ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ฎุมิปัญญาชาวบ้าน


สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เปิดอ่าน : 18,787 ครั้ง
ฎุมิปัญญาชาวบ้าน

Advertisement

คำว่า ภูมิปัญญาชาวบ้าน หมายถึง ความรู้ของชาวบ้าน ซึ่งได้มาจากประสบการณ์ และความ เฉลียวฉลาดของชาวบ้าน รวมทั้งความรู้ที่สั่งสม มาแต่บรรพบุรุษ สืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คน  อีกรุ่นหนึ่ง ระหว่างการสืบทอดมีการปรับ ประยุกต์ และเปลี่ยนแปลง จนอาจเกิดเป็นความรู้ใหม่ตาม  สภาพการณ์ทางสังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม
         ภูมิปัญญาเป็นความรู้ที่ประกอบไปด้วยคุณ ธรรม ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้าน ในวิถีดั้งเดิมนั้น ชีวิตของชาวบ้านไม่ได้แบ่งแยกเป็นส่วน ๆ หากแต่ทุกอย่างมีความสัมพันธ์กัน การทำมาหากิน การอยู่ร่วมกันในชุมชน การ  ปฏิบัติศาสนา พิธีกรรมและประเพณี
          ความรู้เป็นคุณธรรม เมื่อผู้คนใช้ความรู้นั้น เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง คนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ
         ความสัมพันธ์ที่ดีเป็นความสัมพันธ์ที่มีความ สมดุล ที่เคารพกันและกัน ไม่ทำร้ายทำลายกัน ทำให้ทุกฝ่ายทุกส่วนอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ ชุมชนดั้งเดิมจึงมีกฎเกณฑ์ของการอยู่ร่วมกัน มีคน เฒ่าคนแก่ เป็นผู้นำ คอยให้คำแนะนำตักเตือน   แก่
 ตัดสิน และลงโทษหากมีการละเมิด ชาวบ้าน เคารพธรรมชาติรอบตัว ดิน น้ำ ป่า เขา ข้าวแดด ลม ฝน โลก และจักรวาล ชาวบ้านเคารพผู้หลักผู้ใหญ่ พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ทั้งที่มีชีวิตอยู่และล่วงลับไปแล้ว

          ภูมิปัญญาจึงเป็นความรู้ที่มีคุณธรรม เป็นความรู้ที่มีเอกภาพของทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นความรู้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างสัมพันธ์กันอย่างมีความสมดุลเราจึงยกย่องความรู้ขั้นสูงส่งอันเป็นความรู้แจ้งในความจริงแห่งชีวิตนี้ว่า "ภูมิปัญญา"


ฮีตสิบสอง

          ชีวิตของชาวบ้านในรอบหนึ่งปีจึงมีพิธีกรรมทุกเดือน เพื่อแสดงออกถึงความเชื่อและความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในสังคม ระหว่างคนกับ ธรรมชาติ และระหว่างคนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆดังกรณีงานบุญประเพณีของชาวอีสานที่เรียกว่าฮีตสิบสอง คือ
           เดือนอ้าย (เดือนที่หนึ่ง) บุญเข้ากรรม ให้  พระภิกษุเข้าปริวาสกรรม
            เดือนยี่ (เดือนที่สอง) บุญคูณลาน ให้นำ  ข้าวมากองกันที่ลาน ทำพิธีก่อนนวด
            เดือนสาม บุญข้าวจี่ ให้ถวายข้าวจี่ (ข้าวเหนียวปั้นชุบไข่ทาเกลือนำไปย่างไฟ)
            เดือนสี่ บุญพระเวส ให้ฟังเทศน์มหาชาติ คือ เทศน์เรื่องพระเวสสันดรชาดก
            เดือนห้า บุญสรงน้ำ หรือบุญสงกรานต์ให้สรงน้ำพระ ผู้เฒ่าผู้แก่
            เดือนหก บุญบั้งไฟ บูชาพญาแถน ตามความเชื่อเดิม และบุญวิสาขบูชา ตามความเชื่อ ของชาวพุทธ
            เดือนเจ็ด บุญซำฮะ (บุญชำระ) ให้บน บานพระภูมิเจ้าที่ เลี้ยงผีปู่ตา
            เดือนแปด บุญเข้าพรรษา
            เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน ทำบุญอุทิศ ส่วนกุศลให้ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับ
            เดือนสิบ บุญข้าวสาก ทำบุญเช่นเดือนเก้า รวมให้ผีไม่มีญาติ (ภาคใต้มีพิธีคล้ายกัน คืองานพิธีเดือนสิบ ทำบุญให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วง ลับไปแล้ว แบ่งข้าวปลาอาหารส่วนหนึ่งให้แก่ผีไม่มีญาติ พวกเด็ก ๆ ชอบแย่งกันเอาของที่แบ่งให้ผีไม่มีญาติหรือเปรต เรียกว่า "การชิงเปรต")  เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา
            เดือนสิบสอง บุญกฐิน จัดงานกฐินและ ลอยกระทง

ภูมิปัญญาชาวบ้านในสังคมปัจจุบัน

          ภูมิปัญญาชาวบ้านได้ก่อเกิดและสืบทอด กันมาในชุมชนหมู่บ้าน เมื่อหมู่บ้านเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับสังคมสมัยใหม่ ภูมิปัญญาชาวบ้านก็มีการปรับตัวเช่นเดียวกัน
          ความรู้จำนวนมากได้สูญหายไปเพราะไม่มีการปฏิบัติสืบทอด เช่น การรักษาพื้นบ้านบาง อย่าง การใช้ยาสมุนไพรบางชนิด เพราะ หมอยาที่เก่ง ๆ ได้เสียชีวิตโดยไม่ได้ถ่ายทอดให้ กับคนอื่น หรือถ่ายทอดแต่คนต่อมาไม่ได้ปฏิบัติ เพราะชาวบ้านไม่นิยมเหมือนเมื่อก่อน ใช้ยา  สมัยใหม่และไปหาหมอที่โรงพยาบาลหรือคลินิก  ง่ายกว่า งานหัตถกรรมทอผ้าหรือเครื่องเงินเครื่องเขิน แม้จะยังเหลืออยู่ไม่น้อย แต่ก็ได้ถูก พัฒนาไปเป็นการค้า ไม่สามารถรักษาคุณภาพ และฝีมือแบบดั้งเดิมไว้ได้ ในการทำมาหากิน  มีการใช้เทคโนโลยีทันสมัย ใช้รถไถแทนควาย รถอีแต๋นแทนเกวียน
          การลงแขกทำนาและปลูกสร้างบ้านเรือนก็ เกือบจะหมดไป มีการจ้างงานกันมากขึ้น แรงงานก็หายากกว่าแต่ก่อน ผู้คนอพยพย้ายถิ่น บ้างก็ เข้าเมือง บ้างก็ไปทำงานที่อื่น ประเพณีงานบุญ  ก็เหลือไม่มาก ทำได้ก็ต่อเมื่อลูกหลานที่จากบ้านไปทำงานกลับมาเยี่ยมบ้านในเทศกาลสำคัญ ๆ เช่น  ปีใหม่ สงกรานต์ เข้าพรรษา เป็นต้น
          สังคมสมัยใหม่มีระบบการศึกษาในโรงเรียน  มีอนามัยและโรงพยาบาล มีโรงหนัง วิทยุโทรทัศน์ และเครื่องบันเทิงต่าง ๆ ทำให้ชีวิต ทางสังคมของชุมชนหมู่บ้านเปลี่ยนไป มีตำรวจ มีโรงมีศาล มีเจ้าหน้าที่ราชการฝ่ายปกครอง ฝ่ายพัฒนา และอื่น ๆ เข้าไปในหมู่บ้าน บทบาทของวัด พระสงฆ์ และคนเฒ่าคนแก่เริ่มลดน้อย  ลงไป
          การทำมาหากินก็เปลี่ยนจากการทำเพื่อ  ยังชีพไปเป็นการผลิตเพื่อการขาย ผู้คนต้องการเงินเพื่อซื้อเครื่องบริโภคต่าง ๆ ทำให้สิ่งแวดล้อม เปลี่ยนไป ผลิตผลจากป่าก็หมด สถานการณ์ เช่นนี้ทำให้ผู้นำการพัฒนาชุมชนหลายคนที่มี
 บทบาทสำคัญในระดับจังหวัด ระดับภาค และ ระดับประเทศ เริ่มเห็นความสำคัญของภูมิปัญญา ชาวบ้าน หน่วยงานทางภาครัฐและภาคเอกชนให้การสนับสนุน และส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ประยุกต์ และค้นคิดสิ่งใหม่ ความรู้
ใหม่เพื่อประโยชน์สุขของสังคม


ฎุมิปัญญาชาวบ้าน ฎุมิปัญญาชาวบ้าน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ประวัติจังหวัดมุกดาหาร

ประวัติจังหวัดมุกดาหาร


เปิดอ่าน 16,790 ครั้ง
มรรค 8 ( อัฏฐังคิกมรรค )

มรรค 8 ( อัฏฐังคิกมรรค )


เปิดอ่าน 103,466 ครั้ง
10 กิจที่ต้องทำ วันตรุษจีน

10 กิจที่ต้องทำ วันตรุษจีน


เปิดอ่าน 14,707 ครั้ง
พระศิวะ

พระศิวะ


เปิดอ่าน 18,987 ครั้ง
พระคงคา

พระคงคา


เปิดอ่าน 15,267 ครั้ง
ตำนาน บ้านบางระจัน

ตำนาน บ้านบางระจัน


เปิดอ่าน 187,607 ครั้ง
อารยธรรมกรีกโบราณ

อารยธรรมกรีกโบราณ


เปิดอ่าน 42,022 ครั้ง
เหรียญศานติมาลา

เหรียญศานติมาลา


เปิดอ่าน 13,396 ครั้ง
งานนมัสการองค์พระธาตุพนม

งานนมัสการองค์พระธาตุพนม


เปิดอ่าน 16,152 ครั้ง
"บึงกาฬ" จังหวัดที่ 77 ของไทย

"บึงกาฬ" จังหวัดที่ 77 ของไทย


เปิดอ่าน 28,903 ครั้ง
เพลงประจำอาเซียน

เพลงประจำอาเซียน


เปิดอ่าน 15,623 ครั้ง
หีบพระศพ

หีบพระศพ


เปิดอ่าน 24,069 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

พระพุทธรูปปางต่างๆ

พระพุทธรูปปางต่างๆ

เปิดอ่าน 29,592 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
อารยธรรมกรีกโบราณ
อารยธรรมกรีกโบราณ
เปิดอ่าน 42,022 ☕ คลิกอ่านเลย

อิทธิบาท 4
อิทธิบาท 4
เปิดอ่าน 24,205 ☕ คลิกอ่านเลย

ศาลปกครองคืออะไร
ศาลปกครองคืออะไร
เปิดอ่าน 25,076 ☕ คลิกอ่านเลย

ย้อนรอยสายราชสกุล…ในพระบรมราชจักรีวงศ์ (จบ)
ย้อนรอยสายราชสกุล…ในพระบรมราชจักรีวงศ์ (จบ)
เปิดอ่าน 29,843 ☕ คลิกอ่านเลย

1 กันยายน วันรำลึกถึง สืบ นาคะเสถียร
1 กันยายน วันรำลึกถึง สืบ นาคะเสถียร
เปิดอ่าน 15,693 ☕ คลิกอ่านเลย

วันจักรี วันแห่งการระลึกถึงราชวงศ์จักรี 6 เมษายนของทุกปี
วันจักรี วันแห่งการระลึกถึงราชวงศ์จักรี 6 เมษายนของทุกปี
เปิดอ่าน 20,401 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

Apink - Hush คลิปนี้คนดูล้านกว่าวิว (HD)
Apink - Hush คลิปนี้คนดูล้านกว่าวิว (HD)
เปิดอ่าน 10,493 ครั้ง

เชื่อไหมว่าเรามียาดีประจำบ้าน ก็เกลือที่อยู่ในครัวนี่เอง
เชื่อไหมว่าเรามียาดีประจำบ้าน ก็เกลือที่อยู่ในครัวนี่เอง
เปิดอ่าน 12,034 ครั้ง

วิธีปลูกผักอีตู่ (แมงลัก) ในกระถาง
วิธีปลูกผักอีตู่ (แมงลัก) ในกระถาง
เปิดอ่าน 1,725 ครั้ง

ภัยผิวที่แฝงมากับฤดูฝน
ภัยผิวที่แฝงมากับฤดูฝน
เปิดอ่าน 8,576 ครั้ง

99 ประโยคภาษาอังกฤษ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
99 ประโยคภาษาอังกฤษ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
เปิดอ่าน 88,697 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ