ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมสุขศึกษาและพลศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

รู้ไหมว่า...ทำไมหัวใจเต้นผิดจังหวะ?


สุขศึกษาและพลศึกษา 27 ก.ย. 2555 เวลา 12:41 น. เปิดอ่าน : 14,781 ครั้ง
รู้ไหมว่า...ทำไมหัวใจเต้นผิดจังหวะ?

Advertisement

หลายคนอาจจะไม่คุ้นกับโรคทางไฟฟ้าของหัวใจ แต่เชื่อแน่ว่าหลายคนคงคุ้นกับชื่อโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ แล้วรู้หรือไม่ว่าอาการดังกล่าวเกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร ส่งผลร้ายแรงต่อหัวใจและชีวิตแค่ไหน หาคำตอบเรื่องของหัวใจเหล่านี้ได้จาก “ศ.นพ.ดร.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร” นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นปีล่าสุดและเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องไฟฟ้าของหัวใจรายแรกของไทย

แบบจำลองหัวใจที่ติดตั้งอุปกรณ์ช็อคหัวใจ


ศ.นพ.ดร.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร ประธานกรรมการบริหารศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสาขาโรคทางไฟฟ้าของหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่าหัวใจเป็นอวัยวะที่มีการทำงานของไฟฟ้าเยอะมาก และเมื่อเกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลัน (Heart Attrack) ผู้ป่วยมักเสียชีวิต โดยสาเหตุของการเสียชีวิตนั้นเกิดจากการเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรงของหัวใจ

การเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรงของหัวใจนั้นเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเนื่องจากหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ซึ่ง ศ.นพ.ดร.นิพนธ์ กล่าวว่า เส้นเลือดหัวใจที่มักพบการอุดตันบ่อยคือหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจห้องล่างซ้าย เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดไม่พอ ผิวกล้ามเนื้อหัวใจมักมีการเปลี่ยนแปลงทางไฟฟ้า สร้างไฟฟ้าขึ้นเอง ทำให้หัวใจเต้นอย่างผิดจังหวะ และบีบตัวไม่ได้ ทำให้หมดสติเพราะเลือดสูบฉีดไปสมองไม่ได้

“สมองเป็นส่วนที่ได้รับผลกระทบเร็วที่สุดเพราะเป็นส่วนที่ขาดเลือดไปเลี้ยงได้ในเวลาที่สั้นมาก เมื่อเลือดไม่ได้เลี้ยงสมองทำให้ผู้ป่วยหมดสติ และไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จึงมักเสียชีวิตในเวลา 2-3 นาที อาการเดียวกันนี้ยังพบได้ในคนที่ถูกไฟฟ้าดูดรุนแรง ซึ่งผู้ถูกไฟฟ้าดูดไม่ได้เสียชีวิตเนื่องจากได้รับกระแสไฟฟ้าแต่เสียชีวิตเนื่องจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ” ศ.นพ.ดรนิพนธ์

ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคทางไฟฟ้าของหัวใจกล่าวอีกว่า ทราบกันมาเป็นเวลา 100 ปีแล้วว่าเมื่อหัวใจหยุดเต้นหรือเต้นผิดจังหวะ จะต้องใช้ไฟฟ้าแรงสูงชาร์จกระตุ้นหัวใจ แต่ปัญหาคือเราไม่ทราบว่าหัวใจจะเต้นผิดจังหวะเมื่อไร จึงต้องฝังอุปกรณ์เครื่องช็อคหัวใจแบบอัตโนมัติในตัวผู้ป่วย เครื่องดังกล่าวจะวัดการเปลี่ยนแปลงไฟฟ้าในหัวใจ เมื่อพบความผิดปกติก็จะชาร์จไฟฟ้ากระตุ้นหัวใจ

นอกจากนี้ในการชาร์จหัวใจจากภายนอกด้วยไฟฟ้าแรงสูง แม้ผู้ป่วยจะฟื้นหรือรอดตายจากอาการหัวใจหยุดเต้น หัวใจก็ได้รับความเสียหายจากการกระตุ้น ศ.นพ.ดร.นิพนธ์จึงทำวิจัย เพื่อหาวิธีที่จะลดความแรงของไฟฟ้าที่ใช้ชาร์จหัวใจ หนึ่งในงานวิจัยที่กำลังศึกษาอยู่คือ การศึกษาผลจากยาบางชนิดต่อการลดความแรงไฟฟ้าในการชาร์จหัวใจ ซึ่งผู้ปวยโรคหัวใจมักมีโรคเบาหวานร่วมด้วย และพบว่ายาเบาหวานบางตัวสามารถลดความแรงไฟฟ้ากระตุ้นหัวใจลงได้ 30% แต่ยาบางอย่างกลับไปเพิ่มความแรงในการกระตุ้นหัวใจได้ รวมถึงโอเมกา 3 และกระเทียมก็มีส่วนช่วยลดโอกาสการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ ซึ่งทั้งหมดกำลังอยู่ระหว่างการศึกษา

ศ.ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์


สำหรับ ศ.นพ.ดร.นิพนธ์นั้นเพิ่งได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี 2555 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมกับ ศ.ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ขอบคุณที่มา ภาพและข่าวจากผู้จัดการออนไลน์


รู้ไหมว่า...ทำไมหัวใจเต้นผิดจังหวะ?

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ประโยชน์จากฟักเขียว

ประโยชน์จากฟักเขียว


เปิดอ่าน 19,911 ครั้ง
สุนัขบ้ากัด

สุนัขบ้ากัด


เปิดอ่าน 21,021 ครั้ง
สายตาเอียง

สายตาเอียง


เปิดอ่าน 13,716 ครั้ง
ว่านชักมดลูก

ว่านชักมดลูก


เปิดอ่าน 12,405 ครั้ง
"พรมมิ" วัชพืชบำรุงสมอง

"พรมมิ" วัชพืชบำรุงสมอง


เปิดอ่าน 14,504 ครั้ง
สรรพคุณของ "ปลีกล้วย"

สรรพคุณของ "ปลีกล้วย"


เปิดอ่าน 76,165 ครั้ง
โรคของเส้นผม ขน และเล็บ

โรคของเส้นผม ขน และเล็บ


เปิดอ่าน 19,895 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

โรคฉี่หนู เชื้อร้ายที่มากับน้ำท่วม

โรคฉี่หนู เชื้อร้ายที่มากับน้ำท่วม

เปิดอ่าน 15,254 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
จุฬาฯวิจัยสารสกัดดอกสะเดา มีฤทธิ์ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่
จุฬาฯวิจัยสารสกัดดอกสะเดา มีฤทธิ์ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่
เปิดอ่าน 18,834 ☕ คลิกอ่านเลย

ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 1 สนามแข่งขัน (The Pitch)
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 1 สนามแข่งขัน (The Pitch)
เปิดอ่าน 126,591 ☕ คลิกอ่านเลย

"ตังกุย" คืออะไร มีสรรพคุณอย่างไร
"ตังกุย" คืออะไร มีสรรพคุณอย่างไร
เปิดอ่าน 19,267 ☕ คลิกอ่านเลย

แมลงมีพิษกัดต่อย
แมลงมีพิษกัดต่อย
เปิดอ่าน 25,519 ☕ คลิกอ่านเลย

วิตามิน บี
วิตามิน บี
เปิดอ่าน 19,599 ☕ คลิกอ่านเลย

สารพัดคุณประโยชน์จาก"ผักบุ้ง" เสริมสุขภาพ-กันโรคยิ่งทานยิ่งดี
สารพัดคุณประโยชน์จาก"ผักบุ้ง" เสริมสุขภาพ-กันโรคยิ่งทานยิ่งดี
เปิดอ่าน 22,846 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

รู้เรา รู้ใคร... จากนิสัยท่องเที่ยว
รู้เรา รู้ใคร... จากนิสัยท่องเที่ยว
เปิดอ่าน 9,943 ครั้ง

บัญชีเงินเดือนข้าราชการครู
บัญชีเงินเดือนข้าราชการครู
เปิดอ่าน 145,859 ครั้ง

จิงจูฉ่าย สุดยอดสมุนไพรจีนบำรุงเลือดลม
จิงจูฉ่าย สุดยอดสมุนไพรจีนบำรุงเลือดลม
เปิดอ่าน 20,769 ครั้ง

สำเร็จครั้งแรก! นำเชื้อธรรมชาติเพาะ ‘เห็ดโคนคอนโด’
สำเร็จครั้งแรก! นำเชื้อธรรมชาติเพาะ ‘เห็ดโคนคอนโด’
เปิดอ่าน 15,766 ครั้ง

การศึกษาปัญหาที่แก้ไม่ตก
การศึกษาปัญหาที่แก้ไม่ตก
เปิดอ่าน 8,485 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ