ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ตอบโจทย์ "ปฏิรูปการศึกษา"?


บทความการศึกษา 29 ก.ย. 2558 เวลา 05:12 น. เปิดอ่าน : 7,741 ครั้ง
ตอบโจทย์ "ปฏิรูปการศึกษา"?

Advertisement

แกะรอยนโยบาย "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" นำร่องพัฒนาทักษะเด็กไทย

ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

หนึ่งในนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ที่ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ประกาศหลังเข้ารับตำแหน่งเพียงไม่กี่วัน

ให้โรงเรียนเลิกเรียนเวลา 14.00 น. จากนั้นให้นักเรียนทำกิจกรรมที่เน้นการพัฒนาทักษะ โดยตั้งเป้าที่จะเริ่มนำร่องในสถานศึกษา 3,500 โรงทั่วประเทศ ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 เป็นต้นไป

ด้วยหวังว่าจะเป็นตัวช่วยหนึ่งที่สำคัญในการตอบโจทย์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่เป็นห่วงว่าเด็กไทยเรียนเยอะแต่คิดไม่ได้ จบไปก็ทำอะไรไม่เป็น จึงสั่งให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งปฏิรูปการศึกษา

ทันทีที่นโยบายนี้ถูกเผยแพร่สู่สาธารณชนก็สร้างแรงกระเพื่อมในสังคมอย่างมาก เพราะมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

สำหรับฝ่ายที่เห็นด้วยมองว่าเป็นเรื่องดีที่เด็กจะได้มีเวลาทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ ทั้งกีฬา ดนตรี ศิลปะ การเรียนรู้วิถีชุมชน หรือทักษะดำเนินชีวิต ขณะที่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยเกรงว่าเวลาเรียนที่ลดลงแทนที่จะเพิ่มเวลารู้ อาจกลับกลายเป็นเพิ่มเวลาให้เด็กเก่งๆหันไปเรียนกวดวิชา รวมทั้งเพิ่มเวลามั่วสุมของเด็กที่ไม่ค่อยใส่ใจการเรียนหรือไม่


แต่ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์ สิ่งหนึ่งที่ทุกคนโฟกัสตรงกันคือ ความห่วงใยในแนวทางดำเนินการของกระทรวงศึกษาธิการ รวมไปถึงกรอบกิจกรรมที่จะนำมาจัดให้กับเด็ก ซึ่งยังไม่มีความชัดเจน

และล่าสุดเมื่อวันที่ 22 ก.ย.ที่ผ่านมา พล.อ.ดาว์พงษ์ ได้รายงานความคืบหน้าแนวทางการบริหารจัดการเวลาเรียน ตามนโยบาย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ หรือ Moderate Class More Knowledge พร้อมทั้งกรอบกิจกรรมต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี

“ทีมการศึกษา” ขอนำแนวทางมากาง ซึ่งพบว่าสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. ได้วางแนวทางการบริหารจัดการเวลาเรียนใหม่ โดยระบุว่าการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ต้องดำเนินการใน 4 เรื่อง คือ หลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล และทบทวนหลังการปฏิบัติ โดยในส่วนของหลักสูตรยืนยันว่าไม่เปลี่ยนแปลง แต่มีการปรับปรุงเนื้อหาโดยตัดส่วนที่ไม่จำเป็นออก ซึ่งจะไม่กระทบตัวบ่งชี้ที่ใช้ออกข้อสอบ ทั้งของ สพฐ.และสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ

ทั้งมีการจัดโครงสร้างเวลาเรียนใหม่ให้มีความยืดหยุ่น โดยระดับประถมศึกษาจากเดิมที่เรียน 1,200-1,400 ชั่วโมงต่อปี ปรับเป็นไม่เกิน 1,000 ชั่วโมงต่อปี แบ่งเป็นเรียน 8 กลุ่มสาระฯ 840 ชั่วโมง เพิ่มเติม 40 ชั่วโมง รวม 880 ชั่วโมง หรือเรียนในห้องเรียน 22 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ที่เหลือ 8-13 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เป็นกิจกรรมพัฒนาทักษะ ขณะที่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากเดิม 1,400 ชั่วโมงต่อปี เป็นไม่เกิน 1,200 ชั่วโมงต่อปี แบ่งเป็น 8 กลุ่มสาระฯ 880 ชั่วโมง เพิ่มเติม 200 ชั่วโมง รวม 1,080 ชั่วโมง หรือ 27 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ส่วนที่เหลือ 8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ให้จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะ


สำหรับกิจกรรมพัฒนาทักษะผู้เรียน ประกอบด้วย 3 หมวด 13 กลุ่มกิจกรรม ได้แก่ หมวดที่ 1 สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ แบ่งเป็น กิจกรรมพัฒนาความสามารถด้านการสื่อสาร พัฒนาความสามารถด้านการคิดและการพัฒนากรอบความคิดแบบเปิดกว้าง พัฒนาความสามารถด้านการแก้ปัญหา พัฒนาความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยี และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ หมวดที่ 2 สร้างเสริมคุณลักษณะและค่านิยม แบ่งเป็น ปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึก การทำประโยชน์ต่อสังคมมีจิตสาธารณะและการให้บริการด้านต่างๆ ทั้งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม ปลูกฝังความรักชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ ปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม ปลูกฝังและสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทย หมวดที่ 3 สร้างเสริมทักษะการทำงานการดำรงชีพและทักษะชีวิต แบ่งเป็น ตอบสนองความสนใจความถนัดและความต้องการของผู้เรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกการทำงานทักษะทางอาชีพและอยู่อย่างพอเพียง พัฒนาความสามารถด้านการใช้ทักษะชีวิต และสร้างเสริมสมรรถนะทางกาย โดยใน 13 กลุ่มกิจกรรมจะมีรูปแบบที่เป็นเมนูย่อยยกตัวอย่างให้เห็น

“กิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนต้องตอบโจทย์ที่ทำให้ผู้เรียน มีเฮดฮาร์ท และแฮนด์ รู้จักใช้สมอง คือความคิด มีหัวใจคือจริยธรรม ทัศนคติที่ถูกที่ควร และมีมือคือ ฝึกให้มีทักษะ ซึ่ง สอดคล้องกับแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่เน้นให้เด็กต้องเรียนรู้ 4 ด้านคือ พุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และพลศึกษา เชื่อว่าหากเด็กมีทั้งหมดนี้จะทำให้การศึกษามีความสมบูรณ์ จากนี้ สพฐ.จะเร่งอบรมครูผู้สอน และจัดสมาร์ทเทรนเนอร์ 300 ทีม ดูแลโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 1 ทีมต่อ 10 โรง โดยจะประเมินผล 2 ครั้ง ระหว่างภาคเรียน และหลังปิดภาคเรียนอีก 1 ครั้ง หากประสบความสำเร็จจะขยายเพิ่ม” พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ฐานะผู้คุมบังเหียนกระทรวงคุณครูกล่าวทิ้งท้ายในการแถลงข่าว

“ทีมการศึกษา” คงไม่สามารถชี้ถูก ชี้ผิดในนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ แต่อยากจะฝากข้อห่วงใยถึงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพราะเรามองว่าปัญหาใหญ่ไม่ได้อยู่ที่ “จำนวน” ชั่วโมงเรียน แต่สิ่งสำคัญที่สุดอยู่ที่ “คุณภาพ” ของการบริหารจัดการ

หากมีการเปลี่ยนวิธีการแต่ยังใช้หลักสูตรเดิม ไม่ยอมปรับเนื้อหาสาระให้เหมาะสม ทันยุคทันสมัย ครูยังยึดติดกับวิธีจัดการเรียนการสอนแบบเดิมๆ และการวัดผลประเมินผลยังคงเป็นรูปแบบเก่าๆ เราเชื่อว่าการ “กวดวิชา” ก็จะยังแทรกเป็นยาดำอยู่กับเด็กไทยต่อไป และการ “ลดเวลาเรียน” คงไม่สามารถตอบโจทย์การปฏิรูปการศึกษาไทยได้อย่างแน่นอน

ที่สำคัญเรามองว่าแม้ว่าจะมีกรอบกิจกรรมและเมนูตัวอย่างไว้ป้อนถึงปาก แต่หากยังไม่มีการเตรียมความพร้อมในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้กับ “ครู” ที่เป็นกลไกหลักขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาทักษะผู้เรียน ก็ยังสร้างความมั่นใจให้กับสังคมไม่ได้ว่าการ “เพิ่มเวลารู้” จะเกิดผลขึ้นตามที่วาดฝันไว้หรือไม่

ณ นาทีนี้เหลือเวลาอีกเพียงเดือนเศษก่อนที่จะเปิดภาคเรียนที่ 2 ในเดือน พ.ย.นี้ สพฐ.คงต้องเร่งเครื่องทุกด้านเต็มลูกสูบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพัฒนาทักษะของผู้เรียนอย่างแท้จริง

ปลดแอก “เด็กไทย” พ้นวังวน “หนูทดลอง” เสียทีเถอะ!!!


ทีมการศึกษา ไทยรัฐ 

ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 29 กันยายน 2558 


ตอบโจทย์ "ปฏิรูปการศึกษา"?ตอบโจทย์ปฏิรูปการศึกษา?

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ระบบการศึกษาไม่สมดุล (2)

ระบบการศึกษาไม่สมดุล (2)


เปิดอ่าน 7,882 ครั้ง
เดินหน้า ปฏิรูปการศึกษา 2559

เดินหน้า ปฏิรูปการศึกษา 2559


เปิดอ่าน 8,501 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ม.44 "มาสเตอร์คีย์ผ่าทางตัน"ปฏิรูปการศึกษา??

ม.44 "มาสเตอร์คีย์ผ่าทางตัน"ปฏิรูปการศึกษา??

เปิดอ่าน 14,578 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
งานประจำ 7 ประการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
งานประจำ 7 ประการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
เปิดอ่าน 16,522 ☕ คลิกอ่านเลย

การศึกษาไทย 2.0
การศึกษาไทย 2.0
เปิดอ่าน 12,639 ☕ คลิกอ่านเลย

เสียงสะท้อนจากนิทานเรื่องมดน้อย ของลุงตู่ ต่อการปฏิรูปการศึกษา : โดย เพชร เหมือนพันธุ์
เสียงสะท้อนจากนิทานเรื่องมดน้อย ของลุงตู่ ต่อการปฏิรูปการศึกษา : โดย เพชร เหมือนพันธุ์
เปิดอ่าน 9,457 ☕ คลิกอ่านเลย

การศึกษาไทยอาการหนัก คุณหมอต้องส่งเข้าห้อง ICU
การศึกษาไทยอาการหนัก คุณหมอต้องส่งเข้าห้อง ICU
เปิดอ่าน 26,745 ☕ คลิกอ่านเลย

การปฏิรูปการศึกษาไทยให้สำเร็จ ต้องปฏิรูปทั้งระบบ โดย เพชร เหมือนพันธุ์
การปฏิรูปการศึกษาไทยให้สำเร็จ ต้องปฏิรูปทั้งระบบ โดย เพชร เหมือนพันธุ์
เปิดอ่าน 12,090 ☕ คลิกอ่านเลย

การจัดการเรียนการสอนในยุคโลกดิจิตอล
การจัดการเรียนการสอนในยุคโลกดิจิตอล
เปิดอ่าน 10,138 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ล้างพิษด้วยตนเองใน 1 วัน‏
ล้างพิษด้วยตนเองใน 1 วัน‏
เปิดอ่าน 15,462 ครั้ง

คุณหมอเผย 9 เทคนิคเลี้ยงลูกอย่างไรให้เรียนเก่ง
คุณหมอเผย 9 เทคนิคเลี้ยงลูกอย่างไรให้เรียนเก่ง
เปิดอ่าน 35,363 ครั้ง

6 เทคนิคเตรียมสอบ IELTS ให้ได้คะแนนสูง!
6 เทคนิคเตรียมสอบ IELTS ให้ได้คะแนนสูง!
เปิดอ่าน 6,770 ครั้ง

ต้นสัตบรรณ - ต้นตีนเป็ด
ต้นสัตบรรณ - ต้นตีนเป็ด
เปิดอ่าน 35,200 ครั้ง

"ว่านกาบหอย" ไม่ใช่แค่ไม้ประดับแต่เป็นยาสมุนไพร
"ว่านกาบหอย" ไม่ใช่แค่ไม้ประดับแต่เป็นยาสมุนไพร
เปิดอ่าน 21,201 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ