ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

นักวิจัยธนาคารโลก ชี้ COVID-19 ทำเด็กไทยเสียโอกาสการเรียนรู้ เด็กชนบทขาดแคลนคอมพิวเตอร์ ซ้ำยังถูก bully ในโรงเรียน


ข่าวการศึกษา 26 ต.ค. 2563 เวลา 10:53 น. เปิดอ่าน : 3,670 ครั้ง
นักวิจัยธนาคารโลก ชี้ COVID-19 ทำเด็กไทยเสียโอกาสการเรียนรู้ เด็กชนบทขาดแคลนคอมพิวเตอร์ ซ้ำยังถูก bully ในโรงเรียน

Advertisement

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี จัดประชุมวิชาการนานาชาติ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 3 จาก 11 ประเทศ ในอาเซียนและติมอร์-เลสเต ด้วยระบบออนไลน์ โดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย กองทุนเพื่อความเสมอภาคภาคทางการศึกษา (กสศ.) กรมประชาสัมพันธ์ และหน่วยภาครัฐและเอกชน

วันที่สองของการประชุม (23 ตุลาคม 2563) เริ่มต้นด้วยการอภิปรายในหัวข้อ ‘โควิด-19 กับโรงเรียนของฉัน’ (My School and COVID-19) ซึ่งเป็นเวทีสะท้อนความคิดเห็นของเยาวชนในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกี่ยวกับผลกระทบจากวิกฤติโรคระบาด ลำดับถัดมาเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การสอน โดยครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ปี 2562 จาก11 ประเทศ จากนั้นเป็นการอภิปรายพิเศษในหัวข้อ ‘เทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุนครูในยุคโควิด-19’ (New Learning Technology) โดย นายผนวกเดช สุวรรณทัต นักวิจัย สถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

อีกหนึ่งหัวข่อที่น่าสนใจ ได้แก่ การอภิปรายพิเศษ เปิดผลวิจัย ‘ผลกระทบต่อการเรียนรู้ของนักเรียนไทยในยุคโควิค-19’ (Possible Impact of COVID-19 Pandemic on Thai Students’ Achievement) โดย ดร.ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ นักเศรษฐศาสตร์ด้านพัฒนามนุษย์ กลุ่มงานการศึกษา ประจำธนาคารโลก สำนักงานประเทศไทย

ดร.ดิลกะ เปิดเผยว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาจะเกิดขึ้นได้ย่อมมาจากหลายปัจจัย อาทิ ทรัพยากร คุณภาพครู คุณภาพโรงเรียน ซึ่งหากดูตัวเลขงบประมาณลงทุนด้านการศึกษาของประเทศไทยถือว่าไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศ OECD (Organization for Economic Cooperation and Development หรือ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของประเทศกลุ่มยุโรป)

ผลการวิจัยพบอีกว่า ค่าใช้จ่ายของเด็กนักเรียนในระดับชั้น ป.1- ม.3 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แต่กลับไม่ส่งผลให้การเรียนของเด็กดีขึ้นแต่อย่างใด โดยเฉพาะผลสอบ PISA ที่ตกต่ำอย่างมาก

นอกจากนี้ การจัดสรรและการกระจายทรัพยากรเพื่อแก้ไขปัญหาโรงเรียนขาดแคลนบุคลากรครู ยังไม่เป็นไปตามความคาดหวังเท่าใดนัก อีกทั้งยังมีปัญหาความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมระหว่างนักเรียนในเขตเมืองกับเขตชนบทค่อนข้างสูง  

“ความไม่เท่าเทียมนั้นมีอยู่ในทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าประเทศใดก็ตาม แต่ในประเทศไทยเราพบว่ามีความเหลื่อมล้ำในระดับสูงมากเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศอาเซียน” เขากล่าว

ดร.ดิลกะ กล่าวว่า เมื่อสำรวจความพร้อมของอุปกรณ์การเรียนและคอมพิวเตอร์ พบว่า เด็กในเขตเมืองส่วนใหญ่มีความพร้อมกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่เด็กนักเรียนในเขตชนบทมีความพร้อมเพียง 45 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสะท้อนได้ว่า ประเทศไทยยังไม่พร้อมที่จะจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์
ประกอบกับการสำรวจผลกระทบการเรียนรู้ของเด็กไทยในช่วงโควิด-19 โดยใช้ดัชนีชี้วัด 3 ด้าน ได้แก่ การปรับตัวในการสอนของครู ระเบียบวินัยในห้องเรียน และคุณภาพการเรียนการสอน พบข้อมูลที่น่าสนใจว่า ในกลุ่มโรงเรียนที่ด้อยโอกาสจะมีดัชนีชี้วัดทั้ง 3 ข้อนี้ ต่ำกว่าระดับมาตรฐาน
ขณะเดียวกัน ดร.ดิลกะ ยังเผยผลการสำรวจพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแก (bully) ในโรงเรียน โดยพบว่า เด็กนักเรียนไทยมีอัตราการถูกกลั่นแกล้งรังแกสูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศ OECD ทำให้เด็กไม่รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน ไม่มีความสุขในการไปโรงเรียน ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงความสามารถในการอ่านที่ลดต่ำลงตามไปด้วย

ดร.ดิลกะ กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า แม้ขณะนี้จะยังไม่มีการประเมินความเสียหายในภาพรวมจากผลกระทบของโรคโควิด-19 แต่สิ่งที่สามารถบ่งบอกได้ ณ วันนี้คือ วิกฤติโรคระบาดทำให้เด็กไทยจำนวนไม่น้อยโดยเฉพาะเด็กในชนบทต้องสูญเสียเวลาเรียน ขาดโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านการศึกษาจำเป็นต้องเร่งหาทางช่วยเหลือและแก้ปัญหาต่อไป

“ในอนาคตข้างหน้า หากเกิดการระบาดของโควิด-19 ระลอกสอง ก็หวังว่าหน่วยงานภาครัฐจะสามารถหาแนวทางรับมือที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อไม่ให้เด็กไทยต้องสูญเสียโอกาสในการเรียนมากไปกว่านี้” นักเศรษฐศาสตร์ด้านพัฒนามนุษย์ จากธนาคารโลก สำนักงานประเทศไทย กล่าว

ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี กล่าวว่า เวทีครั้งนี้เราได้เห็นครูแต่ละที่พยายามที่จะบอกเล่าปัญหาและแนวทางในการแก้ปัญหายุคที่โควิด-19 ระบาดกระทบการศึกษา และไม่รู้ว่าโควิดจะอยู่อีกนานแค่ไหน หลังจากที่โรงเรียนถูกปิด เด็กเรียนหนังสือน้อยลง มันส่งผลต่อพัฒนาการและการศึกษาของเด็ก เป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ การไปโรงเรียนมันไม่ใช่แค่อ่านออกเขียนได้ แต่มันมีพัฒนาการทางสังคม สมอง เด็กต้องมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเล่นกับเพื่อน ยิ่งเด็กกลุ่มเปราะบาง เด็กยากจนจะยิ่งกระทบอย่างมาก

“เวทีนี้จะบอกเล่าว่าแต่ละประเทศใช้มาตรการอะไรในช่วงโรงเรียนปิด บทเรียนของต่างประเทศเขาจัดการกับปัญหานี้อย่างไร ซึ่งพบว่า เขาเน้นเรื่องความปลอดภัย ใส่หน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง รักษาความสะอาดพื้นที่เรียน พื้นที่โรงอาหาร หลายประเทศจะใช้วิธีทำสื่อให้ผู้ปกครองมารับเพื่อไปสอนลูกที่บ้าน ทำสื่อออนไลน์ สอนออฟไลน์ที่บ้าน ใช้ทุกๆมาตรการเพื่อป้องกันปัญหา ในอนาคตเมื่อเทคโนโลยีเอื้ออำนวย เราต้องทำให้การศึกษาอยู่ในภาพกว้าง ยึดหลักเอาการศึกษา เอาโรงเรียนไปหาเด็กไปหาพ่อแม่ ไปหาชุมชน ถ้าอยู่ในเมืองก็ใช้อินเทอร์เน็ต อยู่ต่างจังหวัดก็ใช้วิทยุโทรทัศน์ เพื่อให้เด็กได้รับการศึกษา” ดร.กฤษณพงศ์ กล่าว

ขณะที่ ดร.อุดม วงษ์สิงห์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพครูนักศึกษา และสถานศึกษา กสศ. กล่าวว่า การประชุมวิชาการนานาชาติครั้งนี้ จัดขึ้นผ่านระบบออนไลน์ มีครูจากเครือข่ายทั่วโลกรับชมกว่าแสนคน ซึ่งมีความสำคัญกับการทำงานของ กสศ.อย่างมาก เช่น บทบาทครูต่อการเรียนการสอนในช่วงโควิด-19 เพราะไม่ใช่ประเทศไทยประเทศเดียวที่ต้องเผชิญ เราได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายครู11 ประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ ประเทศที่มีเด็กจำนวนมาก เขาดูแลเด็กได้อย่างไร แนวคิดโมบายที่เขาใช้เข้าถึงตัวเด็กเป็นอย่างไร ถ้าเด็กมาโรงเรียนไม่ได้ต้องแก้ปัญหาให้การเรียนส่งถึงบ้านอย่างไร รวมถึงประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศที่ทันสมัย เขาดูแลเด็กพิเศษของเขาอย่างไร ซึ่งถือว่าเกิดประโยชน์กับครูไทยอย่างมาก เพราะมิติการแลกเปลี่ยนทั้ง11ประเทศ ทาง กสศ.จะได้นำไปถอดบทเรียนและต่อยอดการพัฒนาครู เพราะกสศ.เรามีแผนที่จะพัฒนาครู พัฒนาโรงเรียน พัฒนาเด็กนักเรียนในทุกมิติ และเวที2วันนี้เราจะได้เห็นว่า ครูพยายามหาทางออก ปรับรูปแบบการเรียนรู้ เกิดมุมมองใหม่ๆในแต่ละพื้นที่แต่ละโรงเรียน

“กสศ.มองว่าในอนาคต หากเราเตรียมพร้อมเผชิญกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน เราจะปรับตัวและรับมือกับมันได้ เทคโนโลยี ระบบออนแอร์ ระบบออนไซต์ ต้องทำควบคู่กันไป เพื่อให้เหมาะสมไม่ทำให้เกิดอันตราย

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี รุ่นที่4 ทั้ง10ประเทศ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงและคณูปการต่อวงการการศึกษา และประเทศไทย กำลังเข้มข้มในการเฟ้นหาครูทั้ง77จังหวัด เพื่อให้ได้ผู้แทนของแต่ละจังหวัด ส่งเข้ามาส่วนกลาง คาดว่าในช่วงเดือนมีนาคม2564 จะทราบผลว่าทั้ง10ประเทศ รวมถึงประเทศไทย ใครจะเป็นครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี รุ่นที่4 เพื่อรับพระราชทานรางวัลในเดือนตุลาคม2564 นี้ ซึ่งช่วงนี้ ท่านใดที่อยู่ในพื้นที่ของกระบวนการการคัดเลือกก็สามารถเสนอชื่อครูเข้ามาได้” ดร.อุดม กล่าว 


นักวิจัยธนาคารโลก ชี้ COVID-19 ทำเด็กไทยเสียโอกาสการเรียนรู้ เด็กชนบทขาดแคลนคอมพิวเตอร์ ซ้ำยังถูก bully ในโรงเรียนนักวิจัยธนาคารโลกชี้COVID-19ทำเด็กไทยเสียโอกาสการเรียนรู้เด็กชนบทขาดแคลนคอมพิวเตอร์ซ้ำยังถูกbullyในโรงเรียน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ว 8/2567 การกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง และการกำหนดอัตราเงินเดือนชดเชยและจำนวนเงินที่ได้ปรับตามคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง

ว 8/2567 การกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง และการกำหนดอัตราเงินเดือนชดเชยและจำนวนเงินที่ได้ปรับตามคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง

เปิดอ่าน 7,097 ☕ 1 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สพฐ.แจ้งประชุมการเตรียมความพร้อม และมอบนโยบายก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2567
สพฐ.แจ้งประชุมการเตรียมความพร้อม และมอบนโยบายก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2567
เปิดอ่าน 653 ☕ 19 เม.ย. 2567

ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป
ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป
เปิดอ่าน 961 ☕ 18 เม.ย. 2567

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)
สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)
เปิดอ่าน 784 ☕ 18 เม.ย. 2567

ก.ค.ศ. จับมือ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบผลงานวิชาการครูขอเลื่อนวิทยฐานะ
ก.ค.ศ. จับมือ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบผลงานวิชาการครูขอเลื่อนวิทยฐานะ
เปิดอ่าน 304 ☕ 18 เม.ย. 2567

สพฐ. แจงชัดให้อิสระโรงเรียนซื้อหนังสือ เน้นย้ำดำเนินการตามแนวทางการจัดซื้ออย่างเคร่งครัด
สพฐ. แจงชัดให้อิสระโรงเรียนซื้อหนังสือ เน้นย้ำดำเนินการตามแนวทางการจัดซื้ออย่างเคร่งครัด
เปิดอ่าน 635 ☕ 17 เม.ย. 2567

การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 1,862 ☕ 15 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เอเปก หรือ เอเปค
เอเปก หรือ เอเปค
เปิดอ่าน 3,907 ครั้ง

ปฏิรูปการศึกษาไทย พายเรือในอ่าง (1)
ปฏิรูปการศึกษาไทย พายเรือในอ่าง (1)
เปิดอ่าน 8,645 ครั้ง

แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม อีกหนึ่งอาการที่ไม่ควรมองข้าม
แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม อีกหนึ่งอาการที่ไม่ควรมองข้าม
เปิดอ่าน 9,932 ครั้ง

มาตรฐานห้องสมุดและตัวบ่งชี้ เพื่อพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน สังกัด สพฐ.
มาตรฐานห้องสมุดและตัวบ่งชี้ เพื่อพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน สังกัด สพฐ.
เปิดอ่าน 32,280 ครั้ง

สุขภาพปากและฟันกับโรคหัวใจ
สุขภาพปากและฟันกับโรคหัวใจ
เปิดอ่าน 15,679 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ