ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมสำหรับคุณครู  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

บทบาทของครูในการเรียนรู้แบบ Active Learning


สำหรับคุณครู เปิดอ่าน : 190,249 ครั้ง
บทบาทของครูในการเรียนรู้แบบ Active Learning

Advertisement

Active Learning

ในยุคปฏิรูปการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปการศึกษาเชื่อว่าในวงการครู-อาจารย์ในทุกระดับคงจะคุ้นเคยหรือได้ยินคำว่า Active Learning กันมาก และค่อนข้างจะเป็นคำที่อยู่ในยุค ซึ่งฮิตติดตลาด (ครู) ผู้เขียนเคยค้นหาและสอบถามว่ามีคำศัพท์ใดๆ ในภาษาไทยที่จะใช้เรียกแทนคำนี้ได้บ้างหรือไม่ ซึ่งราชบัณฑิตท่านหนึ่งก็บอกแก่ผู้เขียนว่า ถ้าจะให้ใช้ตรงตัวเลยก็ต้องใช้ว่า "การเรียนรู้แบบกัมมันต" เพราะคำว่า Active แปลเป็นไทยคือ กัมมันต ผู้เขียนคิดว่าน่าจะทำให้ครู-อาจารย์ทั้งหลายต้องฉงนกันต่ออีกกระมังว่า แล้วเจ้ากัมมันตนี้แปลว่าอย่างไรอีก ฉะนั้นจึงขอทับศัพท์ว่า Active Learning หรือใช้คำย่อว่า AL ในการเขียนต่อไปนี้

ก่อนอื่น ขอให้นิยามหรือคำจำกัดความเกี่ยวกับ AL ดังนี้ ผู้เขียนเห็นด้วยกับนิยามที่ว่า AL นั้น "เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยการร่วมมือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ในการนี้ ครูต้องลดบทบาทในการสอนและการให้ข้อความรู้แก่ผู้เรียนโดยตรงลง แต่ไปเพิ่มกระบวนการและกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการจะทำกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น และอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยการพูด การเขียน การอภิปรายกับเพื่อนๆ" ซึ่งโดยหลักการนี้ก็จะไปสอดคล้องกับหลักการใหญ่ที่ว่า ถ้าเราให้ผู้เรียนรู้จากการอ่านอย่างเดียวผู้เรียนก็จะเรียนรู้ได้เพียง 20% ถ้าจากการฟังก็จะเพิ่มเป็น 30% แต่ถ้าได้มีโอกาสได้พบเห็นก็จะเพิ่มเป็น 40% ถ้าจากการพูดก็จะเป็น 50% และได้ลงมือปฏิบัติเองก็จะถึง 60% และถ้าได้เรียนรู้จากกิจกรรมหลายๆ อย่างที่หลากหลายก็จะเพิ่มโอกาสที่จะเรียนรู้ถึง 90% ดังตารางข้างล่าง

ในกรณีที่เป็นเด็กโตหรือในระดับอุดมศึกษา AL จะกินความไปถึงความรับผิดชอบต่อการเรียนของนักศึกษาด้วย นั่นคือการที่ต้องพัฒนาลักษณะนิสัยทั้งด้านจิตใจและร่างกายให้มีความมุ่งมั่นไปสู่เป้าหมายทางการศึกษาของตนเองด้วย โดยสร้างนิสัยใน การไปเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ ทำการบ้านที่ผู้สอนมอบหมายให้อย่างดี และเมื่อทราบผลสำเร็จของ "การบ้าน" ก็พร้อมที่จะปรับปรุงและแก้ไขทำให้ดีขึ้นในโอกาสต่อไป กรณีความรับผิดชอบในการเข้าชั้นเรียน เด็กยิ่งเล็กเท่าไหร่ ปัญหาน่าจะมีน้อยลง คือมีน้อยกว่าเด็กโตที่อาจจะหลบเลี่ยงไม่เข้าเรียนได้มากกว่า ปัญหาที่จะมองควบคู่กันไปก็คือ ถ้ามุ่งหวังให้ผู้เรียนมีสภาพการเรียนรู้ที่ Active สภาพการสอนของครูก็จะต้อง Active ด้วย นั่นคือจะเกิด Active Learning ได้ก็ต้องมี Active Teaching ดังนั้น ทั้งผู้เรียนและผู้สอนก็คงต้อง "เตรียมตัว" ทั้งสองฝ่ายจึงจะเกิดสภาพที่ Active ขึ้นมาได้



การเตรียมตัวด้านผู้เรียน

นอกจากจะต้องพาตัวเองหรือบังคับตัวเองให้ไปเข้าชั้นเรียนแล้ว สิ่งที่จะก่อให้เกิดบรรยากาศของ AL ได้ ผู้เรียนก็จะต้องเตรียมตัวในเรื่องต่อไปนี้ คือ

อ่านบทเรียนและหรือทำการบ้านที่ได้รับมอบหมายมาล่วงหน้า

ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนไปแล้ว

เตรียมใจที่จะเรียนอย่างสนใจ

เตรียมกายให้พร้อมที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ

ขณะเรียน สิ่งที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดบรรยากาศ AL ได้นั้น ผู้เรียนจะต้องไม่ออกไปนอกห้องบ่อย พยายามนั่งแถวหน้า ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับเด็กโตๆ ที่มีโอกาสได้เลือกที่นั่งเอง และมักจะไม่เลือกนั่งแถวหน้า นอกจากนี้ ต้องพยายามเป็นผู้ฟังที่ Active คือ ตื่นตัวตลอดเวลาว่าใครพูดอะไร ไม่ว่าจะเป็นครูหรือเพื่อนร่วมชั้น และต้องมีส่วนร่วมในการสนองตอบต่อการพูดคุยนั้น และสุดท้ายต้องจดบันทึกสม่ำเสมอ

บทบาทของครู

ทีนี้มาดูบทบาทครูบ้างว่าต้องเตรียมทำตัวอย่างไร และดำเนินการอย่างไรจึงจะทำให้เกิดบรรยากาศของ AL ได้ ซึ่งจากการวิเคราะห์พฤติกรรมของครูที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นครูแห่งชาติจะพบองค์ประกอบของความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนอยู่เสมือนๆ กัน หรือคล้ายๆ กัน คือ

การเตรียมตัวให้พร้อมที่จะสอน หรือ ศึกษาขอบเขตและกรอบในการทำงาน

ศึกษาฝ่ายผู้เรียน วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง

จัดระบบการเรียนการสอน ซึ่งจะเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากที่สุด

รวบรวมทรัพยากรและผลิตขึ้นเพิ่มเติม โดยเฉพาะสื่อต่างๆ

ดำเนินการพัฒนาผู้เรียนและพัฒนางาน

ประเมินผล-สรุปผลและนำมาปรับปรุง

ในระบบการเรียนการสอนนั้นการที่จะให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมมากที่สุดได้นั้น กรณีที่เป็นเด็กโตหรือระดับนักศึกษาแล้ว ผู้สอนจะต้องพยายามสร้างนิสัยการเรียนรู้แบบ AL ให้เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอด้วย โดยจะต้องให้ผู้เรียนได้รู้ตัวว่าในขณะนั้นผู้เรียนจะต้อง

รู้ว่าตัวเองจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับอะไรบ้าง

สิ่งที่จะเรียนรู้นั้นไปเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรียนไปแล้วอย่างไร

สิ่งที่เรียนนั้นมันสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับความเป็นไปของโลกปัจจุบันอย่างไร

ทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าข้อเท็จจริงหรือข้อความรู้ที่ได้รับรู้ไปนั้นถูกต้องแน่นอน

กลับไปตรวจสอบ "การบ้าน" หรือสิ่งที่ค้นคว้าอยู่ใหม่ว่าเราได้คำตอบที่ถูกต้องไหมหรือทำถูกต้องกับคำถามไหน

สามารถสอบถามความรู้เพิ่มเติมจากผู้อื่น หรือไปทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้ได้คำตอบมาก่อนที่จะสรุปคำตอบสุดท้าย โดยต้องฟังหรือหาคำตอบให้ได้มาอย่างสมบูรณ์ก่อนที่จะสรุปนำเสนอ

กิจกรรมที่จะให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วม อันนำไปสู่ความกระตือรือร้นหรือตื่นตัวที่จะเรียนรู้นั้นที่จริงก็ไม่ใช่ของใหม่ในวงการจัดการเรียนการสอนของไทย เพียงแต่ว่าเท่าที่ผ่านมาผู้สอนไม่ค่อยได้เอามาใช้กัน หรือใช้ก็น้อยมาก อาจเป็นเพราะต้องใช้เวลาในการเตรียมการและการติดตามผล



จึงอาจทำให้ผู้สอนรู้สึกว่าเป็นการลำบากและหรือยุ่งยาก เช่น การให้ทำโครงการ การฝึกปฏิบัติ การทดลอง การค้นคว้าอภิปราย การแสดงบทบาทสมมติ การอ่าน การเขียน เกม ฯลฯ แต่กิจกรรมระหว่างเด็กเล็กกับเด็กโตอาจต่างกันในรายละเอียดเพราะวุฒิภาวะต่างกัน เช่น สำหรับเด็กเล็กการฝึกให้รู้จักค้นคว้าและนำมาอภิปราย พูดคุยกันนั้น ก็ควรจะอยู่ในการกำกับดูแลและหรือการให้คำแนะนำช่วยเหลือจากผู้สอน แทนที่จะปล่อยให้ศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเองเหมือนเด็กที่โตแล้ว อย่างไรก็ดีมีข้อที่น่าสังเกตประการหนึ่งก็คือ ในขั้นตอนที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองให้มากที่สุดนั้นตัวกิจกรรมหลักระหว่างการเรียนการสอนในชั้นเรียนในประเทศไทยกับต่างประเทศ โดยเฉพาะทางตะวันตก อาจแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ในด้านกิจกรรมการค้นคว้าในห้องสมุด นักเรียนไทยจะไม่คุ้นเคยกับการไปค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองจากการอ่านมากนัก การทำรายงานเพื่อส่งครูก็จะทำไปอย่างนั้น โดยไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร ถ้าจะถามว่าทำไม เหตุผลน่าจะเป็นเพราะพฤติกรรมฝ่ายผู้สอนด้วยว่าให้ความสำคัญกับการรายงานมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่อาจเห็นว่าง่ายดี สั่งการบ้านเป็นการให้ทำรายงาน แต่ไม่เคยสนใจที่จะตรวจหรืออ่านแล้วชี้แจงให้ผู้เรียนได้ทราบว่า สิ่งที่เขาไปค้นคว้ามานั้นมันดีมากน้อยเพียงใด ครอบคลุมที่ต้องการไหม ตอบข้อคำถามได้ชัดเจนหรือเปล่า ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่เห็นเด็กไทยเรียนรู้จากการอ่านหรือค้นคว้าสักเท่าใดนัก โดยเฉพาะในยุคที่มุ่งเรียนเพื่อให้จบเท่านั้น

และในบางครั้งผู้สอนก็อาจเข้าใจผิดว่า การที่จะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างกระตือรือร้นจึงต้องมีส่วนร่วมมากๆ โดยแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อยให้มากที่สุด ซึ่งการที่นักเรียนถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆ เพียงกลุ่มย่อยๆ เพียงกลุ่มละ 2-3 คน แล้วก็นั่งเรียนอยู่ด้วยกันก็ดี หรือทำงานที่ได้รับมอบหมายด้วยกันทั้งหมดก็ดี ไม่ใช่การเรียนรู้ในลักษณะของ Active Learning การที่จะตัดสินว่าเป็น AL ได้ก็ต่อเมื่อไม่ว่าจะมีการแบ่งกลุ่มย่อยหรือไม่ก็ตาม จะต้องมีลักษณะดังนี้เกิดขึ้น

มีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน

มีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนด้วยกัน

บรรลุสำเร็จทางด้านวิชาการ

เกิดทักษะทางด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน

มีการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดไปสู่ในระดับที่สูงขึ้น

เกิดเจตคติที่ดีต่อวิชาที่เรียนและเกิดแรงจูงใจต่อการเรียนรู้

ได้มีผู้แนะนำว่า การฝึกการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกันอย่างง่ายที่สุด คือ การให้ผู้เรียนได้จับคู่กันทำกิจกรรมด้วยกัน อาจเริ่มต้นจากจับคู่กันอ่านในเรื่องเดียวกัน แล้วผลัดกันตั้งคำถาม-และตอบ หรือให้ไปเตรียมตัวอ่านมาล่วงหน้า เตรียมคำถามมา แล้วจึงค่อยมาจับคู่กันถามตอบ แต่ไม่ว่าจะใช้เทคนิคใดๆ ก็ตาม จะต้องไม่ใช้ซ้ำซาก เพราะจะเกิดความเบื่อหน่ายและการจับคู่ผู้เรียนก็ควรสับเปลี่ยนคู่บ่ายๆ และควรเลือกคู่ประเภทนั่งหน้ากับหลังมากกว่าให้จับคู่ที่นั่งชิดกัน (เพื่อนสนิทมักจะนั่งชิดกัน) และเหนือสิ่งอื่นใด การวางแผนจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิด AL นั้นจะต้องถือว่ากิจกรรมนั้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด จัดเพื่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างใครกับใคร ต้องใช้เวลามากน้องเพียงใด เราต้องการเพียงกิจกรรมการพูดคุยเพื่อค้นหาคำตอบแค่นั้น หรือมีกิจกรรมอย่างอื่นที่จะต้องทำต่อเนื่องด้วย ทั้งนี้เพื่อการจัดเวลาที่เหมาะสม ตลอดจนมีเวลาเพื่อสรุปและประเมินผลกิจกรรมต่างๆ ด้วย

อนึ่ง ในการศึกษาและทำความเข้าใจเพื่อนำกระบวนการ Active Learning ไปใช้เพื่อการเรียนการสอนนั้น เราจะพบว่ามีคำศัพท์ หลายๆ คำที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น Cooperative Learning, Child Centre, Collaborative Learning ฯลฯ ซึ่งแต่ละคำจะมีความเกี่ยวข้องกันและมีส่วนหนึ่งที่เหมือนกัน แต่ถ้าศึกษาในรายละเอียดแล้วจะพบว่าไม่เหมือนกัน ซึ่งถ้ามีโอกาสจะเขียนเล่าถึงกระบวนการที่แตกต่างกันมาให้อ่านกันใหม่

สำหรับบทสรุปของ Active Learning นั้น ก็น่าจะเป็นว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่จะทำให้เกิดสภาพของ Active Learning ได้ แต่เหนือสิ่งอื่นใด ผู้ที่จะก่อให้เกิดสภาพนี้ได้คือ ครูผู้สอนที่จะต้องมีสภาพของ Active Teaching ก่อน และไม่ว่าเราจะใช้คำศัพท์ใดๆ หรือใช้นิยามหรือคำจำกัดความใดๆ ที่จะกว้างหรือแคบก็ตามสิ่งที่เราในฐานะครูผู้สอน ซึ่งต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนนั้น จะต้องคำนึงถึงก็คือทำอย่างไรจึงจะให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ และครบถ้วนถามที่สังคมยุคปฏิรูปการศึกษาได้มุ่งหวังไว้ ไม่ใช่สอนเพื่อเด็กเรียนรู้เพียงเพื่อจำเอามาตอบเราได้เท่านั้น

"การฝึกการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
อย่างง่ายที่สุด คือ การให้ผู้เรียนได้จับคู่กันทำ
กิจกรรมด้วยกัน อาจเริ่มต้นจากจับคู่กันอ่าน
ในเรื่องเดียวกัน แล้วผลัดกันตั้งคำถาม-และตอบ"

"ครูต้องลดบทบาทในการสอนและการให้ข้อความรู้
แก่ผู้เรียนโดยตรงลง แต่ไปเพิ่มกระบวนการและ
กิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้น
ในการจะทำกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น
และอย่างหลากหลาย"

ที่มาข้อมูล : วารสารวิชาการ ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 กันยายน 2546
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมวิชาการ
ที่มาเว็บ : https://www.myfirstbrain.com


บทบาทของครูในการเรียนรู้แบบ Active Learning บทบาทของครูในการเรียนรู้แบบActiveLearning

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ศธ.เปิด ตู้ ปณ. 319 รับเรื่องร้องทุกข์ แจ้งเบาะแสและข้อเสนอแนะถึง รมว.ศธ.โดยตรง

ศธ.เปิด ตู้ ปณ. 319 รับเรื่องร้องทุกข์ แจ้งเบาะแสและข้อเสนอแนะถึง รมว.ศธ.โดยตรง

เปิดอ่าน 12,722 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
แนวปฏิบัติการดำเนินงานตาม พรบ. การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
แนวปฏิบัติการดำเนินงานตาม พรบ. การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
เปิดอ่าน 58,118 ☕ คลิกอ่านเลย

 กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทน พ.ศ.2551
กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทน พ.ศ.2551
เปิดอ่าน 25,346 ☕ คลิกอ่านเลย

รายงานการวิจัยพัฒนาการจัดค่ายอย่างสร้างสรรค์
รายงานการวิจัยพัฒนาการจัดค่ายอย่างสร้างสรรค์
เปิดอ่าน 10,537 ☕ คลิกอ่านเลย

ชำแหละ "แชร์ลูกโซ่" ธุรกิจหลอกฟันเงิน
ชำแหละ "แชร์ลูกโซ่" ธุรกิจหลอกฟันเงิน
เปิดอ่าน 10,597 ☕ คลิกอ่านเลย

รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่ได้ผล
รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่ได้ผล
เปิดอ่าน 81,391 ☕ คลิกอ่านเลย

กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร
กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร
เปิดอ่าน 4,258 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดศักราช 2559 ต้อนรับ "AEC" จุดเปลี่ยนอาเซียนสู่ก้าวใหม่ "ค้าบริการ-นวัตกรรม"มาแรง
เปิดศักราช 2559 ต้อนรับ "AEC" จุดเปลี่ยนอาเซียนสู่ก้าวใหม่ "ค้าบริการ-นวัตกรรม"มาแรง
เปิดอ่าน 9,551 ครั้ง

10 ขั้นตอนบริหารใบหน้าชะลอแก่
10 ขั้นตอนบริหารใบหน้าชะลอแก่
เปิดอ่าน 17,507 ครั้ง

แผ่นดินไหวปากีสถานดัน"เกาะ"โผล่กลางทะเล
แผ่นดินไหวปากีสถานดัน"เกาะ"โผล่กลางทะเล
เปิดอ่าน 15,739 ครั้ง

เคล็ดลับง่าย ๆ ในการดูแลผิวหน้าให้สวยสุขภาพดี
เคล็ดลับง่าย ๆ ในการดูแลผิวหน้าให้สวยสุขภาพดี
เปิดอ่าน 10,752 ครั้ง

แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 สพฐ.
แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 สพฐ.
เปิดอ่าน 35,713 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ