ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความเทคโนโลยีการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

การประยุกต์ทฤษฎีการแพร่กระจาย การปรับปรุงโปรแกรมสื่อในโรงเรียน


บทความเทคโนโลยีการศึกษา เปิดอ่าน : 18,600 ครั้ง
การประยุกต์ทฤษฎีการแพร่กระจาย การปรับปรุงโปรแกรมสื่อในโรงเรียน

Advertisement

การประยุกต์ทฤษฎีการแพร่กระจาย การปรับปรุงโปรแกรมสื่อในโรงเรียน
Applying diffusion theory: Adoption of media literacy programs in schools
Bradford L. YatesState University of West Georgia

โดย....สุวิทย์ บึงบัว
นิสิตปริญญาเอก เทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

บทคัดย่อ

ทฤษฎีการแพร่กระจายเริ่มตั้งแต่การดำเนินการในภาคเกษตรกรรมไปจนถึงการจัดการทางการตลาด ที่ก่อให้เกิดการแพร่กระจายความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทั้งด้านผลิตภัณฑ์และแนวความคิด มุ่งเน้นที่วิธีการที่นักเทคโนโลยีนำนวัตกรรมที่เกิดขึ้นมาใช้ในการเพิ่มผลผลิต รวมถึงในด้านการศึกษาที่พยายามตรวจสอบหาวิธีการที่เหมาะสมในการนำสื่อมาดัดแปลงให้ใช้ทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมการเรียนแบบ 1 สัปดาห์ หรือวิธีการเรียนที่ครอบคุลมทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา Aufderheide (1993) กล่าวว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อคือ คนที่มีความสามารถถอดรหัส ประเมิน วิเคราะห์ และผลิตสื่อพื้นฐานและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยวัตถุประสงค์หลักคือ สามารถเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสื่อต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ ดังนั้น วัตถุประสงค์หลักของทฤษฎีการแพร่กระจายมุ่งเน้นตรวจสอบวิธีการที่สามารถนำโปรแกรมสื่อต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องจัดให้มีการตรวจสอบ ทบทวน เพื่อให้สามารถนำนวัตกรรมที่เกิดขึ้นไปใช้กับโรงเรียนทั่วประเทศได้เช่นกัน

ทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรม

Rogers กล่าวว่า การแพร่กระจายต้องอาศัยทฤษฎีหลายทฤษฎีด้วยกัน ในทางทฤษฎีจะต้องเกี่ยวข้องกับแนวคิดด้านการแพร่กระจายเป็นทฤษฎีหลัก การแพร่กระจายเป็นกระบวนการที่นำนวัตกรรมมาดัดแปลงโดยสมาชิกของชุมชน มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

1. ตัวสื่อ

2. ช่องทางการสื่อสาร

3. เวลา

4. ธรรมชาติของสังคม

สอดคล้องกับผลการวิจัยของ Ryan and Gross ที่ทำการวิจัยโดยการสัมภาษณ์เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการแพร่กระจาย ซึ่ง Rogers ได้นำเสนอทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการแพร่กระจายนวัตกรรม 4 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีการตัดสินใจเลือกนวัตกรรม ทฤษฎีคุณลักษณะของสื่อ ทฤษฎีอัตราการเปลี่ยนแปลง และทฤษฎีการยอมรับ

ทฤษฎีการตัดสินใจเลือกนวัตกรรม ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ

1. ขั้นการรับรู้ คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมที่เกิดขึ้น

2. ขั้นการชักจูงใจ คือ การถูกชักชวนให้ใช้นวตกรรมนั้นๆ

3. ขั้นการตัดสินใจปรับปรุงสื่อ

4. ขั้นประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน

5. ขั้นการยอมรับนวัตกรรม

ทฤษฎีคุณลักษณะของสื่อ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงสื่อ จากการวิจัยพบว่า ผู้ที่ทำหน้าที่ด้านสื่อมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงเป็นรูประฆัง คือ

1. กลุ่มของผู้พัฒนาสื่อ (2.5%) เป็นผู้ทำหน้าที่นำสื่อต่างๆ มาพัฒนาและทดลองใช้ได้ด้วยตนเอง

2. กลุ่มนักพัฒนาเบื้องต้น (13.5%) เป็นนักพัฒนาสื่อแบบง่ายๆ เบื้องต้น

3. กลุ่มนักเทคโนโลยีทั่วไป (34%) เป็นกลุ่มผู้ใช้สื่อที่นำสื่อที่มีการพัฒนามาใช้ให้เกิดประโยชน์

4. กลุ่มล้าหลัง (16%) มีลักษณะต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

ทฤษฎีอัตราการเปลี่ยนแปลง จากการวิจัยพบว่า การเปลี่ยนแปลงสื่อมีลักษณะเป็นรูปตัว S คือ อัตราการเริ่มต้นเป็นไปอย่างช้า และมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงกลางและหยุดการเจริญหรือเติบโตอย่างช้าในช่วงท้าย

ทฤษฎีการยอมรับ แบ่งเป็นขั้นตอนต่างๆ คือ

1. สื่อที่เกิดขึ้นใหม่ต้องมีความเชื่อมโยงกับสื่อเดิมที่มีอยู่แล้ว

2. สื่อที่เกิดขึ้นใหม่ต้องมีคุณค่ามากขึ้นกว่าเดิม

3. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ต้องไม่มีความซับซ้อน

4. นวัตกรรมนั้นต้องพิสูจน์ได้ นำมาทดลองให้เกิดผลลัพธ์ที่ถูกต้องได้


เทคโนโลยีการเรียนการสอนและทฤษฎีการแพร่กระจาย

Surry and Farquhar เสนอแนะว่า นักเทคโนโลยีการศึกษาควรต้องศึกษาทฤษฎีการแพร่กระจายเนื่องจาก

1. นักเทคโนโลยีการศึกษาไม่รู้สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง เมื่อได้ศึกษาทฤษฎีการแพร่กระจาย นักเทคโนโลยีการศึกษาจะสามารถอธิบาย ทำนาย และหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

2. เทคโนโลยีการศึกษาต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าในการเรียนการสอนให้ทันสมัย เหมาะสมกับกาลเวลา

3. นักเทคโนโลยีการศึกษามีความสามารถในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ เพื่อค้นหารูปแบบที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนมากที่สุด

นอกจากนี้ ทฤษฎีการพัฒนาการเรียนการสอนเปรียบเสมือนหลักการ ที่มีการวิจัยในระดับมหภาคและจุลภาค การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบเป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการศึกษาให้เหมาะสมตามความต้องการ เป็นการปรับเปลี่ยนทั้งโครงสร้างและองค์กร ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงเพียงบางส่วนเท่านั้น

การกำหนดแนวทางและการเลือกเครื่องมือ

Surry and Farquhar ได้แบ่งการเปลี่ยนแปลงออกเป็น 2 ส่วน คือ

1. การกำหนดแนวทาง (นักพัฒนา)

2. การเลือกเครื่องมือ (ผู้นำไปใช้)

นักพัฒนามีความเชื่อหลากหลายกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงไม่อยู่ในความควบคุมของมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงในสังคมเกิดขึ้นจากระบบต่างๆถูกแทนที่ด้วยระบบและผลผลิตที่มีความเกี่ยวข้องกันตามธรรมชาติ และเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นไปตามกระบวนการของวิวัฒนาการ นักพัฒนามีความเห็นว่าเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และมีคุณค่า เชื่อว่าเทคโนโลยีสามารถช่วยเยียวยาความเจ็บป่วยของมนุษย์ แต่ Surry and Farquhar มองว่า นักพัฒนาเป็นผู้คิด ประดิษฐ์ และนักผลิตเป็นต้นเหตุของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เน้นว่าเทคโนโลยีเป็นตัวแปรสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลงในสทุกส่วนที่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง

ในด้านของผู้นำไปใช้ พบว่า ผู้ใช้เป็นตัวแปรสำคัญที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง โดย Burkman ได้นำเสนอกระบวนการการเปลี่ยนแปลงโดยให้ผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ

1. ระบุตัวผู้ใช้

2. วัดระดับการรับรู้ของผู้ใช้

3. พัฒนาสื่อ

4. แจ้งกลับผลการใช้สื่อ

5. นำผลมาปรับปรุงแก้ไข


ผู้ที่มีความสามารถในการใช้สื่อเป็นเหมือนนักพัฒนาทางเทคโนโลยี

Rogers ได้นิยามการแพร่กระจายว่า เป็นกระบวนการที่ใช้นวตกรรมเป็นสื่อที่มีช่องทางการสื่อสารที่แน่นอนผ่านไปยังสมาชิกของสังคม โดยนวัตกรรม หมายถึง แนวความคิดใหม่ วิธีการ หรือเครื่องมือใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น และกล่าวว่า เทคโนโลยีเป็นการออกแบบเครื่องมือที่ทันสมัยและช่วยมีผลกระทบช่วยสร้างความสัมพันธ์ต่อผลลัพธ์ที่ต้องการได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีเป็นข้อมูลประเภทหนึ่งไม่ใช่เครื่องมือ แต่อาจนำเสนอในรูปของอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์ ความสามารถในการใช้สื่อเปรียบได้กับนวตกรรมอย่างหนึ่งเพราะเป็นการสร้างแนวความคิดใหม่ให้เกิดขึ้นกับผู้ใช้

การประยุกต์ทฤษฎีการแพร่กระจายไปสู่ความสามารถในการใช้สื่อ

การนำทฤษฎีการแพร่กระจายไปประยุกต์ใช้เป็นการสร้างความเข้าใจแก่ผู้ใช้สื่อให้มีความสามารถในการใช้สื่อมากขึ้น เนื่องจาก

1. ทฤษฎีการแพร่กระจายเป็นแนวคิดที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจในการใช้สื่อโดยเป็นแนวคิดที่พัฒนาขึ้นจากบุคคลในแวดวง เช่น นักเทคโนโลยีการศึกษามีความสามารถในการนำทฤษฎีการแพร่กระจายมาอธิบาย ทำนาย และหาปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาสื่อให้มีคุณภาพและเหมาะสมกับการใช้งาน โดยคำนึงความเหมาะสมในเรื่องของเวลา ลักษณะของผู้ใช้

2. นักเทคโนโลยีทางการศึกษาสามารถนำเสนอการเปลี่ยนแปลงหรือเสนอแนะสื่อฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ได้

3. การวิจัยทฤษฎีการแพร่กระจายจะส่งเสริมให้การสร้างรูปแบบของสื่อได้รับการตอบรับและสร้างความเข้าใจได้ดีขึ้น

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรม

1. ตัวสื่อ พิจารณาในด้านต่างๆ 5 ด้าน คือ

1.1 ประโยชน์ที่เกี่ยวเนื่องกัน

1.2 ความสอดคล้อง

1.3 ความซับซ้อน

1.4 การพิสูจน์ข้อค้นพบ

1.5 การสังเกต

ประโยชน์ที่เกี่ยวเนื่องกัน

ประโยชน์ที่พบในการฝึกให้มีความสามารถในการใช้สื่อคือ นักเรียนสามารถเพิ่มระดับการเข้าถึงข้อมูล การวิเคราะห์ การประเมิน และการเข้าใจเนื้อหาผ่านสื่อได้มากขึ้น ความสามารถในการใช้สื่อจะช่วยให้นักเรียนมีทักษะในการคิดและการมองเห็นต่างๆ ที่ช่วยชักจูงให้นำเทคนิคต่างๆ มาใช้ในการสื่อสารผ่านสื่อ นักเรียนจะสามารถหาวิธีการสร้างรูปแบบการเข้าถึงข้อมูลด้วยตนเองผ่านสื่อใดๆ ก็ได้

ตัวอย่างหนึ่งที่ใช้ในการทดสอบ คือ การให้นักเรียนคิดโฆษณาโทรทัศน์ เนื่องจาก 1. นักเรียนจะสามารถเข้าใจกระบวนการผลิตและสร้างสื่อที่ต้องถ่ายทอดเนื้อหาขึ้น 2. เรียนรู้การใช้เครื่องมือในการถ่ายทำ 3. สามารถประเมินผลของโฆษณาที่ผู้ฟังตอบสนองต่อโฆษณานั้น 4. สามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่น ผู้เรียนจะต้องใช้ความสามารถในการวิเคราะห์ สร้าง ผลิต วิเคราะห์ผู้ชม เขียนบท ฯลฯ ทั้งในขั้นก่อนและหลังการถ่ายทำ สามารถเชื่อมโยงขั้นตอนต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อผลิตผลงานโดยอาศัยทักษะในการใช้สื่อที่มีความหลากหลายประเภทด้วยกัน

ความสอดคล้อง

ผู้ใช้สื่ออยากรู้ว่าในการฝึกทักษะจะสามารถสร้างคุณค่าและสอดคล้องกับความสามารถเดิมที่มีได้อย่างไร เปรียบได้กับการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนที่สอนให้นักเรียนอ่านและวิเคราะห์เหตุการณ์ในหนังสือนิยายที่ได้รับรางวัลต่างๆ เมื่อนักเรียนสามารถวิเคราะห์เหตุการณ์ได้จะสามารถเขียนแนวคิดหลัก เข้าใจความคิดของตัวละครและเนื้อหาในแต่ละส่วนได้ดี หรือในกรณีที่ศึกษา วิเคราะห์บทภาพยนตร์ นักเรียนจะเกิดความสามารถในการเขียนบทภาพยนตร์หลังจากสามารถวิเคราะห์ อธิบาย แนวคิดหลักของแต่ละตอนในภาพยนตร์ได้ รวมถึงการวิเคราะห์ด้านภาพ เสียง บท แสง เสียง ได้อีกด้วย Kubey and Baker ได้วิจัยพบว่า ในการเรียนการสอน 48 รัฐจาก 50 รัฐ ได้สอนให้นักเรียนเกิดความรู้ ความเชี่ยวชาญในการเรียนภาษาและการสื่อสาร เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกับความรู้ด้านอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น

ความซับซ้อน

ผู้ใช้สื่อไม่ชอบการฝึกใช้สื่อที่มีลักษณะการฝึกยุ่งยาก จากอดีต ผู้สอนใช้เพียงหนังสือเป็นสื่อในการสอนเท่านั้น การนำสื่อมาใช้เริ่มต้นในช่วงปี 1970 เนื่องจากโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อนักเรียนอย่างมาก จึงได้มีการจัดทำโครงการด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาและสร้างสื่อใหม่ๆ ขึ้น แต่ไม่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการพัฒนาโครงการมีเนื้อหาจำนวนมาก และในปัจจุบันสังคมมีผู้คนมากขึ้น การสื่อสาร และการศึกษามีความเจริญมากขึ้น การหาแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่มีความหลากหลายจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้สอน เว็บไซต์จึงเป็นแหล่งข้อมูลที่ช่วยให้ผู้สอนสามารถหาข้อมูลได้หลากหลาย จำนวนมาก และไม่ยุ่งยากในการใช้ สามารถนำมาประยุกต์ในการเรียนแต่ละบทหรือการเรียนรายบุคคลได้ ดังนั้น การฝึกฝนความสามารถในการใช้สื่อตึงต้องเป็นการใช้สื่อที่ช่วยสร้างแหล่งข้อมูลที่ไม่มีความยุ่งยากในการใช้งานด้วย

การพิสูจน์ข้อค้นพบ

การพิสูจน์ข้อค้นพบหรือการทดลองใช้สื่อเป็นขั้นตอนสำคัญในการใช้สื่อเนื่องจากผู้ใช้สื่อต้องการทราบผลที่เกิดขึ้นจากการนำมาใช้จริง เช่น จากเดิมผู้สอนสอนหนังสือตามแผนการสอนที่จัดทำขึ้นเดิมอยู่เสมอ แต่เมื่อมีการกำหนดมาตรฐานและการใช้สื่อจะเป็นการช่วยให้ผู้สอนนำสื่อมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนได้ง่ายขึ้นและเป็นแนวทางในการจัดหลักสูตรได้อีกด้วย

เช่น ในการเรียนสุขศึกษาเป็นวิชาสำคัญสำหรับนักเรียน จากเดิมครูใช้วิธีการสอนเนื้อหาเกี่ยวกับสารอาหารแก่นักเรียน แต่เมื่อผู้สอนนำสื่อโทรทัศน์มาใช้ โดยให้นักเรียนเลือกตัวละครในหนังที่ชอบ และติดตาม จด อาหารและเครื่องดื่มที่ตัวละครกิน แล้วให้วิเคราะห์ผลของการกินอาหารนั้น นำมาอภิปรายร่วมกัน ผู้เรียนจะสามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของอาหาร ลักษณะการดำรงชีวิต ประเภท ขนาด รูปร่าง ประโยชน์ ของอาหารและคนที่กินอาหารประเภทนั้นๆ ได้

การสังเกต

การสังเกตเป็นด้านที่ผู้ใช้สื่อต้องคำนึงถึง ถ้าผู้สอนสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน เช่น ในการเรียนวิชาสุขศึกษา ผู้สอนสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการเรียนของนักเรียน ผู้สอนอาจเปลี่ยนวีการให้นักเรียนจดรายการอาหารที่นักเรียนกิน แล้วนำมาเปรียบเทียบกับนิสัยของนักเรียน นั่นคือ ผู้สอนต้องรู้จักสังเกตเพื่อที่จะสามารถเลือกใช้สื่อได้ถูกต้องกับความสามารถในการเรียนของนักเรียน

2. ช่องทางการสื่อสาร

การศึกษาช่องทางการสื่อสารที่ใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหาเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง Rogers กล่าวว่า ช่องทางการสื่อสาร คือ ส่วนที่ช่วยให้ข้อความ เนื้อหา ส่งผ่านจากผู้หนึ่งไปยังอีกผู้หนึ่งได้ โดยช่องทางการสื่อสารที่ดีจะต้องสามารถส่งผ่านข้อมูลได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ส่งข้อมูลแก่คนกลุ่มใหญ่ได้เป็นอย่างดี และผู้ฟังจะต้องได้รับแนวความคิดใหม่นี้เช่นกัน ซึ่งวีการสื่อสารแบบ face to face เป็นการสื่อสารที่ส่งผลต่อผู้ฟังและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

3. เวลา

เวลาเป็นปัจจัยที่ได้รับการละเลยมากที่สุดในการวิจัย แต่ปัจจัยด้านเวลาถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญในการวิจัยเกี่ยวกับการแพร่กระจายข้อมูล แต่เนื่องจากเวลาเป็นตัวแปรที่มีเกณฑ์การวัดไม่แน่นอน จึงแบ่งปัจจัยด้านเวลาออกเป็นส่วนๆ ดังนี้

เวลากับกระบวนการตัดสินใจเลือกสื่อ

กระบวนการตัดสินใจเลือกสื่อเป็นกระบวนการที่แต่ละบุคคลเรียนรู้เกี่ยวกับสื่อใหม่ๆ Rogers ได้นำเสนอขั้นตอน 5 ขั้นในกระบวนการ ได้แก่

1. ขั้นการรับรู้ คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมที่เกิดขึ้น

2. ขั้นการชักจูงใจ คือ การถูกชักชวนให้ใช้นวตกรรมนั้นๆ

3. ขั้นการตัดสินใจปรับปรุงสื่อ

4. ขั้นประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน

5. ขั้นการยอมรับนวัตกรรม

เนื่องจากในแต่ละขั้นตอนของการสร้างทักษะให้มีความสามารถในการใช้สื่อเป็นทักษะที่ต้องฝึกปฏิบัติกันอย่างยากลำบากและใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้เป็นอย่างมาก เช่น ในอดีตโรงเรียนในสหรัฐอเมริกา 50 รัฐ ไม่ยอมรับการเรียนโดยใช้โทรทัศน์เป็นสื่อ เนื่องจากให้เหตุผลว่าการเรียนในห้องเรียน ทั้งด้านการอ่าน เขียน ฯลฯ มีความยุ่งยากอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้สื่ออื่นๆ มาสอนเพิ่มอีก ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อต้องใช้กระบวนการในการตัดสินใจเลือกสื่อ โดยใช้ระยะเวลานั้นการชักจูงใจเป็นเวลานานที่สุดเพื่อสร้างให้ผู้สอนเกิดความเข้าใจและนำโทรทัศน์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนจนเป็นที่แพร่หลาย ในปัจจุบันความก้าวหน้าในการตัดสินใจเลือกสื่อเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ที่นิวเม็กซิโก ผู้สอนนำสื่อมาสอนแก่นักเรียนให้เกิดความชำนาญ โดยก้าวข้ามขั้นตอนการรับรู้และการชักจูงใจ ปลูกฝังให้นักเรียนฝึกฝนขั้นตอนการประยุกต์ใช้สื่อและยอมรับนวตกรรมจากการเรียนการสอน ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และวิธีการนี้กำลังได้รับความนิยมใน ฟลอริด้า เท็กซัส และแมซซาชูเสต อีกด้วย

เวลากับการเปลี่ยนแปลงรายบุคคล

กระบวนการตัดสินใจเลือกสื่อเป็นกระบวนการที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของแต่ละบุคคล Rogers ได้นิยามถึงการเปลี่ยนแปลงว่า เป็นระดับการเรียนรู้ที่ผู้เรียนแต่ละคนสามารถนำสื่อไปใช้ให้เกิดแนวความคิดใหม่มากกว่าที่สมาชิกคนอื่นๆ ในกลุ่มจะได้รับ ซึ่งกลุ่มผู้เรียนที่มีระดับการเรียนรู้สูงกว่ากลุ่มอื่นๆ เรียกได้ว่า ผู้นำด้านนวัตกรรม

กลุ่มผู้นำด้านนวตกรรมมีลักษณะชอบเสาะหาข้อมูลใหม่ๆ และสามารถจัดลำดับการรับรู้ข้อมูลเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี ผ่านทางช่องทางการสื่อสารที่ส่งผ่านให้แก่คนทั่วไป ตรงกันข้ามกับกลุ่มคนล้าหลังที่มีลักษณะต่อต้าน ไม่ยอมรับข้อมูลผ่านช่องทางการสื่อสารที่จัดให้ หรือยอมรับข้อมูลผ่านช่องทางการสื่อสารที่ตนจำกัดขึ้นเท่านั้น

เวลากับอัตราการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงสื่อจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ในช่วงต้นของการเปลี่ยนแปลง และมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงกลางและหยุดการเจริญหรือเติบโตอย่างช้าในช่วงท้าย แสดงให้เห็นว่า ในการเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงใดๆ ผู้สอนและผู้เกี่ยวข้องมีความไม่แน่ใจในการยอมรับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรม แต่เมื่อเกิดการยอมรับแล้วจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กราฟการเปลี่ยนแปลงมีลักษณะคล้ายตัว S เนื่องจากมีการแพร่กระจายการใช้สื่ออย่างรวดเร็วและต่อเนื่องกัน

4. ธรรมชาติของสังคม

Rogers กล่าวว่า สังคม คือ กลุ่มของคนที่มีความสัมพันธ์ในการร่วมกันแก้ไขปัญหาเพื่อก่อให้เกิดความสุขต่อคนกลุ่มใหญ่ สมาชิกในสังคมจึงอาจมีรูปแบบแตกต่างกัน เช่น อยู่คนเดียว เป็นกลุ่มแบบไม่เป็นทางการ หรือรวมกันเป็นองค์กร ผู้สอนหรือผู้เกี่ยวข้องทางการศึกษาก็เป็นสมาชิกของสังคมที่ต้องทำงานร่วมกันโดยมีบทบาทตามระบบสังคม ขึ้นอยู่กับโครงสร้างทางสังคม วิถีประชา และความเป็นผู้นำ

โครงสร้างทางสังคม

ในระบบสังคม นักการศึกษาเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทเฉพาะของตน สังคมกำหนดให้นักการศึกษามีความสามารถในการทำนายพฤติกรรม กำหนดระเบียบ การปฏิบัติตนของผู้เรียน รวมถึงวิธีการสื่อสารระหว่างกัน รูปแบบการสื่อสารจึงมีรูปแบบที่สังคมเป็นผู้กำหนดขึ้น หากบุคคลใดมีวิธีการสื่อสารเช่นเดียวกับที่สังคมกำหนด ถือว่ามีลักษณะถูกต้องตามโครงสร้างของสังคม

วิถีประชา

วิถีประชาเป็นแนวทางการปฏิบัติและการแสดงพฤติกรรมของบุคคลในสังคม ซึ่งแนวทางนี้อาจก่อให้เกิดการสร้างกำแพงไม่ให้มีการแพร่กระจายนวัตกรรม เช่น ในโรงเรียนประถมศึกษาที่มีการสอนการอ่าน การเขียน และคณิตศาสตร์ ผู้สอนใช้วิธีการสอนตามแบบที่นิยมโดยไม่ยอมรับการนำสื่อใหม่ๆ มาใช้ในการสอน เนื่องจากมีความผิดแปลกจากผู้สอนคนอื่นๆ

ความเป็นผู้นำ

ความเป็นผู้นำมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของผู้นำด้านนวตกรรมเป็นอย่างยิ่ง ผู้นำด้านนวตกรรมที่มีความเป็นผู้นำจะเป็นสมาชิกคนสำคัญของสังคม ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางเครือข่ายการสื่อสารและเชื่อมโยงข้อมูลกับคนอื่นๆ ในสังคมได้อย่างง่ายดาย


สรุป

การวิจัยทฤษฎีการแพร่กระจายในที่นี้เน้นที่การยอมรับนวัตกรรม ช่องทางการสื่อสาร เวลา และธรรมชาติของสังคม ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการนำสื่อมาใช้ อาจกล่าวได้ว่า ความสามารถในการใช้สื่อเป็นทักษะที่มีความสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในสังคม อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการใช้สื่อหมายรวมถึงการใช้เครื่องมือของผู้นำสื่อมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งการประยุกต์ใช้สื่อเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ ตัวอย่างเช่น โครงการ USOE ที่ประสบความล้มเหลวเนื่องจากผู้วิจัยไม่มีความสามารถในการนำสื่อมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อโครงการ เช่นเดียวกับ Surry and Farquhar ได้กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของสื่อจะเป็นไปอย่างช้าๆ ในช่วงแรกของการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากการสร้างทักษะความสามารถในการใช้สื่อเป็นโปรแกรมการเรียนในโรงเรียนที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการศึกษาในอนาคตต่อไป


การประยุกต์ทฤษฎีการแพร่กระจาย การปรับปรุงโปรแกรมสื่อในโรงเรียน การประยุกต์ทฤษฎีการแพร่กระจายการปรับปรุงโปรแกรมสื่อในโรงเรียน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

แนวทางในการพัฒนาระบบ

แนวทางในการพัฒนาระบบ


เปิดอ่าน 21,658 ครั้ง
ICT2020 Conceptual Framework

ICT2020 Conceptual Framework


เปิดอ่าน 29,057 ครั้ง
A Systems Approach for Developing Technological Literacy

A Systems Approach for Developing Technological Literacy


เปิดอ่าน 10,657 ครั้ง
ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom)

ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom)


เปิดอ่าน 87,783 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction)

การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction)

เปิดอ่าน 121,401 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction)
การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction)
เปิดอ่าน 121,401 ☕ คลิกอ่านเลย

การออกแบบมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์
การออกแบบมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์
เปิดอ่าน 17,310 ☕ คลิกอ่านเลย

แนวทางการสร้างคอร์สแวร์
แนวทางการสร้างคอร์สแวร์
เปิดอ่าน 15,819 ☕ คลิกอ่านเลย

เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
เปิดอ่าน 47,660 ☕ คลิกอ่านเลย

อนาคตหนังสือเรียนไทยในยุคก้าวไกลของ IT
อนาคตหนังสือเรียนไทยในยุคก้าวไกลของ IT
เปิดอ่าน 26,406 ☕ คลิกอ่านเลย

วิเคราะห์พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542  หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา(2)
วิเคราะห์พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา(2)
เปิดอ่าน 38,204 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 พ.ย. ในแต่ละปี
เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 พ.ย. ในแต่ละปี
เปิดอ่าน 13,570 ครั้ง

เผยอีโคไลตัวใหม่ ทนยาปฏิชีวนะ ถึงตายได้
เผยอีโคไลตัวใหม่ ทนยาปฏิชีวนะ ถึงตายได้
เปิดอ่าน 13,539 ครั้ง

บุญบั้งไฟ
บุญบั้งไฟ
เปิดอ่าน 22,098 ครั้ง

ประวัติย่อของคณิตศาสตร์ : อาร์คีมีดีส : Archimedes
ประวัติย่อของคณิตศาสตร์ : อาร์คีมีดีส : Archimedes
เปิดอ่าน 37,687 ครั้ง

SCORM (Shareable Content Object Reference Model)
SCORM (Shareable Content Object Reference Model)
เปิดอ่าน 28,834 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ