ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมสำหรับคุณครู  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ชำแหละ "แชร์ลูกโซ่" ธุรกิจหลอกฟันเงิน


สำหรับคุณครู 27 เม.ย. 2558 เวลา 05:57 น. เปิดอ่าน : 10,596 ครั้ง
ชำแหละ "แชร์ลูกโซ่" ธุรกิจหลอกฟันเงิน

Advertisement

ข้อมูลโดย...กองบรรณาธิการโพสต์ทูเดย์

 

 

ปัญหาเกี่ยวกับแชร์ลูกโซ่ หรือการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน เป็นปัญหาสำคัญของประเทศที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ทั้งที่ความเป็นจริงมีหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยที่มีหน้าที่ปราบปรามเรื่องเหล่านี้อยู่แล้ว ไม่ได้ทำให้ปัญหาเหล่านี้ลดลง อีกทั้งยังมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย กลับเป็นช่องทางที่เอื้อต่อการกระทำความผิดในรูปแบบ “แชร์ลูกโซ่” ให้มีความหลากหลายซับซ้อนมากยิ่งขึ้น โดยแต่ละรายสร้างความเสียหายให้กับประเทศรวมแล้วนับพันล้านบาท

ถือเป็นภัยร้ายที่กำลังทำลายระบบทางเศรษฐกิจของสังคมและประชาชนในทุกระดับ

พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวว่า จากสถิติข้อมูลด้านคดีของ
ดีเอสไอตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน พบว่ามีคดีพิเศษเกี่ยวกับแชร์ลูกโซ่ 99 คดี สอบสวนเสร็จสิ้นไปแล้ว 75 คดี อยู่ระหว่างการสอบสวน 24 คดี อยู่ระหว่างการสืบสวนอีกกว่า 43 คดี เมื่อนำมาแยกลักษณะของการกระทำผิดอย่างกว้างๆ พบว่าแผนประทุษกรรมในการกระทำความผิดนั้นจะมีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมในการใช้ชีวิตของมนุษย์

โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.ประชาชนระดับรากหญ้า ส่วนใหญ่แชร์ลูกโซ่จะถูกแฝงตัวมาในรูปแบบการ “ฌาปนกิจสงเคราะห์” เนื่องจากเป็นความสัมพันธ์ในด้านพื้นฐานของชีวิตที่มีความต้องการให้ลูกหลานมีเงินเป็นทุนใช้จ่ายหลังเสียชีวิต โดยไม่ให้ส่งผลกระทบกับคนที่อยู่ข้างหลังได้รับความเดือดร้อน

กลุ่มที่ 2.ประชาชนทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นคนระดับกลาง รูปแบบของแชร์ลูกโซ่จะมาในรูปของการชักชวนร่วมลงทุนในสินค้าหรือบริการต่างๆ ทั้งยังมีการแฝงรูปแบบของธุรกิจขายตรง เช่น แชร์น้ำมันหอมระเหย แชร์ก๋วยเตี๋ยว แชร์พวงมาลัย แชร์ลอตเตอรี่ เป็นต้น เนื่องจากผู้ลงทุนคาดหวังในผลกำไร และเป็นการลงทุนที่สะดวก ง่าย และไม่มีความซับซ้อน

กลุ่มที่ 3. ผู้มีเงินทุนและมีความรู้สูง คนร้ายจะพัฒนารูปแบบการลงทุนเป็นเรื่องการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การลงทุนเพื่อเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน หรือการชักชวนให้ลงทุนซื้อขายโลหะมีค่า เช่น ทองคำ หุ้น ค่าเงิน เนื่องจากเป็นรูปแบบการลงทุนที่ถูกต้อง และมีผลตอบแทนค่อนข้างสูงให้เห็นในต่างประเทศ ประชาชนจึงหลงเชื่อตกเป็นเหยื่อได้โดยรู้ไม่ทันกลโกง

พ.ต.ต.วรณันให้ข้อสังเกตความแตกต่างระหว่าง “ธุรกิจการขายตรง” กับ “แชร์ลูกโซ่” ว่า “ธุรกิจการขายตรง” จะมีค่าธรรมเนียมในการเริ่มต้นธุรกิจใช้ทุนต่ำ ส่วนใหญ่เป็นค่าสมัครและคู่มือการดำเนินงานธุรกิจเท่านั้น มีการจำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิด มีคุณภาพสูง ยอดขายมาจากการขายสินค้า โดยรายได้และตำแหน่งในสายงานขึ้นอยู่กับการทำงานและยอดขายสินค้าและบริการ มีการจดทะเบียนประกอบธุรกิจขายตรงกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และดำเนินการกิจการตามแผนธุรกิจที่แจ้งไว้ ส่วนเรื่องค่าตอบแทนสมเหตุสมผล มีสถานประกอบการที่มั่นคง

ส่วน “แชร์ลูกโซ่” มีค่า ธรรมเนียมสมัครใช้เงินลงทุนสูง ผู้สมัครต้องจ่ายค่าฝึกอบรมและบังคับซื้อสินค้าหรือบริการ ไม่สนใจการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ มีสินค้าบังหน้า คุณภาพต่ำ ไม่ระบุแหล่งที่มาชัดเจน จ้างผลิตโดยไม่มีโรงงานของตัวเอง โดยผลกำไรส่วนใหญ่มาจากค่าสมัครสมาชิก รายได้ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนสมาชิกที่หามาได้ในสังกัด เรียกว่า Up Line ไม่สนใจยอดขาย เป็นการจดทะเบียนประกอบธุรกิจขายตรงบังหน้ากับ สคบ. แต่ไม่ดำเนินการตามที่จดทะเบียน หรือไม่ได้มีการจดทะเบียนขออนุญาต อีกทั้งค่าตอบแทนมีอัตราสูงเกินความเป็นจริงด้วย สถานประกอบการ ไม่มั่นคงถาวร

การจะระงับยับยั้งปัญหาแชร์ลูกโซ่ให้มีประสิทธิภาพต้องดำเนินการโดยกลไกของรัฐ 2 ระดับ คือ 1.ระดับพื้นที่ มีองค์กรที่เกี่ยวข้องในกลไกป้องกันและแก้ไขปัญหาชัดเจน คือศูนย์ดำรงธรรมระดับจังหวัด อำเภอ ปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ใกล้ชิดกับปัญหามากที่สุด

2.ระดับส่วนกลาง  คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกลไกดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหาและป้องกัน อาทิ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นต้น ทั้งหมดจะช่วยกันทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาแชร์ลูกโซ่ในอนาคต 

มหากาพย์ "ธุรกิจหลอกฟันเงิน"

ปรากฏการณ์แชร์ลูกโซ่ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันสร้างความเสียหายต่อสภาพเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง โดยมีประชาชนตกเป็นเหยื่อนับไม่ถ้วนและแพร่ระบาดไปทุกหย่อมหญ้าอย่างรวดเร็ว ธุรกิจแชร์ลูกโซ่ไม่ได้เน้นขายของขายบริการ แต่เน้นการหาสมาชิกจำนวนมากๆ ส่วนใหญ่เป็นการระดมทุนจากประชาชนที่เป็นสมาชิก เนื่องจากได้ผลการจ่ายค่าตอบแทนที่สูงกว่าปกติ

คดีแชร์ลูกโซ่ที่มีผู้เสียหายมากที่สุดคือ คดีแชร์ลอตเตอรี่ ที่เกิดขึ้นกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูในจังหวัดต่างๆ รวม 13 แห่ง มีสัญญาซื้อขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกิดขึ้น 20 สัญญา คิดเป็นจำนวนสลากตามสัญญา 183,000 เล่มหรือ 18,300,000 ฉบับ ทั้งๆ ที่ผู้ต้องหา ซึ่งเป็นนักการเมืองกับพวกที่ไปหลอกลวงสหกรณ์ต่างๆและประชาชน ไม่ได้รับโควตาสลากจากสำนักงานสลากกินแบ่ง
รัฐบาลเลยแต่ประการใดมีเพียงรายเดียวที่ได้รับโควตาสลากการกุศลจากสำนักงานสลากฯเพียงงวดละ 15 เล่ม เท่านั้น

“สหกรณ์ต่างๆ ต้องจ่ายเงินค่าจองซื้อสลากให้กับขบวนการหลอกลวงไปเป็นเงินทั้งสิ้น 7,556ล้านบาท โดยคดีนี้มีผู้เสียหายที่เข้ามาร้องทุกข์กว่า 1,500 รายมูลค่าความเสียหายมากกว่า8,000 ล้านบาท”

คดีแชร์ข้าวสาร เกิดขึ้นช่วงปี 2550 กระจายไปทั่วประเทศเจ้าหน้าที่ฟ้องดำเนินคดีกว่า 6 คดีมีผู้เสียหายรวม 2,100 ราย แต่เจ้าหน้าที่เชื่อว่าผู้เสียหายจากแชร์ข้าวสารมีมากกว่า 5 หมื่นราย แต่มีกระบวนการขัดขวาง ข่มขู่ คุกคามผู้เสียหายที่จะเข้าพบพนักงาน
สอบสวน ประกอบกับผู้เสียหายบางรายเป็นผู้มีชื่อเสียงในสังคมในภาคธุรกิจ เกรงว่าจะส่งผลกระทบกับชื่อเสียงและธุรกิจของตน จึงไม่ประสงค์จะเข้าแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดี แชร์ข้าวสารสร้างความเสียหายกว่า 538 ล้านบาท มีผู้ถูกดำเนินคดี71 ราย

แชร์หลอกลวงให้ประชาชนนำเงินไปลงทุนผ่านอินเทอร์เน็ตในค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือเงินยูโร เงินปอนด์ และเงินสกุลอื่นๆ ซึ่งเป็นการหลอกลวงที่อันตรายเพราะประชาชนไม่มีโอกาสได้ทราบเลยว่าบริษัทดังกล่าวได้ประกอบธุรกิจจริงหรือไม่ โดยสืบสวนพบว่าไม่มีการทำธุรกิจใดๆเป็นเพียงการนำเงินลงทุนจากสมาชิกใหม่ไปจ่ายหมุนเวียนให้กับผู้ลงทุนรายเดิมเท่านั้น หรือที่เรียกกันว่า มันนี่เกม มีคดีเกิดขึ้นจำนวน 3 คดี มีผู้เสียหาย 320ราย มูลค่าความเสียหายกว่า 80 ล้านบาท ส่วนผู้ต้องหาถูกจับกุมดำเนินคดี18 ราย

คดีแชร์ก๋วยเตี๋ยว อ้างการสร้างรถเพื่อขายก๋วยเตี๋ยวทั้งที่จริงไม่มีการขาย หรือทำรถขึ้นมาหลอกเพียงไม่กี่คัน เพื่อให้เห็นว่ามีการดำเนินกิจการ ชวนให้ประชาชนหลงเชื่อ มีประชาชนต้องตกเป็นเหยื่อกว่า 1,054 ราย สร้างความเสียหายไว้กว่า 223 ล้านบาทสามารถตามจับกุมผู้กระทำผิดได้7 ราย

คดีแชร์ยางพารา ซึ่งเป็นลักษณะการหลอกให้ลงทุนเก็งกำไรราคายางในขณะนั้น เช่นราคาในขณะนี้ 80 บาท หากซื้อตอนนี้ในอนาคตจะสามารถขายราคาได้ 90 บาท ช่วงแรกผู้ร่วมลงทุนจะได้กำไรจากต้นทุนที่ลงไป จึงเป็นแรงดึงดูดใจให้เกิดการร่วมลงทุนมากขึ้นเรื่อยๆ คดีแชร์ยางพาราระบาดในพื้นที่ จ.ขอนแก่นและกระบี่ มีผู้ตกเป็นเหยื่อกว่า2,000 ราย มูลค่าความเสียหาย 440 ล้านบาท มีผู้ต้องหา 14 ราย

ล่าสุด คดีแชร์ลูกโซ่ยูฟัน ของบริษัท ยูฟัน นั้น หลังจากมีผู้สมัครเป็นสมาชิกแล้วก็จะได้รับเงินสกุล“ยูโทเคน” แทนจำนวนเงินที่นำมาลงทุน โดยเงินสกุลดังกล่าวบริษัทได้กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้ซื้อ-ขายสินค้าระหว่างสมาชิกด้วยกัน และจะมีการซื้อ-ขายกันในระบบอีคอมเมิร์ซเท่านั้น โดยผู้ที่ถือเงินสกุลดังกล่าวไว้ บริษัทอ้างว่าสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดจริงในมูลค่าสูงกว่า ทำให้มีคนหลง
เชื่อไปลงทุนกับบริษัทกว่า 1.2 แสนราย มูลค่าความเสียหายกว่า3.8 หมื่นล้านบาท

พ.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ อดีตผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษดีเอสไอ มือปราบแชร์ลูกโซ่ ระบุว่า รูปแบบของแชร์ลูกโซ่เน้นการหาสมาชิกเพิ่มเรื่อยๆ มีหัวหน้าทีมมีการให้โอนเงินเข้าไปร่วมลงทุนส่วนแผนการตลาดต่างๆ ก็จะมีค่าตอบแทนสูงเพื่อเป็นจุดดึงดูดคน และนั่นคือจุดอ่อนที่ประชาชนหลายคนต้องพลาดตกเป็นเหยื่อ

ส่วนใหญ่เกิดจาก “ความโลภ” กับผลตอบแทนที่สูงกว่าท้องตลาดจนเกินความเป็นจริง แม้จะมีการเตือนให้ระวังการลงทุนลักษณะดังกล่าว แต่ด้วยผลกำไรคนจำนวนไม่น้อยยอมเสี่ยงลงทุนกับเงินออมที่เก็บมาตลอดทั้งชีวิตสุดท้ายต้องสูญเปล่าเพราะผลตอบแทนล่อตาล่อใจ

 

 

ขอบคุณที่มาจาก โพสต์ทูเดย์


ชำแหละ "แชร์ลูกโซ่" ธุรกิจหลอกฟันเงินชำแหละแชร์ลูกโซ่ธุรกิจหลอกฟันเงิน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

การเบิกค่าเช่าบ้าน

การเบิกค่าเช่าบ้าน


เปิดอ่าน 61,268 ครั้ง
หลักเกณฑ์สอบ ผอ.และรอง ผอ.

หลักเกณฑ์สอบ ผอ.และรอง ผอ.


เปิดอ่าน 51,663 ครั้ง
คุณภาพการศึกษา...คืออะไร

คุณภาพการศึกษา...คืออะไร


เปิดอ่าน 76,958 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

Backward Design

Backward Design

เปิดอ่าน 21,971 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
คู่มือการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน
คู่มือการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน
เปิดอ่าน 10,317 ☕ คลิกอ่านเลย

เครื่องแบบข้าราชการ
เครื่องแบบข้าราชการ
เปิดอ่าน 69,742 ☕ คลิกอ่านเลย

สพฐ.เผยแพร่หน่วยการเรียนรู้ Active Learning ที่ได้รับรางวัลเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับครูในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้
สพฐ.เผยแพร่หน่วยการเรียนรู้ Active Learning ที่ได้รับรางวัลเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับครูในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้
เปิดอ่าน 31,151 ☕ คลิกอ่านเลย

ครูแท้แพ้ไม่เป็น ตอนที่7
ครูแท้แพ้ไม่เป็น ตอนที่7
เปิดอ่าน 6,729 ☕ คลิกอ่านเลย

เงินเดือน-ค่าตอบแทน ของอาชีพต่างๆ ในประเทศไทย
เงินเดือน-ค่าตอบแทน ของอาชีพต่างๆ ในประเทศไทย
เปิดอ่าน 73,124 ☕ คลิกอ่านเลย

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู พ.ศ. 2558
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู พ.ศ. 2558
เปิดอ่าน 14,336 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

"#TikTokUni" ยกระดับการเรียนรู้ สู่การพัฒนาตนเองของคน Genใหม่
"#TikTokUni" ยกระดับการเรียนรู้ สู่การพัฒนาตนเองของคน Genใหม่
เปิดอ่าน 5,700 ครั้ง

วิเคราะห์พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มาตรา 63-69
วิเคราะห์พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มาตรา 63-69
เปิดอ่าน 64,172 ครั้ง

ไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพสักคำ?! ประกันชีวิตอาวุโส...เรื่องที่ต้องรู้ แต่ไม่ได้บอก
ไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพสักคำ?! ประกันชีวิตอาวุโส...เรื่องที่ต้องรู้ แต่ไม่ได้บอก
เปิดอ่าน 14,460 ครั้ง

ระวัง! หยุดหายใจขณะหลับ
ระวัง! หยุดหายใจขณะหลับ
เปิดอ่าน 11,858 ครั้ง

แบบคำขอให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ
แบบคำขอให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ
เปิดอ่าน 73,984 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ