ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ส่องรธน.ฉบับปฏิรูป เตรียมผุดระบบบำนาญแห่งชาติ แก้ปัญหารายได้ผู้สูงอายุ


ข่าวการศึกษา 24 มิ.ย. 2558 เวลา 09:14 น. เปิดอ่าน : 3,971 ครั้ง
ส่องรธน.ฉบับปฏิรูป เตรียมผุดระบบบำนาญแห่งชาติ แก้ปัญหารายได้ผู้สูงอายุ

Advertisement

หากรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปผ่าน และถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการ รวมถึงต้นแบบของระบบบำนาญชาติได้ถูกรับไม้ต่อไปดำเนินการให้เกิดอย่างเป็นรูปธรรม จะทำให้คนไทยไม่เพียงเฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้นที่จะมีหลักประกันในทุกโมงยามของชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง

ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจากรายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยในปี 2557 พบว่า ประเทศไทยมีประชากรสูงอายุคิดเป็นร้อยละ 14.9 ของประชากรทั้งสิ้น และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี

การมีหลักประกันรายได้สำหรับผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการดำรงชีพของผู้สูงอายุ เพื่อไม่ให้เกิดปรากฎการณ์ “แก่ก่อนรวย”

คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้จึงได้ร่วมกันยกร่างให้รัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูป โดยระบุในเรื่องของการปฏิรูปด้านสังคมและการดูแลผู้สูงอายุ ให้มีการจัดทำแผนระยะยาวและดำเนินการเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย โดยเฉพาะการจัดให้ระบบการออมเพื่อการดำรงชีพในยามชรา และการเตรียมความพร้อมสู่วัยผู้สูงอายุที่เหมาะสมของประชาชน การปรับปรุงระบบการเกษียณอายุที่เหมาะสม การปฏิรูประบบสวัสดิการผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพเพื่อให้ดำรงชีพได้อย่างเหมาะสม

ทั้งนี้ระบบบำเหน็จบำนาญของไทยยังประสบปัญหาในเรื่องความครอบคลุม เพียงพอ และยั่งยืน โดยระบบหลักประกันรายได้สำหรับผู้สูงอายุของไทยที่มีการดำเนินการในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็นระบบสำหรับข้าราชการ ระบบสำหรับลูกจ้างเอกชน และระบบสำหรับประชาชนทั่วไป มีกองทุนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่มีการกำกับดูแลโดยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) สิทธิประโยชน์กรณีบำนาญชราภาพของลูกจ้างเอกชนที่บริหารจัดการโดยสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่บริหารจัดการโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย จึงได้จัดทำรายงานการวิจัยเรื่องการบูรณาการระบบบำนาญแห่งชาติ ภายใต้การสนับสนุนของของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อเป็นต้นแบบตั้งต้นให้การผลักดันเรื่องบำนาญแห่งชาติเป็นรูปธรรมและยั่งยืนเหมือนในร่างรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปกำหนดไว้

โดยรายงานระบุว่า สภาพปัญหาของระบบบำนาญไทยยังเป็นแบบแยกส่วน มีความแตกต่างกันทั้งในด้านเงื่อนไขการเกิดสิทธิ การสมทบจากรัฐ และระดับสิทธิประโยชน์ ทำให้ผู้มีงานทำไม่สามารถเชื่อมต่อระบบบำนาญหลายระบบได้เมื่อมีการเปลี่ยนการจ้างงาน การที่แต่ละหน่วยงานมีคณะกรรมการกำกับดูแล (board) หรือผู้มีอำนาจในการกำกับดูแลคนละคณะ และแต่ละคณะมิได้มีการทำงานที่บูรณาการกัน ทำให้มีข้อจำกัดในด้านความเป็นเอกภาพและไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นจึงควรมีการแก้ไขและปรับปรุงให้มีกลไกการบูรณาการเชิงนโยบายของระบบบำเหน็จบำนาญของไทยโดยมีคณะกรรมการกลางที่จะช่วยให้ระบบหลักประกันรายได้สำหรับผู้สูงอายุของไทยเป็นระบบที่มีการมองในภาพรวม มีนโยบายที่สอดคล้องกัน มีความเป็นธรรม ส่งเสริมสร้างความต่อเนื่องของการออม สร้างองค์ความรู้ และมีความยั่งยืน รวมทั้งลดต้นทุนในการบริหารจัดการ

ทั้งนี้ในการศึกษา คณะผู้วิจัยได้ทบทวนรูปแบบระบบบำนาญของกลุ่มประเทศยุโรป (EU) และญี่ปุ่น โดยเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ของประเทศที่มีระบบบำนาญมายาวนานจนประสบผลสำเร็จ และมีพัฒนาการในการเชื่อมโยงระบบบำนาญ ซึ่งต้นแบบระบบบำนาญในประเทศญี่ปุ่นนั้น แบ่งผู้ประกันตนออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

1) ผู้ประกอบอาชีพอิสระ คู่สมรสและผู้ที่ไม่ได้ทำงานที่มีอายุระหว่าง 20-60 ปี

2) ลูกจ้างภาคเอกชน และภาครัฐ

และ 3) คู่สมรสของกลุ่มที่ 2 และแบ่งระบบบำนาญออกเป็น 3 ชั้น คือ ชั้นที่ 1 ระบบบำนาญแห่งชาติ ครอบคลุมประชาชนในช่วงวัยทำงานทุกคน โดยได้รับบำนาญขั้นพื้นฐาน ชั้นที่ 2 ระบบบำนาญสำหรับลูกจ้าง ครอบคลุมทั้งลูกจ้างของภาครัฐ และเอกชน โดยเป็นบำนาญที่เพิ่มเติมขึ้นมาจากบำนาญขั้นพื้นฐาน และชั้นที่ 3 ระบบบำนาญแบบสมัครใจสำหรับลูกจ้าง และบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ระบบบำนาญของรัฐจะครอบคลุมเฉพาะชั้นที่ 1 และ 2 โดยเป็นแบบ Pay as you go ส่วนบำนาญชั้นที่ 3 จะดำเนินการโดยภาคเอกชน

ประเทศญี่ปุ่นมีการปฏิรูประบบบำนาญมาเป็นระยะ ๆ นับตั้งแต่เริ่มต้นการให้สวัสดิการบำนาญในปีพ.ศ. 2485 จากทั้งฝ่ายการเมือง ข้าราชการประจำ คณะกรรมการบำนาญเพื่อให้ระบบบำนาญสามารถครอบคลุมประชาชนทุกคน มีธรรมาภิบาล โปร่งใส และยุติธรรม รวมทั้งให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจและสังคม โดยคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ดังนี้ ประชาชนทุกคนต้องได้รับบำนาญพื้นฐาน การป้องกันภาระที่จะตกแก่คนวัยทำงานในอนาคต การจ่ายเงินบำนาญที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุ การสร้างความยั่งยืนของระบบบำนาญ และการสร้างระบบที่รองรับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรและเศรษฐกิจ

สำหรับระบบบำนาญชาติที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยนั้นในงานวิจัยระบุว่า เพื่อความสอดคล้องกัน ความเป็นธรรม และความยั่งยืนของระบบบำเหน็จบำนาญของไทย การกำหนดนโยบายด้านบำเหน็จบำนาญควรคำนึงถึง ความเป็นธรรม การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน ความเพียงพอของบำนาญ การเชื่อมต่อและความต่อเนื่องของการอยู่ในระบบบำนาญ และความยั่งยืนของกองทุน

นอกจากนี้ควรจัดตั้งคณะกรรมการกลางด้านบำเหน็จบำนาญที่เข้ามาดูแลด้านนโยบาย และประสานการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่ให้บริการบำเหน็จบำนาญ และการจัดการข้อมูลสมาชิกร่วมกัน เพื่อสร้างความสอดคล้องกันในการกำหนดนโยบายด้านบำเหน็จบำนาญ และลดความซ้ำซ้อนของการกำกับดูแลโดยหลายหน่วยงาน

อย่างไรก็ตามหากรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปผ่าน ถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการ รวมถึงต้นแบบของระบบบำนาญชาติได้ถูกรับไม้ต่อไปดำเนินการให้เกิดอย่างเป็นรูปธรรม จะทำให้คนไทยไม่เพียงเฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้นที่จะมีหลักประกันในทุกโมงยามของชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง 

 

ที่มา สำนักข่าวอิศรา วันที่ 23 มิถุนายน 2558


ส่องรธน.ฉบับปฏิรูป เตรียมผุดระบบบำนาญแห่งชาติ แก้ปัญหารายได้ผู้สูงอายุส่องรธน.ฉบับปฏิรูปเตรียมผุดระบบบำนาญแห่งชาติแก้ปัญหารายได้ผู้สูงอายุ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 2416 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม)

ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 2416 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม)

เปิดอ่าน 9,966 ☕ 11 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
เปิดอ่าน 3,626 ☕ 23 เม.ย. 2567

การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2567
การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 2,850 ☕ 23 เม.ย. 2567

กฏ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2567
กฏ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 315 ☕ 23 เม.ย. 2567

ครูและนักเรียน ใช้ห้องน้ำสะอาดร่วมกันได้ไม่แบ่งแยก เริ่มได้เลย
ครูและนักเรียน ใช้ห้องน้ำสะอาดร่วมกันได้ไม่แบ่งแยก เริ่มได้เลย
เปิดอ่าน 515 ☕ 22 เม.ย. 2567

ปีนี้ "สพฐ."ตรวจเข้มความโปร่งใส สอบรองผอ.ผอ.สถานศึกษา "ห้าม" กวดวิชา รับทำเอกสารทุกกรณี
ปีนี้ "สพฐ."ตรวจเข้มความโปร่งใส สอบรองผอ.ผอ.สถานศึกษา "ห้าม" กวดวิชา รับทำเอกสารทุกกรณี
เปิดอ่าน 440 ☕ 22 เม.ย. 2567

สพฐ.เปิดตัวโครงการ "สุขาดี มีความสุข" จัดงบ 1 หมื่นบาท ให้ รร.เล็กไม่เกิน 80 คน ปรับปรุงซ่อมแซมพร้อมใช้ก่อนเปิดเทอม
สพฐ.เปิดตัวโครงการ "สุขาดี มีความสุข" จัดงบ 1 หมื่นบาท ให้ รร.เล็กไม่เกิน 80 คน ปรับปรุงซ่อมแซมพร้อมใช้ก่อนเปิดเทอม
เปิดอ่าน 503 ☕ 22 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 6 ผู้ตัดสินที่ 2 (THE SECOND REFEREE)
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 6 ผู้ตัดสินที่ 2 (THE SECOND REFEREE)
เปิดอ่าน 30,649 ครั้ง

MV เพลง รางวัลของครู
MV เพลง รางวัลของครู
เปิดอ่าน 19,191 ครั้ง

"ครู" คือ "ปูชนียบุคคล" หรือ "ผู้แจวเรือจ้าง"
"ครู" คือ "ปูชนียบุคคล" หรือ "ผู้แจวเรือจ้าง"
เปิดอ่าน 12,704 ครั้ง

สายตาสั้น
สายตาสั้น
เปิดอ่าน 16,669 ครั้ง

ฮิคิโคโมริ ซินโดรม โรคเก็บตัวที่คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตุเมื่อลูกเริ่มหนีห่างจากสังคม
ฮิคิโคโมริ ซินโดรม โรคเก็บตัวที่คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตุเมื่อลูกเริ่มหนีห่างจากสังคม
เปิดอ่าน 3,787 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ