ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

โซเชียลทำพิษ... 5 โรคฮิตของคนติดจอ


ความรู้ทั่วไป 10 มิ.ย. 2557 เวลา 07:38 น. เปิดอ่าน : 11,022 ครั้ง
โซเชียลทำพิษ... 5 โรคฮิตของคนติดจอ

Advertisement

สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ได้นำข้อมูลจาก คอลัมน์ ทันโรค ของ หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ที่เขาจัดอันดับ 5 โรคฮิตของคนติดโซเชียลมีเดียไว้มาบอกกัน โดย 5 โรคฮิตของคนติดจอ ก็คือ โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก, โรคละเมอแชท, โรควุ้นในตาเสื่อม, โรคโนโมโฟเบีย และโรคสมาร์ทโฟนเฟซ เอ...ฟังชื่อดูก็ประหลาด ๆ ทั้งนั้น งั้นเรามาดูซิว่าแต่ละโรคเป็นอย่างไร แล้วอาการไหนที่เราเข้าข่ายซะแล้ว



1. โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก (Facebook Depression Syndrome)

หลายคนอาจสงสัยว่า เล่นเฟซบุ๊กก็มีเพื่อนตั้งมากแล้วจะเป็นโรคซึมเศร้าได้อย่างไร แต่อาการนี้เกิดขึ้นได้จริง ๆ เพราะคนเราเมื่อติดอยู่แต่หน้าจอ จิ้ม ๆ กด ๆ คุยกับคนในโลกออนไลน์ ก็กลายเป็นไปเพิกเฉยต่อคนในโลกจริง แถมหลายคนใช้เฟซบุ๊กเป็นเครื่องระบายความรู้สึกมากขึ้น โดยเฉพาะเวลาเราว้าเหว่ เหงา เดียวดาย ก็ยิ่งโพสต์เยอะ

โดย ธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการสถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.) ได้เขียนบทความให้ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก ไว้อย่างน่าสนใจว่า วารสารการแพทย์กุมารเวชศาสตร์ สหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาเรื่องนี้ และพบว่า คนที่ถูกเพื่อน ๆ ปฏิเสธหรือเป็นที่รังเกียจในโลกเฟซบุ๊กจะเป็นอันตรายมากกว่าถูกปฏิเสธในโลกแห่งความจริง และหลายรายอาจมีปัญหาซึมเศร้าตามมา

นั่นเพราะเฟซบุ๊กได้สร้างความเป็นจริงเทียม (artificial reality) ขึ้นมา จากการโพสต์แต่เรื่องดี ๆ แต่เก็บงำเรื่องร้าย ๆ แย่ ๆ ที่อยากปกปิดเอาไว้ เราถึงเห็นแต่คนที่มีชีวิตสมบูรณ์แบบในโลกเสมือนจริงเต็มไปหมด เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับตัวเอง ความรู้สึก "ไร้ค่า" จึงเกิดขึ้น

ถ้าคุณรู้สึกเสียความมั่นใจสุด ๆ เวลาส่งคำร้องไปขอเป็นเพื่อนแล้วไม่ได้รับการตอบรับ เก็บมาคิดว่าทำไมจึงไม่เป็นที่ต้องการ นี่ก็เป็นสัญญาณของโรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊กแล้ว วิธีหลีกหนีอาการนี้ก็คือ ลดการเล่นเฟซบุ๊กลง ทั้งอ่านเรื่องคนอื่น และโพสต์เรื่องตัวเอง จะได้รู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้น




2. ละเมอแชท (Sleep-Texting)

อาการนี้ก็คือ ถึงแม้เราจะนอนแต่ก็ยังลุกขึ้นมาพิมพ์เหมือนกับคนละเมอนั่นเอง สาเหตุก็มาจากพฤติกรรมติดสมาร์ทโฟนเกินเหตุ ทำให้สมองยึดติดกับโทรศัพท์อยู่ทุกขณะจิต แม้กระทั่งเวลานอน หากมีข้อความเข้ามา สมองก็จะปลุกร่างกายที่หลับใหลให้อยู่ในสภาวะละเมอ แล้วกดส่งข้อความไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งเราอาจไม่รู้สึกตัวด้วยซ้ำว่าเขียนอะไรไป หรือส่งไปหาคน เพราะอยู่ในสภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น แบบนี้ก็เสี่ยงต่อความเข้าใจผิดได้เลยนะเนี่ย

นอกจากเสี่ยงต่อความเข้าใจผิดแล้ว อาการละเมอแชทยังกระทบสุขภาพด้วย เพราะเมื่อสมองปลุกให้เราตื่นในช่วงนี้ร่างกายก็จะนอนหลับไม่สนิทเต็มที่ เป็นเหตุให้พักผ่อนไม่พอ กระทบมาถึงระบบการทำงานของร่างกาย ทำให้สะสมความเครียด เสี่ยงเป็นโรคอ้วน ฝันร้าย กระทบต่อการเรียนและการทำงานได้เลยล่ะ





3. โรควุ้นในตาเสื่อม

ปกติเราก็ใช้งานดวงตาหนักอยู่แล้ว และถ้ายิ่งใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเพ่งข้อความในจอสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ก็ยิ่งทำให้ดวงตาของเราก็ทำงานหนักขึ้นแบบคูณสอง ถ้าปล่อยไปนาน ๆ จนมองเห็นหยากไย่ ตาข่าย หรือเส้นอะไรวนไปวนมาเหมือนยุง ปัดเท่าไรก็ไม่โดนสักที แบบนี้ต้องรีบหาหมอแล้ว เพราะนี่คือ "โรควุ้นในตาเสื่อม"

จะบอกว่าจริง ๆ แล้วโรคนี้มักพบในผู้สูงอายุ เพราะใช้งานดวงตามานานจนเสื่อมไปตามวัย แต่น่าตกใจทีเดียวที่ปัจจุบันพบคนอายุน้อย ๆ เป็นโรคนี้มากขึ้น สาเหตุหลัก ๆ ก็มาจากการแชททั้งวัน จ้องจอทั้งคืน เล่นเกม ใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันนาน ๆ ไม่ว่างเว้นนี่เอง พอรู้สึกปวดตาก็คิดว่าคงไม่เป็นอะไรมาก มารู้ตัวอีกทีก็เห็นภาพเป็นคราบดำ ๆ เป็นเส้น ๆ ไปซะแล้ว

วิธีป้องกันก่อนเป็นโรควุ้นในตาเสื่อมก็ไม่ยากเลย แค่รู้จักพักสายตาเสียบ้าง มองไปในที่ไกล สูดอากาศธรรมชาติให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย หลับตาลงสักครู่ รู้จักใช้งานเทคโนโลยีในมืออย่างพอเหมาะ ก็จะช่วยให้หลีกเลี่ยงโรคนี้ได้แล้ว



4. โนโมโฟเบีย (Nomophobia)

ชื่อประหลาด ๆ นี้ มาจากคำว่า "no-mobile-phone phobia" แปลตรงตัวก็คือ โรคกลัวไม่มีมือถือใช้ เป็นโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่งที่จัดอยู่ในกลุ่มวิตกกังวล

คิดดูว่าถ้าเราอยู่ในที่ที่ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต หรือจู่ ๆ แบตเตอรี่โทรศัพท์ดันหมดซะงั้น แล้วเรารู้สึกหงุดหงิด กระวนกระวาย แสดงว่าเข้าเค้าอาการโนโมโฟเบียแล้วล่ะ ในบางคนเป็นมาก ๆ อาจมีอาการเครียด ตัวสั่น เหงื่อออก คลื่นไส้ได้เลย ซึ่งอาการจะหนักเบาขนาดไหนขึ้นอยู่กับแต่ละคน

สำรวจตัวเองดูหน่อยซิว่า เราหมกมุ่นอยู่กับการเช็กข้อความในมือถือ ชอบหยิบขึ้นมาดูบ่อย ๆ หรือเปล่า หรือทุกครั้งที่ได้ยินเสียงเตือนจากมือถือจะต้องวางภารกิจทุกอย่างที่อยู่ตรงหน้าแล้วรีบคว้าโทรศัพท์มาเช็กแบบด่วนจี๋ทันใจ ใครเป็นแบบนี้ก็เข้าข่ายโนโมโฟเบียแล้วล่ะจ้า ยิ่งถ้าตื่นนอนปุ๊บเช็กมือถือปั๊บ ห่างจากมือถือไม่ได้เลย หรือใช้เวลาพูดคุยกับเพื่อนในโลกออนไลน์มากกว่าเพื่อนตรงหน้า ก็ยิ่งชัด

ใครที่มีอาการอย่างที่กล่าวว่า ต้องระวังปัญหาสุขภาพให้มาก ๆ โดยเฉพาะนิ้วล็อก ปวดตา ปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่ หมอนรองกระดูกเสื่อมก่อนวัยอันควร เพราะนั่งผิดท่าเป็นเวลานาน ๆ รวมทั้งอาการนอนไม่หลับ และโรคอ้วนที่เกิดจากมัวแต่นั่งเล่นมือถือนาน ๆ ไม่ลุกไปไหนด้วยนะ




5. โรคสมาร์ทโฟนเฟซ (Smartphone face)

โรคฮิตของคนติดแชทที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 5 ก็คือ โรคสมาร์ทโฟนเฟซ (Smartphone face) หรือโรคใบหน้าสมาร์ทโฟน เกิดจากการที่เราก้มลงมองหน้าจอ หรือจ้องสมาร์ทโฟน-แท็บเล็ตเป็นเวลานานเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อคอเกิดอาการเกร็งและไปเพิ่มแรงกดบริเวณแก้ม

เมื่อแก้มถูกแรงกดนาน ๆ เข้า ก็จะทำให้เส้นใยอิลาสติกบนใบหน้ายืด จนแก้มบริเวณกรามย้อยลงมา แถมกล้ามเนื้อบริเวณมุมปากก็จะตกไปทางคางด้วย จนใบหน้าอาจดูผิดแปลกไปจากเดิม และจะเห็นชัดเจนขึ้นเมื่อถ่ายภาพด้วยอุปกรณ์ของตัวเอง ฟังแล้วน่ากลัวนะเนี่ย หากใครเป็นมาก ๆ เข้าก็ถึงกับต้องศัลยกรรมกันเลย

 

 

 

ขอบคุณที่มาจาก ประชาชาติธุรกิจ, สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน, เฟซบุ๊ก Time Chuastapanasiri , กระปุก.คอม


โซเชียลทำพิษ... 5 โรคฮิตของคนติดจอโซเชียลทำพิษ...5โรคฮิตของคนติดจอ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ลูกบาศก์ของรูบิค

ลูกบาศก์ของรูบิค


เปิดอ่าน 13,448 ครั้ง
ปัญหา คือ การเรียนรู้ ?

ปัญหา คือ การเรียนรู้ ?


เปิดอ่าน 9,917 ครั้ง
ป้องกันแสงแดดให้ได้ผล

ป้องกันแสงแดดให้ได้ผล


เปิดอ่าน 11,330 ครั้ง
ทำความรู้จัก Mosaic กันก่อน

ทำความรู้จัก Mosaic กันก่อน


เปิดอ่าน 11,993 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

การตัดแต่งต้นไม้

การตัดแต่งต้นไม้

เปิดอ่าน 25,679 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ชิคุนกุนยา โรคร้าย ที่มากับยุงลาย
ชิคุนกุนยา โรคร้าย ที่มากับยุงลาย
เปิดอ่าน 10,904 ☕ คลิกอ่านเลย

"หมอช้าง" แนะวิธีไหว้เจ้าให้เฮงๆ พร้อมข้อห้ามในวันตรุษจีน
"หมอช้าง" แนะวิธีไหว้เจ้าให้เฮงๆ พร้อมข้อห้ามในวันตรุษจีน
เปิดอ่าน 10,899 ☕ คลิกอ่านเลย

"โกสน" ช่วยดูดพิษในอากาศ
"โกสน" ช่วยดูดพิษในอากาศ
เปิดอ่าน 13,183 ☕ คลิกอ่านเลย

เตือน "5 โรคร้าย" อันตรายต่อ "ครู" แนะเทคนิคดูแลสุขภาพ
เตือน "5 โรคร้าย" อันตรายต่อ "ครู" แนะเทคนิคดูแลสุขภาพ
เปิดอ่าน 21,175 ☕ คลิกอ่านเลย

สับปะรดสีปลูกไม่ยาก
สับปะรดสีปลูกไม่ยาก
เปิดอ่าน 19,718 ☕ คลิกอ่านเลย

อ้วนลงพุงกินอย่างไรให้เหมาะสม
อ้วนลงพุงกินอย่างไรให้เหมาะสม
เปิดอ่าน 12,469 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

คลิปการทำให้เสื้อที่ซักเรียบเหมือนรีด ด้วยน้ำแข็งเพียง 3ก้อน
คลิปการทำให้เสื้อที่ซักเรียบเหมือนรีด ด้วยน้ำแข็งเพียง 3ก้อน
เปิดอ่าน 12,873 ครั้ง

Why Do We Get Goose Bumps? (ทำไมเราจึงเกิด อาการขนลุก)
Why Do We Get Goose Bumps? (ทำไมเราจึงเกิด อาการขนลุก)
เปิดอ่าน 36,820 ครั้ง

แก่นขนุน
แก่นขนุน
เปิดอ่าน 21,673 ครั้ง

หมอขายครีม ผิดจรรยาบรรณ?
หมอขายครีม ผิดจรรยาบรรณ?
เปิดอ่าน 21,471 ครั้ง

การศึกษาความสัมพันธ์ของประสบการณ์การทำงานฯ ต่อวัฒนธรรมการทำงานของครู
การศึกษาความสัมพันธ์ของประสบการณ์การทำงานฯ ต่อวัฒนธรรมการทำงานของครู
เปิดอ่าน 21,615 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ