ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ย่อส่วนปฏิรูปการศึกษาจัดการ "พื้นที่" ให้เล็กลงง่ายกว่าไหม?


ข่าวการศึกษา 3 พ.ย. 2558 เวลา 15:07 น. เปิดอ่าน : 5,542 ครั้ง

Advertisement

ย่อส่วนปฏิรูปการศึกษาจัดการ "พื้นที่" ให้เล็กลงง่ายกว่าไหม?

เมื่อเร็วๆ นี้คณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้จัดเสวนา "การสร้างเครือข่ายเพื่อขยายผลการยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้น พื้นฐานในระดับจังหวัด" เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ที่ผ่านมา โดยมีนายตวง อันทะไชย ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สนช. เป็นประธาน

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ประธานคณะกรรมการกำกับทิศทางโครงการจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ได้ตั้งโจทย์การปฏิรูปการศึกษาด้วยการย่อส่วนการจัดการให้เล็กลง จะเป็นไปได้ง่ายกว่าการจัดการทั้งองคาพยพของประเทศ

"การปฏิรูปการศึกษาจังหวัดทำได้ง่ายกว่าระดับชาติ เพราะมีขนาดความรับผิดชอบที่เล็กกว่า จากงบประมาณการศึกษาทั้งประเทศ 6 แสนล้านบาท เป็นจังหวัดละ 7,800 ล้านบาทต่อปี จากเด็กเยาวชน 15.2 ล้านคน เหลือเพียงเฉลี่ยจังหวัดละ 2 แสนคน และจากเด็กด้อยโอกาสทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษา 4 ล้านคน เหลือเพียงเฉลี่ยจังหวัดละ 6.4 แสนคน จำนวนครู 6.2 แสนคน เหลือเพียงเฉลี่ยจังหวัดละ 8,200 คน" นพ.ยงยุทธ ระบุ

เหนืออื่นใด รูปแบบการจัดการศึกษาแบบเดิมที่ต่างคนต่างทำก็เปลี่ยนมาเป็นทุกฝ่าย ทั้งภาคการศึกษา ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และภาคเอกชน มาร่วมกันมองในทิศทางเดียวกัน โดยยึดเด็กและเยาวชนเป็นเป้าหมายพร้อมกับใช้ทรัพยากรร่วมกัน ซึ่งจะเกิดพลังอย่างมาก

"รูปแบบการจัดการศึกษาในพื้นที่ สิ่งสำคัญคือ ต้องมีระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อสร้างหลักประกันโอกาสทางการศึกษา เพราะในแต่ละปีมีเด็กที่หลุดออกจากระบบถึง 10% ข้อมูลแต่ละจังหวัดจะช่วยให้มีการออกแบบทิศทางการทำงานร่วมกันในแต่ละพื้นที่ รวมถึงการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ และการพัฒนาศักยภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้เกิดคุณภาพในการจัดการเรียนการสอน โดยเป็นการทำงานในรูปแบบจังหวัดนำร่อง ไม่ควรประกาศทำพร้อมกันทุกจังหวัด เพราะจะได้แค่กลไกแต่ไม่เกิดการมีส่วนร่วมและความเป็นเจ้าของ จึงควรให้การรับรองสถานะจังหวัดที่มีความพร้อม ซึ่งขณะนี้มี 15 จังหวัดนำร่อง โดยมีเป้าหมายต่อไปคือ การพัฒนาให้เกิดสมัชชาการศึกษาจังหวัดและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดที่มีกฎหมายรองรับสถานภาพ เพื่อเป็นหน่วยสร้างการมีส่วนร่วม วางแผนและติดตามทิศทางการขับเคลื่อนของจังหวัด" นพ.ยงยุทธ กล่าว

ขณะที่ภาคเอกชนได้ร่วมสะท้อนถึงรูปแบบการจัดการศึกษาที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการหรือไม่ โดย "ศุภชัย เจียรวนนท์" กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหารบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) สะท้อนว่า การจัดการศึกษาที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการคือ

1.การจัดการศึกษาที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม ครูต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้ให้ความรู้ในมิติเดียวเป็นโค้ชผู้ให้คำแนะนำ ภาคเอกชนไม่ต้องการพนักงานที่รับฟังแต่คำสั่ง แต่ต้องการคนที่คิดและปรับใช้เพื่อเสนอแนะสิ่งใหม่ต่อบริษัท สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถสอนแบบท่องจำได้ บทบาทของครูจึงต้องสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้เรียน มองเห็นถึงศักยภาพของเด็กและกระตุ้นศักยภาพนั้นออกมา

2.ยึดกลไกการตลาดเป็นหลัก กรณีของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาฯ ของมาเลเซียที่พยายามนำผลการสอบของทุกโรงเรียนมาเปิดเผยบนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในกลไกการศึกษา หากมีการเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้สู่สาธารณะกลไกตลาดจะตื่นตัว ครูใหญ่จะตื่นตัวต่อการบริหารโรงเรียน เพราะจะเกิดการแข่งขันระหว่างโรงเรียน และยังสามารถดึงการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ปกครอง รวมถึงภาคเอกชนที่พร้อมสนับสนุนกองทุนโรงเรียนหากมีการจัดการที่โปร่งใส

และ

3.การยกระดับนวัตกรรม เพราะทิศทางนวัตกรรมของโลกในอีก 20 ปีข้างหน้า ประกอบด้วย ไบโอเทคโนโลยี หรือเทคโนโลยีทางชีวภาพ, นาโนเทคโนโลยี หรือเทคโนโลยีขนาดจิ๋ว, ดิจิทัลเทคโนโลยี และโรบอตติก ซึ่งประเทศไทยมีฐานความรู้ที่ได้รับการยอมรับ หากมีการลงทุนแบ่งงบ 2 หมื่นล้านบาท จากงบการศึกษา 6 แสนล้านต่อปี เป็นเวลา 5 ปี เราจะได้แล็บพื้นฐานที่ทำให้ไทยเป็นฮับในระดับภูมิภาคทางการศึกษา ซึ่งจะมีหลายประเทศเข้ามาศึกษา และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่น่าลงทุนเพื่อให้ประเทศหลุดพ้นจากกับดักรายได้ขั้นกลาง พร้อมกันนี้ภาคเอกชนได้ทิ้งท้ายว่า "จุดเปลี่ยนสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จคือ ผู้นำต้องให้ความสำคัญและต้องทำอย่างต่อเนื่อง"

ขณะที่ นายตวง อันทะไชย ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เสนอว่า การปฏิรูปประเทศไทยให้ประสบผลสำเร็จได้ต้องปฏิรูปการศึกษา โดยมี 3 ยุทธศาสตร์ของการปฏิรูปคือ 1.ปฏิรูปหลักสูตรการเรียนการสอน โดยส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกับภาคเอกชน วันแรกที่เข้าเรียนต้องหมายถึงโอกาสของการมีงานทำ 2.ปฏิรูปการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา เพราะ ฝ่ายการเมืองหรืออธิบดีก็ไม่อาจทำให้เกิดคุณภาพได้ ครูและผู้บริหารสถานศึกษาเท่านั้นที่จะทำให้เกิดคุณภาพ และ 3.การปฏิรูปกฎหมายเพื่อให้เกิดความยั่งยืน นอกจากนี้บทบาทของอุดมศึกษาต้องโน้มตัวลงสู่ชุมชน ทฤษฎีที่มหาวิทยาลัยสอนต้องมี "พื้นที่" ในการใช้ความรู้เหล่านั้นให้เป็นจริง สิ่งเหล่านี้ต้องทำให้เป็นเครือข่ายเพื่อเสนอต่อภาคนโยบายต่อไป

 

โดย ทีมข่าวการศึกษา

ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก 


ย่อส่วนปฏิรูปการศึกษาจัดการ "พื้นที่" ให้เล็กลงง่ายกว่าไหม?ย่อส่วนปฏิรูปการศึกษาจัดการพื้นที่ให้เล็กลงง่ายกว่าไหม?

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)

เปิดอ่าน 2,091 ☕ 18 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ปฏิทินการจ้างและการประเมินนักการภารโรง ระยะเวลา 5 เดือน (พฤษภาคม – กันยายน 2567)
ปฏิทินการจ้างและการประเมินนักการภารโรง ระยะเวลา 5 เดือน (พฤษภาคม – กันยายน 2567)
เปิดอ่าน 1,751 ☕ 24 เม.ย. 2567

คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด
คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด
เปิดอ่าน 581 ☕ 24 เม.ย. 2567

เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน
เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน
เปิดอ่าน 466 ☕ 24 เม.ย. 2567

มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
เปิดอ่าน 6,379 ☕ 23 เม.ย. 2567

การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2567
การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 5,639 ☕ 23 เม.ย. 2567

กฏ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2567
กฏ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 469 ☕ 23 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เลิกครู 5 ปี…แก้ทั้งระบบครบวงจร : โดย สมหมาย ปาริจฉัตต์
เลิกครู 5 ปี…แก้ทั้งระบบครบวงจร : โดย สมหมาย ปาริจฉัตต์
เปิดอ่าน 25,762 ครั้ง

(ก.ค.ศ.)ปัจจัยด้านขวัญของข้าราชการครูปฏิบัติการสอนฯ
(ก.ค.ศ.)ปัจจัยด้านขวัญของข้าราชการครูปฏิบัติการสอนฯ
เปิดอ่าน 19,258 ครั้ง

อานิสงค์ของการถวายเทียนพรรษา
อานิสงค์ของการถวายเทียนพรรษา
เปิดอ่าน 1,002 ครั้ง

กำจัดความเครียดได้ง่าย ๆ ด้วยการกินอาหาร
กำจัดความเครียดได้ง่าย ๆ ด้วยการกินอาหาร
เปิดอ่าน 15,063 ครั้ง

ทางพ้นทุกข์
ทางพ้นทุกข์
เปิดอ่าน 9,510 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ