ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

การชี้แจงข้อมูลเพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับการยุบโรงเรียนของ สพฐ. โดย ประธาน กพฐ. (25 พ.ค.2561)


ข่าวการศึกษา 26 พ.ค. 2562 เวลา 06:22 น. เปิดอ่าน : 14,021 ครั้ง

Advertisement

การชี้แจงข้อมูลเพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับการยุบโรงเรียนของ สพฐ. โดย ประธาน กพฐ. (25 พ.ค.2561)

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2562 รศ.ดร.เอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธาน กพฐ. ได้ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊ก "Ekachai Keesookpun" ถึงกรณีที่ที่ประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) มีมติให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปรวบรวมระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อที่จะให้ศึกษาธิการจังหวัดกระตุ้นให้ยุบเลิก หรือควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดของตนเอง 15,000 แห่งทั่วประเทศ และให้โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ที่มีโรงเรียนที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาอยู่บริเวณใกล้เคียง หยุดรับนักเรียนชั้น ม.1 สาเหตุเพราะมีจำนวนเด็กน้อยมาก ดังนี้

เรียนผู้บริหาร ครู อาจารย์ นักการศึกษาและผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกท่าน

ตามที่มีข่าวข้อเสนอแนะของ กพฐ เกี่ยวกับการยุบโรงเรียน ผมขออนุญาตชี้แจงให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับการยุบโรงเรียนของ สพฐ ตรงกันนะครับ ข้อมูลที่ผมได้มาจาก กระทรวงศึกษาฯเมื่อปีที่แล้ว มีโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศประมาณ 18,000 โรงเรียน (คิดเป็นประมาณ 50% ของโรงเรียนทั้งหมดทั่วประเทศครับ) สำหรับโรงเรียนบนเกาะ หรือ ชายขอบ หรือที่ทุรกันดารห่างไกลซึ่งจำเป็นต้องมีอยู่ คิดว่าไม่น่าจะอยู่ในโรงเรียนเป้าหมาย 15,000 โรงเรียนครับ การยุบ หรือใช้ว่าควบรวม(เพื่อไม่ให้เสียความรู้สึกหรือแรงต้าน) ก็ตามต่างมีเป้าหมายเพื่อคุณภาพการศึกษาของเยาวชนไทยทั้งสิ้น ผมเคยเสนอให้ สพฐใช้หลัก SCC เมื่อปีที่แล้ว คือ

Stand alone ใช้สำหรับโรงเรียนห่างไกลนักเรียนเดินทางมาเรียนลำบากมีความจำเป็นต้องเปิด ไม่ว่าจะมีนักเรียนกี่คนก็ไม่ควรปิด ในทางตรงกันข้าม สพฐ กลับต้องหาทางข่วยเหลือโดยอาจมีการสร้างเรือนพักนอน จัดสรรงบค่าอาหารให้ นักเรียนยากจนเหล่านี้ เพื่อจูงใจให้มีนักเรียนเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

Combined คือการควบรวมโรงเรียนใกล้กันที่สามารถทำได้และไม่เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางของนักเรียนแต่อย่างใด อาจมีงบประมาณของสพฐ ช่วยเหลือค่าเดินทางหรือพื้นที่สามารถจะประสานงานกับ อบต อปท. ให้ความช่วยเหลือได้(เหมือนที่ขอความช่วยเหลือเรื่องอาหารเช้า อาหารกลางวันของเด็กในบางพื้นที่)

Closed คือโรงเรียนที่สมควรปิดหรือยุบครับเพราะนักเรียนน้อยมากและสามารถเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนใกล้เคียงโดยไม่เดือดร้อนมากนัก ซึ่งต้องแก้ระเบียบ ประกาศ ที่เป็นอุปสรรคทั้งหลายครับ เพราะมีหลายโรงเรียนอยู่ในกรณีนี้ แต่ไม่ยอมยุบตัวเองครับแล้วใช้ระเบียบ ประกาศเก่าๆเมื่อสิบหรือยี่สิบปีที่แล้วมาใช้เป็นข้ออ้าง(จึงได้ขอให้สพฐ ไปทบทวนระเบียบปฏิบัติ คำสั่งเก่าๆที่เป็นอุปสรรคทั้งหมด) หาเหตุที่จะไม่ยอมปิดโรงเรียนทั้งๆที่บางห้องมีนักเรียน 2-4 คน แล้วคุณภาพของการเรียนการสอนนักเรียนจะดีขึ้นได้อย่างไร

กระทรวงศึกษาธิการได้รับรายงายการวิจัยของธนาคารโลกเมื่อต้นปีนี้เกี่ยวกับประสิทธิภาพการใช้งบประมาณแผ่นดินด้านการศึกษาและคุณภาพการศึกษาที่เกิดขึ้นจากการใช้งบประมาณที่ได้รับ แล้วพบว่าใช้งบประมาณมากขึ้นแต่คุณภาพการศึกษาของเยาวชนไทยไม่ได้ดีขึ้นตามงบประมาณที่ได้รับอย่างชัดเจน มีข้อเสนอแนะในเรื่องการยุบโรงเรียน ยุบชั้นเรียน และต้องจัดให้มีครูครบขั้นทุกโรงเรียนขณะเดียวกันก็จะเป็นการเพิ่มสัดส่วนนักเรียนต่อห้องให้มากขึ้นเพื่อประสิทธิภาพการใช้งบประมาณและคุณภาพศึกษาของเยาวชน

ถ้าสังคมไทย คนไทยไม่กล้าเผชิญหน้ากับความจริงด้วยเหตุผล และข้อมูล มัวแต่รักษาหน้า และใช้ความรู้สึกมากกว่าความจริงและไม่ยอมรับเหตุผลที่ดีกว่า จะแก้ปัญหายากครับ การใช้คำว่ายุบ อาจเสียความรู้สึก จึงใช้คำว่าควบรวมผมก็เคยใช้คำนี้เช่นกัน จากการลงพื้นที่พบว่าโรงเรียนขนาดเล็กใกล้กันสองโรงเรียนในจังหวัดหนึ่งมีนักเรียนรวมกันทั้งสองโรงเรียนไม่ถึง 100 คน นักเรียนเดินทางมาทั้งสองโรงเรียนได้สะดวกไม่ถึง 5 นาที แต่โรงเรียนใดโรงเรียนหนึ่งไม่ยอมยุบตัวเอง กลับใช้วิธีควบรวมนักเรียนนักเรียนป 1,2,3 ของโรงเรียนหนึ่งไปเรียนกับอีกโรงเรียนหนึ่ง และนำนักเรียนป 4,5,6 ของอีกโรงเรียนหนึ่งมาเรียนรวมกับอีกโรงเรียนหนึ่งเช่นกัน ทั้งๆที่สามารถยุบโรงเรียนใดโรงเรียนหนึ่งได้แต่กลับใช้ควบรวม นำนักเรียนมาเรียนรวมกัน(นี่คือตัวอย่างที่ได้เห็นของจริงมาแล้วครับ) และอ้างว่าชุมชนไม่ยอมให้ยุบ (ความจริงบางสถานศึกษาผู้บริหารไปให้ข้อมูลกับชุมชนในทำนองอย่ายุบโรงเรียน)

หากเราสามารถยุบโรงเรียนใดได้แล้วนำสถานที่ให้ กศน. ใช้ หรือ อบต. ใช้เป็นศูนย์กลางพัฒนาคุณภาพชีวิตหรือส่งเสริมอาชีพชุมชน ชาวบ้านในชุมชนก็จะมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นครับ

อนึ่งอำนาจการยุบ เลิกโรงเรียนเป็นของเขตพื้นที่และศึกษาจังหวัดไม่ใช่ของ กพฐ โดยตรงครับ แต่หาก กพฐ ได้รับทราบผลการวิจัยของธนาคารโลกซึ่งใช้งบประมาณไปมากพอสมควร แล้วไม่นำผลการวิจัย มาทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายให้ สพฐ เขตพื้นที่ หรือศึกษาจังหวัดพิจารณานำไปสู่การปฏิบัติเหมือนงานวิจัยการศึกษาอื่นๆ ที่ผ่านมา เราจะสร้างคุณภาพการศึกษาของเยาวชนไทยในอนาคตให้ดีขึ้นได้อย่างไร

เอกชัย กี่สุขพันธ์
ประธาน กพฐ
๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๒

 

ขอบคุณที่มาจาก Facebook : Ekachai Keesookpun

 


การชี้แจงข้อมูลเพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับการยุบโรงเรียนของ สพฐ. โดย ประธาน กพฐ. (25 พ.ค.2561)ยุบโรงเรียนยุบโรงเรียนขนาดเล็กโรงเรียนขนาดเล็กสพฐ.บอร์ด กพฐ.ข่าวยุบโรงเรียน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

แนวทางปฏิบัติการจัดทำหนังสือราชการ (เรียนดี มีความสุข)

แนวทางปฏิบัติการจัดทำหนังสือราชการ (เรียนดี มีความสุข)

เปิดอ่าน 1,745 ☕ 25 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สพฐ.แจ้งการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567 สมัครสอบทางออนไลน์เพียงรูปแบบเดียว
สพฐ.แจ้งการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567 สมัครสอบทางออนไลน์เพียงรูปแบบเดียว
เปิดอ่าน 631 ☕ 25 เม.ย. 2567

ประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกโครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ "เยาวชนไทย ทำดี ถวายในหลวง" ปีที่ 18 ปีการศึกษา 2566 (ระดับประเทศ)
ประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกโครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ "เยาวชนไทย ทำดี ถวายในหลวง" ปีที่ 18 ปีการศึกษา 2566 (ระดับประเทศ)
เปิดอ่าน 342 ☕ 25 เม.ย. 2567

การปรับหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการจัดประชุมราชการ
การปรับหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการจัดประชุมราชการ
เปิดอ่าน 379 ☕ 25 เม.ย. 2567

แนวทางการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ ประเภทเงินเพื่อประโยชน์การศึกษา โครงการ "สุขาดี มีความสุข"
แนวทางการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ ประเภทเงินเพื่อประโยชน์การศึกษา โครงการ "สุขาดี มีความสุข"
เปิดอ่าน 712 ☕ 25 เม.ย. 2567

แนวทางปฏิบัติการจัดทำหนังสือราชการ (เรียนดี มีความสุข)
แนวทางปฏิบัติการจัดทำหนังสือราชการ (เรียนดี มีความสุข)
เปิดอ่าน 1,745 ☕ 25 เม.ย. 2567

ปฏิทินการจ้างและการประเมินนักการภารโรง ระยะเวลา 5 เดือน (พฤษภาคม – กันยายน 2567)
ปฏิทินการจ้างและการประเมินนักการภารโรง ระยะเวลา 5 เดือน (พฤษภาคม – กันยายน 2567)
เปิดอ่าน 2,479 ☕ 24 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เกณฑ์คุณลักษณะเฉพาะครุภัณฑ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
เกณฑ์คุณลักษณะเฉพาะครุภัณฑ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
เปิดอ่าน 57,690 ครั้ง

มาฝึกสมาธิเบื้องต้นกันดีกว่า
มาฝึกสมาธิเบื้องต้นกันดีกว่า
เปิดอ่าน 18,611 ครั้ง

โซเชียลเน็ตเวิร์กทำครอบครัวร้าว
โซเชียลเน็ตเวิร์กทำครอบครัวร้าว
เปิดอ่าน 15,288 ครั้ง

อัตลักษณ์ของสถานศึกษา คืออะไร จำเป็นอย่างไร
อัตลักษณ์ของสถานศึกษา คืออะไร จำเป็นอย่างไร
เปิดอ่าน 53,999 ครั้ง

ถ้อยคำกินใจ..จากแม่ผู้เป็นแม่ค้า ส่งเสียลูกเรียนมหาวิทยาลัย
ถ้อยคำกินใจ..จากแม่ผู้เป็นแม่ค้า ส่งเสียลูกเรียนมหาวิทยาลัย
เปิดอ่าน 10,359 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ