ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

โอนการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ อปท.เพื่อแก้ปัญหาความล้าหลังการศึกษาของไทย (บทความ โดย ถวิล ไพรสณฑ์)


บทความการศึกษา 21 พ.ค. 2558 เวลา 09:29 น. เปิดอ่าน : 26,834 ครั้ง
โอนการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ อปท.เพื่อแก้ปัญหาความล้าหลังการศึกษาของไทย (บทความ โดย ถวิล ไพรสณฑ์)

Advertisement

ถวิล ไพรสณฑ์

นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ได้กล่าวถึงกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอให้โอนย้ายการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่ากระแสดังกล่าวได้ลุกลามไปมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) และกลุ่มผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) ที่ได้พูดคุยผ่านโปรแกรมไลน์และเว็บไซต์ต่างๆ ที่เรียกร้องและเคลื่อนไหวไม่ต้องการไปอยู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

และยังอ้างว่า ได้มีการให้นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ทำการวิจัยเรื่องความพร้อมการถ่ายโอนการศึกษาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในจังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยา โดยวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ซึ่งสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ 25 คน และสุ่มตัวอย่างสอบถามอีก 388 คน ผลปรากฏว่า

- อปท. 267 แห่ง มีความพร้อม 95 แห่ง ไม่มีความพร้อม 172 แห่ง

- ผู้ปกครอง นักเรียน ประชาชนในท้องถิ่น ที่สอบถาม บุคลากรทางการศึกษาที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ก็เห็นว่า อปท.ไม่มีความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ ด้านวิชาการ และด้านการบริหารบุคคล

ผลการวิจัยดังกล่าว สพฐ. เห็นว่า สพฐ.ควรเป็นหน่วยงานหลักในการจัดการศึกษาต่อไปจะเหมาะสมกว่า โดยมีเหตุผลดังนี้

- สพฐ.เป็นองค์การของรัฐ- ทำงานบนความรับผิดชอบ ไม่ว่าผลจะออกมาดีหรือไม่ก็ตาม- เพราะฉะนั้น ถ้าให้คนอื่นจัดการศึกษาก็ไม่รู้ว่าเขาจะรับผิดชอบการศึกษาหรือไม่

นายกมลยังกล่าวต่อไปอีกว่า ในมิติของ สพฐ. เกี่ยวกับเรื่องนี้เห็นว่า

- อปท.ไม่มีความพร้อม- อ้างว่า ผู้อำนวยการบางคนเคยทำงานภายใต้สังกัด อปท.มาก่อน จึงมีประสบการณ์กับ อปท. ทำให้ทราบว่าจะมีปัญหาเพราะ

1.อปท.มีการเปลี่ยนผู้บริหารบ่อย มีผลต่อนโยบายการทำงาน

2.ปัญหาความรู้ทางวิชาการ

3.ความรู้ที่ท้องถิ่นมี ยังสู้หน่วยงานราชการไม่ได้

4.อดีตที่ผ่านมา อปท.ให้ครูทำกิจกรรมที่ไม่ใช่การเรียน การสอน ทำให้ครูไม่สบายใจ

5.ครู อปท.ไม่สามารถโอนย้ายได้เหมือนกรณีการเป็นครูในส่วนราชการเดียวกัน

ผมเห็นข่าวนี้แล้ว ไม่ได้มีความรู้สึกแปลกประหลาดอะไรมากนัก เพราะเป็นเรื่องปกติของทุกหน่วยราชการหรือทุกหน่วยงาน เมื่อใดก็ตามที่ถูกตัดทอนอำนาจและหน้าที่ออกไปจากที่ตนเองมีอำนาจก็ต้องมีปฏิกิริยาเช่นนั้น

แต่ที่ผมไม่สบายใจก็คือ ประเด็นและข้อมูลที่ผู้บริหารระดับสูง อย่างเช่นนายกมลออกมาแถลงนั้น ไม่ครบถ้วนและถูกต้องตามความเป็นจริงทั้งหมด และเป็นการพูดโดยอ้างอิงเพียงด้านเดียว เพื่อให้เกิดแรงต่อต้านจากข้าราชการในองค์กรเดียวกัน และรวมทั้งประชาชนที่ไม่มีข้อมูลครบถ้วนด้วย

ประเด็นที่ผมจะถามนายกมล ซึ่งไม่ทราบว่าท่านลืมไปหรือไม่คือ

ประเด็นแรก กระทรวงศึกษาธิการนับตั้งแต่มี พ.ร.บ.ประถมศึกษา พ.ศ.2464 จนกระทั่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และ พ.ศ.2553 ซึ่งเป็นเวลาเกือบ 100 ปี

ทำไมคุณภาพการศึกษาจึงด้อยลง ด้อยลง จนอยู่ในลำดับที่ 6 ของประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งมีอยู่ 10 ประเทศแล้ว ซึ่งไม่น่าเชื่อว่า ประเทศไทยอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า กัมพูชา และประเทศลาว

นี่เป็นผลจากการบริหารงานที่ผ่านมาของกระทรวงศึกษาธิการที่ท่านและผู้อำนวยการสำนักงานเขตการศึกษาและผู้บริหารทุกคนในกระทรวงที่จะต้องรับผิดชอบ ความจริงนี้ท่านไม่ทราบหรือ สพฐ.ที่ท่านเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดต้องรับผิดชอบไหมครับ

ประเด็นที่สอง มีข่าวครึกโครมเมื่อปลายปีที่แล้วว่า นักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 3 อ่านหนังสือไทยไม่ได้ และประมาณว่ามีคนไทยอ่านหนังสือไทย เขียนหนังสือไทยไม่ได้ทั้งประเทศนับจำนวนล้านคน แม้จะมีโรงเรียนที่จัดการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ตาม พ.ร.บ.การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551 เพื่อแก้ปัญหานี้ก็ตาม แต่ก็ยังแก้ปัญหานี้ไม่ได้

กระทรวงศึกษาธิการเคยประกาศจะแก้ปัญหาเหล่านี้ไหม เพราะเท่าที่ผ่านมามีแต่จะขยายองค์กรให้ใหญ่โตกลายเป็นแท่งในกระทรวงศึกษาธิการ

ประเด็นที่สาม การบริหารบุคคลของ สพฐ. ไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล การวางตนเป็นเจ้าขุนมูลนายของผู้บริหารทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ข้าราชการครูเขาเอือมระอา รวมทั้งข่าวการเสียเงินเสียทองในการแต่งตั้ง โยกย้าย ก็เป็นเรื่องราวที่ได้รับฟังอยู่ตลอดเวลา มีข่าวจนกระทั่งว่าบางแห่งคิดค่าการย้ายโดยถือระยะทางเป็นกิโลเมตร หรือแม้แต่ข่าวการทุจริตการซื้อการจ้างก็มีเช่นเดียวกัน เหมือนกับหน่วยราชการอื่นๆ รวมทั้ง อปท.ด้วย

การที่มีสายการบังคับบัญชาหลายขั้นตอน การบริหารล่าช้า ไม่ทันต่อเหตุการณ์และไม่มีความคล่องตัว โรงเรียนไม่เป็นอิสระในด้านต่างๆ เกือบ 100 ปี ท่านก็ยังไม่แก้ไข

ประเด็นที่สี่ นายกมลเคยทราบและออกข่าวให้ประชาชนหรือผู้บังคับบัญชาทราบบ้างไหมว่า

เมื่อปี พ.ศ.2551 สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ซึ่งเป็นองค์การมหาชนที่เป็นหน่วยงานของรัฐประเภทหนึ่ง ที่อยู่ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2543 ได้รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษา สรุปได้ดังนี้

โรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ประเมิน 14,196 โรงเรียน (จากประมาณ 30,000 โรงเรียน) ผ่านการรับรอง 11,057 โรงเรียน (77.89 เปอร์เซ็นต์) ไม่ผ่าน 3,139 โรงเรียน (22.1 เปอร์เซ็นต์)

โรงเรียนสังกัด กทม. 436 โรงเรียน ผ่านการรับรอง 430 โรงเรียน (96.43 เปอร์เซ็นต์) ไม่ผ่าน 6 โรงเรียน (4.19 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งถ้าประเมินช่วงนี้ต้องผ่าน 100 เปอร์เซ็นต์

โรงเรียนสังกัดเมืองพัทยาและเทศบาล 366 โรงเรียน ผ่านการรับรอง 326 โรงเรียน (89.07 เปอร์เซ็นต์) ไม่ผ่าน 40 โรงเรียน (10.93 เปอร์เซ็นต์)

โรงเรียนเอกชน 462 โรงเรียน ผ่านการรับรอง 415 โรงเรียน (90.77 เปอร์เซ็นต์) ไม่ผ่าน 47 โรงเรียน (9.23 เปอร์เซ็นต์)

จะเห็นได้ว่า โรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการไม่ผ่านการรับรองถึง 3,139 โรงเรียน (จากการประเมิน 14,196 โรงเรียน ซึ่งถ้าประเมินทุกโรงเรียน (30,000 กว่าโรงเรียน) ผลออกมาคงเกิน 5,000 โรงเรียนก็ได้

ผมสงสัยมากว่า ข้อมูลเหล่านี้ ทำไมกระทรวงศึกษาธิการไม่นำมาเปิดเผยให้สาธารณชนทราบ

เพราะฉะนั้น การที่นายกมลอ้างว่า ความรู้ที่ท้องถิ่นมียังสู้หน่วยงานราชการไม่ได้ ก็คงไม่จริงเสียแล้ว

ประเด็นที่ห้า ที่นายกมลพูดว่า เมื่อข้าราชการครูสังกัดกับ อปท. แล้วจะโอนย้ายไปสังกัดโรงเรียนของกระทรวงศึกษาธิการอื่นไม่ได้ ก็ไม่ใช่เรื่องจริงอีก เพราะตามกฎหมายข้าราชการพลเรือน กฎหมายที่เกี่ยวกับข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ และกฎหมายที่เกี่ยวกับข้าราชการส่วนท้องถิ่นก็บัญญัติให้สามารถโอนย้ายกันได้ ซึ่งมีมาช้านานกันแล้ว

อย่างไรก็ตาม ในระยะยาว ข้าราชการ อปท.ต้องรับสมัครจากบุคคลใน อปท.นั้นหรือจังหวัดนั้นๆ เป็นหลัก เพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยและการไปมา ซึ่งจะแก้ปัญหาการไม่ได้รับสวัสดิการที่ดีเหมือนปัจจุบันได้

ประเด็นที่หก นายกมลมองว่า ถ้าขึ้นกับ อปท. ครูจะถูกใช้ให้ทำกิจกรรมที่ไม่ใช่การเรียนการสอน ซึ่งครูไม่สบายใจ

ผมขอถามว่า ปัจจุบันครูที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการถูกใช้ให้ทำกิจกรรมอื่นก็มีให้รู้ให้เห็นเสมอ เช่น จากผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาในระบบราชการไทยและวัฒนธรรมไทยที่ต้องรวมกำลังกันทำกิจกรรมบ้าง

ประเด็นที่เจ็ด นายกมลพูดไม่ครบถ้วน ในกรณีที่ว่า อปท.จำนวนหนึ่งยังไม่พร้อม ซึ่งทั้งหมดก็เป็นเรื่องจริง แต่ในยุคที่ คสช.กำลังจะปฏิรูปในหลายๆ ด้านนั้น ด้านหนึ่งคือการปฏิรูป อปท.ให้มีขนาดใหญ่ มีรายได้เพียงพอที่จะรับภารกิจงานบริหารสาธารณะและการจัดการศึกษารวมไปด้วย เมื่อถึงเวลานั้นจึงจะมีการโอนการจัดการศึกษาไปให้ อปท.ที่มีความพร้อมในทุกด้าน

โดยความเป็นจริงเกือบทั่วโลก การจัดการการศึกษาระดับพื้นฐาน อปท.เป็นผู้ดำเนินการทั้งสิ้น ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลที่ว่า

1.ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นต้องเอาใจใส่ในเรื่องการจัดการศึกษา เพราะเด็กนักเรียนก็คือลูกหลานของพ่อแม่ในท้องถิ่นที่เขารู้จักเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งคงไม่มีใครไม่ต้องการให้ลูกหลานไม่รู้หนังสือหรอกครับ

ยิ่งถ้าเขาจัดการการศึกษาไม่ดีพอก็จะมีผลต่อผู้บริหารเองในอนาคตด้วย

ซึ่งต่างจากระบบปัจจุบันที่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ไม่แน่ใจว่าจะเป็นคนท้องที่หรือไม่ เพราะระบบราชการที่รวมศูนย์อำนาจจะย้ายข้าราชการจากที่ไหนไปอยู่ที่ไหนก็ได้ การเอาใจใส่ต่องานในหน้าที่ก็มีน้อย และประชาชนเองก็ไม่กล้าตรวจสอบการทำงาน

ไม่เหมือนกับ อปท. ที่ประชาชนมีความใกล้ชิด และเป็นคนเลือกตั้งเข้าไป การตรวจสอบจึงทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากกว่า

อย่างไรก็ตาม การโอนงานการศึกษาไปให้ อปท. ก็ไม่ใช่ว่าการจัดการศึกษาของ อปท.จะตัดขาดจากกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ เพราะ อปท.ต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐ รัฐจะต้องกำหนดหลักสูตร และงานทางวิชาการ ตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล ไม่ใช่ว่า อปท.จะมีความเป็นอิสระในเรื่องเหล่านี้
ด้วยเหตุนี้ ผมจึงขอให้กระทรวง รวมทั้ง สพฐ. และนายกมล ได้นำเอาประเด็นเรื่องคุณภาพการศึกษา (หมายถึงคุณภาพของนักเรียน) มาเป็นหลักในการพิจารณาว่า หน่วยงานใดควรรับผิดชอบเรื่องใด รวมทั้งเรื่องการจัดการศึกษาระดับพื้นฐาน

การมาอ้างว่า ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ไม่เห็นด้วย ครูไม่ต้องการโอน ประชาชนไม่เห็นด้วยนั้น ผมเห็นว่า ถ้าได้ชี้แจงความจริง เช่น ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาที่ผ่านมาเป็นอย่างไร เรื่องงบประมาณ เรื่องบุคลากร ให้ทุกฝ่ายทราบ ปัญหาการไม่เต็มใจ ไม่เห็นด้วยกับการโอนก็จะมีน้อยลง
ซึ่งผมเองเห็นว่า ถ้าตราบใดยังไม่มีการปรับปรุง อปท. ให้อยู่ในหลักเกณฑ์ที่เสนอ ก็ยังไม่สมควรโอนงานการศึกษาไปให้ อปท.

ผมหวังว่านายกมลน่าจะหาข้อมูลต่างๆ ตามที่ผมเขียนมาทั้งหมด เพื่อประกอบการพิจารณาของท่าน ขอความกรุณาอย่าใช้ธงที่ตั้งเป้าไว้ว่าไม่ต้องการโอนการศึกษาไปให้ อปท. โดยไม่ได้มองข้อเท็จจริงว่า เท่าที่ผ่านมาทำไมการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับผิดชอบจึงมีแต่ถอยหลัง มีคนอ่าน-เขียนหนังสือไทยไม่ได้มากมาย และคุณภาพการศึกษาจากผลประเมินก็สู้โรงเรียนสังกัด อปท.ไม่ได้ นายกมลเคยทราบไหมว่า มีโรงเรียนสังกัด กทม. เมืองพัทยา เทศบาลหลายแห่ง เขามีหลักสูตรสอนภาษาต่างประเทศกันแล้ว และที่น่ายินดีก็คือ ผู้ปกครองแย่งกันส่งลูกหลานเข้าเรียนในสังกัด อปท. ก็มีให้เห็นมากมาย

กรณีที่การจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการยังล้าหลัง กระทรวงศึกษาธิการ หรือ สพฐ. ไม่ต้องรับผิดชอบหรือ

อย่าติดยึดกับตำแหน่ง โดยไม่คำนึงถึงอนาคตของการศึกษาเลยครับ เพราะจะเกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติ

ยุคโลกาภิวัตน์ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงครับ ระบบรวมศูนย์อำนาจนั้นต้องสลายไปได้แล้ว มิฉะนั้น ประเทศชาติของเราจะล้าหลังไปเรื่อยๆ ท่านต้องการเช่นนั้นหรือ

เพราะฉะนั้น เราต้องรีบปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาโดยเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ประชาชนเป็นเจ้าของ และมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงเพื่ออนาคตของชาติต่อไป.

Advertisement
 

 

 

ที่มา ไทยโพสต์ วันที่ 21 พฤษภาคม 2558

 


โอนการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ อปท.เพื่อแก้ปัญหาความล้าหลังการศึกษาของไทย (บทความ โดย ถวิล ไพรสณฑ์)โอนโรงเรียนให้ท้องถิ่นโอนโรงเรียนขนาดเล็กให้ท้องถิ่นโอนโรงเรียนค้านโอนโรงเรียน

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

อ่านอะไร...คนไทย?

อ่านอะไร...คนไทย?


เปิดอ่าน 7,659 ครั้ง
Advertisement


:: เรื่องปักหมุด ::

ปฏิรูปการศึกษาไทย พายเรือในอ่าง (จบ)

ปฏิรูปการศึกษาไทย พายเรือในอ่าง (จบ)

เปิดอ่าน 9,557 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ความผูกพันสำคัญต่อองค์กรอย่างไร ?
ความผูกพันสำคัญต่อองค์กรอย่างไร ?
เปิดอ่าน 8,193 ☕ คลิกอ่านเลย

เจาะประเด็นการคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ : ธนชน มุทาพร
เจาะประเด็นการคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ : ธนชน มุทาพร
เปิดอ่าน 26,612 ☕ คลิกอ่านเลย

เสียงสะท้อนจากนิทานเรื่องมดน้อย ของลุงตู่ ต่อการปฏิรูปการศึกษา : โดย เพชร เหมือนพันธุ์
เสียงสะท้อนจากนิทานเรื่องมดน้อย ของลุงตู่ ต่อการปฏิรูปการศึกษา : โดย เพชร เหมือนพันธุ์
เปิดอ่าน 9,436 ☕ คลิกอ่านเลย

ปรัชญาการศึกษา คือแก่นของหลักสูตร
ปรัชญาการศึกษา คือแก่นของหลักสูตร
เปิดอ่าน 13,627 ☕ คลิกอ่านเลย

ปัจจัยแห่งความล้มเหลว ในการปฏิรูปการศึกษาไทยคืออะไร โดย เพชร เหมือนพันธุ์
ปัจจัยแห่งความล้มเหลว ในการปฏิรูปการศึกษาไทยคืออะไร โดย เพชร เหมือนพันธุ์
เปิดอ่าน 20,560 ☕ คลิกอ่านเลย

โปรดอ่านทำความเข้าใจ! กรณีการเรียน ป.บัณฑิต
โปรดอ่านทำความเข้าใจ! กรณีการเรียน ป.บัณฑิต
เปิดอ่าน 17,136 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เกษตรกรมือใหม่ต้องรู้ ระบบน้ำเลี้ยงมีความสำคัญมากยังไง
เกษตรกรมือใหม่ต้องรู้ ระบบน้ำเลี้ยงมีความสำคัญมากยังไง
เปิดอ่าน 26,251 ครั้ง

กรมอนามัย เผย 6 วิธี ป้องกันโควิด-19 บนรถรับ-ส่งนักเรียน
กรมอนามัย เผย 6 วิธี ป้องกันโควิด-19 บนรถรับ-ส่งนักเรียน
เปิดอ่าน 4,356 ครั้ง

7 เหตุผลที่ทำให้คุณหิวโหยและอ้วน
7 เหตุผลที่ทำให้คุณหิวโหยและอ้วน
เปิดอ่าน 16,309 ครั้ง

เปิดตัวระบบย่อลิงก์ "dg.th" ลดปัญหาคุกคามทางไซเบอร์
เปิดตัวระบบย่อลิงก์ "dg.th" ลดปัญหาคุกคามทางไซเบอร์
เปิดอ่าน 883 ครั้ง

จุดมุ่งหมายทั่วไปของการวิจัย
จุดมุ่งหมายทั่วไปของการวิจัย
เปิดอ่าน 92,463 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 096-7158383

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ