ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ความเป็นมาของพระไตรปิฎก


สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เปิดอ่าน : 33,386 ครั้ง
ความเป็นมาของพระไตรปิฎก

Advertisement

ความเป็นมาของพระไตรปิฎก

พระสาวก ๔ รูป ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาแห่งพระไตรปิฎก คือ
๑. พระอานนท์ เป็นโอรสของเจ้าชายสุกโกทนศากยะ ผู้เป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดา ท่านออกบวชแล้วได้เป็นผู้ที่สงฆ์เลือกให้ทำหน้าที่เป็นพุทธอุปฐาก คือ ผู้รับใช้ใกล้ชิดพระพุทธเจ้า พระอานนท์ทรงจำพระพุทธวจนะได้มาก ท่านจึงมีส่วนสำคัญในการรวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วจัดเป็นหมวดหมู่ต่างๆ สืบมาจนทุกวันนี้
๒. พระอุบาลี เคยเป็นพนักงานรักษาภูษามาลาอยู่ในราชสำนักแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ท่านออกบวช พร้อมกับพระอานนท์และราชกุมารอื่นๆ โดยได้รับเลือกจากเจ้าชายเหล่านั้นให้อุบาลีบวชก่อน พวกตนจะได้กราบไหว้อุบาลีตามพรรษาอายุเป็นการแก้ทิฐิมานะตั้งแต่เริ่มแรกในการออกบวช ท่านมีความสนใจกำหนดจดจำทางพระวินัยเป็นพิเศษ จนแม้พระพุทธเจ้าก็ทรงสรรเสริญท่านด้วย ท่านจึงได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบคำถามเกี่ยวกับวินัยปิฎก จึงนับว่าท่านเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยตรงในการช่วยรวบรวมข้อพระวินัยต่างๆ ให้เป็นหมวดหมู่เป็นหลักฐานมาจนทุกวันนี้
๓. พระโสณกุฏิกัณณะ ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับพระไตรปิฎก แต่ประวัติของท่านมีส่วนเป็น หลักฐานในการท่องจำพระไตรปิฎก เรื่องของท่านมีปรากฎในพระสุตตันตปิฎกความว่า เดิมท่านเป็น อุบาสกคอยรับใช้พระมหากัจจานเถระ แล้วบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ ๓ ปี จึงได้อุปสมบทเป็นภิกษุ ต่อมา ท่านได้เดินทางไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ เชตวนาราม พระพุทธเจ้าตรัสเชิญให้พระโสณะกล่าวธรรม ซึ่งท่านได้กล่าวสูตรถึง ๑๖ สูตร อันปรากฏในอัฏฐกวัคค์จนจบ เมื่อจบแล้วพระพุทธเจ้าทรงอนุโมทนาสรรเสริญความทรงจำ และท่วงทำนองในการกล่าว เรื่องนี้เป็นตัวอย่างอันดีในเรื่องความเป็นมาแห่งพระไตรปิฎกว่าได้มีการท่องจำกันตั้งแต่ ครั้งพระพุทธเจ้ายังทรงมีพระชนม์อยู่
๔. พระมหากัสสป เป็นผู้บวชเมื่ออายุสูง แม้ท่านไม่ใคร่สั่งสอนใคร แต่ก็สั่งสอนคนในทางปฏิบัติ คือทำตัวเป็นแบบอย่าง เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว ท่านได้เป็นหัวหน้าชักชวนพระสงฆ์ให้ทำสังคายนาคือ ร้อยกรอง หรือจัดระเบียบพระวินัย นับว่าท่านเป็นผู้มีส่วนสำคัญยิ่งในการทำให้เกิด พระไตรปิฎก

นอกจากพระไตรปิฎกจะเกิดขึ้นจากความปรารถนาของพระเถระ ๔ รูปนี้แล้ว พระพุทธเจ้า ยังได้เคยแนะให้รวบรวมธรรมภาษิตของพระองค์และทำสังคายนา เพื่อไม่ให้เกิดความแตกกัน เหมือนอย่างสาวกของนิครนถนาฏบุตร ที่แตกกันหลังจากผู้เป็นอาจารย์เจ้าลัทธิสำคัญคนหนึ่งสิ้นชีพ พระพุทธสุภาษิตที่แนะนำรวบรวมพุทธวจนะร้อยกรองจัดระเบียบหมวดหมู่นี้ ถือได้ว่าเป็นเริ่ม ต้นแห่งการแนะนำ เพื่อให้เกิดพระไตรปิฎกดังที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

เมื่อกล่าวถึงความเป็นมาแห่งพระไตรปิฎก และกล่าวถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้ ทำสังคายนาก็ดี ก็ต้องกล่าวถึงความปรารถนาดีของพระจุนทเถระ ครั้งแรกก็คือท่านได้เข้าพบพระอานนท์ เมื่อรู้เห็นเหตุการณ์ที่สาวกของนิครนถนาฏบุตรแตกกัน ซึ่งพระอานนท์ชวนให้เข้าเฝ้า พระพุทธเจ้า และพระผู้มีพระภาคทรงตรัสแนะให้ทำสังคายนาดังกล่าวแล้วข้างต้น ครั้งหลังคือ เมื่อสาวกนิครนถนาฏบุตรแตกกันยิ่งขึ้น ท่านก็เข้าหาพระอานนท์อีกขอให้กราบทูลพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงโพธิปักขิยธรรมอันเป็นหลักของพระพุทธศาสนา แล้วทรงแสดงมูลเหตุ แห่งการทะเลาะวิวาท ๖ ประการ อธิกรณ์ ๔ ประการ วิธีระงับอธิกรณ์ ๗ ประการ กับประการ สุดท้ายทรงแสดงหลักธรรมสำหรับอยู่ร่วมกันด้วยความผาสุก ๖ ประการ ที่เรียกว่า สาราณิยธรรม ซึ่งการเข้าหาพระอานนท์ทั้ง ๒ ครั้งของพระจุนทเถระนี้คือ ความปรารถนาดีของท่าน ที่ห่วงใยใน ความตั้งมั่นยั่งยืนแห่งพระพุทธศาสนา

การสวดปาฏิโมกข์ต่างจากการสังคายนาอย่างไร ?

การสวดปาฏิโมกข์คือการ “ว่าปากเปล่า” หรือการสวดข้อบัญญัติทางพระวินัย 150 ข้อ ในเบื้องแรก และ 227 ข้อในกาลต่อมาทุกๆ กึ่งเดือนหรือ 15 วัน เป็นข้อบัญญัติทางพระวินัยที่ให้พระภิกษุทั้งหลายต้องลงฟังการกล่าว ทบทวนข้อบัญญัติทางพระวินัยนี้ทุก 15 วัน ถ้าขาดโดยไม่มีเหตุสมควรต้องปรับอาบัติ การสวดปาฏิโมกข์นี้เป็นตัวอย่างอันหนึ่งของการบังคับให้ท่องจำ ข้อบัญญัติทางพระวินัย แต่ไม่ใช่ทุกท่านสวดพร้อมกัน คงมีผู้สวดรูปเดียว รูปที่เหลือคอยตั้งใจฟัง และช่วยทักท้วงเมื่อผิด

การสังคายนานั้น แปลตามรูปศัพท์ว่า “ร้อยกรอง” คือประชุมสงฆ์จัดระเบียบหมวดหมู่พระพุทธวจนะ แล้วรับทราบกันในที่ประชุมนั้นว่าตกลงกันอย่างนี้ แล้วก็มีการท่องจำสืบต่อๆ มา ในชั้นเดิมการสังคายนาปรารภเหตุความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา จึงจัดระเบียบหมวดหมู่พระ พุทธวจนะไว้ ในครั้งต่อๆ มาปรากฏมีการถือผิดตีความหมายผิด ก็มีการชำระวินิจฉัยข้อที่ถือผิด ตีความหมายผิดนั้น ชี้ขาดว่าที่ถูกควรเป็นอย่างไรแล้วก็ทำการสังคายนา แล้วจารึกลงในใบลาน การสอบทานข้อผิดในใบลานก็เรียกว่าสังคายนา ไม่จำเป็นต้องมีเหตุการณ์ถือผิดเข้าใจผิดเกิดขึ้น การสังคายนาไม่มีกำหนดว่าต้องทำเมื่อไร โดยปกติเมื่อรู้สึกว่าควรจัดระเบียบชำระข้อถือผิดเข้าใจ ผิดได้แล้ว ก็ลงมือทำตามโอกาสอันควรแม้เมื่อรู้สึกว่าไม่มีการถือผิดเข้าใจผิด

ความเป็นมาของพระไตรปิฎก โดย นายสุชีพ ปุญญานุภาพ

          ในสมัยที่ยังไม่มีการจดจารึกเป็นตัวหนังสือ เมื่อกว่า ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว  ท่านใช้วิธีท่องจำคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาแล้วกล่าวทบทวนหรือสวดพร้อม ๆ กันนำสืบต่อกันมาโดยเหตุที่คำสั่งสอนมีอยู่มากถึงขนาดเมื่อพิมพ์รวมเป็นเล่มหนังสือพระไตรปิฎกแล้วมีจำนวนถึง ๔๕ เล่ม ยากที่ผู้หนึ่งผู้ใดจะท่องจำเพียงผู้เดียวให้จบบริบูรณ์ได้ จึงมีการแบ่งหน้าที่กันให้กลุ่มนี้ท่องจำส่วนนี้  กลุ่มนั้นท่องจำส่วนนั้นกลุ่มอื่นท่องจำส่วนอื่น รวมกันหลาย ๆ กลุ่มช่วยกันท่องจำพระไตรปิฎกเรียงลำดับตั้งแต่ต้นจนจบ  สามารถกล่าวทบทวนปากเปล่าได้

         
เมื่อมีการใช้ตัวหนังสือและมีการเขียนหนังสือแพร่หลายขึ้น จึงได้มีการจดจารึกข้อ-ความแห่งพระไตรปิฎกลงในใบลาน ใบลานคือใบของต้นลาน  ซึ่งนอกจากใช้สานทำหมวกทำเครื่องใช้อื่น ๆ แล้ว ยังใช้แทนกระดาษในสมัยที่ยังมิได้คิดทำกระดาษขึ้น

         
วิธีจดจารึกข้อความลงในใบลานที่เรียกว่า "จาร"  นั้น คือใช้เหล็กแหลมที่เรียกว่า  "เหล็กจาร"  เขียนหรือขีดข้อความเป็นตัวหนังสือลงไปในแผ่นใบลาน แล้วเอาเขม่าหรือดินหม้อซึ่งมีสีดำผสมกับน้ำมันมะพร้าว คนให้เข้ากันดีแล้วทาถูลงไปบนรอยที่ขีดเขียนนั้น แล้วเอาผ้าเช็ดให้แห้ง สีดำที่ซึมลงไปในรอยขีดเขียน จะปรากฏเป็นตัวหนังสือให้อ่านข้อความได้ตามความประสงค์ เมื่อรวมใบลานได้หลายแผ่นแล้วถ้าจะทำให้เป็นชุดเดียวกันคล้ายเล่มหนังสือก็เอาเหล็กแหลมเผาไฟเจาะให้เป็นช่อง เอาด้ายร้อยรวมเป็นผูก แล้วใช้ผ้าห่อเก็บไว้ให้เป็นชุดติดต่อกัน  การจดจารึกข้อความแห่งพระไตรปิฎก ลงในใบลานนี้กระทำเป็นครั้งแรกในประเทศศรีลังกา  เมื่อ  ๔๓๓ สมัยของพระเจ้าวัฎฎคามณีอภัย บางหลักฐานก็ว่าเมื่อ พ.ศ.๔๕๐



ความเป็นมาของพระไตรปิฎก ความเป็นมาของพระไตรปิฎก

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ความรู้เรื่องวัฒนธรรม

ความรู้เรื่องวัฒนธรรม


เปิดอ่าน 14,763 ครั้ง
งานนมัสการองค์พระธาตุพนม

งานนมัสการองค์พระธาตุพนม


เปิดอ่าน 16,120 ครั้ง
มรรค 8 ( อัฏฐังคิกมรรค )

มรรค 8 ( อัฏฐังคิกมรรค )


เปิดอ่าน 103,112 ครั้ง
ประวัติ มหาตมะ คานธี

ประวัติ มหาตมะ คานธี


เปิดอ่าน 61,351 ครั้ง
เผด็จการคืออะไร

เผด็จการคืออะไร


เปิดอ่าน 22,272 ครั้ง
ประวัติศาสตร์ไทย

ประวัติศาสตร์ไทย


เปิดอ่าน 42,813 ครั้ง
ประชาธิปไตย คืออะไร

ประชาธิปไตย คืออะไร


เปิดอ่าน 84,232 ครั้ง
ความสำคัญของวันวิสาขบูชา

ความสำคัญของวันวิสาขบูชา


เปิดอ่าน 27,747 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ลอยกระทง วันลอยกระทง ประเพณีลอยกระทง

ลอยกระทง วันลอยกระทง ประเพณีลอยกระทง

เปิดอ่าน 28,337 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ตำนานพระโกศ
ตำนานพระโกศ
เปิดอ่าน 20,179 ☕ คลิกอ่านเลย

อียิปต์เผยร่างจริง "ตุตันคาเมน" ต่อสาธารณชน
อียิปต์เผยร่างจริง "ตุตันคาเมน" ต่อสาธารณชน
เปิดอ่าน 20,247 ☕ คลิกอ่านเลย

ประโยชน์ของการบริหารจิตและการเจริญปัญญา
ประโยชน์ของการบริหารจิตและการเจริญปัญญา
เปิดอ่าน 581 ☕ คลิกอ่านเลย

 วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา
เปิดอ่าน 13,869 ☕ คลิกอ่านเลย

อาณาเขตประเทศไทย
อาณาเขตประเทศไทย
เปิดอ่าน 288,046 ☕ คลิกอ่านเลย

"เมียนมาร์" "เบอร์มา" ชื่อนั้นสำคัญไฉน
"เมียนมาร์" "เบอร์มา" ชื่อนั้นสำคัญไฉน
เปิดอ่าน 14,151 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

โลโก้กูเกิล "สุพรรณหงส์" แสดงในเว็บไซต์กูเกิล "วันแม่" 12 สิงหา 2553
โลโก้กูเกิล "สุพรรณหงส์" แสดงในเว็บไซต์กูเกิล "วันแม่" 12 สิงหา 2553
เปิดอ่าน 17,527 ครั้ง

อาร์คิมีดีส
อาร์คิมีดีส
เปิดอ่าน 18,215 ครั้ง

เงินเดือน-ค่าตอบแทน ของอาชีพต่างๆ ในประเทศไทย
เงินเดือน-ค่าตอบแทน ของอาชีพต่างๆ ในประเทศไทย
เปิดอ่าน 72,910 ครั้ง

การถ่ายโอนสถานศึกษาและเปลี่ยนสถานะครู เป็นพนักงานของรัฐ : ปัญหาที่เกาไม่ถูกที่คัน
การถ่ายโอนสถานศึกษาและเปลี่ยนสถานะครู เป็นพนักงานของรัฐ : ปัญหาที่เกาไม่ถูกที่คัน
เปิดอ่าน 31,706 ครั้ง

ทำไมขี้จิ้งจกถึงมีสองสี
ทำไมขี้จิ้งจกถึงมีสองสี
เปิดอ่าน 40,084 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 096-7158383

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ