ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

กรณีตัวอย่าง "การรุมทึ้งงบประมาณแผ่นดิน" ของข้าราชการประจำ


ข่าวการศึกษา 6 ก.พ. 2559 เวลา 07:35 น. เปิดอ่าน : 7,933 ครั้ง
กรณีตัวอย่าง "การรุมทึ้งงบประมาณแผ่นดิน" ของข้าราชการประจำ

Advertisement

ผู้เขียน สุพจน์ เอี้ยงกุญชร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ที่มา มติชนรายวัน เผยแพร่ 5 ก.พ. 59

เมื่อกล่าวถึงคำว่า “คอร์รัปชั่น (corruption)” หลายท่านอาจจะนึกถึงแต่พวกนักการเมือง เพราะภาพลักษณ์ของนักการเมืองส่วนใหญ่มักจะเป็นเช่นนั้น แต่อันที่จริงสำหรับข้าราชการประจำนั้นก็มีไม่น้อย ทั้งกินตามน้ำไปกับนักการเมือง (บางทีเป็นผู้ชี้ช่องทางให้กับนักการเมืองเสียเอง) หรือกินทวนน้ำโดยหาช่องทางเอง ดังที่มีให้เห็นอยู่บ่อยๆ ที่ข้าราชการประจำถูกตัดสินให้ออก ปลดออก และไล่ออก หรือถูกจำคุกเพราะคดีคอร์รัปชั่น ซึ่งก็คือการหาประโยชน์ใดๆ โดยมิชอบจากทางราชการ ทั้งงบประมาณ ทรัพย์สิน และอำนาจหน้าที่ เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้องอย่างไม่สมเหตุสมผลนั่นเอง หรือกรณีที่ข้าราชการที่เกษียณแล้วมีเงินเป็นร้อยเป็นพันล้าน ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่ข้าราชการจะร่ำรวยได้ขนาดนั้นจากเงินเดือนหรือค่าตอบแทนจากระบบราชการ แต่เป็นเพราะกฎหมายเอื้อมไม่ถึง หรือกฎหมายเอื้อให้เขาหาประโยชน์อย่างไม่สมเหตุสมผลได้นั่นเอง

ประเทศไทยมีข้าราชการระดับอธิบดีขึ้นไปเป็นหลักร้อย (บางทีอาจถึงหลักพัน) และถ้านับตำแหน่งเทียบเท่าอธิบดีเข้าไปด้วยจะมีจำนวนเป็นหลักพันอย่างแน่นอน อาทิ ผู้ว่าราชการจังหวัด อธิการบดี และหัวหน้าศูนย์หรือสำนักงานอื่นๆ ที่มีฐานะเทียบเท่ากรม บุคคลระดับนี้จะมีสิทธิได้ใช้รถประจำตำแหน่งตามระเบียบของทางราชการ (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ.2523) โดยให้รถประจำตำแหน่งมีอายุการใช้งานเพียง 6 ปี ซึ่งก็ดูเหมาะสมดีสำหรับข้าราชการระดับสูงเหล่านี้ ไม่ว่าจะใช้เพื่องานราชการจริงหรือไม่ก็ตาม (ขึ้นอยู่กับจริยธรรมของแต่ละท่านเป็นสำคัญ)

ต่อมาก็ในปี พ.ศ.2535 มีการแก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ.2523 ให้ขยายสิทธิลงมายังระดับรองอธิบดีและตำแหน่งเทียบเท่าอื่นๆ (นี่คือตัวอย่างของความพยายามหาประโยชน์จากทางราชการของเหล่าข้าราชการระดับสูง) ที่มีจำนวนเป็นหมื่นๆ ตำแหน่ง ซึ่งนั่นหมายความว่า ประเทศนี้จะต้องใช้งบประมาณเพื่อจัดซื้อรถประจำตำแหน่งไว้ให้ข้าราชการระดับนี้ใช้อีกเป็นหมื่นๆ คัน และยังต้องเปลี่ยนใหม่ทุกๆ 6 ปีด้วย เฉพาะในกระทรวงมหาดไทยที่นอกจากมีปลัดกระทรวง รองปลัด ผู้ตรวจ อธิบดี และรองอธิบดีแล้ว ยังมีผู้ว่าราชการจังหวัดและรองผู้ว่าฯ ที่เป็นตำแหน่งเทียบเท่าอธิบดีและรองอธิบดี ซึ่งก็ล้วนแต่มีสิทธิได้รับด้วย (กระทรวงนี้กระทรวงเดียวน่าจะมีผู้มีสิทธิเป็นจำนวนร่วมพันราย)

ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการที่นอกจากจะมีปลัดกระทรวง รองปลัด ผู้ตรวจ อธิบดี และรองอธิบดีแล้ว ยังมีอธิการบดี รองอธิการบดี และตำแหน่งเทียบเท่าอื่นๆ รวมแล้วก็เป็นพันรายเช่นกัน ซึ่งแน่นอนว่าทางกระทรวงย่อมไม่สามารถตั้งงบประมาณมาจัดซื้อจัดหารถประจำตำแหน่งได้ครบทุกตำแหน่งอย่างแน่นอน กระทรวงการคลังเองก็คงไม่สามารถหาเงินงบประมาณมาตอบสนองผู้มีสิทธิเหล่านี้ได้ทันเช่นกัน

ดังนั้น จึงมีมติคณะรัฐมนตรีเพื่อแก้ปัญหานี้ ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร0504/ว 182 ลงวันที่ 10 กันยายน 2547 เรื่องการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจำตำแหน่งสำหรับข้าราชการผู้มีสิทธิได้รถยนต์ประจำตำแหน่ง และหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร0505/ว 141 ลงวันที่ 19 กันยายน 2549 เรื่องการปรับปรุงมติคณะรัฐมนตรี เรื่องการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจำตำแหน่งสำหรับข้าราชการผู้มีสิทธิได้รถยนต์ประจำตำแหน่ง โดยมีมติให้ผู้มีสิทธิใช้รถยนต์ประจำตำแหน่งแต่ละหน่วยงาน (ระดับกรม) ไม่สามารถจัดหารถให้ได้ ให้สามารถเบิกค่าตอบแทนเป็นเงินได้

โดยตำแหน่งระดับปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่าเบิกได้เดือนละ 41,000 บาท ระดับอธิบดีหรือเทียบเท่าเบิกได้เดือนละ 31,800 บาท และระดับรองอธิบดีหรือเทียบเท่าเบิกได้เดือนละ 25,400 บาท (คล้ายการผ่อนรถให้เป็นการทดแทนรถประจำตำแหน่ง)

ดังนั้น ใครที่ได้มาดำรงตำแหน่งระดับนี้ก็สามารถเอาเงินไปดาวน์รถหรูๆ ไว้ใช้เองได้เลย เมื่ออยู่ในตำแหน่งไปแค่ 3 ปี 4 ปีก็ได้รถหรูๆ เป็นสมบัติส่วนตัวไปฟรีๆ หนึ่งคัน และถ้ามีโอกาสครองตำแหน่งนานกว่านั้นก็จะได้เพิ่มไปอีกเป็นคันที่ 2, ที่ 3 มตินี้จึงคล้ายเป็นมติรองรับการรุมทึ้งงบประมาณแผ่นดินของข้าราชการประจำนั่นเอง

เรื่องการจ่ายเงินค่าตอบแทนให้ผู้มีสิทธิใช้รถประจำตำแหน่งนี้ ประโยชน์ที่เห็นๆ คือการชดเชยความสะดวกสบายให้ผู้บริหารระดับสูง ซึ่งมีมูลค่ากว่าเดือนละ 4 หมื่นบาทสำหรับปลัดกระทรวง กว่า 3 หมื่นบาทสำหรับอธิบดี และกว่า 2 หมื่นบาทสำหรับระดับรองอธิบดีหรือตำแหน่งเทียบเท่า แม้จะจำกัดการเบิกได้ไม่เกินหน่วยงาน (กรม) ละ 5 ตำแหน่ง แต่มันก็ยังเป็นเงินจำนวนมหาศาลที่รั่วไหลออกไปโดยไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ต่องานราชการและประเทศชาติ เมื่อวิเคราะห์ดูถึงความไม่เหมาะสมของเรื่องนี้แล้วจะพบว่ามีความไม่เหมาะสมที่ชัดเจน 4 ประการ ดังนี้

ประการแรก เป็นการใช้จ่ายงบประมาณกับรายจ่ายที่ไม่เป็นจริง เพราะข้าราชการระดับรองอธิบดีหรือเทียบเท่าเมื่อเข้ามารับตำแหน่งแล้ว คงไม่มีท่านใดมีค่าใช้จ่ายเพิ่มจากการใช้รถในงานราชการมากมายถึงเดือนละ 2-3 หมื่นบาทเช่นนั้น และโอกาสที่จะใช้งานรถประจำตำแหน่งพร้อมๆ กันของคนในกรมเดียวกันก็คงมีไม่บ่อยนัก หากจำเป็นยังสามารถหาทางออกทางแก้ได้อีกหลายทาง เงินค่าตอบแทนที่ได้จึงเป็นรายจ่ายที่ไม่เป็นจริง เป็นเงินกินเปล่าโดยแท้จริง ทุกวันนี้จึงไม่ค่อยมีใครสมัครใจใช้รถประจำตำแหน่ง แต่มักจะขอรับเงินค่าตอบแทนเสียมากกว่า

เรื่องนี้ยังมีข้อสงสัยอีกว่า ในแต่ละกรมจะมีรองอธิบดีและตำแหน่งเทียบเท่าอื่นๆ ราว 10 ตำแหน่ง (บางกรมมีมากกว่านั้น) มีงานราชการใดที่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้รถประจำตำแหน่งพร้อมๆ กันเป็นประจำ ถึงอาจมีบ้างก็เป็นครั้งคราว อธิบดีไม่สามารถหาทางออกในเรื่องนี้ได้เลยหรือ การผลัดกันใช้หรือใช้ร่วมกันเมื่อจำเป็นทำไม่ได้เลยหรือ แม้แต่การเช่ามาใช้เป็นครั้งคราวเมื่อจำเป็นก็ยังประหยัดกว่ามาก ยิ่งถ้านำรถส่วนตัวมาใช้บ้าง (ซึ่งมีกันทุกท่านอยู่แล้ว) ก็จะเป็นการเสียสละที่น่ายกย่องน่าสรรเสริญยิ่ง และที่สำคัญข้าราชการระดับนี้ควรจะประพฤติปฏิบัติให้เป็นแบบอย่างแก่ข้าราชการชั้นผู้น้อยด้วยอยู่แล้ว

ประการที่ 2 เป็นงบประมาณรายจ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดผลผลิตใดๆ เนื่องจากเป็นการตั้งงบประมาณรายจ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดผลงานเพิ่มขึ้นมาแต่อย่างใด (จ่ายไม่จ่ายก็ได้ผลงานเท่าเดิม) เพราะโดยข้อเท็จจริงการทำงานของข้าราชการระดับนี้ ส่วนใหญ่จะอยู่แต่สำนักงานและห้องประชุม ท่านจึงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการใช้รถมากนัก (รถส่วนตัวท่านก็มีใช้กันทุกคน) ดังนั้น การได้หรือไม่ได้เงินค่าตอบแทนรถประจำตำแหน่งก็ไม่มีผลต่อภาระงานแต่อย่างใด ค่าตอบแทนที่ได้รับไปจึงไม่ได้ทำให้เกิดผลงานเพิ่มขึ้นเลยแม้แต่น้อย

ประการที่ 3 เป็นการใช้งบประมาณที่ไม่เป็นธรรม (ขาดธรรมาภิบาล) เพราะตำแหน่งรองอธิบดีเป็นตำแหน่งในระนาบเดียวกับผู้อำนวยการกอง แต่ผู้อำนวยการกองนั้นไม่มีสิทธิได้รถประจำตำแหน่งเหมือนรองอธิบดี ผู้อำนวยการกองจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนดังกล่าวด้วย ทั้งๆ ที่ผู้อำนวยการกองซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยงานที่มีโอกาสใช้รถเพื่องานราชการมากกว่ารองอธิบดีด้วยซ้ำ แต่ทุกวันนี้ผู้อำนวยการกองก็ยังสามารถปฏิบัติงานราชการได้เป็นปกติ แม้ไม่มีสิทธิประโยชน์ใดๆ เรื่องรถประจำตำแหน่ง และหวังว่าประเด็นนี้คงไม่มีใครนำไปใช้เรียกร้องขยายจำนวนผู้มีสิทธิได้รถประจำตำแหน่งเพิ่มขึ้นอีก เพราะทุกวันนี้ประเทศชาติก็จะล่มจมเพราะข้าราชการประเภทนี้อยู่แล้ว

ประการที่ 4 เป็นช่องทางให้เกิดการคอร์รัปชั่น เพราะปรากฏคดีตามมาเมื่อผู้รับสิทธิค่าตอบแทนนี้แล้วจะไม่มีสิทธิใช้รถราชการอีก แต่ผู้รับสิทธิก็ยังเอารถราชการไปใช้โดยอาศัยข้อยกเว้นต่างๆ อาทิ ใช้รถราชการโดยอ้างว่าเป็นงานด่วนและรถส่วนตัวเสีย หรือให้เลขาฯขอใช้รถราชการและตนขออาศัยไปกับรถนั้นๆ เป็นต้น นอกจากนี้ บางหน่วยงานยังไปออกระเบียบขยายสิทธิในการเบิกค่าตอบแทนในกรณีต่างๆ

เช่น การให้สิทธิกับผู้รักษาการแทน (ระเบียบหลักไม่ให้สิทธินี้) หรือเพิ่มจำนวนผู้มีสิทธิเกินจาก 5 ตำแหน่ง เป็นต้น

รถประจำตำแหน่งมีความจำเป็นสำหรับข้าราชการระดับสูงที่มีภารกิจจริงๆ ซึ่งน่าเชื่อได้ว่าทุกท่านใช้เฉพาะงานราชการ ไม่ได้ใช้เพื่อภารกิจส่วนตัว และไม่เคยให้คนใกล้ชิดเอาไปใช้ด้วย แต่การให้สิทธิข้าราชการระดับรองลงมาที่จำเป็นบ้าง ไม่จำเป็นบ้าง (ส่วนใหญ่ไม่จำเป็น) จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะถูกต้อง เพราะการที่ข้าราชการระดับสูงซึ่งมีเงินประจำตำแหน่งนอกเหนือจากเงินเดือนมากอยู่แล้ว แต่ยังพยายามหาประโยชน์อื่นๆ อันไม่สมควรจากทางราชการอีก จึงถือเป็นการส่อทุจริต (คอร์รัปชั่น) นั่นเอง

ดังนั้น มติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี พ.ศ.2547 เรื่องการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจำตำแหน่งสำหรับข้าราชการผู้มีสิทธิได้รถยนต์ประจำตำแหน่งจึงควรถูกยกเลิก เพราะนอกจากจะไม่เกิดประโยชน์ต่อทางราชการแล้ว ยังเป็นการบ่มเพาะนิสัยคอร์รัปชั่นขึ้นในหมู่ข้าราชการอีกด้วย เพราะทำให้ผู้รับเงินค่าตอบแทนนี้รู้สึกเหมือนกับว่ามันเป็นสิ่งที่ได้มาอย่างถูกต้องชอบธรรม ทั้งๆ ที่เป็นเงินที่ได้มาอย่างไม่สมเหตุสมผลอย่างชัดเจน ซึ่งตามความเห็นโดยสุจริตของผู้เขียนก็น่าจะเป็นการคอร์รัปชั่นเช่นกันนั่นเอง

นี่คือกรณีตัวอย่างของการรุมทึ้งงบประมาณแผ่นดินของข้าราชการประจำ (อย่างถูกต้องตามกฎหมาย) แล้วเรื่องอย่างนี้ ท่านนายกรัฐมนตรีที่มาจากข้าราชการประจำจะสนใจแก้ไขบ้างไหม?

 

ที่มา มติชน วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559

 


กรณีตัวอย่าง "การรุมทึ้งงบประมาณแผ่นดิน" ของข้าราชการประจำกรณีตัวอย่างการรุมทึ้งงบประมาณแผ่นดินของข้าราชการประจำ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป

ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป

เปิดอ่าน 2,988 ☕ 18 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
เปิดอ่าน 2,835 ☕ 23 เม.ย. 2567

การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2567
การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 2,117 ☕ 23 เม.ย. 2567

กฏ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2567
กฏ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 264 ☕ 23 เม.ย. 2567

ครูและนักเรียน ใช้ห้องน้ำสะอาดร่วมกันได้ไม่แบ่งแยก เริ่มได้เลย
ครูและนักเรียน ใช้ห้องน้ำสะอาดร่วมกันได้ไม่แบ่งแยก เริ่มได้เลย
เปิดอ่าน 468 ☕ 22 เม.ย. 2567

ปีนี้ "สพฐ."ตรวจเข้มความโปร่งใส สอบรองผอ.ผอ.สถานศึกษา "ห้าม" กวดวิชา รับทำเอกสารทุกกรณี
ปีนี้ "สพฐ."ตรวจเข้มความโปร่งใส สอบรองผอ.ผอ.สถานศึกษา "ห้าม" กวดวิชา รับทำเอกสารทุกกรณี
เปิดอ่าน 403 ☕ 22 เม.ย. 2567

สพฐ.เปิดตัวโครงการ "สุขาดี มีความสุข" จัดงบ 1 หมื่นบาท ให้ รร.เล็กไม่เกิน 80 คน ปรับปรุงซ่อมแซมพร้อมใช้ก่อนเปิดเทอม
สพฐ.เปิดตัวโครงการ "สุขาดี มีความสุข" จัดงบ 1 หมื่นบาท ให้ รร.เล็กไม่เกิน 80 คน ปรับปรุงซ่อมแซมพร้อมใช้ก่อนเปิดเทอม
เปิดอ่าน 441 ☕ 22 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ดาวน์โหลด! นโยบายด้านการศึกษาของนายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา)
ดาวน์โหลด! นโยบายด้านการศึกษาของนายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา)
เปิดอ่าน 32,188 ครั้ง

วิธีเลือกซื้อปลาทู
วิธีเลือกซื้อปลาทู
เปิดอ่าน 22,993 ครั้ง

พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2561
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2561
เปิดอ่าน 12,616 ครั้ง

เสียงหัวเราะ ให้คุณมากกว่าความสดใส
เสียงหัวเราะ ให้คุณมากกว่าความสดใส
เปิดอ่าน 9,235 ครั้ง

กล้วยป่า
กล้วยป่า
เปิดอ่าน 14,387 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ