ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมการงานอาชีพ  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

3G สามจี หรือ ทรีจี


การงานอาชีพ เปิดอ่าน : 21,660 ครั้ง
3G สามจี หรือ ทรีจี

Advertisement

ในปี ค.ศ. 1979 ได้มีการเริ่มพัฒนาระบบโทรศัพท์มือถือที่เป็นแบบเซลลูล่า หรือที่เรียกว่า โมบายโฟน มีการนำไปใช้งานครั้งแรกพร้อมกันที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นต่อมา โทรศัพท์มือถือก็แพร่หลายอย่างรวดเร็ว แพร่กระจายเข้าสู่ทุกประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทย มีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือหลายล้านราย และมียอดการขยายตัวที่ต่อเนื่องตลอดเวลา
  
          ระบบโทรศัพท์มือถือในยุคแรก (1G) เป็นระบบโทรศัพท์ที่ใช้สัญญาณวิทยุ ระบบการนำสัญญาณเสียงผ่านคลื่นวิทยุย่านความถี่สูงมาก (VHF และ UHF) และระบบการรับส่งยังเป็นแบบอะนาล็อก พัฒนาการทางอะนาล็อกของโทรศัพท์มือถืออยู่ได้ไม่กี่ปีก็พัฒนาการเข้าสู่ ยุคที่สอง (2G) ซึ่งเป็นยุคดิจิตอล และกำลังพัฒนาต่อเนื่องเข้าสู่ยุค 3G 


    
          กลุ่มที่พัฒนาโทรศัพท์มือถือแบบ wireless มีด้วยกันสามกลุ่มคือ กลุ่มอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น โดยใช้ย่านความถี่การเชื่อมโยงกับสถานีแม่ที่ความถี่ไมโครเวฟประมาณ 1-2 จิกะเฮิร์ทซ์ การใช้งานในรุ่นแรกหรือ 1G มีข้อจำกัดในเรื่องการขยายช่องสัญญาณให้รองรับผู้ใช้จำนวนมาก ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนจากระบบอะนาล็อกมาเป็นดิจิตอล
   
          ในยุคที่สอง (2G) การพัฒนาเน้นในเรื่องการแบ่งเวลาในช่องสัญญาณโดยใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า TDMA - Time Division Multiple Access หรือ CDMA - Code Division Multiple Access เป็นการเรียกเข้าถึงช่องสัญญาณ โดยแบ่งช่องสัญญาณออกเป็นสล็อตของเวลาเล็ก ๆ เพื่อให้การรับส่งข้อมูลผ่านช่องเล็ก ๆ ทางด้านเวลานี้ 


    
          การเข้ารหัสสัญญาณเสียงยังคงใช้วิธีการบีบอัดสัญญาณเสียงให้เหลือ แถบกว้างต่ำ ๆ โดยช่องสัญญาณเสียงที่แปลงเป็นดิจิตอลแล้วจะใช้ขนาดเพียง 9 กิโลบิตต่อวินาที และนี่เป็นเหตุผลที่คุณภาพของสัญญาณเสียงในระบบโทรศัพท์มือถือด้อยลง แต่อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เพราะสัญญาณรับส่งเป็นแบบดิจิตอล จึงมีความเพี้ยนหรือสัญญาณสอดแทรกได้ต่ำ
   
          การใช้โทรศัพท์มือถือมีความจำเป็นและมีตลาดรองรับการใช้งานสูงมาก บริษัท โดโคโม ของญี่ปุ่น เพียงบริษัทเดียวมีลูกค้าโทรศัพท์มือถือถึง 30 ล้านเครื่อง และในปัจจุบันทั่วโลกมีการใช้โทรศัพท์มือถือกว่าร้อยล้านเครื่อง และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอีกมากมายมหาศาล
   
          เมื่อระบบโทรศัพท์มือถือในยุค 2G ใช้รหัสดิจิตอล การกำหนดเส้นทางและการหาเส้นทางเชื่อมกับสถานีฐานจึงทำได้ดี ระบบการโรมมิ่ง (Roaming) คือการนำเอาโทรศัพท์มือถือไปใช้ในเครือข่ายอื่น เช่น ในต่างประเทศจึงทำได้ และก่อให้เกิดระบบโทรศัพท์มือถือแบบ GSM - Gobal System for Mobilization หรือระบบโทรศัพท์มือถือที่ใช้ได้ทั่วโลกเชื่อมโยงกันเป็นระบบ 


    
          ลองนึกดูว่า การครอบคลุมพื้นที่ใช้หลักการของสถานีฐานหนึ่งสถานีคลุมพื้นที่บริเวณหนึ่ง เชื่อมโยงกันเป็นเซลแบบรังผึ้ง (Cellular) ทุกครั้งที่เปิดโทรศัพท์มือถือ เครื่องในมือเราก็จะติดต่อกับสถานีฐาน เพื่อลงทะเบียนตำแหน่ง หลังจากนั้นก็ติดต่อกับระบบได้ การกระจายเซลฐานจะมีมากมาย โดยเฉพาะในปัจจุบันจำนวนเซลฐานได้รับการกำหนดให้มีขนาดเล็กลง ซึ่งต้องใช้เซลฐานจำนวนมากขึ้น และเมื่อเคลื่อนที่ผ่านกรอบของเซลฐานเข้าสู่เซลต่อไป ระบบการโอนสัญญาณติดต่อระหว่างเซลจะกระทำอย่างต่อเนื่องโดยให้มีการใช้งาน ได้โดยไม่มีปัญหา
   
          เพื่อรองรับตลาดที่เติบโตเร็วมาก สิ่งที่โทรศัพท์ระบบนี้จะพบคือ ทำอย่างไรจึงจะรองรับความหนาแน่นของสัญญาณให้ได้มากที่สุด และต้องได้คุณภาพของสัญญาณดี อีกทั้งความเร็ว (จำนวนบิตต่อวินาที) ที่ใช้ต้องสูงขึ้น เพื่อรองรับการประยุกต์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีจำนวนมากมายตามความต้องการของผู้ใช้
   
          ในเดือนมิถุนายน 1998 สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศได้ร่างข้อเสนอการพัฒนาระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์ ในรูปแบบที่จะพัฒนาต่อเนื่องให้เข้าสู่ยุค 3G โครงร่างที่สำคัญคือแนวทางการพัฒนาระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์ที่มีการใช้งานกันหลายเทคโนโลยี โดยเน้นในเรื่องความหลากหลายของระบบ เพื่อเป็นแนวทางของการรวมระบบ จนกระทั่งในเดือนพฤศจิกายน 1999 แนวทางการก้าวเข้าสู่ยุค 3G ก็เริ่มเด่นชัดขึ้น โดยเน้นการใช้ระบบ CDMA - Code Division Multiple Access และทุกระบบที่มีอยู่มีแนวโน้มในการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบ IMT2000 


    
          บริษัท โดโคโม ของญี่ปุ่น มีการประกาศอย่างชัดเจนว่า ในเดือนพฤษภาคม 2001 ระบบ 3G ของญี่ปุ่นจะเริ่มใช้งานได้ และแนวทางของบริษัท โดโคโม จะเป็นหนึ่งในผู้นำทางด้าน 3G
   
          การพัฒนาระบบ IMT 2000 ซึ่งเป็นการออกแบบระบบ 3G ได้รับการตอบรับในทุกบริษัทที่ผลิตเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ระบบ IMT 2000 เน้นการใช้เทคโนโลยี CDMA ทั้งนี้เพราะต้องการใช้แถบความถี่ที่มีจำกัดในย่าน 1-2 จิกะเฮิร์ทซ์ ให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดยเน้นให้ใช้งานได้ด้วยอัตราการรับส่งข้อมูลที่สูงขึ้น และมีแนวทางของการสร้างความคอมแพตติเบิ้ลในระดับพื้นฐานเดิมได้ โดยเฉพาะการเชื่อมโยงกับเครือข่ายเดิมที่มีอยู่ โดยเฉพาะการเชื่อมระหว่างเครือข่ายโทรศัพท์กับอินเทอร์เน็ต
   
          ระบบ 3G ที่ได้พัฒนาขึ้นครั้งนี้เป็นแบบดิจิตอลแพ็กเก็ต โดยเน้นการรองรับระบบมัลติมีเดียที่ให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ทุกที่ ทุกเวลา เป้าหมายของความเร็วการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ 3G อยู่ที่ 2 เมกะบิตต่อวินาที ในอาคารหรือในบ้าน และหากอยู่ในรถยนต์ที่เคลื่อนที่ อัตราการรับส่งข้อมูลอยู่ที่ 144 กิโลบิตต่อวินาที แต่บริษัท โดโคโม ได้ประกาศการใช้งานที่ 2 เมกะบิต ในอาคาร และ 384 กิโลบิต ในรถยนต์ที่เคลื่อนที่ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่สูงกว่าของทั่วไป การรับส่งข้อมูลของโทรศัพท์มือถือจะรองรับการประยุกต์ใช้งานทุกรูปแบบ ตั้งแต่การโทรศัพท์แบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ การส่งโทรสารแบบ G4 (ส่งภาพสี แบบความละเอียดสูง) การเชื่อมต่อระบบ WAP
   
          เพื่อระบบ 3G ของญี่ปุ่นจะพัฒนาและรองรับการใช้งาน กลุ่มโดโคโมจึงต้องสร้างพันธมิตร โดยร่วมมือการพัฒนาและทดลองใช้กันบริษัท SK เทเลคอม ของเกาหลี เทเลคอมอินโดนีเซีย สิงค์เทล (สิงค์โปร์) TOT (ประเทศไทย) จีน

 

ที่มา http://www.ku.ac.th/magazine_online/mobile3g.html

ภาพจาก สนุกดอทคอม


3G สามจี หรือ ทรีจี3Gสามจีหรือทรีจี

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ระบบการจัดการฐานข้อมูล

ระบบการจัดการฐานข้อมูล


เปิดอ่าน 22,086 ครั้ง
ปลูกเมล่อนหน้าแล้ง

ปลูกเมล่อนหน้าแล้ง


เปิดอ่าน 19,275 ครั้ง
การซ่อมแซมเสื้อผ้า

การซ่อมแซมเสื้อผ้า


เปิดอ่าน 10,210 ครั้ง
ต้นสัตบรรณ - ต้นตีนเป็ด

ต้นสัตบรรณ - ต้นตีนเป็ด


เปิดอ่าน 35,140 ครั้ง
ระกำ

ระกำ


เปิดอ่าน 18,788 ครั้ง
สูตร "วิธีทำข้าวซอย"

สูตร "วิธีทำข้าวซอย"


เปิดอ่าน 905 ครั้ง
การปลูก กระทกรกฝรั่ง

การปลูก กระทกรกฝรั่ง


เปิดอ่าน 4,782 ครั้ง
ชุมเห็ดเทศ

ชุมเห็ดเทศ


เปิดอ่าน 15,822 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

แก่นขนุน

แก่นขนุน

เปิดอ่าน 21,671 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
อาชีพเสริมข้าราชการ ปลูกต้นอ่อนผักบุ้ง ขายช่วงวันหยุด สร้างรายได้งาม
อาชีพเสริมข้าราชการ ปลูกต้นอ่อนผักบุ้ง ขายช่วงวันหยุด สร้างรายได้งาม
เปิดอ่าน 45,649 ☕ คลิกอ่านเลย

พืชเศรษฐกิจ
พืชเศรษฐกิจ
เปิดอ่าน 4,143 ☕ คลิกอ่านเลย

ความหมายและความสำคัญของการเกษตร
ความหมายและความสำคัญของการเกษตร
เปิดอ่าน 53,311 ☕ คลิกอ่านเลย

ทำไมแป้นพิมพ์ ไม่เรียง A B C
ทำไมแป้นพิมพ์ ไม่เรียง A B C
เปิดอ่าน 32,643 ☕ คลิกอ่านเลย

เป็ดบาบารี่
เป็ดบาบารี่
เปิดอ่าน 24,369 ☕ คลิกอ่านเลย

ไก่เคยูเบตง สร้างทางเลือกใหม่ให้ผู้บริโภค
ไก่เคยูเบตง สร้างทางเลือกใหม่ให้ผู้บริโภค
เปิดอ่าน 16,883 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เพลง "อิ่มอุ่น"
เพลง "อิ่มอุ่น"
เปิดอ่าน 40,689 ครั้ง

กินอย่างไรไม่ให้อ้วน
กินอย่างไรไม่ให้อ้วน
เปิดอ่าน 1,820 ครั้ง

หักดิบเลิกบุหรี่.. แพทย์ยืนยันได้ผลดีกว่าลด
หักดิบเลิกบุหรี่.. แพทย์ยืนยันได้ผลดีกว่าลด
เปิดอ่าน 12,943 ครั้ง

แนะปรับกระจก-ท่านั่งเหมาะสม ลดเสี่ยงอุบัติเหตุ
แนะปรับกระจก-ท่านั่งเหมาะสม ลดเสี่ยงอุบัติเหตุ
เปิดอ่าน 12,252 ครั้ง

PPT ประกอบการอบรมการนำกระบวนการ PLC เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของโรงเรียนขยายโอกาสในเขตภาคเหนือ
PPT ประกอบการอบรมการนำกระบวนการ PLC เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของโรงเรียนขยายโอกาสในเขตภาคเหนือ
เปิดอ่าน 30,467 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ