ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

คืนครูสู่ห้องเรียน


บทความการศึกษา 7 ม.ค. 2558 เวลา 02:25 น. เปิดอ่าน : 16,607 ครั้ง
คืนครูสู่ห้องเรียน

Advertisement

ปฏิรูปการศึกษา (10) ต้องคืนครูสู่ห้องเรียน
        โดย สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน
       
       สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ได้จัดงานแถลงข่าว “คลี่ตารางชีวิตครูไทยใน 1 ปี เสียงสะท้อนจากครูที่นักปฏิรูปต้องฟัง” โดยมีวิทยากร 4 คน ได้แก่ ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ, ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ดร.ไกรยศ ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญนโยบายด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. และครูอาคม สมพามา ตัวแทนครูสอนดี จากโรงเรียนสายธรรมจันทร์ ราชบุรี โดยมีดิฉันทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการ
       
       เริ่มจากผลสำรวจของ สสค. ที่ตามติดตารางชีวิตของครูไทยใน 1 ปี แล้วพบว่าครูไทยถูกดึงเวลาจากการทำหน้าที่สอน ให้ไปทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสอน จนส่งผลกระทบต่อเด็กนักเรียน โดยได้ทำการสำรวจครูผู้ได้รับรางวัลครูสอนดีจาก สสค. ซึ่งมีอายุเฉลี่ยและวิทยฐานะสูงกว่าครูทั่วไป กระจายตัวครอบคลุมโรงเรียนทุกสังกัดทั่วประเทศ จำนวน 427 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 15 ก.ย.- 15 ต.ค. ที่ผ่านมา พบว่า ใน 1 ปี มีจำนวนวันเปิดเรียนทั้งหมด 200 วัน ครูต้องใช้เวลากับกิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่ไม่ใช่การจัดการเรียนการสอนเฉพาะวันธรรมดาถึง 84 วัน หรือคิดเป็น 42% ซึ่งจัดเป็นตัวเลขที่สูงมาก
       
       ดร.ไกรยส เปิดเผยว่า กิจกรรมนอกชั้นเรียนที่ไม่ใช่การสอนที่ครูต้องใช้เวลามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1 การประเมินของหน่วยงานภายนอกเฉลี่ย 43 วัน ทั้งการประเมินโรงเรียน ประเมินครู และประเมินนักเรียน โดยครูใช้เวลาไปกับการประเมินของหน่วยงานต้นสังกัดในโครงการต่างๆ 18 วัน การประเมินของสถาบันทดสอบ 16 วัน และการประเมินของ สมศ. 9 วัน
       
       ตามด้วยอันดับ 2 การแข่งขันทางวิชาการ 29 วัน และอันดับ 3 การอบรมจากหน่วยงานภายนอก 10 วัน โดยครูส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า กิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่ส่งผลดีต่อการเรียนการสอน ได้แก่ การแข่งขันทางวิชาการ การประเมินโอเน็ต การอบรม และการประเมินการอ่าน 

ปฏิรูปการศึกษา (10) ต้องคืนครูสู่ห้องเรียน

        ส่วนกิจกรรมที่ครูส่วนใหญ่เห็นว่าส่งผลเสียต่อการเรียนการสอน คือ การประเมินโรงเรียนโดย สมศ. การอบรม และการประเมินอื่นๆ ซึ่งหน่วยงานประเมินที่ครูส่วนใหญ่อยากให้มีการปรับปรุงมากที่สุด คือ สมศ. 98% รองลงมาคือเขตพื้นที่ และ สพฐ. 1.7% โดยเสนอให้ปรับปรุงวิธีการประเมินที่เน้นผลลัพธ์ของเด็กมากกว่าเอกสารและลดภาระการประเมินลง
       
       “เสียงสะท้อนของครูส่วนใหญ่ต้องการคืนครูสู่ห้องเรียนและลดภาระงานของครูที่ไม่มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก โดยลดภาระการประเมินด้านเอกสารลง และควรจัดอบรมในเนื้อหาที่ครูต้องการในช่วงปิดภาคเรียนเท่านั้น ที่น่าสนใจคือครูมากกว่า 90% เห็นว่า หากโรงเรียนมีอิสระในการบริหารจัดการด้านวิชาการ การบริหารงบประมาณและการบริหารบุคคลจะมีส่วนสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอนของครู โดยเงื่อนไขสำคัญของการกระจายอำนาจการบริหารจัดการเรียนการสอนให้ประสบผลสำเร็จคือ การมีส่วนร่วมของครู คุณภาพของผู้บริหาร การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชนและนักเรียน” 
       
       ทางด้านอาจารย์สมพงษ์ กล่าวว่า ผลสำรวจครูในประเทศของเรายังปฏิบัติหน้าที่อยู่ในระดับที่ดี คือใช้เวลากับการสอนในชั้นเรียนเฉลี่ยอยู่ที่ 4 ชั่วโมง/วัน แต่ครูกำลังถูกกดดันและเริ่มไม่มีความสุข เพราะภาระงานนอกห้องเรียนที่ดึงเวลาครูออกไปถึง 42% ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ที่ต้องให้ความสนใจว่าเหตุใดคุณภาพการศึกษาถึงไม่ดีขึ้น จากงานวิจัยขององค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ สหรัฐอเมริกาในปี 2555 ได้ศึกษาเวลาของครูที่ใช้ในห้องเรียนของ 5 ประเทศ ได้แก่ เอธิโอเปีย สาธารณรัฐกัวเตมาลา ฮอนดูรัส โมซัมบิก และเนปาล พบว่า เมื่อครูถูกดึงออกนอกห้องเรียนที่ไม่เกี่ยวกับการสอนไป 20 - 30% จะมีผลต่อการเรียนรู้ของเด็กอย่างมาก โดยมีผลกระทบต่อโอกาสการเรียนรู้ของเด็ก สมาธิของเด็กต่อเนื้อหาและผลคะแนนของเด็กลดลงอย่างเห็นได้ชัด
       
       “ไม่แปลกใจเลยว่าเหตุใดคุณภาพการศึกษาของไทยจึงไม่ดีขึ้น ยิ่งปัจจุบันมีนโยบายว่าทุกโรงเรียนต้องทำคะแนนโอเน็ต ของเด็กให้สูงขึ้น ยิ่งทำให้ครูไม่ต้องสอนหนังสือ เพราะไปติวแต่โอเน็ต ทำให้การคิดวิเคราะห์ของเด็กทุกวันนี้เป็นของปลอม ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ แต่เกิดจากการติวซึ่งอันตรายมาก ส่วนเสียงสะท้อนที่ต้องการให้ลดภาระงานของครูลงนั้น ได้ยินมาแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ปี แต่ปัจจุบันยังเหมือนเดิม ไม่มีการตัดสินใจในเชิงนโยบาย ดังนั้นในเมื่อเวลานี้กำลังมีการปฏิรูปการศึกษา และต้องการจะหาของขวัญมอบให้ครู ก็ควรลดภาระงานเอกสาร และต้องทบทวนว่ากิจกรรมเหล่านี้เกิดประโยชน์ไปถึงตัวเด็กหรือไม่ ผลการประเมินเหล่านี้ถูกนำกลับไปใช้พัฒนาการสอนของครูให้ดีขึ้นหรือไม่
       
       ขณะที่ดร.อมรวิชช์ กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาการศึกษาไทยในยุคนี้จะสำเร็จได้ต้องมุ่งแก้ไขใน 3 ประเด็น คือ หนึ่ง ต้องปรับกฎหมายคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เพื่อไม่ให้ครูยึดติดกับการทำผลงานเพิ่มวิทยฐานะ
       
       สอง ต้องชะลอการประเมินผลของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รอบ 4 ไว้ก่อนจนกว่าจะแก้ไข 3 ประเด็นหลักนี้ได้ก่อน คือ 1) มาตรฐานตัวชี้วัดที่ไม่สะท้อนคุณภาพจริง 2) มาตรฐานผู้ประเมิน และ 3) ภาระงานเอกสาร
       
       สาม ปรับวิธีการสอบของสำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ให้เน้นที่กระตุ้นพัฒนาการของเด็ก มิใช่การสอบระดับชาติที่ใช้ข้อสอบเพียงชุดเดียววัดผลเด็ก
       
       “เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่ต้องการกระจายอำนาจไปสู่พื้นที่ให้มาก และที่สำคัญจะต้องมีการสร้างกลไกระดับชาติเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 10 ปี ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับกระบวนการปฏิรูป โดยได้มีการเสนอผ่านสภาปฏิรูป ผมจึงมั่นใจว่าไม่มีจังหวะใดที่จะมีความหวังในการปฏิรูปการศึกษาได้เท่าขณะนี้ ข้อมูล สสค. จึงเป็นประโยชน์ในการตั้งโจทย์ปฏิรูประบบการศึกษาครั้งใหม่ที่มีโจทย์ร่วมของทุกกระทรวงไม่เพียงแต่ สปช.- สนช.- ศธ. เท่านั้น เพราะทิศทางใหม่ของการศึกษาจะเป็นเรื่องการพัฒนาคนที่ต้องทำร่วมกัน
       
       ส่วนนายอาคม สมพามา ตัวแทนครูสอนดี กล่าวว่า รางวัลของเด็ก คือ การได้มีครูอยู่ในห้องเรียน ผมจึงขอคืนเวลา 84 ชม. ให้กับเด็กนักเรียน และเห็นว่าควรมีการรื้อการประเมินรูปแบบวิทยาฐานะใหม่ที่มุ่งสู่การพัฒนาเด็กมากกว่าการผลประโยชน์ที่ครูได้รับ ดีใจที่ สปช. จะเร่งแก้กฎหมายให้ปรับระบบการประเมินวิทยฐานะเพื่อให้ครูได้มีโอกาสอยู่ในห้องเรียนเพิ่มขึ้น
       
       “อยากให้ทบทวนวิธีการสอบโอเน็ตใหม่ เพราะถ้าวัดด้วยคำถามแบบปรนัย โดยใช้ข้อสอบชุดเดียวกันทั้งประเทศ และบอกว่าผลสัมฤทธิ์ของเด็กต่ำ ตนคิดว่าไม่ยุติธรรม เพราะเราไม่ได้วัดในสิ่งที่เด็กใช้ และไม่สอดคล้องกับบริบทของนักเรียนที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ทุกวันนี้โรงเรียนยังถูกฉกฉวยผลประโยชน์จากกระทรวงต่างๆ โดยใช้เด็กเป็นเครื่องมือ และให้ครูเป็นผู้สร้างเครื่องมือ เพื่อสร้างผลงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานตนเอง ทุกวันนี้ครูจึงต้องทำหลายหน้าที่ ทั้งสอน เป็นที่ปรึกษาเด็ก เยี่ยมบ้านเด็ก และทำงานธุรการ ซึ่งรู้สึกไม่ยุติธรรมกับครู จึงอยากให้แก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างเร่งด่วน”
       
       ที่ผ่านมา เด็กเรียนไม่เก่ง เด็กมีปัญหา เรามักจะโทษคุณครู และคุณครูมักตกเป็นจำเลยทุกครั้งเมื่อเราพูดถึงการปฏิรูปการศึกษา ผู้คนมักคาดหวังอยากให้ครูมีคุณภาพ แต่เราไม่ได้ฟังเสียงของครูเลย ไม่ได้มองเห็นว่าแท้จริงแล้วที่ครูต้องประสบชะตากรรมอยู่ขณะนี้ ส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนใหญ่ก็เกิดจากผลพวงของระบบเชิงโครงสร้างที่ทำให้ครูต้องทิ้งเด็กไว้ในห้องเรียน ด้วยเพราะเหตุผล “ต้อง” ทำภารกิจอื่นๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวกับการสอนหนังสือเลย
       
       ถึงเวลาแล้วค่ะ ที่การ “คืนครูสู่ห้องเรียน” ต้องเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษา !!


ที่มา : 
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000141970


คืนครูสู่ห้องเรียน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

การศึกษาในอนาคต

การศึกษาในอนาคต


เปิดอ่าน 20,631 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

สมองที่ไร้ข้อมูล ความรู้และความคิด

สมองที่ไร้ข้อมูล ความรู้และความคิด

เปิดอ่าน 10,127 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยโอนโรงเรียนให้ท้องถิ่น
ปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยโอนโรงเรียนให้ท้องถิ่น
เปิดอ่าน 11,645 ☕ คลิกอ่านเลย

พลิกโฉม"แผนการศึกษาแห่งชาติ"แผนงานชัด-อ่านง่าย-ใช้ได้จริง
พลิกโฉม"แผนการศึกษาแห่งชาติ"แผนงานชัด-อ่านง่าย-ใช้ได้จริง
เปิดอ่าน 10,744 ☕ คลิกอ่านเลย

‘ครู’กับ‘ศิษย์’ ใกล้ชิดแค่ไหน? จึงจะ‘พอดี’ : โดย รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์
‘ครู’กับ‘ศิษย์’ ใกล้ชิดแค่ไหน? จึงจะ‘พอดี’ : โดย รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์
เปิดอ่าน 14,644 ☕ คลิกอ่านเลย

ที่เกาหลีใต้? เขาฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจด้วยถนนแห่งปัญญา
ที่เกาหลีใต้? เขาฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจด้วยถนนแห่งปัญญา
เปิดอ่าน 8,388 ☕ คลิกอ่านเลย

อ่านออกเขียนได้กับรักการอ่านเป็นคนละเรื่องเดียวกัน
อ่านออกเขียนได้กับรักการอ่านเป็นคนละเรื่องเดียวกัน
เปิดอ่าน 10,131 ☕ คลิกอ่านเลย

แลหลัง ผ่าปมข้อสอบคัดเลือก ผอ.-รอง ผอ.เกิดความผิดพลาด
แลหลัง ผ่าปมข้อสอบคัดเลือก ผอ.-รอง ผอ.เกิดความผิดพลาด
เปิดอ่าน 27,470 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ทำอย่างไรเมื่อคุณก้าวเข้าสู่วิกฤตวัยกลางคน (midlife crisis)
ทำอย่างไรเมื่อคุณก้าวเข้าสู่วิกฤตวัยกลางคน (midlife crisis)
เปิดอ่าน 14,094 ครั้ง

ครูยุคใหม่ แค่มีจิตวิญญาณครู-ไม่พอ
ครูยุคใหม่ แค่มีจิตวิญญาณครู-ไม่พอ
เปิดอ่าน 16,718 ครั้ง

สำรวจหาดาวเคราะห์แบบเดียวกับโลก มี 100 พันล้านดวง
สำรวจหาดาวเคราะห์แบบเดียวกับโลก มี 100 พันล้านดวง
เปิดอ่าน 19,901 ครั้ง

คลิปกัปตันออกมายอมรับ ผมกลับเข้าห้องนักบินไม่ได้ !!
คลิปกัปตันออกมายอมรับ ผมกลับเข้าห้องนักบินไม่ได้ !!
เปิดอ่าน 12,375 ครั้ง

ประกาศแล้ว..ผลประกวดคำขวัญกรุงเทพ​ฯ
ประกาศแล้ว..ผลประกวดคำขวัญกรุงเทพ​ฯ
เปิดอ่าน 14,359 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ