อสายสามัญเป็น 50 : 50 และเพิ่มรายได้สายอาชีพให้สูงขึ้น รวมทั้งให้มีรายได้มากกว่าผู้จบปริญญาทั่วไป

จึงขอให้ สพฐ.ช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้เด็กได้เรียนสายอาชีวะเพิ่มขึ้น ไม่ปิดโอกาสหรือดึงเด็กไว้เพื่อให้ได้รับเงินอุดหนุนรายหัว เพราะขณะนี้พบว่าตลาดแรงงาน โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ มีความต้องการแรงงานจำนวนมาก เพียงนิคมอุตสาหกรรมนิคมเดียวต้องการคนถึง 1 แสนคน และต้องการเพิ่มเป็น 5 แสนคนในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งปัจจุบันมีผู้จบชั้น ม.3 เป็นแรงงานในระบบแรงงานปีละ 1 แสนคนอยู่แล้ว แต่เป็นผู้ที่จบ ม.3 ที่ไม่ได้เรียนสายอาชีพ ศธ.จึงต้องการเพิ่มสัดส่วนของผู้เรียนอาชีวะให้มากๆ เพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาของประเทศ

- การปฏิรูปการเรียนรู้

ศธ.มีแนวคิดมุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยมีการทดสอบ ประเมินผลที่เชื่อถือได้ เป็นมาตรฐาน นำไปสู่การปฏิรูปการเรียนรู้ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะต้องมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน รวมทั้งเชื่อมโยงกับระบบทดสอบ ไม่ว่าจะเป็น O-Net หรือ NT หรือการสอบของโรงเรียน จะต้องไม่มีแนวคิดที่ว่า ไม่ตกไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีการประเมินครูที่ต้องพัฒนาให้เชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์ การเรียนการสอน การเกลี่ยครู เพื่อแก้ปัญหาครูขาดแคลน และการขาดครูที่สอนตรงกับวิชาเอก






- การจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา

ขอให้เขตพื้นที่การศึกษาบริหารจัดการในระดับเขตพื้นที่ ทั้งระบบการดูแลตำแหน่ง ความดีความชอบ ที่เชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา นำผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษามาวิเคราะห์เป็นรายโรงเรียน เพื่อให้ทราบถึงสภาพการจัดการศึกษาว่า โรงเรียนใดอ่อนหรือเก่ง โดยให้เชื่อมโยงไปถึงเรื่องครูด้วย เช่น บางเขตพื้นที่มีโรงเรียนประจำจังหวัด และนักเรียนสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้จำนวนมาก แต่ปล่อยให้โรงเรียนอีกกว่า 40% มีผลสัมฤทธิ์ต่ำ ซึ่งเป็นปัญหาที่จะต้องดูแลให้เกิดความเท่าเทียมกันมากขึ้น

- สนับสนุนอัตรากำลังแก่กลุ่มงานส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาเอกชน

ขอให้เขตพื้นที่การศึกษาสนับสนุนอัตรากำลังให้มีความสอดคล้องกับภารกิจในหน้าที่และเพียงพอกับจำนวนนักเรียนเอกชนและ กศน.ในพื้นที่นั้น

- ส่งเสริมการเรียนวิชาภาษาไทย

ได้รับเสียงสะท้อนจากครูและผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาหลายแห่งว่า เด็กไทยอ่อนภาษาไทย ซึ่งบางเขตพื้นที่ได้มีการสำรวจเด็กเหล่านี้ จากนั้นแยกออกมาเรียนรวมกัน โดยเน้นสอนวิชาภาษาไทยเป็นหลักอย่างเข้มข้น เมื่อสามารถแก้ไขได้แล้วก็จะส่งเด็กกลับห้องเรียนเดิม ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ ศธ.ได้ประชุมหารือเรื่องการเรียนการสอนภาษาไทยกับผู้บริหาร สพฐ. ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา และครูที่ประสบความสำเร็จด้านการสอนภาษาไทย พบว่า เรื่องของภาษา ต้องจัดการเรียนการสอนแบบเข้มข้นจริงจัง จึงจะได้ผล ซึ่งต้องมีการฝึกให้เด็กอ่านอย่างเข้มข้น และต้องอ่านด้วยความเข้าใจ ไม่ใช่ออกเสียงถูกเพียงอย่างเดียว โดย สพฐ.จะประกาศนโยบายและโครงการที่จะทำให้เด็กไทยต้องอ่านออกเขียนได้ในช่วงต้นเดือนกันยายนนี้ ซึ่งจะเริ่มต้นทดสอบภาษาไทยนักเรียน ป.3 และ ป.6 ทุกคนทั่วประเทศในสังกัด สพฐ. เพื่อแก้ไขปัญหานี้ในช่วงระยะเวลาเร่งด่วน โดยจะไม่เน้นไวยากรณ์ แต่ทำอย่างไรให้เด็กอ่านแล้วเข้าใจ เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาอื่นๆ จากนั้นจะมีการประเมินผลเพื่อจัดทำแผนระยะยาวในการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาทั้งระบบ




รมว.ศธ.ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังการประชุมสัมมนาว่า ในอดีตที่ผ่านมา ช่วงปี 2546 มีการปฏิรูปโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการ และการจัดองค์กรของ ศธ. มีผลทำให้ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาไม่มีตำแหน่งที่จะลง ทั้งที่มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และทำงานสำคัญๆ ซึ่งในขณะนั้นตนเป็นประธานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งที่ประชุม ก.ค.ศ.ได้มีมติดำเนินการให้สอดคล้องกับกฎหมาย ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้มีการเยียวยาบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากการจัดโครงสร้าง ทำให้มีการเพิ่มตำแหน่งรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาหลายพันคน ซึ่งทุกฝ่ายทั้งสำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานข้าราชการพลเรือน ต่างเห็นชอบและยอมรับร่วมกันในการดำเนินการ แต่การจะโยกย้ายหรือกระจายตำแหน่งก็ไม่ใช่เรื่องง่าย จึงทำให้มีรอง ผอ.เขตพื้นที่การศึกษามากเป็นพิเศษ แต่ขณะนี้ทราบว่าจำนวนรอง ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาลดลงตามการเกษียณอายุราชการ

อย่างไรก็ตาม จะต้องให้รอง ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา ร่วมกันสนับสนุนและขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาอย่างจริงจัง โดยจะจัดทำข้อตกลงระหว่าง สพฐ. กับเขตพื้นที่การศึกษา เช่น การแก้ไขปัญหาเด็กอ่านไม่ออก ส่วนงานอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลโรงเรียน การดูแลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และดูแลการทำงานของศึกษานิเทศก์ รวมทั้งการประสานงานระหว่าง สพฐ.กับองค์กรที่ทำหน้าที่เชิงนโยบาย งานวิชาการ และสื่อสารไปยังผู้อำนวยการโรงเรียนและครู ก็จะเป็นหน้าที่ของรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาด้วย เพราะมีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ อยู่และคุ้นเคยกับพื้นที่นั้นๆ ทำให้มีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีที่จะช่วยให้การทำงานเกิดประโยชน์สูงสุดได้

 

 

ที่มา http://www.moe.go.th/websm/2013/aug/271.html


มอบนโยบายรอง ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศมอบนโยบายรองผอ.เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ศธ.แถลงข่าวผลประเมิน PISA ปี 2012

ศธ.แถลงข่าวผลประเมิน PISA ปี 2012

เปิดอ่าน 7,482 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ผลการประชุมองค์กรหลัก ศธ. เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2557
ผลการประชุมองค์กรหลัก ศธ. เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2557
เปิดอ่าน 7,191 ☕ คลิกอ่านเลย

รมว.ศธ.ให้นโยบายการทำงานวันแรก
รมว.ศธ.ให้นโยบายการทำงานวันแรก
เปิดอ่าน 12,034 ☕ คลิกอ่านเลย

ผลการประชุมกระทรวงศึกษาธิการ 4/2559 เมื่อวันพุธที่ 20 เมษายน 2559
ผลการประชุมกระทรวงศึกษาธิการ 4/2559 เมื่อวันพุธที่ 20 เมษายน 2559
เปิดอ่าน 19,647 ☕ คลิกอ่านเลย

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี  192/2557
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 192/2557
เปิดอ่าน 7,948 ☕ คลิกอ่านเลย

ประชุมองค์กรหลัก ศธ ครั้งที่ 20/2558
ประชุมองค์กรหลัก ศธ ครั้งที่ 20/2558
เปิดอ่าน 5,370 ☕ คลิกอ่านเลย

ผลประชุมองค์กรหลัก ศธ. ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันพุธที่ 20 มกราคม 2559
ผลประชุมองค์กรหลัก ศธ. ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันพุธที่ 20 มกราคม 2559
เปิดอ่าน 9,013 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

สักขี คำที่คุ้นหู ที่จริงคือพืชนั่นเอง
สักขี คำที่คุ้นหู ที่จริงคือพืชนั่นเอง
เปิดอ่าน 18,703 ครั้ง

ทึ่ง! เด็ก5ขวบพูดอังกฤษสำเนียงอเมริกันคล่อง
ทึ่ง! เด็ก5ขวบพูดอังกฤษสำเนียงอเมริกันคล่อง
เปิดอ่าน 13,652 ครั้ง

การส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
การส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
เปิดอ่าน 137,814 ครั้ง

"แป้งพับ"ก๊อปปี้แบรนด์ดังสุดน่ากลัว
"แป้งพับ"ก๊อปปี้แบรนด์ดังสุดน่ากลัว
เปิดอ่าน 13,010 ครั้ง

สมองเสื่อมหรือ... ขี้ลืมธรรมดาๆ
สมองเสื่อมหรือ... ขี้ลืมธรรมดาๆ
เปิดอ่าน 12,850 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ