ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ไอเดีย..โครงสร้างศธ.รูปแบบใหม่สลาย5แท่งหวนสู่ "กรม"!


บทความการศึกษา 2 ธ.ค. 2558 เวลา 09:01 น. เปิดอ่าน : 22,677 ครั้ง
ไอเดีย..โครงสร้างศธ.รูปแบบใหม่สลาย5แท่งหวนสู่ "กรม"!

Advertisement

ไอเดีย..โครงสร้าง ศธ.รูปแบบใหม่สลาย5แท่งหวนสู่'กรม'! : เกศกาญจน์ บุญเพ็ญรายงาน

ส่งสัญญาณอยู่เป็นระยะสำหรับ “บิ๊กหนุ่ย” พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการะทรวงศึกษาธิการ ว่าพร้อมรับฟังเสียงของข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ใครเสนออะไรมาก็พร้อมหยิบขึ้นมาพิจารณาให้ ซึ่งก็เห็นจริงตามนั้น...

อย่าง “การปรับโครงสร้าง ศธ.” รูปแบบใหม่ ที่ พล.อ.ดาว์พงษ์ บอกว่าไม่ได้คิดเอง แต่มีข้อเสนอจากคนใน ศธ.แต่ก็ได้ซุ่มดำเนินการเรียกผู้บริหาร 5 องค์กรหลักของ ศธ.มาร่วมถก เสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษา หรือ ซูเปอร์บอร์ดการศึกษา ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นั่งเป็นประธานก่อนตีกลับมาให้ ศธ.ดูอีกครั้ง

รูปแบบโครงสร้างใหม่ของ ศธ.นั้น สลาย 5 องค์กรหลัก หรือ 5 แท่งและแบ่งระบบโครงสร้างบริหารเป็นกรม คล้ายในอดีตก่อนเมื่อครั้งมี 14 องค์ชาย หรือ 14 กรม ก่อนจะปรับโครงสร้าง ศธ.ครั้งใหญ่ออกเป็นพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 เหตุผลว่าการทำงานที่เป็นอยู่เทอะทะ อุ้ยอ้าย ทำงานไม่เป็นเอกภาพ!!

พล.อ.ดาว์พงษ์ ชี้แจงว่า รูปแบบโครงสร้าง ศธ.ครั้งนี้ อาจเหมือนถอยหลังไปสู่ยุค 14 กรม แต่ไม่ใช่ยกมาทั้งดุ้น เพราะการปรับได้ดูทั้งโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และความเชื่อมโยงควบคู่กันไป โดยเวลานี้เห็นแล้วว่า การทำงานของ ศธ.ขาดความเชื่อมโยงและการขับเคลื่อน ดังนั้นจะมาบอกว่าปรับถอยหลัง โดยไม่ได้ดูสิ่งเหล่านี้คงไม่ใช่ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้มองอะไรบางอย่างไว้ระดับหนึ่งแล้ว แต่ไม่อยากพูดตามใจตนเอง เพราะจะกลายไปชี้นำ

โครงสร้าง ศธ.ใหม่..วางในรูปแบบที่เรียกว่า “ซิงเกิล คอมมาน” มี “รมว.ศึกษาธิการ” ดูแลนโยบายในภาพรวม มี “ปลัด ศธ.” เป็นผู้บริหารระดับสูงเพียงคนเดียว แยกการทำงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ออกเป็น 6 กรม 2 สำนัก คือ สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กรมวิชาการ กรมการศึกษานอกโรงเรียน กรมการปฐมวัยและประถมศึกษา กรมการมัธยมศึกษา กรมการศึกษาพิเศษ และกรมอาชีวศึกษา

นอกจากนี้กำหนดให้มีสำนักงานศึกษาธิการภาค 1-19 ซึ่งเป็นการแบ่งตามกลุ่มจังหวัดของสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีคณะกรรมการการศึกษาจังหวัด ทำงานเชื่อมโยงกับสำนักงานระดับจังหวัด คือ สำนักงานการศึกษานอกโรงเรียน สำนักงานปฐมวัยและประถมศึกษาจังหวัด สำนักงานมัธยมศึกษาจังหวัด สำนักงานการศึกษาพิเศษจังหวัด สำนักงานอาชีวศึกษา ทำงานประสานไปยังสถานศึกษาต่างๆ

อย่างไรก็ดี จุดเด่นของโครงสร้าง ศธ.ใหม่ จะมี “ศึกษาธิการภาค” เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวง ไปสู่การปฏิบัติและบริหารจัดการในพื้นที่ให้เกิดการบูรณาการ โดยมี “คณะกรรมการการศึกษาจังหวัด” และ “สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด” เป็นผู้ดูแล ทำให้กระทรวงสามารถกำหนดยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกันทั้งระดับภาค และจังหวัด มีลำดับชั้นของการบริหารจัดการและสายบังคับบัญชาที่ชัดเจน การบริหารบุคคลมี “การตรวจสอบ” และ “ถ่วงดุล” ทั้งในระดับจังหวัดและระดับภาค

ทั้งนี้ รูปแบบโครงสร้าง ศธ.ใหม่จะมีองค์กรหลักที่หายไป 2 แท่ง อันได้แก่ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ที่จะย้ายไปขึ้นตรงกับสำนักนายกรัฐมนตรี ที่เวลานี้ “ดร.กมล รอดคล้าย” เลขาธิการ สกศ.ระบุว่า อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียด และศึกษาแนวทางเพิ่มเติมตามโจทย์ของนายกฯ คาดว่าจะแล้วก่อนการปรับเสร็จเร็วๆ นี้

ถัดมา..สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่เตรียมแยกออกไปตั้งเป็น “กระทรวงอุดมศึกษา” ซึ่ง “น.ส.อาภรณ์ แก่นวงศ์” เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) บอกว่า ที่ผ่านมามีเสียงสนับสนุนทั้งที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และอธิการบดีมหาวิทยาลัยหลายคนที่เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้แยก สกอ.ออกจาก ศธ.เพื่อสามารถสนับสนุนมหาวิทยาลัยได้เต็มที่ โดยสถานะเทียบเท่ากระทรวง แต่จะเรียกชื่อเป็น กระทรวง หรือทบวง ยังต่อรอความชัดเจน แต่ที่ยืนยันได้คือต่อให้แยกออกมา ความเชื่อมโยงกับการศึกษาระดับพื้นฐานและอาชีวศึกษาจะไม่สะดุดแน่นอน

ขณะที่ สอศ.แม้จะยังรวมในโครงสร้างแต่มีสถานะเป็นเพียงกรมการอาชีวศึกษาเท่านั้น "ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์" เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) ย้ำจุดยืนว่า สอศ.ยังขอยืนสถานะองค์กรหลักของ ศธ.เช่นเดิม แต่จะปรับโครงสร้างภายในเป็น 4 กรม มีสถานะเป็นนิติบุคคล คือ กรมอาชีวศึกษารัฐ กรมอาชีวศึกษาเอกชน กรมสถาบันการอาชีวศึกษา และกรมมาตรฐานและความร่วมมือ นอกจากนี้มีหน่วยงานระดับภาคและกลุ่มจังหวัด มีอาชีวศึกษาจังหวัดเป็นตัวเชื่อมกับหน่วยงานการศึกษาอื่นๆ แต่ไม่อยู่ในการบังคับบัญชา อย่างไรก็ตาม โครงสร้างที่สอศ.เสนอนั้น ได้ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากสถานศึกษา ภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่เห็นพ้องว่าความสำเร็จของ สอศ.ในเวลานี้เป็นผลจากโครงสร้างปัจจุบัน

ด้าน “นายการุณ สกุลประดิษฐ์” เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) มีความเห็นว่า การปรับโครงสร้าง สพฐ.ที่เป็นกรมปฐมวัย กรมมัธยมศึกษา กรมการศึกษาพิเศษ และกรมวิชาการนั้น มีความเหมาะสม โดยระบุว่า เห็นด้วยกับโครงสร้างดังกล่าว เนื่องจากปัจจุบัน สพฐ.เป็นองค์กรที่มีขนาดใหญ่เทอะทะ แต่หากมีการปรับปรุงจะทำให้การทำงานรวดเร็วเกิดผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในภาพรวม เกิดความชัดเจนในการบริหารงาน

เวลานี้ “พล.อ.ดาว์พงษ์” ได้แต่งตั้งคณะทำงานทบทวนบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างของ ศธ. มี “รศ.นพ.กำจร ตติยกวี” ปลัด ศธ.เป็นประธานและคณะทำงาน 36 คน มีหน้าที่ในการวิเคราะห์ ทบทวนบทบาท ภารกิจ อำนาจหน้าที่ และโครงสร้าง ศธ. ซึ่งเพิ่งถกข้อคิดเห็นไปเมื่อเร็วๆ นี้ เบื้องต้นย้ำไม่เพิ่มคน ไม่เพิ่มเงิน และการบริหารงานต้องคล่องตัว มีประสิทธิภาพ ไม่ใช้คำว่า “กระจายอำนาจ” แต่จะเพิ่มความเป็นอิสระให้สถานศึกษา โดยได้มอบให้แต่ละองค์กรหลักไปวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของโครงสร้างปัจจุบัน และเสนอมาด้วยว่า หากมีโครงสร้างใหม่จะแก้ปัญหาที่เจอได้อย่างไร พร้อมกำหนดไทม์ไลน์จะสรุปโครงสร้าง ศธ.ภายในเดือนธันวาคม 2558 เพื่อจะได้เสนอเข้าสู่ซูเปอร์บอร์ดการศึกษาของนายกฯ

แม้ตอนนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนว่าโครงสร้าง ศธ.จะเป็นรูปแบบใด? แต่จากบทเรียนในอดีตอาจทำให้เราต้องตระหนักด้วยว่า กว่าการเปลี่ยนแปลงจะเข้ารูปเข้ารอย ต้องใช้เวลาไม่น้อย เพราะเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการทำงาน และอัตรากำลังคน และที่สำคัญเรื่องของตำแหน่งหน้าที่ เพราะฉะนั้นคงต้องฟังเสียงให้รอบด้าน รวมไปถึงความคุ้มค่า...ต่อระบบการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 

 

ที่มา คม ชัด ลึก วันที่ 2 ธันวาคม 2558


ไอเดีย..โครงสร้างศธ.รูปแบบใหม่สลาย5แท่งหวนสู่ "กรม"!ไอเดีย..โครงสร้างศธ.รูปแบบใหม่สลาย5แท่งหวนสู่กรม!

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

การพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก

การพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก


เปิดอ่าน 10,864 ครั้ง
ระบบการศึกษาไม่สมดุล (2)

ระบบการศึกษาไม่สมดุล (2)


เปิดอ่าน 7,866 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

คุณครูหายไปไหนครับ?

คุณครูหายไปไหนครับ?

เปิดอ่าน 20,158 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
คนไทยกับ "วิกฤติหนี้สิน" "การศึกษา" ถึงเวลาปฏิรูป
คนไทยกับ "วิกฤติหนี้สิน" "การศึกษา" ถึงเวลาปฏิรูป
เปิดอ่าน 9,061 ☕ คลิกอ่านเลย

เรียนยังไงให้ "เก่ง" และต้องเก่งกว่าครูบาอาจารย์ คำแนะนำจากนักเรียนทุนชื่อ "ดร.ป๋วย"
เรียนยังไงให้ "เก่ง" และต้องเก่งกว่าครูบาอาจารย์ คำแนะนำจากนักเรียนทุนชื่อ "ดร.ป๋วย"
เปิดอ่าน 13,140 ☕ คลิกอ่านเลย

ครูพันธุ์ควอลิตี้
ครูพันธุ์ควอลิตี้
เปิดอ่าน 8,900 ☕ คลิกอ่านเลย

พลิกโฉม"แผนการศึกษาแห่งชาติ"แผนงานชัด-อ่านง่าย-ใช้ได้จริง
พลิกโฉม"แผนการศึกษาแห่งชาติ"แผนงานชัด-อ่านง่าย-ใช้ได้จริง
เปิดอ่าน 10,730 ☕ คลิกอ่านเลย

นัยสำคัญยุทธศาสตร์การศึกษาในพลวัตศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นประชาคมอาเชียน อย่างยั่งยืนสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไทย
นัยสำคัญยุทธศาสตร์การศึกษาในพลวัตศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นประชาคมอาเชียน อย่างยั่งยืนสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไทย
เปิดอ่าน 2,838 ☕ คลิกอ่านเลย

เสียงสะท้อนจากนิทานเรื่องมดน้อย ของลุงตู่ ต่อการปฏิรูปการศึกษา : โดย เพชร เหมือนพันธุ์
เสียงสะท้อนจากนิทานเรื่องมดน้อย ของลุงตู่ ต่อการปฏิรูปการศึกษา : โดย เพชร เหมือนพันธุ์
เปิดอ่าน 9,442 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ระวังนะ "ความร้อน" สามารถทำลายข้อมูลใน SSD ได้
ระวังนะ "ความร้อน" สามารถทำลายข้อมูลใน SSD ได้
เปิดอ่าน 11,482 ครั้ง

ประโยชน์ของการดื่มน้ำเปล่า
ประโยชน์ของการดื่มน้ำเปล่า
เปิดอ่าน 1,088 ครั้ง

อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว
อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว
เปิดอ่าน 9,207 ครั้ง

ประวัติ....ซานตาคลอส
ประวัติ....ซานตาคลอส
เปิดอ่าน 53,800 ครั้ง

30 ทริคออมเงิน ประหยัดรายจ่าย ปลดหนี้ก็ง่ายเว่อร์
30 ทริคออมเงิน ประหยัดรายจ่าย ปลดหนี้ก็ง่ายเว่อร์
เปิดอ่าน 14,628 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 096-7158383

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ