ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

บรรยากาศ (ATMOSPHERE)


วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดอ่าน : 22,370 ครั้ง
บรรยากาศ (ATMOSPHERE)

Advertisement

บรรยากาศ (ATMOSPHERE) โดย นาวาอากาศเอก อมร แสงสุพรรณ และนาวากาศเอก ธีระภาพ เสนะวงษ์


          บรรยากาศ หมายถึง อากาศที่ห่อหุ้มโลกเราอยู่ มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ ก๊าซชนิดต่างๆ ไอน้ำ ฝุ่นละออง แรงดึงดูดของโลกเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บรรยากาศมีความกดดันและความหนาแน่นสูงที่ระดับน้ำทะเลเมื่อสูงขึ้นไปความกดดันและความหนาแน่นของบรรยากาศจะลดลงตามลำดับ

         
ขอบเขตของบรรยากาศ
ไม่อาจบอกได้แน่นอนว่าสิ้นสุดลง ณ ที่ใด แต่ในทางฟิสิกส์ ถือว่า ถ้ายังมีปรากฏการณ์กระทบกันของอณูอากาศอยู่ ก็ถือว่ายังอยู่ในขอบเขตของบรรยากาศโดยทั่วไปแล้วอาจกล่าวได้ว่า ขอบเขตของบรรยา-กาศอยู่ที่ระดับความสูงประมาณ ๑,๒๐๐ ไมล์เหนือระดับน้ำทะเล

         
ส่วนประกอบของบรรยากาศ
  บรรยากาศประกอบด้วยก๊าซชนิดต่างๆที่สำคัญ ได้แก่ไนโตรเจน ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำ นอกจากนี้แล้วเป็นก๊าซที่พบได้ยากและมีปริมาณน้อย ซึ่งไม่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตมากนัก เช่น นีออน เซนอน คริปทอนและไฮโดรเจน เป็นต้น

ตารางแสดงส่วนประกอบของบรรยากาศ

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]

หัวข้อ

ประโยชน์ของบรรยากาศต่อสิ่งที่มีชีวิต
         ๑. ช่วยให้มีชีวิต (Life-sustaining  Pressure Functions) กล่าวคือ ออกซิเจนในบรรยากาศมีความจำเป็นต่อสัตว์ คาร์บอนไดออกไซด์มีความจำเป็นต่อพืช ไอน้ำในบรรยากาศทำให้เกิดฝนซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของทั้งพืชและสัตว์ และความกดบรรยากาศทำให้สิ่งที่มีชีวิตดำรงอยู่ได้โดยความกดบรรยากาศปกติ ที่ระดับน้ำทะเลมีค่าเท่ากับ ๗๖๐ มม.ปรอท  หรือ ๑๔.๗ ปอนด์ ต่อ ตร.นิ้ว
         ๒. ช่วยคุ้มครองชีวิต (Life-protecting Filter Functions) บรรยากาศทำหน้าที่คอยกรองหรือดักสิ่งที่มาจากนอกโลกซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสิ่งที่มีชีวิต เช่น รังสีอัลตราไวโอเลต รังสีคอสมิกตลอดจนอุกกาบาต เป็นต้น

[กลับหัวข้อหลัก]
[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
การแบ่งชั้นบรรยากาศ
          สรีรวิทยาการบินมี หลักการแบ่งชั้นของบรรยากาศด้วยกัน ๒ วิธี คือ

          
๑. การแบ่งชั้นทางฟิสิกส์ (Physical Divisions) แบ่งออกเป็น ชั้นต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ
                ๑.๑ ชั้นโทรโพสเฟียร์  เป็นชั้นที่มนุษย์อาศัยอยู่ มีความสูงตั้งแต่ระดับน้ำทะเลขึ้นไปประมาณ ๓๐,๐๐๐ ฟุต ที่บริเวณขั้วโลก และประมาณ ๖๐,๐๐๐ ฟุต ที่บริเวณเส้นศูนย์สูตรลักษณะที่สำคัญของบรรยากาศชั้นนี้ คือ
                  (ก) มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ กล่าวคือ ยิ่งสูงขึ้นไปอุณหภูมิจะยิ่งลดลง จนกระทั่งมีอุณหภูมิ -๕๕ องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่าเป็นเขตสิ้นสุดของบรรยากาศชั้นนี้
                  (ข) มีฤดูกาล เนื่องจากบรรยากาศชั้นนี้มีไอน้ำ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเป็นฤดูกาลต่างๆ เช่น ฤดูร้อน ฤดูฝนและฤดูหนาว เป็นต้น และยังทำให้เกิดมีกระแสลมอลวน (Turbulence) เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทิศทางและความเร็วของลม จนเกิดเป็นพายุขึ้นได้
               ๑.๒ ชั้นโทรโพพอส  เป็นช่วงต่อระหว่างชั้นโทรโพสเฟียร์ กับชั้นสตราโทสเฟียร์ มีระยะสูงไม่แน่นอนตั้งแต่ไม่กี่ฟุตจนถึงหลายพันฟุต
               ๑.๓ ชั้นสตราโทสเฟียร์  อยู่ถัดจากชั้นโทรโพพอส ขึ้นไปจนถึงระยะสูงประมาณ ๕๐ ไมล์จากระดับน้ำทะเล เนื่องจากไม่มีไอน้ำจึงไม่มีฤดูกาลและกระแสลมอลวนในชั้นนี้ มีอุณหภูมิคงที่ประมาณ -๕๕ องศาเซลเซียส
               ๑.๔ ชั้นไอโอโนสเฟียร์  อยู่ถัดจากชั้นสตราโทสเฟียร์ ขึ้นไปจนถึงระยะสูงประมาณ ๖๐๐ ไมล์จากระดับน้ำทะเล อณูของก๊าซในชั้นนี้จะแตกตัวออกเป็นประจุไฟฟ้า (ions) ซึ่งมีคุณสมบัติในการสะท้อนคลื่นวิทยุจึงเป็นประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร บรรยากาศชั้นนี้ยังมีคุณประโยชน์ในการกรองรังสีต่างๆ ที่มาจากนอกโลกอีกด้วย
               ๑.๕ ชั้นเอกโซสเฟียร์ เป็นชั้นนอกสุดของบรรยากาศ มีระยะสูงประมาณ ๑,๒๐๐ ไมล์จากระดับน้ำทะเล มีอณูของก๊าซอยู่น้อยมาก ถัดจากชั้นนี้ขึ้นไปเป็นอาณาเขตซึ่งเรียกว่า อวกาศซึ่งมีสภาพเหมือนกับเป็นสุญญากาศ

          
๒. การแบ่งชั้นทางสรีรวิทยา (Physiological Division)  ใช้คุณสมบัติในการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นหลักในการแบ่งชั้น แบ่งออกได้เป็น ๓ ชั้น คือ
                ๒.๑ ชั้นที่มนุษย์ปรับตัวอยู่ได้ อยู่สูงตั้งแต่ระดับน้ำทะเลไปจนถึงระยะสูง ๑๐,๐๐๐ ฟุตเป็นชั้นซึ่งสรีรวิทยาของร่างกายมนุษย์ สามารถปรับตัวอยู่ได้โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือหรืออุปกรณ์อื่นใดช่วยเหลือ
                ๒.๒ ชั้นที่มนุษย์ปรับตัวอยู่ได้บางส่วนตั้งแต่ระยะสูง ๑๐,๐๐๐ ฟุต จนถึง ๕๐,๐๐๐ ฟุต เป็นชั้นซึ่งมนุษย์สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ โดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์หลายอย่างช่วยให้ดำรงชีวิตอยู่
                ๒.๓ ชั้นที่เสมือนเป็นอวกาศ ตั้งแต่ระยะสูง ๕๐,๐๐๐ ฟุตขึ้นไปทางสรีรวิทยาการบินถือว่ามนุษย์ไม่สามารถปรับตัวอยู่ได้เลย จำต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยชีวิตจึงจะดำรงชีวิตอยู่ได้

         
อนึ่ง ที่ระยะสูงประมาณ ๖๕,๐๐๐ ฟุต จากระดับน้ำทะเล มีความกดบรรยากาศเท่ากับความกดดันของไอน้ำในร่างกาย คือ ๔๗ มม.ปรอท ดังนั้นน้ำในร่างกายจะเดือดกลายเป็นไอหมด เรียกระยะสูงนี้ว่า แนวอาร์มสตรอง (Armstrong's line) ซึ่งมนุษย์จะหมดสติภายใน ๑๕ วินาทีและเสียชีวิตภายใน ๒-๓ นาที
[กลับหัวข้อหลัก]

แสดงการแบ่งชั้นบรรยากาศทางฟิสิกส์

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]


นาวาอากาศเอก ธีระภาพ เสนะวงษ์
นาวาอากาศเอก อมร แสงสุพรรณ


บรรยากาศ (ATMOSPHERE)บรรยากาศ(ATMOSPHERE)

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

จุดที่เย็นที่สุดในโลก

จุดที่เย็นที่สุดในโลก


เปิดอ่าน 19,603 ครั้ง
ธรรมชาติของห่วงโซ่อาหาร

ธรรมชาติของห่วงโซ่อาหาร


เปิดอ่าน 52,753 ครั้ง
ระบบย่อยอาหาร

ระบบย่อยอาหาร


เปิดอ่าน 201,211 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ดวงจันทร์ (Moon)

ดวงจันทร์ (Moon)

เปิดอ่าน 17,728 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ฝนดาวตกสิงโต
ฝนดาวตกสิงโต
เปิดอ่าน 20,414 ☕ คลิกอ่านเลย

ทำไมจึงไม่บรรจุน้ำอัดลมให้เต็มขวด?
ทำไมจึงไม่บรรจุน้ำอัดลมให้เต็มขวด?
เปิดอ่าน 25,436 ☕ คลิกอ่านเลย

ข้าวกล้องงอก
ข้าวกล้องงอก
เปิดอ่าน 18,287 ☕ คลิกอ่านเลย

20 เรื่องเหลือเชื่อทางวิทยาศาสตร์
20 เรื่องเหลือเชื่อทางวิทยาศาสตร์
เปิดอ่าน 20,278 ☕ คลิกอ่านเลย

ทำไม E = mc กำลัง 2 สมการสะท้านโลก
ทำไม E = mc กำลัง 2 สมการสะท้านโลก
เปิดอ่าน 30,043 ☕ คลิกอ่านเลย

ลมบกและลมทะเล
ลมบกและลมทะเล
เปิดอ่าน 45,196 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

สูตรคูณ
สูตรคูณ
เปิดอ่าน 57,902 ครั้ง

รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 กับฉบับ 2549 เหมือน-ต่างกันตรงไหน
รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 กับฉบับ 2549 เหมือน-ต่างกันตรงไหน
เปิดอ่าน 18,773 ครั้ง

จารีตประเพณีของชาวสยามตามชั้นบุคคลในฐานะต่าง ๆ
จารีตประเพณีของชาวสยามตามชั้นบุคคลในฐานะต่าง ๆ
เปิดอ่าน 14,328 ครั้ง

ยาตีกันอันตราย
ยาตีกันอันตราย
เปิดอ่าน 12,455 ครั้ง

ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปอะไร ? โดย ดร. วิชัย พยัคฆโส
ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปอะไร ? โดย ดร. วิชัย พยัคฆโส
เปิดอ่าน 13,353 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ