ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

กติกากรีฑาที่ควรทราบ


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,238 ครั้ง
กติกากรีฑาที่ควรทราบ

Advertisement

 

กติกากรีฑา

 

กติกาการแข่งขันทั่วไป

(GENERAL  COMPETITION   RULES)

 

กติกาข้อ 1

สิ่งอำนวยการความสะดวกของสนามกรีฑา  (The Athletic Facility)

 

                สนามที่มีผิวหน้าเป็นแบบเดียวกันและมั่นคงแข็งแรงตรงตามที่คู่มืออำนวยความสะดวกกรีฑาประเภทลู่และลานของ  IAAF กำหนดจึงจะอนุญาตให้ใช้ได้ การแข่งขันกรีฑาประเภทประเภทลู่และประเภทลานภายใต้กติกาข้อ 12.1 a, b, c, d และการแข่งขันที่ IAAF ควบคุมโดยตรงจะต้องใช้สนามที่ผิวลู่ทำด้วยยางสังเคราะห์เท่านั้นและต้องโดยตรงจะต้องผ่านความเห็นชอบรับรองว่าเป็นชั้น 1 จาก IAAF จึงจะอนุญาตให้จัดการแข่งขันได้

                เป็นข้อแนะนำว่า เมื่อสามารถใช้ลู่ยางสังเคราะห์ได้  การแข่งขันภายใต้กติกาข้อ 12.1 (e), (f), (g), และ (h) ก็ควรใช้ลู่ยางสังเคราะห์

                ในทุกรายละเอียดของเอกสารประกอบที่รับรองความถูกต้องของสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งประเภทลู่และประเภทลานตามแบบแผนใต้ระบบการรับรองของ IAAF ซึ่งต้องการให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมดในการแข่งขันภายใต้กติกาข้อ 12.1 (a) ถึง (h)

                หมายเหตุ  1:    หนังสือคู่มือสิ่งอำนวยความสะดวกกรีฑาประเภทลู่และลานของ IAAF   ซึ่งพิมพ์ในปี 1999 สามารถซื้อได้จากกองเลขาธิการของ IAAF   ในเล่มบรรจุเนื้อหาและคำอธิบายไว้อย่างครอบคลุม ระบุถึงการวางแผนและการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกของกรีฑาประเภทลู่ประลาน รวมทั้งแผนผังการวัดระยะและการทำเครื่องหมายต่าง ๆ

                หมายเหตุ 2:   แผนผังมาตรฐานที่รับรองแล้วของการวัดระยะสิ่งของอำนวยความสะดวก ต่าง ๆ สามารถติดต่อขอได้จาก IAAF   และศึกษาได้จากเครือข่าย (Website) ของ IAAF  

                หมายเหตุ 3:  กติกาข้อนี้ไม่ใช่กับการแข่งขันวิ่งและการแข่งขันเดินที่อยู่ในประเภทถนนและวิ่งข้ามทุ่ง

 

 

 

 

กติกาข้อ 2

กลุ่มอายุ  (Age Group)

 

กลุ่มอายุต่อไปนี้สามารถใช้กับการแข่งขันของ  IAAF ได้ 

ยุวชนชายและหญิง                :  คือนักกรีฑาที่มีอายุ 16 หรือ 17 ปี โดยนับถึงวันที่ 31 เดือนธันวาคมของปีที่แข่งขัน

เยาวชนชายและหญิง             :  คือนักกรีฑาที่มีอายุ 18 หรือ 19 ปีโดยนับถึงวันที่ 31 เดือนธันวาคมของปีที่แข่งขัน

สูงอายุ  ชาย                              :  นักกรีฑาชายอายุ 40 ปีบริบูรณ์

สูงอายุหญิง                              :  นักกรีฑาหญิงอายุ 35 ปีบริบูรณ์

                หมายเหตุ  :  เรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันสูงอายุ แนะนำให้ใช้หนังสือคู่มือ IAAF/WAVA ซึ่งผ่านการรับรองจากสภาของ IAAF และ WAVA

 

กติกาข้อ 3

การสมัคร  (ENTRIES)

 

1.  การแข่งขันภายใต้กติกาของ IAAF จำกัดสำหรับนักกรีฑาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามกติกาของ IAAF เท่านั้น

2. ไม่อนุญาตให้นักกรีฑาคนใดเข้าร่วมการแข่งขันนอกประเทศของตน นอกจากเขาจะได้รับรองสถานภาพจากสมาคมกรีฑาแห่งประเทศของตนอนุญาตให้เข้าแข่งได้ การแข่งขันระหว่างประเทศ   และการรับรองสถานภาพของนักกรีฑาเช่นนั้นเป็นที่ยอมรับได้ นอกจากจะมีการคัดค้านเกี่ยวกับสถานภาพของเขาได้ถูกเสนอต่อ IAAF   เท่านั้น

 

การแข่งขันพร้อมกันหลายรายการ

                3.  ถ้าผู้เข้าแข่งขันสมัครเข้าแข่งขันทั้งประเภทลู่และลานหรือในประเภทลานมากกว่าหนึ่งรายการ ซึ่งจะต้องแข่งขันพร้อมกันผู้ชี้ขาดอาจยินยอมให้นักกรีฑาทำการแข่งขันรอบในเวลาหนึ่งหรือทำการประลองแต่ละครั้งในการกระโดดสูงและกระโดดค้ำ และอนุญาตให้ผู้แข่งขันทำการประลองแตกต่างไปจากลำดับที่ได้กำหนดไว้ก่อนเริ่มการแข่งขันได้ ถ้านักกรีฑาผู้นั้นไม่อยู่เพื่อทำการประลอง   ถือว่าขอผ่านการประลองหนึ่งครั้งเมื่อการประลองรอบนั้น ๆ ผ่านไป

 

 

 

การละเลยไม่เข้าร่วมในการแข่งขัน

                4. ในการแข่งขันทั้งหมดภายใต้กติกาข้อ 12.1 (a) , (b)  และ (c)  ยกเว้นถ้ามีเงื่อนไขตามที่กล่าวไว้ข้างล่าง  ผู้เข้าแข่งขันจะถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้เข้าร่วมแข่งขันต่อไป  รวมทั้งการวิ่งผลัดในกรณีที่

                                (i)  ได้ยืนยันครั้งสุดท้ายแล้วว่า   จะเข้าร่วมแข่งขันในรายการนั้นแต่มิได้เข้าร่วมการแข่งขัน เขาจะถูกตัดชื่อออกจากการแข่งขันรายการนั้นอย่างเป็นทางการ

                                (ii)  นักกรีฑาผ่านรอบคัดเลือกได้เข้ารอบต่อ ๆ ไป แต่เขาละเลยที่จะเข้าร่วมการแข่งขันในรอบที่มีสิทธิ์นั้น ๆ

                                ใบรับรองแพทย์  ซึ่งลงนามรับรองโดยเจ้าหน้าที่แพทย์ที่แต่งตั้งหรือได้รับความเห็นชอบจาก  IAAF และหรือคณะกรรมการบริหาร อาจจะเพียงพอสำหรับการยอมรับในกรณีที่   นักกรีฑาไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขันหลังจากที่ได้ยืนยันแล้วหรือหลังจากที่การแข่งขันรอบก่อนหน้านั้นได้ผ่านไปแล้ว แต่สามารถที่จะแข่งขันในรายการของวันต่อไปได้

                หมายเหตุ  :          1. เวลาที่กำหนดแน่นอนสำหรับการยืนยันครั้งสุดท้ายในการเข้าร่วมการแข่งขันควรพิมพ์ไว้ล่วงหน้า

                                                2.  การละเลยที่จะเข้าการแข่งขัน รวมทั้งละเลยที่จะแข่งขันอย่างซื่อสัตย์ ด้วยความมานะอย่างสุจริตใจ

                ผู้ชี้ขาดที่รับผิดชอบจะเป็นผู้ตัดสิน  และต้องบันทึกเหตุการณ์ลงในใบบันทึกอย่างเป็นทางการ  ทั้งนี้ไม่รวมถึงการแข่งขันรายการเฉพาะบุคคลประเภทรวม

 

กติกาข้อ 4.

เสื้อผ้า  รองเท้า และหมายเลขประจำตัวนักกรีฑา (CLOTHING, SHOES AND NUMBER BIBS)

 

เสื้อผ้า

                1.  ในการแข่งขันกรีฑาทุกรายการ นักกรีฑาจะต้องสวมเสื้อผ้าที่สะอาด ออกแบบอย่างเหมาะสม และสวมใส่ไม่ดูน่าเกลียดเสื้อผ้าจะต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่โปร่งบางแม้เวลาเปียกน้ำ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องไม่สวมเสื้อผ้าซึ่งอาจขัดขวางสายตาของผู้ตัดสิน

                การแข่งขันทั้งหมดภายในกติกาข้อ 12.1 (a) ถึง (e) ผู้เข้าแข่งขันจะเข้าร่วมการแข่งขันด้วยชุดที่ได้รับความเห็นชอบของชาตินั้น ๆ การแข่งขันทั้งหมด ภายใต้กติกาข้อ 12.1 (e) (สโมสรชิงถ้วย) ถึง (h) ผู้เข้าแข่งขันจะเข้าร่วมการแข่งขันด้วยชุดที่ได้รับความเห็นชอบของชาตินั้น ๆ หรือที่สโมสรกำหนดอย่างเป็นทางการ พิธีมอบรางวัลแก่ผู้ชนะ และให้เกียรติใด ๆ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันความมุ่งหมายของกติกาข้อนี้

รองเท้า

                2.  ผู้เข้าแข่งขันจะเข้าแข่งขันด้วยเท้าเปล่า  สวมรองเท้าข้างเดียวหรือสองข่างก็ได้  จุดมุ่งหมายที่สวมรองเท้าเข้าแข่งขันก็เพื่อป้องกันเท้า  ทำให้เท้ามั่นคง กระชับกับพื้นสนาม อย่างไรก็ตามรองเท้าดังกล่าวนี้ต้องไม่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยให้ผู้เข้าแข่งขันได้เปรียบ   จะต้องไม่มีสปริงหรือเครื่องมือใด ๆ  ติดอยู่กับรองเท้า  จะมีสายรัดหลังเท้าด้วยก็ได้  การแข่งขันทั้งหมดภายใต้กติกาข้อ 12.1 (a) และ (b)  ที่แข่งขันมากกว่าหนึ่งวัน  เจ้าหน้าที่ทีมจะต้องรายงานเป็นลายลักษณ์อักษรเรื่องรองเท้าที่นักกรีฑาสวมแข่งขันต่อคณะกรรมการจัดการแข่งขัน   ไม่อนุญาตให้นักกรีฑาเปลี่ยนไปใช้รองเท้าคู่อื่น  ตลอดเวลาการแข่งขันนั้น   นักกรีฑาที่แข่งขันประเภทรวมจะต้องรายงานว่าในแต่ละรายการ  จะสวมใส่รองเท้าอะไร

 

จำนวนตะปูรองเท้า

                3.  พื้นรองเท้าและส้น ให้มีตะปูได้ข้างละ 11 ตัว จะใช้จำนวนเท่าใดก็ได้แต่ไม่เกิน 11 ตัว

 

ขนาดของตะปูรองเท้า

                4.  การแข่งขันในลู่ยางสังเคราะห์  ความยาวของตะปูที่ยื่นจากพื้นรองเท้าและส้นต้องไม่ยาวเกินกว่า  9  มิลลิเมตร  นอกจากในการกระโดดสูงและการพุ่งแหลน  ให้ยาวไม่เกิน 12 มิลลิเมตร  ตะปูเหล่านี้จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางมากที่สุด  4 มิลลิเมตร  ความยาวของตะปูไม่เกิน  25 มิลลิเมตร  และเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน  4 มิลลิเมตร  อนุญาตให้ใช้ได้ในสนามที่ลู่วิ่งไม่ได้ทำด้วยยางสังเคราะห์

 

พื้นรองเท้าและส้นรองเท้า

                5.  พื้นรองเท้าและส้นอาจเป็นร่อง เป็นสัน เป็นลอนบางหรือมีปุ่มยื่นออกมาก็ได้ แต่ลักษณะต่าง ๆ   เหล่านี้จะต้องทำขึ้นมาจากวัสดุที่คล้ายคลึงหรือเหมือนกับพื้นรองเท้านั้น ในการกระโดสูงและกระโดดไกลพื้นรองเท้าจะมีความหนาได้ไม่เกิน 13 มิลลิเมตร และส้นรองเท้าของกระโดดสูงจะมีความหนาได้ไม่เกิน 19 มิลลิเมตร ในการแข่งขันชนิดอื่น ๆ ทั้งหมดพื้นรองเท้าและ/หรือส้นรองเท้าจะมีความหนาแตกต่างกันไป

 

สิ่งที่สอดใส่และเพิ่มเติมแก่รองเท้า

                6.  ผู้เข้าแข่งขันไม่ควรใช้อุปกรณ์ใด ๆ อื่น อีกทั้งภายในและภายนอกรองเท้า ซึ่งจะทำให้มีผลให้ความหนาของรองเท้า ซึ่งจะทำให้มีผลให้ความหนาของรองเท้าเพิ่มเติมขึ้นเกินกว่าระดับสูงสุดที่อนุญาตให้ใช้ได้ หรือสามารถทำให้ผู้สวมได้เปรียบในการแข่งขันซึ่งแตกต่างจากการใช้รองเท้าตามที่กำหนดไว้ในย่อหน้าที่ผ่านมา

 

หมายเลขผู้เข้าแข่งขัน

                7.  ผู้เข้าแข่งขันทุก ๆ คนจะได้รับหมายเลข 2 แผ่น ซึ่งเขาจะต้องติดให้เห็นได้อย่างชัดเจนที่หน้าอกและหลังในระหว่างการแข่งขันนอกจากในการแข่งขันกระโดดสูงและกระโดดค้ำ   ซึ่งจะใช้หมายเลขเพียงแผ่นเดียวติดไว้ที่หน้าอกหรือหลัง หมายเลขจะต้องตรงกับหมายเลขที่ระบุในรายการการแข่งขัน   ถ้าสวมชุดอุ่นร่างกายในระหว่างการแข่งขันหมายเลขดังกล่าวนั้นจะต้องติดสูงที่ชุดอบอุ่นร่างกายในทำนองเดียวกัน

                8. จะต้องติดหมายเลขให้หันหน้าออก ห้ามตัด พับ หรือปิดบังในทุกกรณีในการแข่งขันระยะไกลอาจเจาะรูเพื่อระบายอากาศได้แต่ห้ามเจาะรูบนตัวหนังสือหรือตัวเลข

                9.  ถ้าใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพที่เส้นชัย คณะกรรมการจัดการแข่งขันอาจจำเป็นต้องให้ผู้เข้าร่วมการแข่งขันติดหมายเลขเพิ่มอีกที่ด้านข้างกางเกงขาสั้น จะไม่อนุญาตให้ผู้เข้าร่วมคนใดที่ไม่ได้ติดหมายเลขเข้าร่วมการแข่งขัน

 

กติกาข้อ 5

การช่วยเหลือนักกรีฑา (ASSISTANCE TO ATHLESTES)

 

การบอกเวลาระหว่างการแข่งขัน

                1. เวลาระหว่างการแข่งขัน และเวลาสำหรับผู้ชนะรอบคัดเลือก ควรจะประกาศหรือแจ้งให้ทราบอย่างเป็นทางการ ผู้ที่อยู่บริเวณสนามแข่งขันจะแจ้งเวลาดังกล่าวให้แก่นักกรีฑาในขณะที่การแข่งขันกำลังดำเนินอยู่ไม่ได้   เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ชี้ขาดเสียก่อน

 

การให้ความช่วยเหลือ

                2 ข้อต่อไปนี้ ไม่ถือว่าเป็นการให้ความช่วยเหลือ

                                (i) การติดต่อสื่อสารระหว่างนักกรีฑากับผู้ฝึกสอนของเขาที่ไม่ได้อยู่ในบริเวณสถานแข่งขัน เพื่อให้การสื่อสารเป็นไปโดยสะดวกและไม่เป็นการรบกวนการชมการแข่งขัน ความสำรองที่นั่งที่อยู่ใกล้สถานแข่งขันมากที่สุดไว้สำหรับผู้ฝึกสอนของนักกรีฑาแต่ละคนในทุก ๆ รายการแข่งขันประเภทลาน

                                (ii)  การทำกายภาพบำบัด และการตรวจรักษาทางการแพทย์ที่จำเป็นเพื่อให้          นักกรีฑาสามารถเข้าร่วมการแข่งขันหรือแข่งขันต่อไปได้ด้วยการแต่งตั้งหรือเห็นชอบจากคณะแพทย์ และ / หรือจากผู้แทนเทคนิคที่เฉพาะเจาะจง อนุญาตทำให้ทำโดยมีข้อแม้ว่าต้องไม่เป็นการถ่วงเวลาการแข่งขัน   หรือหลีกเลี่ยงลำดับการประลองตามที่ได้กำหนดไว้ ดังนั้นการดูแลรักษาหรือการให้ความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นใดในระหว่างแข่งขันหรือช่วงกระชั้นชิดก่อนการแข่งขันนับตั้งแต่       นักกรีฑาได้ออกจากห้องรายงานตัวจะถือเป็นการให้ความช่วยเหลือ

                จากวัตถุประสงค์ของกติกาข้อนี้  ข้อต่อไปนี้ถือว่าเป็นการให้ความช่วยเหลือ  จึงไม่อนุญาต

                (i) การเคลื่อนที่เคียงคู่กันไปในระหว่างการแข่งขันกับผู้ที่ไม่ได้ร่วมแข่งขัน   หรือกับนักวิ่งหรือนักเดินที่โดนแซงรอบไปแล้วหรือกำลังจะถูกแซงรอบ หรือโดยใช้อุปกรณ์เทคนิคใดๆ ช่วยเหลือ

                (ii)  ใช้วิดีทัศน์ หรือเครื่องบันทึกเสียงหรือภาพ วิทยุ ซีดี วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์พกพา หรืออุปกรณ์ที่คล้ายในบริเวณสถานแข่งขัน นักกรีฑาคนใดให้หรือรับการช่วยเหลือภายในบริเวณสถานแข่งขันในระหว่างการแข่งขันจะถูกเตือนจากผู้ชี้ขาด ถ้าทำซ้ำอีกจะถูกตัดสิทธิ์ให้ออกจากการแข่งขันรายการนั้น

 

การให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระแสลม

                3. ควรมีถุงลมตั้งไว้ในตำแหน่งที่ใกล้กับจุดเริ่มแข่งขันประเภทกระโดดทุกรายการ รวมทั้งขว้างจักร และพุ่งแหลน เพื่อให้นักกรีฑาได้ทราบถึงทิศทางและความแรงของกระแสลม

 

เครื่องดื่ม/ฟองน้ำ (Drinking/ Sponging)

                4.  ในการแข่งขันประเภทลู่ระยะทาง 5,000 เมตร หรือไกลกว่าคณะกรรมการจัดการแข่งขันอาจจะจัดน้ำ และฟองน้ำไว้ให้นักกรีฑา ถ้าสภาพของอากาศเป็นเหตุสมควรให้มีการจัดบริการเช่นนั้นได้

 

กติกาข้อ 6

การตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน  (DISQUALIFICATION)

 

            ถ้านักกรีฑาถูกตัดสิทธิ์ในการแข่งขันจากการละเมิดต่อกติกาของ IAAF จะต้องรายงานผลอย่างเป็นทางการว่าละเมิดกติกาของ IAAF ข้อใด ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ปกป้องไม่ให้นักกรีฑาคนนั้นเข้าร่วมในรายการต่อไป

                นักกรีฑาคนใดแสดงความไม่มีน้ำใจนักกีฬาหรือแสดงกิริยาไม่เหมาะสมจนทำให้หมดสิทธิ์จะเข้าร่วมแข่งขันในรายการต่อไปทั้งหมด  จะต้องรายงานผลอย่างเป็นทางการถึงเหตุผลที่ถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขันถ้าการละเมิดนั้นถูกพิจารณาว่าร้ายแรง  ผู้อำนวยการจัดการแข่งขันจะต้องรายงานต่อหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลเพื่อพิจารณาดำเนินการลงโทษทางวินัยต่อไป 

 

กติกาข้อ 7.

การประท้วง  และอุทธรณ์  (PROTESTS  AND  APPEALS)

 

            1.  การประท้วงที่เกี่ยวกับสถานภาพของนักกรีฑาที่เข้าร่วมการแข่งขันจะต้องกระทำก่อนเริ่มการแข่งขันโดยยื่นคำประท้วงต่อผู้แทนเทคนิค เมื่อผู้แทนเทคนิคพิจารณาแล้วจะส่งเรื่องต่อไปให้กรรมการอุทธรณ์ ถ้าเรื่องนั้นไม่สามารถตกลงกันได้อย่างน่าพอใจก่อนการแข่งขัน ก็ให้นักกรีฑาผู้นั้นลงได้ภายใต้การประท้วงแล้วให้เสนอการประท้วงไปยังสภาของ IAAF ต่อไป

                2.  การประท้วงเกี่ยวกับการผลการแข่งขันหรือการดำเนินการแข่งขันจะต้องทำภายใน 30 นาที เมื่อได้มีการประกาศแข่งขันอย่างเป็นทางการแล้ว คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะต้องรับผิดชอบสำหรับผลการแข่งขันแต่ละประเภทไว้ด้วย

                3. การประท้วงในกรณีใด ๆ ในครั้งแรกควรจะประท้วงด้วยวาจาโดยตัวนักกรีฑาเองหรือตัวแทนต่อผู้ชี้ขาดเพื่อให้การตัดสินนั้นเป็นธรรมผู้ชี้ขาดควรพิจารณาตามหลักฐานทุกอย่างที่ปรากฏ ที่เขาเห็นว่าจำเป็น รวมทั้งภาพถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ ซึ่งจัดทำโดยผู้บันทึกวีดิทัศน์อย่างเป็นทางการ ผู้ชี้ขาดอาจเป็นผู้ตัดสินการประท้วงเอง หรือส่งเรื่องนั้นให้แก่กรรมการอุทธรณ์ ถ้าผู้ชี้ขาดตัดสินเองจะต้องมีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ต่อกรรมการอุทธรณ์ด้วย

                4.  ในการแข่งขันประเภทลาน ถ้านักกรีฑาทำการประท้วงด้วยวาจาทันทีต่อการตัดสินการประลองฟาล์ว หัวหน้าผู้ตัดสินของการแข่งขันอาจสั่งด้วยความระมัดระวังและความรอบคอบของเขาเองให้มีการวัดระยะผลการประลอง และบันทึกผลที่ได้รับไว้เพื่อที่จะรักษาสิทธิ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไว้

                ในการแข่งขันประเภทลู่  ผู้ชี้ขาดลู่อาจใช้ดุลยพินิจของตนเองอนุญาตให้นักกรีฑาเข้าแข่งขันได้   แม้ในขณะที่มีการประท้วงหากมีนักกรีฑาประท้วงด้วยวาจาทันที  หลังจากที่ได้รับทราบว่าออกตัวไม่ถูกต้อง   และเพื่อเป็นการรักษาสิทธิ์ทั้งปวงที่เกี่ยวข้อง

                อย่างไรก็ตาม   ไม่อาจยอมรับการประท้วงได้  หากการปล่อยตัวไม่ถูกต้องนั้น  ถูกตรวจสอบโดยอุปกรณ์การปล่อยตัวอย่างไม่ถูกต้อง

                5.  การประท้วงต่อคณะกรรมการรับอุทธรณ์ต้องกระทำภายใน   30 นาที หลังจากผู้ชี้ขาดได้ตัดสินและประกาศผลอย่างเป็นทางการแล้ว

                การประท้วงต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรลงนามโดยเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในฐานะตัวแทนของนักกรีฑาพร้อมเงินมัดจำ  100 เหรียญสหรัฐอเมริกา หรือเทียบเท่า เงินจำนวนนี้จะถูกยึดถ้าการประท้วงนั้นตกไป

                6.  คณะกรรมการรับอุทธรณ์จะต้องปรึกษากับบุคคลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ชี้ขาดและผู้ตัดสิน ถ้าคณะกรรมการอุทธรณ์สงสัยจะต้องพิจารณาหลักฐานวีดิทัศน์ต่าง ๆ ที่หาได้   ถ้าหลักฐานเช่นนั้นเป็นข้อสรุปไม่ได้ จะต้องคงคำตัดสินของผู้ชี้ขาดไม่ได้ตามเดิม

 

กติกาข้อที่ 8.

การแข่งขันรวมกัน  (MIXED COMPETITION)

 

                การแข่งขันทุกรายการที่เสร็จสิ้นภายในสนามกรีฑา  จะไม่อนุญาตให้เพศชายกับเพศหญิงแข่งรวมกัน

 

กติกาข้อ 9.

การวัด  (MEASUREMENTS)

 

                สำหรับการแข่งขันประเภทลู่และลาน  ภายใต้กติกาข้อ 12.1 (a) และ (c)   การวัดทุกอย่างต้องวัดด้วยสายวัดที่ทำด้วยเหล็กกล้าหรือไม้วัดหรือเครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์ ส่วนการแข่งขันระดับอื่น ๆ อาจใช้สายวัดที่ทำด้วยไฟเบอร์กลาสได้   ความเที่ยงตรงของเครื่องมือในการวัดใด ๆ ที่นำมาใช้ต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานทางการชั่งและการวัด

 

กติกาข้อ 10.

สถิติที่รับรอง   (VALIDTY AND PERFORMANCES)

 

                ไม่ถือว่าสถิติที่นักกรีฑาทำได้จะได้รับการรับรอง  นอกจากการทำสถิตินั้นเกิดขึ้นระหว่างการแข่งขันที่คณะกรรมการได้จัดขึ้นภายใต้กติกาของ IAAF

 

กติกาข้อ 11.

การบันทึกวีดิทัศน์  (VIDEO RECORDING)

 

            ในการแข่งขันที่จัดขึ้นภายใต้กติกาเป็นข้อเสนอแนะว่าให้บันทึกวีดิทัศน์อย่างเป็นทางการในการแข่งขันกรีฑาทุกประเภทถ้าสามารถทำได้  ซึ่งความถูกต้องเที่ยงตรงของการแข่งขันและการละเมิดกติกาต่าง ๆ  จะถูกบันทึกไว้เพื่อใช้เป็นหลักฐาน

กติกาข้อ 12.

การคิดคะแนน  (SCORING)

 

                ในการแข่งขันซึ่งผลการแข่งขันนั้นกำหนดโดยการให้คะแนนวิธีการให้คะแนนควรจะตกลงกันโดยประเทศผู้เข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมดก่อนเริ่มการแข่งขัน

 

ประเภทลู่ (TRACK EVENTS)

กติกาข้อ Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ซาลาเปาในไต้หวัน...

ซาลาเปาในไต้หวัน...


เปิดอ่าน 6,241 ครั้ง
7 สมุนไพร.....ช่วยย่อยอาหาร

7 สมุนไพร.....ช่วยย่อยอาหาร


เปิดอ่าน 6,236 ครั้ง
เผย 5 ปัจจัยฆ่าตัวตาย

เผย 5 ปัจจัยฆ่าตัวตาย


เปิดอ่าน 6,239 ครั้ง
7 วิธีให้ดูดี

7 วิธีให้ดูดี


เปิดอ่าน 6,238 ครั้ง
30 ข้อความ ชวนอมยิ้ม !!!

30 ข้อความ ชวนอมยิ้ม !!!


เปิดอ่าน 6,237 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

บัญญัติ 10 ประการ ....... กฎแห่งความโชคดี

บัญญัติ 10 ประการ ....... กฎแห่งความโชคดี

เปิดอ่าน 6,237 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ถั่วเหลือง......กินมากไปไม่ดี
ถั่วเหลือง......กินมากไปไม่ดี
เปิดอ่าน 6,240 ☕ คลิกอ่านเลย

สูตรเด็ด...คนสุขภาพดี...
สูตรเด็ด...คนสุขภาพดี...
เปิดอ่าน 6,237 ☕ คลิกอ่านเลย

แนะนำตัวค่ะ
แนะนำตัวค่ะ
เปิดอ่าน 6,240 ☕ คลิกอ่านเลย

ฮวงจุ้ย ความรัก ...
ฮวงจุ้ย ความรัก ...
เปิดอ่าน 6,237 ☕ คลิกอ่านเลย

 ....เพลงกับการสอนฟังและการเขียน....แถมการแข่งขันทักษะ
....เพลงกับการสอนฟังและการเขียน....แถมการแข่งขันทักษะ
เปิดอ่าน 6,235 ☕ คลิกอ่านเลย

ลางบอกเหตุ...สมองเสื่อม!!
ลางบอกเหตุ...สมองเสื่อม!!
เปิดอ่าน 6,236 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

รวมวิธีการใช้งาน Google Plus สำหรับผู้เริ่มต้น
รวมวิธีการใช้งาน Google Plus สำหรับผู้เริ่มต้น
เปิดอ่าน 27,547 ครั้ง

วิธีถ่ายภาพแบบมโน เสมือนตัวเองไปเที่ยวมา
วิธีถ่ายภาพแบบมโน เสมือนตัวเองไปเที่ยวมา
เปิดอ่าน 12,419 ครั้ง

ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ทำไมเป็นกันมากขึ้น
ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ทำไมเป็นกันมากขึ้น
เปิดอ่าน 11,854 ครั้ง

สุดยอดจอดรถขั้นเทพ ทุบสถิติสไลด์เข้าที่จอดแคบที่สุด
สุดยอดจอดรถขั้นเทพ ทุบสถิติสไลด์เข้าที่จอดแคบที่สุด
เปิดอ่าน 15,410 ครั้ง

เกลือ
เกลือ
เปิดอ่าน 57,050 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ