ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ปรัชญาการศึกษา คือแก่นของหลักสูตร


บทความการศึกษา 30 มี.ค. 2558 เวลา 09:47 น. เปิดอ่าน : 13,650 ครั้ง
ปรัชญาการศึกษา คือแก่นของหลักสูตร

Advertisement

เพชร เหมือนพันธุ์


ในบทความของ ดร.ดำรงค์ ชลสุข ใน น.ส.พ.มติชน ฉบับวันที่ 10-11 มีนาคม 2558 หน้า 21 ที่ระบุว่า "การศึกษาปฐมวัยใครว่าไปไม่ถึงดวงดาว" ขอร่วมยืนยันว่าถึงดวงดาวแน่นอนครับ การศึกษาปฐมวัยของไทยได้พัฒนามากว่า 100 ปี จากโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย, โรงเรียนวังหลัง ซึ่งนับเป็นโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกที่เปิดสอนแผนกอนุบาลเมื่อปี 2454 ซึ่งเป็นเวลาถึง 104 ปี และโรงเรียนอนุบาลแห่งที่ 2 คือโรงเรียนราชินี เปิดสอนเมื่อปี 2466 จัดเป็นโรงเรียนแห่งแรกที่ดำเนินการโดยคนไทย มีอายุถึงวันนี้นับเวลาได้ถึง 92 ปี

ปรัชญาการศึกษาของเด็กปฐมวัยในสมัยนั้นคือปรัชญาของท่าน Friedrich Wilhelm Froebel ซึ่งถือเป็นบิดาของการศึกษาในระดับอนุบาล (ลูกศิษย์ของ Johann Heinrich Pestalozzi) วางหลักไว้ว่า สอนเด็กเล็กให้สามารถช่วยตนเองได้ เช่น ล้างหน้า แปรงฟัน ออกกำลังกาย การพักผ่อน การฟ้อนรำ ฝึกให้เด็กมีความพร้อมด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เตรียมความพร้อมให้เด็กเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้
ผู้เขียนได้เคยติดตามไปดูกลุ่มครูปฐมวัยในเขตพื้นที่การศึกษาที่ตนเองเคยรับผิดชอบ ดูการสอนเด็กปฐมวัยที่โรงเรียน และได้ไปดูการจัดการสอนปฐมวัยที่สิงคโปร์ ก็แอบภูมิใจว่าครูไทยที่จัดสอนเด็กปฐมวัยของเราได้ถูกต้องได้ถูกทางแล้ว

ท่าน Friedrich Wilhelm Froebel มีความเชื่อว่าเด็กมีความดีงาม มีความสามารถมาตั้งแต่กำเนิด

เด็กปฐมวัยควรจะได้เรียนรู้จากการเล่นด้วยการแสดงออกอย่างอิสระ ควรได้รับประสบการณ์ทั้งจากภายในและภายนอกชั้นเรียน การเรียนการสอนให้เน้นการเล่นอย่างมีความหมาย สอดคล้องกับระดับอายุและวัยของเด็ก เรียนรู้จากการเล่นชุดอุปกรณ์ ครูก็จะต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จึงจะทำให้พัฒนาการของเด็กมีความสมบูรณ์

การศึกษาไทยที่ล้มเหลวเป็นปัญหาจริงๆ และน่าเป็นห่วงที่สุดคือ การศึกษาในระดับชั้น ป.1-4 และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ม.1-3 ที่ทำให้ระดับที่สูงขึ้นไปป่วยตามไปด้วย เหมือนคนป่วยที่มีอาการป่วยที่เกิดจากแผลติดเชื้อเรื้อรังหน้าแข้งและต้นขา การรักษาอาการป่วยจึงต้องรักษาแผลที่หน้าแข้งและต้นขาให้หายขาดให้ได้ ไม่ใช่ไปรักษาทั้งร่างกาย

แก่นของปรัชญาการศึกษาจริงๆ ในระดับ ป.1-4 นี้ คือสอนให้เด็กอ่านหนังสือออก อ่านคล่อง สนุกกับการอ่าน มีนิสัยรักการอ่าน สอนคณิตศาสตร์ให้เด็กสามารถบวก ลบ คูณ หารได้เก่ง ให้เด็กรักตัวเลข รักการคำนวณ มีทักษะทางคณิตศาสตร์ สามารถเชื่อมโยงคณิตศาสตร์มาใช้ในชีวิตได้จริง เมื่อพื้นฐานทางภาษาดีและพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เก่งแล้ว การเรียนในระดับที่สูงขึ้นใน วิชาอื่นๆ เด็กก็จะเก่งตามไปด้วย

ปรัชญาที่ใช้ในระดับ ป.1-4 นี้ คือการสร้างความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐานในวิชาแกนให้แกร่ง จนสามารถใช้เป็นเครื่องมือค้นคว้า การอ่าน การเขียนหนังสือ และใช้วิชาคณิตศาสตร์ได้คล่องตัว ซึ่งเป็นต้นทางแห่งความสำเร็จ ก็เหมือนกับเราสอนให้เด็กเดินได้เสียก่อน แล้วจึงจะไปสอนวิ่งหรือสอนให้กระโดดต่อไป
ครูที่มีทักษะชำนาญในการสอนอ่านออกเขียนได้คิดเลขเป็นจะไม่ใช่ครูทุกคน ผู้บริหารจะดูออก ส่วนมากจะเป็นครูที่มีอายุมาก มีประสบการณ์ ครูบรรจุใหม่บางคนที่เรียนจบมาด้านการศึกษาปฐมวัยโดยตรง ก็จะเข้าใจพัฒนาการของเด็กในวัยนี้ แต่อาจมีโรงเรียนขนาดเล็กบางแห่งที่โชคร้ายไม่มีครูชำนาญการในการสอนการอ่านออกเขียนได้คิดเลขเป็นเลย ผู้บริหารต้องหาทางแก้ปัญหา หากปล่อยให้เด็กโง่ เลื่อนชั้นขึ้นไป จะเป็นปัญหาสะสม เด็กที่สอบตกสะสมจะเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งในโรงเรียนในเมืองและต่างจังหวัด

ปรัชญาในชั้น ป.5-6 เด็กในวัยนี้เป็นรอยต่อระหว่างวัยเด็กตอนปลายกับวัยรุ่นตอนต้น เด็กจะเริ่มเหินห่างจากพ่อแม่ แยกตัวเข้ากลุ่มเด็ก อยากรู้อยากเห็น อยากเป็นผู้ใหญ่ อยากรับผิดชอบ อยากเป็นเจ้าของ อยากเป็นผู้นำ อยากเป็นผู้ปกป้องดูแลรุ่นน้อง โรงเรียนต้องสอนผ่านกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือทำงานจริง แบ่งหน้าที่ให้รับผิดชอบ มอบหมายหน้าที่ให้ทำ ให้มีตำแหน่ง ให้เป็นคณะกรรมการนักเรียน ให้รู้จักแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบในโรงเรียน ให้ช่วยครู ให้ช่วยงานของส่วนร่วมและงานสาธารณะ ทางโรงเรียนจะต้องมีกิจกรรมที่จะฝึกเด็กให้เป็นผู้นำและรับผิดชอบ

ในสิงคโปร์เด็กชั้นประถมปลาย (Grade 6-7) จะจัดกิจกรรมที่ให้ได้แสดงความเป็นหัวหน้า แสดงความเป็นผู้นำ เด็กวัยนี้จะแยกเรียนตามกลุ่มภาษาแม่ของตนเอง จะเน้นการจัดการเรียนรู้ตามความถนัดของแต่ละบุคคล เน้นความเป็นปัจเจกชนเป็นพิเศษ ครูจะรู้จักเด็กแต่ละคนอย่างดี รู้ว่าเด็กแต่ละคนมีความสามารถ มีความถนัดเฉพาะตัวในด้านใด เด็กก็ได้ตระหนักรู้ว่าตนเองมีความถนัดมีความสามารถในด้านใด เด็กจะมีความภาคภูมิใจในตนเองและเห็นคุณค่าของตนเอง

ในญี่ปุ่นเด็กจะเรียนเป็นกลุ่ม ชั้น ป.5-6 เด็กในกลุ่มจะควบคุมการเรียนกันเอง ถ้าใครในกลุ่มคะแนนตกต่ำจะต้องได้รับการช่วยเหลือจากเพื่อนในกลุ่มและกดดันให้ขยันเพิ่มขึ้น วัฒนธรรมกลุ่มมีความเข้มแข็งมาก ครูจะมอบหมายให้นักเรียนในระดับนี้มีหน้าที่ดูแลความสะอาดของโรงเรียน ดูแลความปลอดภัยให้กับรุ่นน้อง ดูแลไม้ดอกไม้ประดับ ดูแลการประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน ประกาศข่าวประกาศของหาย เป็นต้น การจัดการศึกษาในระดับนี้จึงเป็นการสร้างภาวะความเป็นผู้ใหญ่ รับผิดชอบ รู้จักหน้าที่ให้รู้ว่าตนเองเก่งอะไร ถนัดอะไร อยากเรียนวิชาอะไร

การศึกษาในระดับชั้น ม.1-3 เด็กอายุอยู่ระหว่าง 13-15 ปี กำลังก้าวเข้าสู่วัยรุ่นตอนต้น มีกำลังวังชาที่แข็งแรง ทำงานที่ใช้กำลังได้ใกล้เคียงผู้ใหญ่ ทำงานคู่กับพ่อแม่ได้แล้ว โบราณจะโกนจุกให้เด็กเมื่อมีอายุถึง 13 ปี แปลว่าเด็กต้องได้เรียนรู้โลกของการประกอบอาชีพ แก่นของปรัชญาที่ใช้ในวัยนี้คือปรัชญาของ John Dewy: Learning by doing เด็กต้องเรียนรู้ด้วยการกระทำ "ครูไม่สามารถอธิบายความเผ็ดของพริกให้เด็กเข้าใจได้ แต่ถ้าให้เด็กได้กัดพริกแล้วเคี้ยวดูก็จะรู้รสได้ทันที" ปัญหาการศึกษาไทยที่สาหัสสากรรจ์ จุดที่สองคือในระดับ ม.ต้นนี้ เพราะผู้เรียนไม่ได้รับความสนใจจากครูเท่าที่ควร ครูมุ่งความสนใจไปที่ชั้นตัวประโยค คือมัธยมศึกษาตอนปลาย เด็ก ม.ต้นจึงถูกครูทิ้ง การเรียนการสอนก็ไม่มีปรัชญา ไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน เรียนๆ ไปอย่างนั้นเอง เด็กจึงพลาดโอกาสที่จะมุ่งสู่โลกของอาชีพหรือโลกของวิชาการในวัยอันควร

ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ผู้เขียนและคณะนักศึกษาระดับ ป.เอก ไปเยี่ยมชมโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงโซล เกาหลีใต้ ชื่อโรงเรียนซัมปิยองมิดเดิลสคูล (Sumyeong Middle School) เปิดจัดสอนเฉพาะระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียนประมาณ 2,000 คน วิทยากรได้นำเสนอ Power Point เล่าเรื่องการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้คณะของพวกเราฟัง ฉายภาพให้ดู พบว่าเด็กที่นี่ใช้สื่อ IT: Information Technology ที่ทันสมัยเป็นทุกคน เด็กนักเรียนมีไอแพด ไอโฟน โน้ตบุ๊กส่วนตัว สามารถ Search หาข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา ครูสอนใช้วิธีสอน แบบใหม่ เรียกว่าการสอน 4 ขั้นตอน (ผู้เขียนตั้งชื่อเอง) คือมี 4 ขั้นตอน (4 Steps Teaching) ได้แก่ Step 1) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปเรียนบทเรียนมาจากบ้าน Step 2) ในนักเรียนแต่ละคนนำบทเรียนที่เรียนมาจากบ้านเสนอต่อเพื่อนในชั้น (Presentation) Step 3) ให้นักเรียนร่วมชั้นและครูวิพากษ์บทเรียนที่นักเรียนแต่ละคนนำเสนอ Step 4) ให้ผู้เรียนสรุปผลการวิพากษ์และถอดบทเรียนของตนเอง สรุปเป็นองค์ความรู้ในการเรียน เหมือนการสอนแบบ Flip Classroom ในอเมริกา แปลว่าเด็กได้ศึกษา ค้นคว้ามาก่อนเข้าชั้นเรียน เด็กจะออกแบบนำเสนอของตนเอง ตอนสรุปเด็กได้ร่วมวิพากษ์บทเรียนของตนได้คิดวิเคราะห์ และตอนสรุปเด็กได้ถอดความรู้สรุปบทเรียน (KM: Knowledge Management) จัดเป็นองค์ความรู้จากบทเรียน

แต่ที่เหนือกว่านั้นก็คือ ในหนึ่งภาคเรียน นักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นทุกคนจะได้ไปศึกษาดูงานในสถานประกอบการ ทั้งที่ออกไปและเชิญวิทยากรเข้ามา จำนวนไม่น้อยกว่า 20 ครั้ง เด็กจะได้สัมผัสการประกอบอาชีพจริงทุกสัปดาห์ ม.1-3 มี 6 ภาคเรียน เด็กได้ออกไปดูอาชีพถึงประมาณ 120 ครั้ง
ครูวิทยากรเขาสรุปว่าเด็กมัธยมศึกษาตอนต้นของเกาหลีต้องสอนให้เขารู้จัก "ฝัน" ไปถึงโลกของการประกอบอาชีพ เขาใช้คำว่า Dream, Dream, Dream ตลอดทั้ง 3 ปีการศึกษา หรือ 6 ภาคเรียน เด็กจะได้เรียนรู้โลกของการประกอบอาชีพถึง 120 ครั้ง เด็กเกาหลีจึงรู้จักเลือกประกอบอาชีพตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นแล้ว

การศึกษาของสิงคโปร์ เกาหลี ญี่ปุ่น มีปรัชญาคล้ายกันคือ เด็กในระดับ ม.ต้น เขาจะรู้แล้วว่าเขาจะประกอบอาชีพอะไร เด็กเขารู้จักฝันไปถึงการประกอบอาชีพในอนาคตแล้ว แต่เด็กไทยของเราไม่รู้จักฝัน ยังไม่เคยฝัน ยังไม่รู้ว่าจะฝันอย่างไร จนไปถึงชั้นจบปริญญาตรี เป็นเพราะอะไร คำตอบคือปรัชญาการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของเราไม่มีปรัชญาที่ชัดเจน ไทยไม่ได้ยึดปรัชญามาตั้งแต่ชั้นปฐมวัยจนถึงระดับมหาวิทยาลัย เด็กก็ไหลตามกันไปเรื่อยๆ แบบไม่มีเป้าหมาย มีแต่ความสูญเปล่า เหมือนชาวบ้านเดินเข้าป่าไปเก็บผักป่า แต่ไม่รู้ว่าผักคืออะไร แม้จะเหยียบย่ำไปบนผักก็ไม่รู้จักผัก จึงถือตะกร้าเปล่ากลับบ้าน

ในระดับ ม.ปลาย เด็กต่างชาติเขารู้แล้วว่าจะประกอบอาชีพอะไร เด็กจึงต้องแข่งขันกันแบบเอาเป็นเอาตายเพื่อให้ได้เข้าไปสู่สถาบันที่เขาปรารถนา เด็กไทยในสมัยก่อนก็เหมือนกัน สมัยเปิดเรียนชั้น ม.7-8 เด็กไทยสมัยนั้นก็เรียนแบบเอาเป็นเอาตาย ใครไม่เก่งจริงอย่ามาเรียนต่อชั้น ม.7 และ ม.8 เด็กส่วนมากจำนวนหนึ่งจึงหันไปเรียนสายอาชีพแทน

ดังนั้นการปฏิรูปการศึกษาจะต้องยึดปรัชญา จะต้องปฏิรูปทั้งระบบ "คือ ปฏิรูปหลักสูตร ครู วิธีสอน วิธีเรียน วิธีวัดและประเมินผล"

การปฏิรูปการศึกษาจะต้องยึดปรัชญา จะต้องปฏิรูปทั้งระบบ คือ ปฏิรูปหลักสูตร ครู วิธีสอน วิธีเรียน วิธีวัดและประเมินผล

 

ที่มา มติชน ฉบับวันที่ 31 มี.ค. 2558 (กรอบบ่าย)

 


ปรัชญาการศึกษา คือแก่นของหลักสูตรปรัชญาการศึกษาคือแก่นของหลักสูตร

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

จัดอันดับทุนมนุษย์

จัดอันดับทุนมนุษย์


เปิดอ่าน 7,664 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

แบบเรียนที่ไม่ได้มีไว้เลียนแบบ : นิ้วกลม

แบบเรียนที่ไม่ได้มีไว้เลียนแบบ : นิ้วกลม

เปิดอ่าน 9,695 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
แบ่งชนชั้นโดยการศึกษา โดย วีรพงษ์ รามางกูร
แบ่งชนชั้นโดยการศึกษา โดย วีรพงษ์ รามางกูร
เปิดอ่าน 26,372 ☕ คลิกอ่านเลย

"การศึกษาหันหลัง" คอลัมน์ชั้น 5 ประชาชาติ โดย สาโรจน์ มณีรัตน์
"การศึกษาหันหลัง" คอลัมน์ชั้น 5 ประชาชาติ โดย สาโรจน์ มณีรัตน์
เปิดอ่าน 10,353 ☕ คลิกอ่านเลย

ฟินแลนด์ vs ไทย อะไรคือกุญแจแห่งความสำเร็จทางการศึกษา
ฟินแลนด์ vs ไทย อะไรคือกุญแจแห่งความสำเร็จทางการศึกษา
เปิดอ่าน 18,845 ☕ คลิกอ่านเลย

ว่าด้วยกรณีมหาวิทยาลัยปิดเปิดเทอมตามอาเซียน??? โดย สุพจน์ เอี้ยงกุญชร
ว่าด้วยกรณีมหาวิทยาลัยปิดเปิดเทอมตามอาเซียน??? โดย สุพจน์ เอี้ยงกุญชร
เปิดอ่าน 13,886 ☕ คลิกอ่านเลย

ผู้เรียนและสังคมได้อะไร จากนโยบาย"ลดเวลาเรียน เพิ่มการเรียนรู้"
ผู้เรียนและสังคมได้อะไร จากนโยบาย"ลดเวลาเรียน เพิ่มการเรียนรู้"
เปิดอ่าน 13,980 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษา...เพื่ออะไร ?
ปฏิรูปการศึกษา...เพื่ออะไร ?
เปิดอ่าน 7,799 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

คำศัพท์ที่มีการใช้มากที่สุดในภาษาอังกฤษ 500 อันดับแรก
คำศัพท์ที่มีการใช้มากที่สุดในภาษาอังกฤษ 500 อันดับแรก
เปิดอ่าน 380,400 ครั้ง

มาแล้ว "ตารางสอบครูผู้ช่วย" สพฐ. 2/2558 (อย่างเป็นทางการ)
มาแล้ว "ตารางสอบครูผู้ช่วย" สพฐ. 2/2558 (อย่างเป็นทางการ)
เปิดอ่าน 44,742 ครั้ง

น้ำผึ้ง...หวานเป็นยา
น้ำผึ้ง...หวานเป็นยา
เปิดอ่าน 14,955 ครั้ง

ปัญหาเด็กไม่ยอมออกไปเล่นกลางแจ้งและวิธีแก้
ปัญหาเด็กไม่ยอมออกไปเล่นกลางแจ้งและวิธีแก้
เปิดอ่าน 55,022 ครั้ง

ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
เปิดอ่าน 137,733 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ