ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เปิดสถานการณ์เด็กปฐมวัย พบปรากฎการณ์เร่งเรียนตั้งแต่วัยอนุบาล


ข่าวการศึกษา 25 มี.ค. 2558 เวลา 06:35 น. เปิดอ่าน : 7,321 ครั้ง
เปิดสถานการณ์เด็กปฐมวัย พบปรากฎการณ์เร่งเรียนตั้งแต่วัยอนุบาล

Advertisement

เปิดสถานการณ์เด็กปฐมวัย พบปรากฎการณ์เร่งเรียน มุ่งติวตั้งแต่วัยอนุบาล ส่งผลสูญเสียโอกาสการพัฒนาทักษะทางพฤติกรรม “มีวินัย คิดสร้างสรรค์” คุณลักษณะสู่ความสำเร็จในอนาคต ขณะที่เด็กอีก 12%กลับไม่เข้าถึงโอกาสการเรียนรู้ เปิด 3 ข้อเสนอพัฒนาเด็กปฐมวัยต้องสร้างความพร้อมทั้งเด็ก ครอบครัว และระบบการศึกษา

เปิดสถานการณ์เด็กปฐมวัย พบปรากฎการณ์เร่งเรียน มุ่งติวตั้งแต่วัยอนุบาล ส่งผลสูญเสียโอกาสการพัฒนาทักษะทางพฤติกรรม “มีวินัย คิดสร้างสรรค์” คุณลักษณะสู่ความสำเร็จในอนาคต ขณะที่เด็กอีก 12%กลับไม่เข้าถึงโอกาสการเรียนรู้ เปิด 3 ข้อเสนอพัฒนาเด็กปฐมวัยต้องสร้างความพร้อมทั้งเด็ก ครอบครัว และระบบการศึกษา

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ที่อาคารไอบีเอ็ม สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน(สสค.) ร่วมกับเครือข่ายคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์และครูปฐมวัย จัดงานแถลงข่าว “ปฐมวัย : ลงทุนอย่างไรให้คุ้มค่า” โดย ผศ.ดร.ศศิลักษณ์ ขยันกิจ ประธานสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากผลการวิจัยและติดตามพัฒนาการของเด็กปฐมวัยของไทยพบว่า เด็กปฐมวัยกำลังถูกเร่งรัดให้มีพัฒนาการที่เกินวัยอย่างไม่สมดุลซึ่งจะส่งผลเสียต่อการพัฒนาทักษะด้านการเรียนรู้ของเด็กในอนาคต เช่น เร่งรัดพัฒนาการด้านวิชาการที่เกินวัยเพื่อโอกาสในการเข้าเรียนต่อในโรงเรียนประถมชื่อดังจึงเกิดปรากฎการณ์กวดวิชาตั้งแต่อนุบาล ทั้งในช่วงวันหยุดและวันปิดเทอม เร่งเรียนเขียนอ่าน เกินพัฒนาการเด็กซึ่งเกิดจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากคาดหวังของผู้ปกครองที่ต้องการให้เด็กอนุบาลอ่านออกบวกลบเลขได้ ผู้บริหารสถานศึกษาที่ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัย รวมถึงการวัดผลด้วยการทดสอบความรู้ด้านเนื้อหาสาระ ทำให้ระบบการเรียนการสอนเด็กในระดับอนุบาลและประถมศึกษาตอนต้นมุ่งเน้นการท่องจำความรู้ ซึ่งเป็นการสูญเสียโอกาสในการเรียนรู้จากหน้าต่างแห่งโอกาส เพราะเด็กในช่วงปฐมวัยสมองจะเปิดรับการเรียนรู้ได้ดีที่สุด โดยเฉพาะทักษะด้านพฤติกรรม เช่น ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะทางอารมณ์ การพูดและการเคลื่อนไหว แต่เมื่อเด็กถูกพัฒนาทักษะเพียงด้านเดียวส่งผลให้เด็กขาดแรงจูงใจการเรียนรู้ ขาดทักษะในการทำงานร่วมกับคนอื่น และขาดทักษะความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งเป็นการเสียโอกาสที่มีอยู่อย่างจำกัดในการสร้างทักษะทางด้านพฤติกรรม ซึ่งจะส่งผลต่อคุณลักษณะความสำเร็จด้านการศึกษาและการทำงานในอนาคตของเด็ก


ผศ.ดร.ศศิลักษณ์ กล่าวว่า จากการระดมความเห็นของเครือข่ายคณาจารย์ครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ ศึกษานิเทศก์ ครูอาจารย์ปฐมวัย และผู้เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาเพื่อเด็กปฐมวัย มี 3 ข้อเสนอในการสร้างความพร้อมสู่การจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย “เด็กพร้อม ครอบครัวพร้อม ระบบการศึกษาพร้อม” โดยการสร้างความพร้อมของเด็ก ประกอบด้วย การขยายโอกาสทางการศึกษาปฐมวัยให้แก่เด็กทุกคน การจัดการเรียนรู้แก่เด็กปฐมวัยให้สอดคล้องกับธรรมชาติตามวัย การจัดสรรงบประมาณให้ครอบคลุมเด็กทุกวัยโดยเฉพาะกลุ่มเด็กปฐมวัยด้อยโอกาส ในส่วนของครอบครัวพร้อม มีทั้งการให้ความรู้แก่พ่อแม่และปู่ย่าตายาย สนับสนุนสวัสดิการการดูแลบุตรตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยขยายระยะเวลาการลาคลอดให้ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่า 6 เดือน เป็นต้น และระบบการศึกษาพร้อม ได้แก่ รัฐกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในการพัฒนาคุณลักษณะของคนไทยโดยนโยบายและกำหนดหลักสูตรในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเหมาะสมกับช่วงวัย การจัดสรรงบประมาณเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการสถานศึกษาระดับปฐมวัยให้ทัดเทียมกันทั้งในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน การปรับเปลี่ยนการวัดประเมินผลเด็กปฐมวัย (อนุบาล-ประถมต้น) ที่เหมาะสม ไม่ใช้การสอบ การแก้ปัญหาการสอบเข้าเรียนต่อระดับประถมศึกษาปีที่ 1 และการพัฒนารอยต่อทางการศึกษาในแต่ละช่วงวัย ทั้งจาก บ้าน-โรงเรียน หรือศูนย์เด็กเล็ก จากอนุบาล-ประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นต้น


ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. กล่าวว่า ยังมีเด็กปฐมวัยอีก 12% ที่ขาดโอกาสในการเตรียมความพร้อม จากข้อมูลของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี 2555 พบว่า มีเด็กจำนวน 365,506 คน จากจำนวนเด็กช่วงอายุ 0-5 ปี 4,585,759 คน หรือ คิดเป็น 12% ของเด็กในช่วงอายุ 2-5 ปี ที่ไม่ได้รับโอกาสในการเข้าเรียนในศูนย์เด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาลเพื่อเตรียมความพร้อมในช่วงปฐมวัย สถานการณ์ดังกล่าวจะสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมแก่ประเทศไทยในอนาคตเป็นอย่างมาก จากข้อมูลของเจมส์ แฮคแมน นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี 2543 ระบุว่า การลงทุนในเด็กปฐมวัยผ่านการพัฒนาทักษะด้านพฤติกรรม จะสร้างผลตอบแทนคืนกลับทั้งต่อเด็กเยาวชนและต่อสังคมในอนาคตสูงมากถึง 7 เท่า เพราะหน้าต่างแห่งโอกาส ในการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ของมนุษย์ จะเกิดขึ้นอย่างเต็มที่ในช่วงปฐมวัยเท่านั้น


ดร.นฤมล เนียมหอม ครูปฐมวัย ร.ร.ทุ่งมหาเมฆ โรงเรียนในสังกัด สพป.กทม. กล่าวว่า โรงเรียนต้องใช้ความกล้าหาญอย่างมากในการจัดการเรียนการสอนตามหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย ไม่จัดตามใจผู้ปกครองที่ต้องการให้สอนอ่านเขียนเรียนเลขในวัยอนุบาล การทำงานเช่นนี้ต้องอาศัยการทำความเข้าใจกับผู้ปกครองค่อนข้างมาก เพื่อให้เกิดความยอมรับในการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก ซึ่งเด็กวัยอนุบาล 3-5 ปีเป็นวัยที่เรียนรู้ผ่านการเล่นเป็นกิจกรรมที่สำคัญต่อชีวิตของเด็ก การที่ครูจัดกิจกรรมประจำวันให้เด็กได้เล่นอย่างมีจุดมุ่งหมายจะทำให้เด็กได้สังเกต ได้ทดลอง ได้คิดแก้ปัญหา ได้ค้นพบ ได้เล่นและทำงานร่วมกัน จึงเป็นการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กและทำให้เด็กมีความสุขกับการเรียนรู้ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งวัยนี้เป็นวัยที่เด็กมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ การที่เด็กได้เสนอความคิด ได้ทำตามที่ตนเองจินตนาการหรือวาดมโนภาพไว้ เด็กจะมีพื้นฐานที่ดีในการเป็นผู้สร้าง เป็นนักคิดในอนาคต หากเด็กเรียนแบบเร่งรัดวิชาการย่อมทำลายพื้นฐานที่มีค่านี้ไป เพียงเพื่อตอบสนองต่อผู้ที่ไม่เข้าใจพัฒนาการเด็ก ให้เกิดความพอใจว่าเด็กอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็นตั้งแต่เล็ก

“เด็กที่โรงเรียนมาจากต้นทุนที่ไม่สูง เพราะเป็นโรงเรียนของรัฐ แต่เมื่อได้รับการส่งเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสมตามวัยและความต่างของเด็กแต่ละคน เด็กทุกคนก็สามารถอ่านออกเขียนได้เมื่อเข้าสู่ชั้นประถม 1 แถมยังมีข้อได้เปรียบที่เด็กเหล่านี้จะเป็นคนรักเรียน ไม่ต้องถูกบังคับให้เรียน และเมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนก็สามารถเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมของรัฐได้” ดร.นฤมล กล่าว

 

 

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

- ปฐมวัย : รากฐานสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คลิก

 

ที่มาจาก สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)

 


 

ชี้เด็กไทย เรียนเกินวัย ส่งผลพัฒนาการ

นักวิชาการเปิดผลวิจัย พบเด็กไทยพัฒนาการล่าช้า ทั้งสติปัญญา-คิดวิเคราะห์-การคิดสร้างสรรค์-ภาษา-การปรับตัว ชี้เหตุเกิดจากเร่งรัดให้เรียนเกินวัย พ่อแม่ส่งติวตั้งแต่อนุบาล แนะรัฐแก้ปัญหา ปรับการประเมินผลเด็ก

วันนี้ (24 มี.ค.) ที่อาคารไอบีเอ็ม สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) จัดแถลงข่าว "ปฐมวัย" ลงทุนอย่างไรให้คุ้มค่า โดย ผศ.ดร.ศศิลักษณ์ ขยันกิจ ประธานสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากผลการวิจัยและติดตามพัฒนาการของเด็กปฐมวัยของไทย พบว่า เด็กไทยมีพัฒนาการล่าช้าทั้งด้านสติปัญญา การคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ ภาษา และการปรับตัว เพราะเด็กถูกเร่งรัดให้มีพัฒนาการที่เกินวัยอย่างไม่สมดุล เช่น ถูกเร่งรัดด้านวิชาการเกินวัย เพื่อให้สอบเข้าเรียนต่อในโรงเรียนประถมชื่อดัง ทำให้เกิดการเรียนกวดวิชาตั้งแต่อนุบาล ทั้งในช่วงวันหยุด และปิดเทอม, เร่งเรียนเขียนอ่านเกินพัฒนาการของเด็กและเน้นท่องจำความรู้ ทำให้เด็กขาดทักษะด้านพฤติกรรม เช่น การคิดสร้างสรรค์ อารมณ์การพูด และการเคลื่อนไหว

“ในการสร้างความพร้อมสู่การจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพนั้น ต้องจัดการเรียนรู้ให้เหมาะกับวัย รัฐต้องจัดสรรงบประมาณให้ครอบคลุมโดยเฉพาะเด็กด้อยโอกาส ควรจัดสรรงบฯเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการสถานศึกษาระดับปฐมวัยให้ทัดเทียมกันทั้งรัฐและเอกชน ควรสนับสนุนสวัสดิการการดูแลบุตรตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และควรปรับการวัดประเมินผลเด็กปฐมวัยที่เหมาะสม โดยอาศัยการสังเกตเป็นหลัก ไม่ใช่การสอบอีกทั้งควรแก้ปัญหาการสอบเข้าเรียนต่อระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วย” ผศ.ดร.ศศิลักษณ์ กล่าว.

ด้าน ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเศรษฐศาสตร์ศึกษา สสค. กล่าวว่า จากข้อมูลของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ปี 2555 พบว่า มีเด็ก 365,506 คน คิดเป็น 12%ของเด็กในช่วงอายุ 2-5 ปี ที่ไม่ได้รับโอกาสเข้าเรียนในศูนย์เด็กเล็ก หรือ โรงเรียนอนุบาล เพื่อเตรียมความพร้อมในช่วงปฐมวัย ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวจะสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมแก่ประเทศไทยในอนาคตเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ จากข้อมูลเจมส์ แฮคแมนนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี 2543 ระบุว่า การลงทุนในเด็กปฐมวัยผ่านการพัฒนาทักษะด้านพฤติกรรมจะสร้างผลตอบแทนคืนกลับทั้งต่อเด็กเยาวชน และต่อสังคมในอนาคตสูงมากถึง 7 เท่า.

 

 

 

ที่มา เดลินิวส์ วันอังคาร 24 มีนาคม 2558


เปิดสถานการณ์เด็กปฐมวัย พบปรากฎการณ์เร่งเรียนตั้งแต่วัยอนุบาลเปิดสถานการณ์เด็กปฐมวัยพบปรากฎการณ์เร่งเรียนตั้งแต่วัยอนุบาล

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป

ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป

เปิดอ่าน 3,682 ☕ 18 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สพฐ.แจ้งการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567 สมัครสอบทางออนไลน์เพียงรูปแบบเดียว
สพฐ.แจ้งการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567 สมัครสอบทางออนไลน์เพียงรูปแบบเดียว
เปิดอ่าน 847 ☕ 25 เม.ย. 2567

ประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกโครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ "เยาวชนไทย ทำดี ถวายในหลวง" ปีที่ 18 ปีการศึกษา 2566 (ระดับประเทศ)
ประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกโครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ "เยาวชนไทย ทำดี ถวายในหลวง" ปีที่ 18 ปีการศึกษา 2566 (ระดับประเทศ)
เปิดอ่าน 406 ☕ 25 เม.ย. 2567

การปรับหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการจัดประชุมราชการ
การปรับหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการจัดประชุมราชการ
เปิดอ่าน 515 ☕ 25 เม.ย. 2567

แนวทางการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ ประเภทเงินเพื่อประโยชน์การศึกษา โครงการ "สุขาดี มีความสุข"
แนวทางการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ ประเภทเงินเพื่อประโยชน์การศึกษา โครงการ "สุขาดี มีความสุข"
เปิดอ่าน 774 ☕ 25 เม.ย. 2567

แนวทางปฏิบัติการจัดทำหนังสือราชการ (เรียนดี มีความสุข)
แนวทางปฏิบัติการจัดทำหนังสือราชการ (เรียนดี มีความสุข)
เปิดอ่าน 1,884 ☕ 25 เม.ย. 2567

ปฏิทินการจ้างและการประเมินนักการภารโรง ระยะเวลา 5 เดือน (พฤษภาคม – กันยายน 2567)
ปฏิทินการจ้างและการประเมินนักการภารโรง ระยะเวลา 5 เดือน (พฤษภาคม – กันยายน 2567)
เปิดอ่าน 2,660 ☕ 24 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ผีเสื้อบอกให้รู้มลพิษในแหล่งน้ำ ไม่ต้องไปตรวจ วัดด้วยสารเคมี
ผีเสื้อบอกให้รู้มลพิษในแหล่งน้ำ ไม่ต้องไปตรวจ วัดด้วยสารเคมี
เปิดอ่าน 11,664 ครั้ง

ทำไมจึงไม่ควรให้ผู้ไม่มีใบประกอบอาชีพครูมีสิทธิสอบครูได้ : โดย รศ.ดร.สมาน อัศวภูมิ
ทำไมจึงไม่ควรให้ผู้ไม่มีใบประกอบอาชีพครูมีสิทธิสอบครูได้ : โดย รศ.ดร.สมาน อัศวภูมิ
เปิดอ่าน 67,884 ครั้ง

ข้อปฏิบัติสำหรับการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ( สปช. 105/29 ) ( สปช. 2/28 3ชั้น ) ( สปช. 2/28 4 ชั้น)
ข้อปฏิบัติสำหรับการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ( สปช. 105/29 ) ( สปช. 2/28 3ชั้น ) ( สปช. 2/28 4 ชั้น)
เปิดอ่าน 32,271 ครั้ง

ทำไมต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญตรวจรับบ้าน?
ทำไมต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญตรวจรับบ้าน?
เปิดอ่าน 40,412 ครั้ง

สาวกเนื้อเต้น ! ภาพชุด iPad Mini ล่าสุดว่อนเน็ต
สาวกเนื้อเต้น ! ภาพชุด iPad Mini ล่าสุดว่อนเน็ต
เปิดอ่าน 10,470 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ