ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

"แย่งชิงผลประโยชน์-เล่นพวกพ้อง-สองมาตรฐาน" ตีแผ่ด้านมืดวงการอุดมศึกษาไทย


ข่าวการศึกษา 25 พ.ค. 2559 เวลา 13:40 น. เปิดอ่าน : 15,210 ครั้ง
"แย่งชิงผลประโยชน์-เล่นพวกพ้อง-สองมาตรฐาน" ตีแผ่ด้านมืดวงการอุดมศึกษาไทย

Advertisement

เรื่อง...อินทรชัย พาณิชกุล

ข่าวการเสียชีวิตของอาจารย์มหาวิทยาลัยระดับด็อกเตอร์ 3 คน สร้างความสะเทือนใจให้แก่สังคมเป็นอย่างยิ่ง

เบื้องหลังปมสังหารถูกพุ่งเป้าไปที่ความขัดแย้งในหลักสูตรพิเศษระดับปริญญาโทและปริญญาเอกอันเต็มไปด้วยผลประโยชน์มหาศาล การกลั่นแกล้ง ดูหมิ่นเหยียดหยาม ไม่ได้รับความเป็นธรรม นำไปสู่การเปิดโปงระบบการบริหารในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐครั้งใหญ่

ความขัดแย้งในรั้วอุดมศึกษา

รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ เลขาธิการศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (CHES) วิเคราะห์ว่า การเสียชีวิตของด็อกเตอร์ทั้ง 3 คน ซึ่งสังคมส่วนใหญ่มองว่าเป็นความขัดแย้งส่วนตัว แต่ในฐานะผู้ทำงานช่วยเหลือบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมานานกว่า 10 ปี เขาเชื่อว่า ต้นตอแท้จริงมาจากระบบการบริหารจัดการที่ขาดหลักธรรมาภิบาล

"ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัวคงไปเคลียร์กันข้างนอก ไม่ก็ฟ้องร้องดำเนินคดี พูดง่ายๆไปเล่นกันเอง แต่ลักษณะที่เกิดขึ้นนี้ เกิดในมหาวิทยาลัย ในห้องสอบวิทยานิพนธ์ และผู้ที่เกี่ยวข้องก็คือเพื่อนร่วมงานในสาขาเดียวกัน มันจึงหนีไม่พ้นเรื่องของการบริหารจัดการในองค์กร"

ที่ผ่านมา ปัญหากระทบกระทั่งระหว่างบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ มักเกิดจากความอิจฉาริษยา ขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ เริ่มตั้งแต่กลั่นแกล้งกันด้วยการส่งอีเมล เขียนบัตรสนเท่ใส่ร้ายป้ายสี จ้างคนไปทำลายทรัพย์สินส่วนตัว ขูดรถ ทุบกระจก หนักเข้าก็ลงไม้ลงมือชกต่อย รุนแรงสุดถึงขั้นจ้างวานฆ่าก็เคยมีมาแล้ว เกือบทั้งหมดเกิดขึ้นภายในรั้วมหาวิทยาลัย และไม่เคยเป็นข่าว

"เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลายครั้งมาจากการแก่งแย่งชิงดี แย่งชิงอำนาจ หมายถึง อำนาจการบริหารจัดการและสั่งการ แย่งชิงผลประโยชน์ก็คือ เงิน ถ้าเป็นผู้บริหารที่มีธรรมาภิบาลก็จะเกลี่ยผลประโยชน์ให้ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ให้ทุกคนพึงพอใจ ไม่รู้สึกว่าถูกเอารัดเอาเปรียบ แต่ถ้าผู้บริหารที่ขาดหลักธรรมาภิบาลก็จะรวมศูนย์อยู่ฝ่ายเดียว เล่นพรรคเล่นพวก พอเกิดปัญหา ก็นิ่งเฉย ปิดข่าว

วิธีที่ผู้บริหารนิยมปัดปัญหาไปให้พ้นตัวคือ ต้องทำเรื่องให้เงียบที่สุด สถาบันการศึกษาหลายแห่งเป็นหน่วยงานของรัฐ การปกครองในระบบราชการมักมีเรื่องวินัยเข้ามากดดัน โดยใช้วิธีลงโทษทางวินัยมาปิดปากไม่ให้พูด สุดท้ายเมื่อไม่มีใครกล้า ทุกอย่างจะเงียบไปเอง อาจารย์บางท่านร้องเรียนไปยังสภามหาวิทยาลัยแล้วก็เงียบ เลยไปร้องเรียนข้างนอกจนกลายเป็นข่าว ผู้บริหารก็เล่นงานด้วยข้อหาทำให้สถาบันเสื่อมเสียชื่อเสียง"

ประเด็นที่น่าเป็นห่วงอีกประการคือ เมื่อมีการร้องเรียนจากทั้งสองฝ่าย ผู้บริหารที่ขาดหลักธรรมาภิบาลมักเข้าข้างพวกเดียวกัน เช่น ฝ่ายแรกไปร้องเรียนกลับนิ่งเฉย ไม่เหลียวแล แต่พออีกฝ่ายที่เป็นพรรคพวกกันร้องเรียนบ้าง กลับรีบดำเนินการ ทั้งที่ควรกลั่นกรองข้อร้องเรียนอย่างเป็นธรรม บังคับใช้กฎอย่างเสมอภาค ไม่มีการเลือกปฏิบัติ

"ผู้บริหารที่มีธรรมาภิบาลจะแก้ปัญหาด้วยการเรียกทั้งสองฝ่ายมาไกล่เกลี่้ย แต่ผู้บริหารที่ไม่มีธรรมาภิบาลจะโยนให้เป็นเรื่องส่วนตัว เพราะไม่อยากเอาตัวเองเข้าไปยุ่ง สุดท้ายปล่อยปะละเลย ให้แก้ปัญหากันเอง เมื่อปัญหาสะสม ถูกกดดัน ถูกบีบให้จนตรอก หลายคนตัดสินใจลาออก ไม่ก็เลือกใช้วิธีศาลเตี้ย"

เปิดขุมทรัพย์"หลักสูตรพิเศษ"

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเกือบทุกแห่งจะมี "หลักสูตรพิเศษ" เปิดสอนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ซึ่งค่าเล่าเรียนจะสูงกว่าหลักสูตรภาคปกติ ตรงนี้เองที่ผลประโยชน์มหาศาลเข้ามาเกี่ยวข้อง อันเป็นชนวนเหตุสร้างความขัดแย้ง

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกวันนี้อาจารย์มหาวิทยาลัยหลายคนอยากจะเข้าไปสอนหลักสูตรพิเศษมากกว่าหลักสูตรภาคปกติกันทั้งนั้น

"หลักสูตรภาคปกติแทบไม่มีใครเอา เพราะไม่มีเงินพิเศษ มีแต่เงินเดือนเพียวๆ ตำแหน่งประธานหลักสูตรภาคปกติก็แทบไม่มีใครอยากเป็น เพราะภาระงานเยอะ อาจารย์ส่วนใหญ่ต้องไปทำงานวิจัยเพื่อหาได้รายได้เพิ่ม แม้จะน่าภาคภูมิใจ เพราะเป็นผลตอบแทนที่แลกมาด้วยความรู้ความสามารถตัวเอง แต่ยากและเหนื่อยกว่ามาก แตกต่างจากเป็นประธาน หรือกรรมการบริหารหลักสูตรภาคพิเศษ จะมีเงินค่าตอบแทนเฉลี่ยต่อเดือน 7,000-20,000 บาท เป็นค่าตำแหน่งที่นอกเหนือจากเงินเดือนปกติ ค่าสอนด้วย

ชั่วโมงละ 800-2,500 บาท ค่าเบี้ยประชุมครั้งละ 800-1,500 บาท บางครั้งจัดประชุมพอเป็นพิธีแค่ 10 นาที จบ แถมประชุมถี่ยิบ ไหนจะค่าสอบ ค่าอ่าน ค่าตรวจวิทยานิพนธ์ 5,000-10,000 บาท ถามว่าถ้าอยู่ภาคพิเศษ จะอยากกลับมาสอนภาคปกติไหม พูดง่ายๆคือลืมเงินเดือนประจำไปเลย

โดยปกติ กรรมการบริหารหลักสูตรพิเศษจะมีวาระแค่ 2 ปี แล้วหมุนเวียนกันไป ทีนี้ถ้าเป็นพวกเดียวกัน เช่น คนนึงเป็นประธาน แล้วพวกตัวเองเป็นกรรมการ อีก 2ปีข้างหน้าตัวเองก็สลับไปเป็นประธาน แล้วเอาพวกพ้องย้ายมาเป็นกรรมการ พูดง่ายๆสลับกันเองในหมู่พวกพ้อง อย่าลืมว่า อาจารย์ไม่ได้มีแค่ 6 คน แต่มีเป็น 20 คน แต่ดันวนกันอยู่แค่ 6 คน ก็เกิดความไม่เป็นธรรม ตรงนี้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยควรคิดให้หนัก ต้องเกลี่ยผลประโยชน์ให้ทุกคนอย่างเท่าเทียม ยุติธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ ผู้ที่จะมาดูแลหลักสูตรพิเศษต้องมาด้วยวิธีประชาธิปไตย ไม่ใช่เลือกแต่พวกพ้อง"


 

สาวไส้ระบบ"มาเฟีย"

อีกประเด็นหนึ่งที่ถูกจับตามองว่าอาจเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา นั่นคือ โครงสร้างการบริหาร

รศ.วีรชัย อธิบายว่า ตามหลักทั่วไป โครงสร้างการบริหารมหาวิทยาลัยของรัฐ ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ฝ่ายบริหารและฝ่ายนโยบาย

"ฝ่ายบริหารก็คือ อธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี ส่วนฝ่ายควบคุมนโยบายคือ สภามหาวิทยาลัย มีหน้าที่ออกกฎระเบียบ นโยบายต่างๆ ทุกนโยบายจะต้องผ่านสภามหาวิทยาลัย ส่วนฝ่ายบริหารก็มีหน้าที่บริหารตามนโยบาย ถ้าทั้งสองฝ่ายถ่วงดุลกันได้ก็ดี

ยกตัวอย่างกรณีอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎแห่งหนึ่ง 15 คนถูกเลิกจ้างโดยคำสั่งของฝ่ายบริหาร แต่สภามหาวิทยาลัยกลับมติให้จ้างต่อ นี่คือการถ่วงดุลว่า แบบนี้ไม่เหมาะ ให้กลับไปทบทวน แต่ถ้าเมื่อไรสภามหาวิทยาลัยและผู้บริหารเป็นพวกเดียวกัน หรือที่เขาเรียกว่าสภาเกาหลัง คันตรงไหนก็เกาให้กัน ผลัดกันเกา ตรงนี้น่าเป็นห่วง การเล่นพรรคเล่นพวกถือว่าขาดหลักธรรมาภิบาลอย่างรุนแรง ชี้ชะตาใครก็ได้ แต่งตั้งใครก็ได้ กุมอำนาจอยู่ฝ่ายเดียว ไม่ต่างจากมาเฟีย"

ท้ายที่สุดเมื่อมหาวิทยาลัยถูกครอบงำด้วยบุคคลกลุ่มเดียว จึงสุ่มเสี่ยงเป็นอย่างยิ่งที่จะเกิดปัญหาคอร์รัปชั่น ผลประโยชน์ทับซ้อน ผลประโยชน์ต่างตอบแทน

"ผลประโยชน์ในมหาวิทยาลัยนั้นมหาศาล บางมหาวิทยาลัยได้รับงบประมาณจากรัฐบาลเป็นพันล้าน นอกจากนี้ยังมีงบรายได้ เช่น ค่าเทอม ค่าเช่าที่ บางมหาวิทยาลัยมีเงินรายได้ถึงหมื่นล้าน เงินเกือบหมื่นล้านนี่มันเท่ากับกรมๆหนึ่งเลย บางกรมได้งบประมาณ 500 ล้าน ไม่มีเงินรายได้ แต่ยังโกงกันเต็มบ้านเต็มเมือง แต่มหาวิทยาลัยมีทั้งงบประมาณแผ่นดินและเงินรายได้ ผลประโยชน์มันมหาศาลจริงๆ ถ้าฝ่ายบริหารกับฝ่ายนโยบายไม่ใช่พวกเดียวกัน ก็จะถ่วงดุลกัน ตรวจสอบกัน แต่ถ้าเป็นพวกเดียวกันก็จะเกิดปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน สมมติว่า บางคนมีธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง แล้วมาเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย ก็เอาบริษัทตัวเองมารับเหมาก่อสร้าง หรือผู้บริหารอย่างอธิการบดี รองอธิการบดีบางคนมีญาติพี่น้องเปิดร้านกาแฟ ก็ร้านตัวเองมาเปิดในมหาวิทยาลัย "

ถึงเวลาผ่าตัดใหญ่

ในฐานะเลขาธิการศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ร.ศ.วีรชัย เรียกร้องให้รัฐบาลใช้ม.44 ผ่าตัดใหญ่เรื่องธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัยของรัฐ

“ยกตัวอย่างเช่น อธิการบดีต้องมีอายุไม่เกิน 65 ปี เพราะปัจจุบันอธิการบดีบางคนถึงกับมีรถพยาบาลมาสแตนด์บายรอใต้ตึก บางคนแทบจะถือไม้เท้า นั่งรถเข็น เสียบสายน้ำเกลือเสียบมาทำงาน อายุ 70-80 กว่าแต่ยังเป็นอธิการบดี สุขภาพไม่เอื้อแล้ว แต่เข้ามาได้เพราะพวกพ้อง มาเพื่อรักษาผลประโยชน์ให้พวกพ้อง

การกำหนดอายุก็เพื่อให้คนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถเข้ามาเงยหน้าอ้าปากบ้าง ให้เขามีโอกาสเติบโตในสายงาน นี่จะช่วยลดความขัดแย้งได้เยอะ แต่สำหรับนายกสภามหาวิทยาลัยอาจยืดหยุ่นให้สูงอายุได้ เพราะต้องการคนที่มีประสบการณ์สูง นอกจากนี้การดำรงตำแหน่งต้องไม่เกิน 2 วาระ เมืองไทยหัวหมอ อยากจะเป็นมากกว่านั้นเพราะต้องการจะรักษาฐานผลประโยชน์ของตัวเอง

ที่สำคัญ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องไม่เพิกเฉย ไม่ใช่มีปัญหาอะไรก็โยนว่าเป็นอำนาจของสภามหาวิทยาลัยเป็นผู้ชี้ขาด ควรเกณฑ์กลาง เช่น สกอ.เคยออกกติกาเรื่องธรรมาภิบาล ระบุว่า คนที่มาจะดำรงตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัย เป็นได้ไม่เกิน 3 มหาวิทยาลัย นี่ไม่ใช่กฎ เป็นเพียงการขอความร่วมมือ แต่บางคนหัวหมอ แหกกฎ อ้างว่าเขาเชิญไปเป็น แย่กว่านั้นคือ คนในกระทรวงศึกษาธิการ หรือสกอ.ก็ดันไปเป็นกรรมการมหาวิทยาลัยเสียเอง พอมีเรื่องร้องเรียนก็กลายเป็นจุดไต้ตำตอ จะลงโทษใครก็ไม่ได้ เพราะพวกพ้องกันทั้งนั้น"

ถึงเวลาหรือยังที่จะต้องปฏิรูปปฏิรูปอย่างจริงจัง เพื่อรื้อระบบอันเน่าเฟะที่ฝังรากหยั่งลึกในวงการอุดมศึกษาไทยให้สิ้นซาก 

 

ที่มา โพสต์ทูเดย์ วันที่ 24 พฤษภาคม 2559 เวลา 14:39 น.

 


"แย่งชิงผลประโยชน์-เล่นพวกพ้อง-สองมาตรฐาน" ตีแผ่ด้านมืดวงการอุดมศึกษาไทยแย่งชิงผลประโยชน์-เล่นพวกพ้อง-สองมาตรฐานตีแผ่ด้านมืดวงการอุดมศึกษาไทย

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)

เปิดอ่าน 571 ☕ 18 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สพฐ.แจ้งประชุมการเตรียมความพร้อม และมอบนโยบายก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2567
สพฐ.แจ้งประชุมการเตรียมความพร้อม และมอบนโยบายก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2567
เปิดอ่าน 83 ☕ 19 เม.ย. 2567

ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป
ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป
เปิดอ่าน 669 ☕ 18 เม.ย. 2567

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)
สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)
เปิดอ่าน 571 ☕ 18 เม.ย. 2567

ก.ค.ศ. จับมือ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบผลงานวิชาการครูขอเลื่อนวิทยฐานะ
ก.ค.ศ. จับมือ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบผลงานวิชาการครูขอเลื่อนวิทยฐานะ
เปิดอ่าน 274 ☕ 18 เม.ย. 2567

สพฐ. แจงชัดให้อิสระโรงเรียนซื้อหนังสือ เน้นย้ำดำเนินการตามแนวทางการจัดซื้ออย่างเคร่งครัด
สพฐ. แจงชัดให้อิสระโรงเรียนซื้อหนังสือ เน้นย้ำดำเนินการตามแนวทางการจัดซื้ออย่างเคร่งครัด
เปิดอ่าน 596 ☕ 17 เม.ย. 2567

การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 1,823 ☕ 15 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

จัดบ้านให้ปลอดภัยต่อวัยสูงอายุ
จัดบ้านให้ปลอดภัยต่อวัยสูงอายุ
เปิดอ่าน 1,144 ครั้ง

12 วิธีอยู่อย่างไรให้ห่างไกลมะเร็ง
12 วิธีอยู่อย่างไรให้ห่างไกลมะเร็ง
เปิดอ่าน 14,162 ครั้ง

3 ปัจจัย ให้ได้งานเมื่อเรียนจบ
3 ปัจจัย ให้ได้งานเมื่อเรียนจบ
เปิดอ่าน 12,222 ครั้ง

การศึกษาไทยด้อยคุณภาพ....แล้วจะปฏิรูปอย่างไร?
การศึกษาไทยด้อยคุณภาพ....แล้วจะปฏิรูปอย่างไร?
เปิดอ่าน 8,246 ครั้ง

ต้นขาไก่ ใบหมักเป็นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา
ต้นขาไก่ ใบหมักเป็นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา
เปิดอ่าน 19,743 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ