ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ข้อสรุปการเลื่อนเปิดปิดภาคเรียน ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน-อาชีวศึกษา


ข่าวการศึกษา 10 ต.ค. 2556 เวลา 09:23 น. เปิดอ่าน : 19,314 ครั้ง
ข้อสรุปการเลื่อนเปิดปิดภาคเรียน ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน-อาชีวศึกษา

Advertisement

นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยผลการพิจารณาของที่ประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 9/2556 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2556 เรื่อง ข้อสรุปของการเลื่อนเปิดปิดภาคเรียนของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษา ทุกสังกัด


รมว.ศธ.กล่าวว่า สืบเนื่องจาก ศธ.ได้เคยพิจารณาการเลื่อนเปิดปิดภาคเรียนในส่วนของอุดมศึกษา โดยมีสถาบันการศึกษาจำนวนหนึ่งได้เลื่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 เป็นช่วงเดือนสิงหาคม เพื่อให้สอดคล้องกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ (ประเทศตะวันตก) และก็ได้มีการพิจารณาต่อเนื่องต่อไปว่า ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษาควรจะเลื่อนเปิดปิดภาคเรียนด้วยหรือไม่ ซึ่งเดิมมีข้อสรุปว่าจะเลื่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 จากวันที่ 16 พฤษภาคม เป็นวันที่ 10 มิถุนายน และภาคเรียนที่ 2 จากวันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 26 พฤศจิกายน และได้มีการเห็นชอบแล้ว แต่อยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขระเบียบและได้มีการเผยแพร่เป็นข่าวทางสื่อต่างๆ ไปบ้างแล้ว

ต่อมา ศธ.ได้มีการหารือ รับฟังความคิดเห็น และสำรวจความคิดเห็น ทั้งที่ รมว.ศธ.ได้ร่วมหารือเอง และมอบหมายให้ รมช.ศธ. และผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ. และองค์กรหลักหารือร่วมกัน รวมทั้งมีการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการเลื่อนเปิดปิดภาคเรียน กับไม่เลื่อนเปิดปิดภาคเรียน ดังนี้

 

ตารางเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย
การเลื่อนเปิดปิดภาคเรียน กับไม่เลื่อนเปิดปิดภาคเรียน

 
 

การเปิดปิดภาคเรียน

ข้อดี

ข้อเสีย

ข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะ

 
 

เดิม

ภาคเรียนที่ 1
เปิด 16 พฤษภาคม
ปิด 11 ตุลาคม

ภาคเรียนที่ 2
เปิด 1 พฤศจิกายน
ปิด 1 เมษายน

1. ไม่ประสบปัญหาน้ำท่วม

2. ไม่กระทบต่อประเพณีสงกรานต์

3. นักเรียน ม.6 มีเวลาดูหนังสือ เพื่อเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย และเรียนจบหลักสูตรก่อนการสอบ
แอดมิชชั่น

4. ไม่ต้องแก้ไขระเบียบ กฎหมาย
ที่เกี่ยวข้อง

5. ไม่กระทบต่อการขอรับเงินอุดหนุนรายหัว

6. ผู้สำเร็จ ปวช./ปวส. เข้าสู่ตลาดแรงงานได้ทันความต้องการ

7. ไม่กระทบต่อปัญหาการใช้พลังงานไฟฟ้าและการขาดแคลนน้ำดื่ม เนื่องจากภัยแล้ง

1. นักศึกษาฝึกสอนคณะครุศาสตร์ ไม่มีเวลาเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนการฝึกสอน 1. กำหนดเวลาการเปิดปิดภาคเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศในกลุ่มอาเซียนเปิดปิดไม่พร้อมกัน ดังนี้

 - กลุ่มหนึ่ง เปิดช่วงเดือนมกราคม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม มาเลเซีย  และสิงคโปร์
 - กลุ่มสอง เปิดช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย
 - กลุ่มสาม เปิดช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ได้แก่ กัมพูชา ลาว
เมียนมาร์ และเวียดนาม
 
2. การสอบแอดมิชชั่น ทปอ. ให้สถาบันอุดม- ศึกษา ปรับปฏิทินการรับนักศึกษาแล้ว การเลื่อนหรือไม่เลื่อนเปิดปิดภาคเรียนไม่กระทบ โดยในปี 2557 การสอบแอดมิชชั่นอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม
 
3. การสอบ GAT/PAT การเลื่อนหรือไม่เลื่อนเปิดปิดภาคเรียนมีผลเท่ากัน เพราะอยู่ในช่วงเวลาเรียนเช่นเดียวกัน
 
4. หากเลื่อนการเปิดปิดภาคเรียน อาจส่งผลให้นักศึกษาต้องใช้เวลาในการเรียนมากกว่าเดิมจากเดิม 16 ปี เป็น 16 ปีครึ่ง เพราะสถาบันอุดมศึกษาได้เลื่อนเวลาเปิดปิดภาคเรียนออกไป

 
 

ใหม่

ภาคเรียนที่ 1
เปิด 10 มิถุนายน
ปิด 4 พฤศจิกายน

ภาคเรียนที่ 2
เปิด 26 พฤศจิกายน
ปิด 26 เมษายน

1. นักศึกษาฝึกสอนคณะครุศาสตร์ ไม่มีเวลาเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนการฝึกสอน

2. ระยะห่างของการปิดภาคเรียนนักเรียน ม.6 จะมีเวลาเหมาะสมกับการเลื่อนเปิดปิดภาคเรียนของมหาวิทยาลัย

1. ได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ อาจประสบปัญหาน้ำท่วม การจราจรติดขัด

2. กระทบต่อประเพณีวันสงกรานต์

3. ต้องแก้ไขระเบียบกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้อง 
 
4. กระทบต่อการขอรับเงินอุดหนุนรายหัว

5. ผู้สำเร็จ ปวช./ปวส. อาจเข้าสู่ตลาดแรงงานไม่ทันความต้องการ

6. กระทบต่อปัญหาการใช้พลังงานไฟฟ้าและการขาดแคลนน้ำดื่ม เนื่องจากภัยแล้ง

 

ดังนั้น ศธ.จึงมีมติไม่เลื่อนเปิดปิดภาคเรียน หมายความว่า จะให้มีการเปิดปิดภาคเรียนเช่นเดิม คือ ภาคเรียนที่ 1 ในวันที่ 16 พฤษภาคม-11 ตุลาคม และภาคเรียนที่ 2 ในวันที่ 1 พฤศจิกายน-1 เมษายน เพราะมีข้อดีมากกว่าการเลื่อนเปิดปิดภาคเรียนมาก ที่สำคัญคือ เมื่อคำนึงถึงการเรียนส่วนใหญ่ของนักเรียน กล่าวคือ ป.1-ม.5 มีความสอดคล้องในแง่ภูมิอากาศ การใช้พลังงาน ประเพณี ที่จะส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอน หากมีการเลื่อนเปิดปิดภาคเรียนก็จะมีผลกระทบทั้งการแก้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และกระทบต่อการขอรับเงินอุดหนุนรายหัวของนักเรียนที่จะต้องใช้ฐานข้อมูลนักเรียน ณ วันที่ 10 มิถุนายน เป็นต้น

ในส่วนของอาชีวศึกษา ได้เสนอความเห็นว่าการศึกษาของอาชีวะเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยน้อย และการเปิดปิดภาคเรียนเช่นเดิมมีความสอดคล้องกับตลาดแรงงานมากกว่า เพราะตลาดแรงงานมีความต้องการกำลังแรงงานจำนวนมากในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ฉะนั้น การสำเร็จการศึกษาในช่วงปลายเดือนมีนาคมก็จะสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานมากกว่า

ในช่วงการศึกษาขั้นพื้นฐาน ป.1-ม.5 และอาชีวศึกษามีช่วงเวลาเรียนที่ยาว 11 ปีการศึกษา ส่วนนักเรียนชั้น ม.6 พบว่า หากการศึกษาพื้นฐานเปิดปิดภาคเรียนเช่นเดิม คือ เปิดวันที่ 16 พฤษภาคม และปิดเรียนตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนในปีต่อไป จะทำให้มีช่วงเวลาก่อนมหาวิทยาลัยจะเปิดเทอมยาวขึ้นถึง 4 เดือน ซึ่งช่วงเวลาที่ยาวขึ้นกว่าเดิมเมื่อพิจารณาแล้วก็ไม่เป็นปัญหา แต่เป็นโอกาสดี เช่น ในบางประเทศใช้ช่วงเวลายาวๆ ก่อนเข้ามหาวิทยาลัยสำหรับเรียนภาษาเพิ่มเติม เรียนบางวิชาเพื่อเตรียมเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ในกรณีของประเทศไทย การที่ช่วงเวลาจบ ม.6 จนถึงก่อนเข้าเรียนมหาวิทยาลัยยาวขึ้น จะทำให้สามารถจัดระบบการรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย หากจะมีการขอความร่วมมือให้มหาวิทยาลัยเลื่อนการสอบตรงเข้ามหาวิทยาลัยไปสอบเมื่อนักเรียนจบการศึกษาชั้น ม.6 ก็คือ หลังวันที่ 1 เมษายน ก็จะทำให้นักเรียนมีเวลาเตรียมตัวและมหาวิทยาลัยมีเวลาในการจัดการสอบได้ดีขึ้น

ดังนั้น หากการระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษา ไม่เลื่อนเปิดปิดภาคเรียน จะทำให้นักเรียนชั้น ม.6 มีช่วงเวลาว่างยาวขึ้นก่อนการเปิดภาคเรียนของมหาวิทยาลัย ซึ่งเลื่อนเปิดภาคเรียนเป็นเดือนสิงหาคม ถึง 4 เดือน เมื่อได้หารือร่วมกันทั้ง ศธ.แล้ว ก็อาจจะใช้เป็นโอกาสในการปรับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่ง สทศ.มีความเห็นว่า การสอบ O-Net ของ สทศ.ควรจะจัดสอบหลังจากนักเรียน ม.6 จบการศึกษาแล้ว และมีความยินดีที่จะขยับช่วงเวลาการสอบของ สทศ.ให้สอดคล้องกับช่วงเวลาปิดเทอมที่เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ สพฐ.ยังได้สำรวจความคิดเห็นของครู นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้อำนวยการโรงเรียน และผู้แทนภาคเอกชน รวมทั้งผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาและผู้แทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 15,696 คน ต่อการเลื่อนหรือไม่เลื่อนเปิดปิดภาคเรียน ได้ผลพบว่า ร้อยละ 54.54 เห็นด้วยกับการเปิดปิดภาคเรียนเช่นเดิม (เทอม 1 เปิด 16 พฤษภาคม-11 ตุลาคม และเทอม 2 เปิด 1 พฤศจิกายน-1 เมษายน) ร้อยละ 27.44 เห็นด้วยกับการเลื่อนเปิดปิดภาคเรียนเพื่อให้สอดคล้องกับมหาวิทยาลัย และร้อยละ 18.02 เห็นด้วยกับการเปิดปิดภาคเรียนตามที่เคยมีข้อสรุปไว้ (เทอม 1 เปิด 10 มิถุนายน-4 พฤศจิกายน และเทอม 2 เปิด 26 พฤศจิกายน-26 เมษายน) จากผลสำรวจพบว่า มีผู้เห็นด้วยกับการเลื่อนเปิดภาคเรียนเป็นวันที่ 10 มิถุนายน น้อยมาก  ในความเป็นจริงแล้วผลการสำรวจความคิดเห็นอาจจะมีความคาดเคลื่อนได้ แต่การสำรวจครั้งนี้ทำให้เห็นความแตกต่างของความเห็นอย่างชัดเจน

รมว.ศธ.กล่าวสรุปว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้เปิดปิดภาคเรียนวันที่ 16 พฤษภาคมเช่นเดิม เพราะถึงอย่างไรประเทศอาเซียนก็เปิดปิดไม่พร้อมกัน การปรับเวลาการเปิดปิดภาคเรียนของประเทศไทยจึงไม่ใช่ประเด็นที่จะทำให้สอดคล้องกับกลุ่มประอาเซียน แต่เกิดจากแนวคิดที่ต้องการจะเลื่อนเพื่อให้สอดคล้องกับมหาวิทยาลัย คือวันที่ 15 สิงหาคม ซึ่งมหาวิทยาลัยเองก็ปรับให้สอดคล้องกับสากลหรือประเทศตะวันตก ฉะนั้นการไม่เลื่อนเปิดปิดภาคเรียนจึงมีข้อดีกว่า โดย ศธ.คำนึงถึงนักเรียนส่วนใหญ่ (ป.1-ม.5) เป็นสำคัญ และมีความชัดเจนมากว่าการเปิดปิดภาคเรียนเช่นเดิมดีกว่า แต่ก็ไม่ทำให้นักเรียนชั้น ม.6 มีข้อเสียแต่อย่างใด กลับกลายทำให้มีเวลาในการพัฒนาปรับปรุงตนเองก่อนการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยมากขึ้นด้วย

ที่มา ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ

tags : เปิดเทอมปี 2557, ปี 57 เปิดเทอม 16 พฤษภาคม เหมือนเดิม


ข้อสรุปการเลื่อนเปิดปิดภาคเรียน ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน-อาชีวศึกษาข้อสรุปการเลื่อนเปิดปิดภาคเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน-อาชีวศึกษา

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ด่วนที่สุด การคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567

ด่วนที่สุด การคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567

เปิดอ่าน 6,243 ☕ 26 มี.ค. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ด่วนที่สุด สพฐ.แจ้งการกำหนดค่าธรรมเนียมการสมัครคัดเลือกครูผู้ช่วย-ผู้บริหารสถานศึกษา 500 บาท
ด่วนที่สุด สพฐ.แจ้งการกำหนดค่าธรรมเนียมการสมัครคัดเลือกครูผู้ช่วย-ผู้บริหารสถานศึกษา 500 บาท
เปิดอ่าน 320 ☕ 28 มี.ค. 2567

ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567
ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567
เปิดอ่าน 1,780 ☕ 28 มี.ค. 2567

บอร์ด ก.ค.ศ. เห็นชอบปรับอัตราเงินเดือนครูตามมติ ครม. เดือนเม.ย.รู้ตัวเลขแน่นอน
บอร์ด ก.ค.ศ. เห็นชอบปรับอัตราเงินเดือนครูตามมติ ครม. เดือนเม.ย.รู้ตัวเลขแน่นอน
เปิดอ่าน 1,552 ☕ 27 มี.ค. 2567

ครม.ไฟเขียวตั้งบุรีรัมย์เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดที่ 20
ครม.ไฟเขียวตั้งบุรีรัมย์เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดที่ 20
เปิดอ่าน 481 ☕ 27 มี.ค. 2567

ด่วน! สทศ.ประกาศผลสอบโอเน็ต ปีการศึกษา 2566 แล้ว
ด่วน! สทศ.ประกาศผลสอบโอเน็ต ปีการศึกษา 2566 แล้ว
เปิดอ่าน 3,808 ☕ 26 มี.ค. 2567

ด่วนที่สุด การคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567
ด่วนที่สุด การคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 6,243 ☕ 26 มี.ค. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

อ่านอะไร...คนไทย?
อ่านอะไร...คนไทย?
เปิดอ่าน 7,643 ครั้ง

จะให้ลูกเก่งเลข ต้องออกกำลัง
จะให้ลูกเก่งเลข ต้องออกกำลัง
เปิดอ่าน 12,735 ครั้ง

หาฟังได้ยากยิ่ง คลิปคุณยายวัย 94 ปีท่อง "ก.ไก่-ฮ.นกฮูก" แบบโบราณ
หาฟังได้ยากยิ่ง คลิปคุณยายวัย 94 ปีท่อง "ก.ไก่-ฮ.นกฮูก" แบบโบราณ
เปิดอ่าน 15,017 ครั้ง

สำคัญที่ผู้สอน (ครู, อาจารย์)
สำคัญที่ผู้สอน (ครู, อาจารย์)
เปิดอ่าน 11,131 ครั้ง

ระบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548
ระบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548
เปิดอ่าน 33,189 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 096-7158383

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ