ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพสักคำ?! ประกันชีวิตอาวุโส...เรื่องที่ต้องรู้ แต่ไม่ได้บอก


ความรู้ทั่วไป 1 ธ.ค. 2558 เวลา 14:09 น. เปิดอ่าน : 14,464 ครั้ง
ไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพสักคำ?! ประกันชีวิตอาวุโส...เรื่องที่ต้องรู้ แต่ไม่ได้บอก

Advertisement

"ไม่ต้องตรวจหรือตอบคำถามสุขภาพ"

ประโยคจากโฆษณาประกันชีวิตผู้สูงอายุที่ดึงดูดให้คนสนใจ เมื่อได้ยินแล้ว แม้ไม่ใช่ผู้สูงอายุก็อยากทำประกันให้พ่อแม่หรือผู้สูงวัยในครอบครัว

ฟังดูง่าย ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน

เซ็นชื่อแกร๊กเดียวก็ได้กรมธรรม์มากอดให้อุ่นใจ

แต่ปัญหาหลายกรณีเกิดขึ้นเมื่อผู้ทำประกันเสียชีวิตลง แล้วทายาทผู้รับประโยชน์กลับพบว่าถูกบริษัทประกันภัยบอกล้างสัญญา เนื่องจากพบว่าผู้ทำประกันมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ก่อนมาทำประกันชีวิต บริษัทจึงคืนเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่เคยจ่ายมาแล้ว

ไม่แปลกที่จะสร้างความขุ่นเคืองให้แก่ผู้เผชิญปัญหานี้ เพราะการทำประกันชีวิตคือการหวังสร้างความมั่นคงให้ผู้ที่อยู่ข้างหลัง เมื่อบุคคลที่รักจากไปแล้วยังมีค่าสินไหมทิ้งไว้ให้บุตรหลาน

แต่ผู้ทำประกันภัยส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 ระบุว่า

"ถ้าในเวลาทำสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยก็ดีหรือในกรณีประกันชีวิต บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของเขานั้นก็ดี รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีกหรือให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จไซร้ ท่านว่าสัญญานั้นเป็นโมฆียะ"

แม้บริษัทประกันภัยจะไม่ตรวจหรือถามเรื่องสุขภาพ แต่เป็นหน้าที่ของคนที่จะทำสัญญาประกันชีวิตในการต้องแจ้งให้ทราบว่าป่วยเป็นอะไรในโรคสำคัญ หากพบว่ามีการปกปิดก็จะบอกล้างสัญญาได้

 

ไม่ต้องตรวจสุขภาพ หมายความว่า คุณต้องไม่เป็นโรค

พิฆเนศ ต๊ะปวง ผู้อำนวยการกองกฎหมายและคดี สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) บอกว่า กรณีนี้ตามกฎหมายหากผู้เอาประกันไปปกปิดเงื่อนไขเรื่องสุขภาพตัวเอง บริษัทประกันภัยจะได้รับการยกเว้น ไม่จ่ายได้ แต่ในส่วนโฆษณา การอวดอ้างบอกประชาชนว่าไม่ต้องตรวจสุขภาพ อาจเป็นประเด็นที่ทำให้ผู้เข้าไปซื้อเกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญได้

"ประชาชนฟ้องได้ แต่ต้องส่งเรื่องไปให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) วินิจฉัยก่อน เขาจึงจะสั่งให้บริษัทประกันภัยต้องชดใช้ ที่ผ่านมา สคบ.ก็ได้รับเรื่องร้องเรียน ซึ่งผมมองว่าผู้บริโภคน่าจะถูกปิดบัง ทำให้หลงเข้าไปทำสัญญา การไม่อ่านสัญญาให้ดีก็เป็นส่วนหนึ่ง

"โดยหลักแล้วการโฆษณาเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา การโฆษณาว่าไม่ต้องตรวจสุขภาพ แต่ไม่ได้บอกให้หมด คำว่าไม่ต้องตรวจสุขภาพ หมายความว่าคุณต้องไม่เป็นโรค แต่โฆษณาไม่บอก คนรับสารก็ไม่รู้ นึกว่าเป็นมะเร็งก็ทำได้ ทุกคนก็เข้าใจแบบนั้น"

พิฆเนศอธิบายต่อว่า บริษัทประกันต้องรับผิดชอบเรื่องการโฆษณา แต่ผู้ทำสัญญาต้องอ่านข้อสัญญาและสามารถโต้แย้งได้ภายใน 7 วัน กรมธรรม์ออกมาก็มีสิทธิโต้งแย้งได้ แต่เมื่อไม่มีใครโต้แย้งก็ต้องรับสภาพไป

กล่าวตามหลักของ สคบ. พิฆเนศยืนยันว่า "การโฆษณาต้องไม่เกินความจริงไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญ"

Advertisement

 

โฆษณาให้เข้าใจผิด

ลองพิจารณาเรื่องโฆษณาบ้าง

ดร.ฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ ม.รังสิต กล่าวว่า กรณีนี้เป็นลักษณะการให้ข้อความโฆษณาที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง สร้างความเข้าใจผิดให้แก่ผู้บริโภค อาจเป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน ทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญของสินค้าและบริการ

"น่าสังเกตว่าการโฆษณาแบบนี้จะเป็นการโฆษณากับผู้บริโภคสูงอายุ ที่อาจได้ข้อมูลไม่ครบ อาจมีอาการคิดได้ช้า ทำอะไรไม่ถี่ถ้วน การโฆษณากับผู้สูงอายุปัจจุบันมีรูปแบบการจูงใจ เช่น พูดช้าๆ หาบุคคลที่ดูน่าเชื่อถือ แสดงออกถึงความจริงใจ

"โฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์หรือวิทยุมีเวลาในการนำเสนอค่อนข้างน้อย ไม่สามารถพูดครบถ้วนได้ ตัวโฆษณาต้องชี้ว่าการโฆษณานั้นมีรายละเอียดนอกเหนือจากนี้อีกจำนวนมาก ควรมีการปรึกษาหรือพูดคุยโดยตรงกับผู้ขายประกันกำกับให้ชัดเจน"

ดร.ฉลองรัฐบอกว่า การทำโฆษณาแบบนี้ต้องถือว่าผิดจรรยาบรรณ มีเจตนาแสวงหาผลประโยชน์จากผู้บริโภค แต่ว่าไม่ให้ข้อมูลครบถ้วน ถือว่าเป็นเจตนาเพื่อหวังผลประโยชน์ทางการค้า แต่ไม่คำนึงถึงผู้บริโภค ต้องตั้งข้อสังเกตกลับว่า โฆษณาทุกชิ้น โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ ต้องมีการผ่านคณะกรรมการตรวจพิจารณาจากนักวิชาการในสถาบันต่างๆ ร่วมกับเจ้าของสินค้าและทางสถานี ถ้าการโฆษณาแบบนี้ออกไปแล้วได้ผลเชิงไม่ดีกลับมา ต้องมาทบทวนถึงกระบวนการตรวจพิจารณาด้วยว่า คนที่ตรวจพิจารณามีความสมบูรณ์พร้อม มีความเข้าใจในตัวสินค้าและบริการนั้นหรือไม่

"ต้องยอมรับว่าบางครั้งคนที่เข้าไปตรวจก็มีส่วนได้ส่วนเสียกับสินค้า บางคนอาจมาจากสมาคมนักโฆษณา เอเยนซี่ หรือตัวแทนโทรทัศน์ช่องต่างๆ ซึ่งได้รับผลประโยชน์จากการโฆษณาสินค้าเหล่านี้อยู่แล้ว"

 

บอกให้ชัด-ตรวจสอบให้กระจ่าง

นฤมล เมฆบริสุทธิ์ หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) เผยว่า ในวิธีพิจารณาความผู้บริโภคกำหนดให้การโฆษณาเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาอยู่แล้ว

"หลักปกปิดในทางกฎหมาย คือการที่รู้แล้วเจตนาไม่แถลงในโรคภัยร้ายแรง อย่างมะเร็ง เบาหวาน ซึ่งไปหาหมอเขาก็จะทราบว่ามีแนวโน้มที่จะเป็น แต่ถ้าเขาไม่เคยไปหาหมอเลยแล้วเสียชีวิต ก็ไม่ถือว่าปกปิด เพราะเขาไม่รู้ แต่บริษัทมักอ้างว่าเขาทราบ แล้วไปคัดเวชระเบียนหรือประวัติผู้ป่วยย้อนหลังมา ซึ่งบางทีอาจไม่ใช่โรคที่เขาเสียชีวิตแล้วอ้างว่าเขาปกปิด บอกล้างสัญญาคืนเบี้ยประกันที่ชำระไป นี่คือการเอาเปรียบผู้บริโภค

"เราต้องถามกลับว่าตอนซักประวัติตัวแทนขายประกันทางบริษัท ได้ถามประวัติสุขภาพผู้ป่วยไหม ตัวแทนได้คอมมิชชั่นจากการขายประกัน ถ้าไม่มีจรรยาบรรณอาจเขียนไม่ตรงกับที่ผู้บริโภคบอกหรือเปล่า ซึ่งสิ่งนี้ยืนยันกันไม่ได้ สุดท้ายเป็นการบอกว่าผู้บริโภคปกปิด บริษัทจึงต้องมีระบบตรวจสอบกับตัวแทนขายว่ามีการแถลงของผู้ซื้อประกันหรือไม่

"การจ่ายเงินประกันก็ต้องมีความชัดเจน กติกาต้องชัดเจน ให้ผู้บริโภคตัดสินใจ การไม่ต้องตรวจสุขภาพหรือไม่ตอบคำถามสุขภาพ บริษัทยอมที่จะแบกรับความเสี่ยงอยู่แล้ว การประกันต่างๆ เหล่านี้เป็นประกันวินาศภัย กรณีเสียชีวิตเท่านั้น ผู้สูงอายุบางท่านซื้อเผื่อไว้ตอนเจ็บไข้ได้ป่วย จะได้ไม่เป็นภาระของลูกหลาน โดยไม่รู้ว่าเป็นการประกันเฉพาะกรณีเสียชีวิต เพราะไม่ได้มีข้อความในการโฆษณา จึงต้องมีความชัดเจน" นฤมลกล่าว


บริษัทต้องโปร่งใส คนซื้อต้องตรวจสอบ

หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค เสนอว่า อยากให้มีระบบการตรวจสอบของบริษัทก่อนออกกรมธรรม์ เมื่อมีการยื่นแถลงใบคำขอไปแล้วให้ทางบริษัทมีระบบตรวจสอบกลับไปยังผู้เอาประกันอีกที การส่งมอบกรมธรรม์ต้องตรวจสอบว่าข้อมูลที่ตัวแทนไปทำกับข้อมูลของผู้ซื้อประกันตรงกันไหม เพื่อให้ทุกอย่างตรงไปตรงมา

"เพราะคนที่เถียงบางทีไม่ใช่ผู้เอาประกันแต่เป็นทายาทหรือผู้รับผลประโยชน์ กรณีผู้ทำประกันเสียชีวิต เขาไม่ทราบว่าตอนทำประกันคุยอะไรกันไว้ เถียงกันยากก็เป็นภาระผู้บริโภคที่ต้องไปฟ้องคดี ความโปร่งใสของบริษัทต้องมีและการจัดการกับตัวแทนที่อบรมมาแล้วมีปัญหาต้องมีอย่างเป็นรูปธรรมไม่ใช่แค่เพิกถอนใบอนุญาต"

ส่วนคนที่ซื้อประกัน นฤมลฝากไว้ว่า ประกันเป็นสิ่งที่ดี สร้างความมั่นคงให้กับลูกหลาน ถ้าตกลงทำประกันแล้วควรแถลงข้อมูลการรักษาพยาบาลอย่างตรงไปตรงมา ถ้าตัวแทนไม่ระบุก็เสนอให้เขาระบุ

"เมื่อได้รับกรมธรรม์ทุกครั้งควรตรวจสอบ ถ้าไม่ตรงกับที่พูดไว้ก็มีสิทธิปฏิเสธและคืนกรมธรรม์หรือขอให้บริษัทแก้ไข ณ วันที่รับกรมธรรม์เลย เพราะทายาทอาจไม่ทราบข้อมูลที่ผู้เอาประกันดำเนินการไว้ การกระทำทุกอย่างเป็นความเสี่ยง ตัดสินใจดีๆ บางท่านจ่ายไปสักพักแล้วไม่มีเงินจ่ายประกัน ขาดสิทธิประโยชน์ ต้องดูความพร้อมตัวเองด้วย" นฤมลกล่าว

ทั้งนี้ แม้ช่วงที่ผ่านมามีการพยายามแก้ปัญหาจากผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งส่งผลให้มีการปรับปรุงโฆษณาของแต่ละบริษัทแล้ว แต่ผู้บริโภคควรหาข้อมูลและตรวจสอบละเอียดเมื่อมีการทำสัญญา

อย่าปล่อยให้ตัวเองตกเป็นเหยื่อ บนข้อตกลงที่ไม่ชอบธรรม 

 

โดย วจนา วรรลยางกูร

ที่มา มติชน วันที่ 1 ธันวาคม 2558


ไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพสักคำ?! ประกันชีวิตอาวุโส...เรื่องที่ต้องรู้ แต่ไม่ได้บอกไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพสักคำ?!ประกันชีวิตอาวุโส...เรื่องที่ต้องรู้แต่ไม่ได้บอก

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ลักษณะนิ้วมือบ่งบอกอะไร?

ลักษณะนิ้วมือบ่งบอกอะไร?


เปิดอ่าน 22,241 ครั้ง
10 ท่ากระชับสัดส่วนสวย

10 ท่ากระชับสัดส่วนสวย


เปิดอ่าน 10,302 ครั้ง
ทำไมคนเราต้องกระพริบตา

ทำไมคนเราต้องกระพริบตา


เปิดอ่าน 31,231 ครั้ง
Advertisement


:: เรื่องปักหมุด ::

ยูฟ่าประกาศห้ามทรูวิชั่นส์ถ่ายทอดบอลยูโร

ยูฟ่าประกาศห้ามทรูวิชั่นส์ถ่ายทอดบอลยูโร

เปิดอ่าน 8,449 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
7 วิธีเติมความมีชีวิตชีวาให้ชีวิต
7 วิธีเติมความมีชีวิตชีวาให้ชีวิต
เปิดอ่าน 12,479 ☕ คลิกอ่านเลย

วันสิ่งแวดล้อมโลก กับ วิกฤติน้ำแล้ง - ขาดแคลนอาหาร (5 มิ.ย.)
วันสิ่งแวดล้อมโลก กับ วิกฤติน้ำแล้ง - ขาดแคลนอาหาร (5 มิ.ย.)
เปิดอ่าน 12,803 ☕ คลิกอ่านเลย

เป่ายิ้งฉุบเป็นของชาติไหน
เป่ายิ้งฉุบเป็นของชาติไหน
เปิดอ่าน 13,141 ☕ คลิกอ่านเลย

6 ข้อต้องรู้! รบ.แจงผ่อนปรน นั่งแค็บ-ท้ายกระบะ
6 ข้อต้องรู้! รบ.แจงผ่อนปรน นั่งแค็บ-ท้ายกระบะ
เปิดอ่าน 36,002 ☕ คลิกอ่านเลย

"พอล"หมึกยักษ์..นักทำนาย ต้นตระกูลกำเนิดยุคแคมเบรียน
"พอล"หมึกยักษ์..นักทำนาย ต้นตระกูลกำเนิดยุคแคมเบรียน
เปิดอ่าน 10,639 ☕ คลิกอ่านเลย

ขั้วโลกเหนือจะหมดสิ้นทะเลน้ำแข็ง ใน 20-30 ปีหน้า
ขั้วโลกเหนือจะหมดสิ้นทะเลน้ำแข็ง ใน 20-30 ปีหน้า
เปิดอ่าน 11,696 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

พระพรหม (พระธาดา)
พระพรหม (พระธาดา)
เปิดอ่าน 17,648 ครั้ง

ขนาดเด็กน้อยยังต้องฟัง กังนัม สไตล์ กินข้าว
ขนาดเด็กน้อยยังต้องฟัง กังนัม สไตล์ กินข้าว
เปิดอ่าน 9,642 ครั้ง

"โมสาร์ท เอฟเฟกต์" เรื่องจริงหรือแค่อิงวิจัย
"โมสาร์ท เอฟเฟกต์" เรื่องจริงหรือแค่อิงวิจัย
เปิดอ่าน 28,432 ครั้ง

ระบบการศึกษาที่ไม่สมดุล (1)
ระบบการศึกษาที่ไม่สมดุล (1)
เปิดอ่าน 8,039 ครั้ง

หลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
หลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
เปิดอ่าน 22,806 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ