ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เดินหน้าปฏิรูป โครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ 59 โดย เพชร เหมือนพันธุ์


บทความการศึกษา 30 มี.ค. 2559 เวลา 13:37 น. เปิดอ่าน : 12,556 ครั้ง

Advertisement

เดินหน้าปฏิรูป โครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ 59 โดย เพชร เหมือนพันธุ์

อาฟเตอร์ช็อก ลูกที่ 5 ลูกสุดท้ายที่เกิดตามมาจากนโยบาย ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ โครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นตัวปัญหาที่ใหญ่ที่สุดที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา หลังจากที่ได้ใช้โครงสร้างนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 นับเวลาได้ 14 ปี (หลัง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 2542) คนในกระทรวงศึกษาต้องทนอยู่กับสภาพของโครงสร้างองค์กรที่ “ไม่ประหยัดพลังงาน” มาถึงทศวรรษครึ่ง ผู้อยู่ก็อึดอัดใจ ผู้ใช้ก็ต้องอดทน ผู้รอรับผลผลิตก็ได้สินค้าด้อยคุณภาพ แรงกระทบที่เกิดจากโครงสร้างนี้คือ คุณภาพการศึกษาตกต่ำแบบดึงไม่ขึ้น แม้รัฐจะทุ่มงบประมาณลงไปอย่างมากมายเพียงใดก็แก้ปัญหาไม่ได้

เหตุที่รื้อกระทรวงศึกษาทิ้งในปี 2546 เพราะมีนักการศึกษาหรือนักการเมืองในสมัยนั้นเชื่อว่า การที่คุณภาพการศึกษาตกต่ำมีสาเหตุมาจากกระทรวงศึกษาธิการสมัยนั้นรวบอำนาจไว้ที่ส่วนกลางมากเกินไป ไม่กระจายอำนาจให้สถานศึกษา ทำให้การบริหารจัดการภายในโรงเรียนไร้คุณภาพ จึงเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้การศึกษาล้มเหลว ดังนั้น 9 อรหันต์ จึงจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างองค์กรในกระทรวงศึกษาธิการใหม่ เพื่อกระจายอำนาจให้ผู้รับบริการและผู้ที่เข้าอยู่อาศัยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงต้องรื้อโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการเก่าๆ ทิ้งไป สร้างบ้านใหม่ที่ทันสมัยขึ้นมาแทน ย้ายคนที่อยู่ในบ้านเก่าออกไปเพื่อรอขึ้นบ้านใหม่ แล้วก็สร้างบ้านสมัยใหม่เป็นแบบรูปทรงของ นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น อเมริกา ออสเตรเลีย มาเป็นต้นแบบรวมกัน ทำให้เกิดมีองค์กรใหม่ขึ้นมา มีนวัตกรรมใหม่ เพิ่มเติมอีก 3 องค์กร คือ คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา (ก.พ.ท.) คณะกรรมการตรวจสอบติดตามประเมินและนิเทศ (ก.ต.ป.น.) และคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลาการการศึกษา ก.ค.ศ. และ อ.ก.ค.ศ. ซึ่งเป็นองค์คณะบุคคลที่ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อการบริหารการศึกษาแต่ให้มีอำนาจในการบริหารงานบุคคลเหนือซีอีโอขององค์กร คือเหนือเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เหนือ ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา

องค์กรใหม่ที่มีปัญหามากที่สุด คือ ก.ค.ศ. และ อ.ก.ค.ศ. เกิดขึ้นมาแล้วสร้างปัญหาในการบริหารงานฝ่ายบุคคลมาก เพราะที่มาของคณะบุคคลเหล่านี้มีความเป็นมาและต้นทุนสูง ต้องผ่านการแข่งขัน การเลือกตั้งใช้ปัจจัยแลกเปลี่ยนเข้ามา หลายคนต่างมีพรรคพวก มีญาติพี่น้อง มีเพื่อนฝูง จึงเกิดอาการถอนทุนคืนทุน ช่วยเหลือคนของตน อย่างน่ารังเกียจ

บ้านใหม่เสร็จแล้วในปี 2546 มีตำแหน่งงานสำคัญที่รองรับบุคลากรในส่วนภูมิภาคเพียง 175 เขตพื้นที่การศึกษา ไม่เพียงพอกับคนในตำแหน่งเก่าก่อนยุบกระทรวง คือ ศึกษาธิการจังหวัดจำนวน 76 คน สามัญศึกษาจังหวัดจำนวน 76 คน ประถมศึกษาจังหวัด จำนวน 76 คน รวมแล้วมีคนถึง 228 คน ไม่นับรวมเจ้าหน้าที่ จึงเกิดอาการคนล้นตำแหน่ง คนเก่าเข้าเมื่ออพยพเข้ามาในโครงสร้างใหม่ ในบ้านหลังใหม่ จึงเกิดมีการแย่งตำแหน่ง แย่งสำนักงานกันวุ่นวายไปทั่วประเทศ มีการร้องเรียนกันให้วุ่นวายไปทั้งกระทรวง เหตุการณ์เหล่านี้เพิ่งจะสงบสุขหลังปรับโครงสร้างผ่านมาได้ 10 ปี

ความคาดหวังคราวนั้น ที่หวังว่าจะเห็นคุณภาพการศึกษาคุณภาพชีวิตของบุคลากรในองค์กรดีขึ้นกลับหาไม่พบ หาคนมารับผิดชอบไม่ได้ เกิดอาการมีอิทธิพลจากภายนอกเข้ามาครอบงำองค์กร ผอ.เขต ทำหน้าที่ปกครองบังคับบัญชาลูกน้อง ต้องทำหน้าที่เฝ้าระวังความปลอดภัยให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา เสมอแม่ไก่กางปีกออกกกปกป้องลูกไก่ให้ได้รับความอบอุ่นให้ได้รับความปลอดภัย เฝ้าคอยระวังภัย จากเหยี่ยวร้าย อ.ก.ค.ศ. ที่คอยบินโฉบลงมาฉกเอาลูกไก่ไปกิน บ้านใหม่ที่คาดว่าจะมีแต่ความอุดมสมบูรณ์ ร่มเย็น สงบสุข กลับไม่มีคุณภาพไม่เป็นดังที่ตั้งความหวังไว้

องค์กรใดที่เกิดมาแล้วไม่มีประโยชน์ เกิดเป็นโทษภัย เขาให้ตัดทิ้งครับ คำถาม 15 ปี พอหรือยังกับการทดลองที่ทรมาน รื้อได้หรือยังครับองค์กรที่ไม่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มแต่เป็นภัยต่อสังคม

เป้าหมายจริงๆ ของการปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ ก็เพื่อต้องการกระจายอำนาจไปยังโรงเรียนไปยังหน่วยผู้ปฏิบัติ โดยให้ยกเลิกหน่วยงานการศึกษาระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ให้ไปเกิดองค์กรใหม่ที่มีชื่อเรียกว่า เขตพื้นที่การศึกษา ให้ลดอำนาจปลัดกระทรวงลดอำนาจอธิบดีลง โดยสร้างองค์กรใหม่เข้ามาในระดับกระทรวง เป็น 5 องค์กรหลักเรียกว่า สำนักงานเลขาธิการต่างๆ และสำนักงานปลัดกระทรวง ตำแหน่งเจ้าสำนัก อยู่ในระดับซี 11 เป็นกระทรวงเดียวที่มีคนในระดับปลัดกระทรวงอยู่ถึง 5 คน

ในส่วนภูมิภาค โรงเรียนถูกปล่อยให้มีอำนาจเต็มตามยถากรรมที่ไม่มีผู้บังคับบัญชาในระดับอำเภอ แต่ให้มีเจ้านายในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ที่ดูแลไม่ถึง มีขนาดใหญ่โตมาก มีจำนวนโรงเรียนมากถึง 100-200 กว่าโรงเรียน บางจังหวัดมีระยะทางห่างไกลมาก ยากต่อการติดตามดูแล

การออกแบบเขตพื้นที่การศึกษาโดยไปลอกเลียนแบบคนอื่นเขามาแบบไม่ดูตาม้าตาเรือหรือโดยไม่ศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงประวัติความเป็นมาของเขาจึงเกิดปัญหาเช่นนี้

ในปี พ.ศ.2539 ผู้เขียนเคยไปเรียนที่ New York State University แห่งหนึ่งในอเมริกา ได้รู้จักกับผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา (Superintendent) ของเขา ได้ไปดูโรงเรียนของเขา เขายังทำหน้าที่เป็นครูใหญ่ (Principal) ด้วย ในเขตพื้นที่การศึกษาของเขา มีจำนวนโรงเรียนเพียง 9 โรงเรียน ครูใหญ่ทุกคนในเขต เป็นกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ถามเขาว่า ในหนึ่งเขตพื้นที่การศึกษา มีจำนวนโรงเรียนเท่าใด เขาตอบว่า มีประมาณ 8-20 โรงเรียน ในโรงเรียนจะมีคณะกรรมการ (School Board) ที่มีตัวแทนจากองค์กรปกครองท้องถิ่น เข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย เพื่อตรวจสอบติดตามประเมินผลงานของโรงเรียน และจัดสรรงบประมาณสนับสนุนโรงเรียน จากภาษีการศึกษาของท้องถิ่น เมื่อเขามีหน้าที่หาเงินมาสนับสนุนเขาจึงมีอำนาจด้วย

ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาของประเทศไทย ไม่มีหน้าที่หาเงินมาช่วยโรงเรียนจึงไม่มีอำนาจเหนือโรงเรียน ในส่วนภูมิภาค บางโรงเรียน หาคนมาเป็นกรรมการสถานศึกษาแทบไม่ได้ คนที่เป็นแล้วก็ต้องขอร้องไม่ให้ลาออก ไม่ให้หมดอายุ ขอให้อยู่ต่อไปเรื่อยๆ เวลาเชิญประชุม ก็ไม่ค่อยอยากมาร่วม เพราะมาที่ไร โรงเรียนขอเงินบริจาคทุกที จนบอกว่าเอาอย่างไรเอากันครับ ที่ประชุมตกลงบริจาคคนละเท่าไรก็ยินดีบริจาคตามที่ประชุมครับ ต่างกับโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในเมืองใหญ่ ที่มีแต่คนอยากจะเป็นคณะกรรมการสถานศึกษา เพราะเป็นแล้วสามารถฝากลูกหลานเข้าเรียนได้

ในประเทศเวียดนาม คณะกรรมการสถานศึกษา เขา เชิญ ตัวแทนผู้ปกครองชั้นเรียน ชั้นละ 1 คน มาร่วมกันเป็นกรรมการสถานศึกษาเข้ามาช่วยเหลือโรงเรียนเข้ามาช่วยสอนบุตรหลานของตนเอง เข้ามาร่วมทำกิจกรรมของโรงเรียนเพื่อให้ช่วยบุตรหลานของพวกเขาเอง มีที่มาเพราะเขามีหน้าที่รับผิดชอบต่อบุตรหลานของเขาด้วย

การออกแบบกรรมการสถานศึกษาของประเทศไทย ที่ผู้ใช้ไม่ได้ออกแบบ ผู้ออกแบบไม่ได้ใช้ พ.ร.บ.เป็นผู้กำหนดว่าสถานศึกษาต้องมีคณะกรรมการสถานศึกษาจำนวนหนึ่ง ตามขนาดของสถานศึกษา บุคคลที่จะมาเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาต้องประกอบด้วย ตัวแทนครู ตัวแทนผู้ปกครอง ผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องมีผู้หญิงไม่น้อยกว่า … คน ต้องมี บรรพชิตอยู่ด้วย การกำหนดแบบนี้ สามารถใช้ได้ในโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงเท่านั้น ในชนบท ต้องไปกราบงอนง้อขอร้องให้ผู้ปกครองเข้ามาเป็นกรรมการสถานศึกษา

การแก้ปัญหาก็ไม่เป็นเรื่องยากเลยครับ แก้ที่ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 ตัดองค์กรที่งอกเงยออกมาไม่เป็นประโยชน์ทิ้งไป เปลี่ยนอำนาจของประธานกรรมการ ก.ค.ศ. และ อ.ก.ค.ศ. มาให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมาให้ ผอ.เขต ให้ประธานของคณะกรรมการ เป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์กร เพราะท่านเหล่านี้เป็นเจ้าของบ้านเป็นแม่ไก่ที่เฝ้าดูแลความเจริญก้าวหน้าของลูกไก่ ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่แล้ว

อย่าไปกลัวว่าจะเกิดความลำเอียงจะเกิดการทุจริต เพราะคนที่จะขึ้นมาถึงตำแหน่งสำคัญเหล่านี้ ต้องไม่ธรรมดา ผ่านการอบรมปลูกฝังคุณธรรมที่ดีงามที่เพียงพอที่จะโตขึ้นมาทำหน้าที่เป็นผู้นำได้ ต้องมีจิตสำนึกผิดชอบชั่วดีเพียงพอยากที่คนภายนอกจะดูแลได้เท่า

สิ่งที่จะต้องปฏิรูปในโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการจริงๆ คือ ลดสำนัก 5 สำนักในระดับกระทรวงศึกษาลงให้เหลือเพียงสำนักเดียว คือสำนักงานปลัดกระทรวง เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นซีอีโอของกระทรวง เพิ่มองค์กรที่เป็นมันสมองของกระทรวงศึกษาธิการขึ้นมาคือ กรมวิชาการ ลดอำนาจของคณะบุคคลที่ไม่มีหน้าที่บริหารงานลง ลดบทบาทอำนาจของ ก.ค.ศ., อ.ก.ค.ศ.ลง เพิ่มอำนาจแก่เลขาฯ สพฐ. ให้แก่ ผอ.เขตฯเป็นซีอีโอขององค์กรให้ได้จริง ให้ 3 องค์กรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายุบรวมกัน ให้มีเฉพาะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ให้ทำหน้าที่แทนองค์กรที่ยุบรวมกันได้ ให้มีหน่วยงานที่ใกล้ชิดสถานศึกษาในระดับอำเภอ หรือให้ขนาดของเขตพื้นที่การศึกษาเล็กลงเพื่อให้การติดตามตรวจสอบประเมิน (Monitory) ได้ผลจริง

ให้โรงเรียนเป็นผู้ออกแบบคณะกรรมการสถานศึกษาตามสภาพบริบทของแต่ละโรงเรียน ลดการทดสอบประเมินผลต่างๆ เพื่อวัดคุณภาพนักเรียนลง เช่น ทดสอบระดับชาติ (National Test ; NT) O-NET, A-NET, GAT, PAT, ETC.) เป็นกิจกรรมที่ลบกวนโรงเรียนครูและเด็กมาตลอด ครูต้องลดเวลาเรียนเด็กลงเพื่อกลับมาติวเด็กของตนเองให้สอบในกิจกรรมเหล่านี้อย่างเอาเป็นเอาตาย ใช้เวลาเป็นเดือน เพราะถ้าลูกศิษย์ของตนเองได้คะแนนต่ำมาก จะมีผลต่อความเจริญก้าวหน้าของครู ของผู้บริหารโรงเรียน ของ ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ เพราะจะถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสื่อว่าไร้ประสิทธิภาพ

ให้ยกเลิกการประเมินผลงานครู ผู้บริหารโรงเรียนที่เป็นการประเมินกระดาษ (Paper Evaluation) เป็นการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) แทน ยกเลิกการประเมินขบวนการหรือวิธีการจัดเรียนการสอน ให้โรงเรียนเขาไปค้นหานวัตกรรมของเขาเอง

หวังอย่างยิ่งว่า พลังแรงสั่นสะเทือนจากนโยบาย ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ในครั้งนี้ จาก อาฟเตอร์ช็อก หลายๆ ครั้ง จะเกิดวินาศกรรมต่อองค์กรที่เป็นปัญหาที่ไร้ประโยชน์ต่อขบวนการบริหาร และล้มล้างกิจกรรมที่ไร้สาระรบกวนขบวนการเรียนการสอนของครูและเด็กให้หายสาบสูญไป ก่อให้เกิดนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ ที่มีคุณภาพต่อการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 นี้ให้ทันเพื่อนบ้านให้ได้ 

 

ที่มา มติชนออนไลน์ วันที่ 30 มีนาคม 2559


เดินหน้าปฏิรูป โครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ 59 โดย เพชร เหมือนพันธุ์เดินหน้าปฏิรูปโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ59โดยเพชรเหมือนพันธุ์

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

การศึกษาไทย 2.0

การศึกษาไทย 2.0


เปิดอ่าน 12,628 ครั้ง
เดินหน้า ปฏิรูปการศึกษา 2559

เดินหน้า ปฏิรูปการศึกษา 2559


เปิดอ่าน 8,487 ครั้ง
ราชภัฏกับธนาคาร

ราชภัฏกับธนาคาร


เปิดอ่าน 7,617 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

นโยบายการศึกษามาจากไหน-ทำไมถึงไม่สำเร็จ

นโยบายการศึกษามาจากไหน-ทำไมถึงไม่สำเร็จ

เปิดอ่าน 9,827 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
คนคือความท้าทาย
คนคือความท้าทาย
เปิดอ่าน 7,232 ☕ คลิกอ่านเลย

"ฟุตบอล"...สอนอะไร
"ฟุตบอล"...สอนอะไร
เปิดอ่าน 7,762 ☕ คลิกอ่านเลย

มารู้จัก ทุน"เสมาพัฒนาชีวิต"กันเถอะ
มารู้จัก ทุน"เสมาพัฒนาชีวิต"กันเถอะ
เปิดอ่าน 9,987 ☕ คลิกอ่านเลย

ทบทวนระบบการประกันคุณภาพ การศึกษาของไทยเดี๋ยวนี้... ฤๅว่าจะสายเกินไป
ทบทวนระบบการประกันคุณภาพ การศึกษาของไทยเดี๋ยวนี้... ฤๅว่าจะสายเกินไป
เปิดอ่าน 11,012 ☕ คลิกอ่านเลย

เฉลยข้อสอบอัตนัยด้วย FACEBOOKLIVE
เฉลยข้อสอบอัตนัยด้วย FACEBOOKLIVE
เปิดอ่าน 14,098 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษาไทย พายเรือในอ่าง (1)
ปฏิรูปการศึกษาไทย พายเรือในอ่าง (1)
เปิดอ่าน 8,645 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ตูนส์ศึกษา : ปรัชญาการศึกษาไทยในปัจจุบันคือ?
ตูนส์ศึกษา : ปรัชญาการศึกษาไทยในปัจจุบันคือ?
เปิดอ่าน 13,794 ครั้ง

การวัดอุณหภูมิของอากาศ
การวัดอุณหภูมิของอากาศ
เปิดอ่าน 23,844 ครั้ง

หากท่านต้องยกกล่องหนักๆ ลองวิธีนี้ดูสิ จะช่วยให้เบากว่าเดิม
หากท่านต้องยกกล่องหนักๆ ลองวิธีนี้ดูสิ จะช่วยให้เบากว่าเดิม
เปิดอ่าน 14,464 ครั้ง

นโยบายการศึกษามาจากไหน-ทำไมถึงไม่สำเร็จ
นโยบายการศึกษามาจากไหน-ทำไมถึงไม่สำเร็จ
เปิดอ่าน 9,827 ครั้ง

การดูแล "มะยงชิด-มะปรางหวาน" เริ่มออกดอก
การดูแล "มะยงชิด-มะปรางหวาน" เริ่มออกดอก
เปิดอ่าน 4,249 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ