ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมGraphics & Multimedia  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

มาตรฐานรูปแบบการนำเสนอภาพ


Graphics & Multimedia เปิดอ่าน : 23,442 ครั้ง
มาตรฐานรูปแบบการนำเสนอภาพ

Advertisement

มาตรฐานรูปแบบการนำเสนอภาพ

การนำเสนอภาพ มีหลากหลายลักษณะ รูปแบบของภาพที่เหมาะสมจะช่วยให้ภาพนำเสนอได้อย่างรวดเร็ว และประหยัดพื้นที่ของสื่อบันทึก

ภาพต้นฉบับสื่อสิ่งพิมพ์
Digital Archive
Presentation
FormatJPEG, TIFFTIFFJPEGJPEG
ResolutionUp to 350 dpiUp to 350 dpi72-150 dpi72 dpi
SizeUp to 1840 x 1232 pixels Up to 1840 x 1232 pixels Up to 1024 x 768 pixels Up to 1024 x 768 pixels
FromDigital Camera, ScannerImage Editor
Folderoriginaldtparchivepresent

ภาพต้นฉบับDatabaseWebsitePreview
FormatJPEG, TIFFJPEGJPEG, GIF, PNGGIF, PNG
ResolutionUp to 350 dpi72 dpi72 dpi72 dpi
SizeUp to 1840 x 1232 pixels 300 x 250 pixels300 x 250 pixels100 x 100 pixels
FromDigital Camera, ScannerImage Editor
Folderoriginaldatabasewebpreview
  • Format
    รูปแบบของไฟล์ภาพที่ใช้ในการจัดเก็บภาพ โดยปกติไฟล์ภาพจะมีขนาดโตมาก การเลือกรูปแบบที่เหมาะสมต่อการนำเสนอจะช่วยให้ภาพมีขนาด (File Size) เล็กลง โดยคงความคมชัดไว้ในระดับดี อันเป็นการประหยัดพื้นที่ของสื่อบันทึกข้อมูลได้เป็นอย่างดี
    • JPEG
      รูปแบบของการจัดเก็บภาพแบบ Joint Photographer's Experts Group ที่เหมาะสมกับการนำเสนอทั้งระบบสื่อมัลติมีเดีย และเว็บไซต์ เนื่องจากเป็นรูปแบบที่สามารถกำหนดขนาดของไฟล์ได้ตามความเหมาะสม (File Compression) เช่น ภาพที่ต้องการนำเสนอบนเว็บไซต์ แต่ไม่เน้นความละเอียด อาจจะกำหนดให้คุณภาพของภาพลดลงเหลือ 50% ของภาพต้นฉบับ หรือภาพที่ต้องการนำเสนอด้วยความชัด ก็อาจจะลงลงเหลือ 80% ก็ได้ นอกจากนี้หากไฟล์ภาพมีขนาดโตมาก ก็อาจจะกำหนดคุณสมบัติการแสดงผลแบบหยาบ แล้วค่อยๆ ละเอียดเมื่อเวลาผ่านไป ที่เรียกว่าคุณสมบัติ Progressive ส่วนขยายของไฟล์รูปแบบนี้คือ .jpg หรือ .jpeg
    • TIFF
      รูปแบบของการจัดเก็บภาพแบบ Tagged-Image File Format ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้เก็บภาพพร้อมรายละเอียดต่างๆ เช่น เลเยอร์ (Layer), Annotation, โหมดภาพทั้งระบบ CMYK, RGB, Lab Color ตลอดจนข้อมูลประกอบอื่นๆ ตามต้นฉบับเดิมของภาพ จึงเป็นรูปแบบที่เหมาะสมต่อการเก็บบันทึกภาพต้นฉบับ และภาพสำหรับใช้ประกอบการสร้างสื่อสิ่งพิมพ์ ส่วนขยายของไฟล์รูปแบบนี้คือ .tif
    • PNG
      รูปแบบการจัดเก็บภาพแบบ Portable Network Graphics ซึ่งเป็นรูปแบบล่าสุดในการนำเสนอภาพผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เนื่องจากสามารถแสดงผลได้ในระบบสีเต็มพิกัด (True Color), มีขนาดไฟล์เล็ก และควบคุมคุณภาพได้ตามที่ต้องการ มีการกำหนดให้พื้นภาพเป็นพื้นโปร่งใสได้ (Transparent) รวมทั้ง การแสดงผลแบบหยาบสู่ละเอียด (Interlaced) ส่วนขยายของไฟล์รูปแบบนี้คือ .png
  • Resolution
    ภาพจากกล้องบันทึกภาพระบบดิจิทัล และเครื่องกราดภาพ จะเป็นภาพแบบบิตแมป (Bitmap) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความละเอียดของภาพ ดังนั้นการกำหนดความละเอียดของภาพที่เหมาะสม จะเป็นการช่วยประหยัดพื้นที่ของสื่อบันทึกได้เป็นอย่างดี หน่วยของความละเอียดเรียกว่า จุดต่อนิ้ว (Dot per Inch หรือ Pixel per Inch) ทั้งนี้ภาพต้นฉบับที่ได้จากเครื่องกราดภาพ ควรกำหนดความละเอียดไว้ที่ 300 dpi ไว้ก่อน แล้วค่อยทำการเปลี่ยนความละเอียดให้เหมาะสมต่อไปดังรายการที่กำหนด
  • Size
    หมายถึงขนาดของภาพที่วัดในหน่วย Pixel ประกอบด้วยค่าความกว้าง (Width) และความยาว (Height) ของภาพ ขนาดของภาพมีส่วนสัมพันธ์กับการนำภาพไปใช้งาน โดยภาพต้นฉบับทั้งจากกล้องบันทึกภาพระบบดิจิทัล และเครื่องกราดภาพ ควรกำหนดขนาดภาพให้โตเป็นพิเศษ เพื่อใช้เป็นภาพต้นฉบับ ทั้งนี้ไม่ควรต่ำกว่า 1024 ? 768 pixels และปรับลดลงตามลักษณะการนำไปใช้ที่กำหนดในรายการข้างต้น
  • From
    หมายถึงการได้มาของภาพ อันประกอบด้วยภาพจากกล้องบันทึกภาพดิจิทัล และภาพจากเครื่องกราดภาพ
    • ในกรณีที่ใช้กล้องบันทึกภาพดิจิทัล ควรกำหนด Image Size ของภาพให้มากกว่า 1024 ? 768 pixels แบบ Fine Image
    • ภาพจากเครื่องกราดภาพ ควรกำหนด Image Size ของภาพให้มากกว่า 1024 ? 768 pixels หรือกำหนด % ของการสแกนภาพไว้ประมาณ 150 – 250% ของภาพถ่ายต้นฉบับ และกำหนดความละเอียด (Resolution) ของภาพไว้ที่ 300 dpi
  • Folder
    การตั้งชื่อโฟลเดอร์สำหรับแยกประเภทของภาพตามรูปแบบการใช้งาน

>> http://www.nectec.or.th/courseware/graphics/intro/0028.html


มาตรฐานรูปแบบการนำเสนอภาพ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ประเภทของระบบภาพกราฟิก

ประเภทของระบบภาพกราฟิก


เปิดอ่าน 19,633 ครั้ง
องค์ประกอบของระบบกราฟิก

องค์ประกอบของระบบกราฟิก


เปิดอ่าน 23,391 ครั้ง
Computer Graphic คืออะไร

Computer Graphic คืออะไร


เปิดอ่าน 355 ครั้ง
ระบบสี Additive

ระบบสี Additive


เปิดอ่าน 29,932 ครั้ง
ภาพแบบ Vector

ภาพแบบ Vector


เปิดอ่าน 17,897 ครั้ง
สร้าง logo Icon ใส่ใน Favorite

สร้าง logo Icon ใส่ใน Favorite


เปิดอ่าน 17,484 ครั้ง
ระบบสี Subtractive

ระบบสี Subtractive


เปิดอ่าน 26,656 ครั้ง
กราฟิก (Graphic)

กราฟิก (Graphic)


เปิดอ่าน 16,978 ครั้ง
โหมดสี

โหมดสี


เปิดอ่าน 23,742 ครั้ง
ความหมายของมัลติมีเดีย

ความหมายของมัลติมีเดีย


เปิดอ่าน 21,949 ครั้ง
เสียงทุ้ม-เสียงแหลม

เสียงทุ้ม-เสียงแหลม


เปิดอ่าน 79,408 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ภาพแบบ Vector

ภาพแบบ Vector

เปิดอ่าน 17,897 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ความหมายของมัลติมีเดีย
ความหมายของมัลติมีเดีย
เปิดอ่าน 21,949 ☕ คลิกอ่านเลย

มาตรฐาน Image Metadata
มาตรฐาน Image Metadata
เปิดอ่าน 1,006 ☕ คลิกอ่านเลย

ความสำคัญของงานกราฟิก
ความสำคัญของงานกราฟิก
เปิดอ่าน 76,976 ☕ คลิกอ่านเลย

ระบบสี Subtractive
ระบบสี Subtractive
เปิดอ่าน 26,656 ☕ คลิกอ่านเลย

ประเภทของภาพกราฟิก
ประเภทของภาพกราฟิก
เปิดอ่าน 35,967 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ฟุตปาธ-บาทวิถี : ภาษาไทยน่ารู้
ฟุตปาธ-บาทวิถี : ภาษาไทยน่ารู้
เปิดอ่าน 48,736 ครั้ง

[คลิป] เล็กๆ เปลี่ยนโลก "การบริหารสมองด้วยพลังแห่งเสียงเพลง"
[คลิป] เล็กๆ เปลี่ยนโลก "การบริหารสมองด้วยพลังแห่งเสียงเพลง"
เปิดอ่าน 9,469 ครั้ง

พายุสุริยะ คืออะไร
พายุสุริยะ คืออะไร
เปิดอ่าน 25,781 ครั้ง

เมื่อกล้าปราบคอร์รัปชั่น ก็ลองกล้าเปลี่ยนประเทศ ด้วยการปฏิรูปการศึกษา
เมื่อกล้าปราบคอร์รัปชั่น ก็ลองกล้าเปลี่ยนประเทศ ด้วยการปฏิรูปการศึกษา
เปิดอ่าน 8,088 ครั้ง

ทำไมคนญี่ปุ่นไม่แซงคิว...เรื่องดี ๆ ที่อยากให้อ่าน
ทำไมคนญี่ปุ่นไม่แซงคิว...เรื่องดี ๆ ที่อยากให้อ่าน
เปิดอ่าน 40,691 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ