ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

บทความพิเศษ : การศึกษา 4.0 / ดร.โพยม จันทร์น้อย


บทความการศึกษา 14 มี.ค. 2560 เวลา 08:47 น. เปิดอ่าน : 119,507 ครั้ง

Advertisement

บทความพิเศษ : การศึกษา 4.0 / ดร.โพยม จันทร์น้อย

บทความพิเศษ : การศึกษา 4.0 / ดร.โพยม จันทร์น้อย

คนส่วนใหญ่ได้ยินคำว่า “ไทยแลนด์ 4.0” บ่อยมาก หลายคนก็ติดตามดูว่ามันคืออะไร และก็มีหลายหน่วยงานนำไปขยายความในองค์กรของตัวเองแล้วต่อด้วย 4.0 เช่น เกษตร 4.0 อุตสาหกรรมอาหาร 4.0 การท่องเที่ยว 4.0 อื่นๆ อีกหลาย 4.0 ดูเหมือนว่าอะไรๆ ก็ 4.0 มันทันสมัยดี การศึกษาก็เช่นเดียวกัน ไม่น้อยหน้ากว่าหน่วยงานอื่นๆ ก็ประกาศการศึกษา 4.0 หลายคนก็ให้ความเห็นไปต่างๆ นานาตามความรู้สึกของตนเอง
       
       ก่อนที่จะพูดถึงการศึกษา 4.0 ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าไทยแลนด์ 4.0 คืออะไร มีความเป็นมาอย่างไร ไทยแลนด์ 4.0 เป็นโมเดลในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ที่มีมาไม่น้อยกว่า 50 ปี โดยในปี พ.ศ. 2504 เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรก ยุคนั้นน่าจะเป็นไทยแลนด์ 1.0 สังคมเกษตรกรรมที่เน้นการเกษตรเป็นหลัก ซึ่งในสมัยนั้นจะมีเพลงลูกทุ่งที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชาวบ้านและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยให้ประชาชนรู้จักประกอบอาชีพด้านการเกษตร ดังเนื้อเพลง “พ.ศ. สองพันห้าร้อยสี่ ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม ชาวบ้านต่างมาชุมนุม มาประชุมที่บ้านผู้ใหญ่ลี ต่อไปนี้ผู้ใหญ่ลีจะขอกล่าวถึงเรื่องราวที่ได้ประชุมมา ทางการเขาสั่งมาว่า ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ด และสุกร” นับว่าเป็นความพยายามของรัฐบาลที่จะส่งเสริมให้ประชาชนมีรายได้ยุคไทยแลนด์ 1.0 เป็นยุคที่ยาวนานพอสมควร
       
       ต่อมาเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 2.0 ที่มุ่งเน้นอุตสาหกรรมเบา ที่โด่งดังมากคือ อุตสาหกรรมสิ่งทอ และก็มีบทเพลงฉันทนาที่รัก สะท้อนให้เห็นถึงในยุคนั้นดังเนื้อเพลง “ปิดไฟใส่กลอนจะเข้ามุ้งนอนคิดถึงใบหน้า นั่งเขียนจดหมายแล้วรีบทิ้งไปโรงงานทอผ้าถึงคนชื่อฉันทนาที่เคยสบตากันเป็นประจำ”
       
       ต่อมาเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 3.0 มุ่งสู่อุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น มีการเปิดนิคมอุตสากรรมมากมาย ต่างชาติเข้ามาลงทุนอย่างหลากหลาย อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 7 - 8% ต่อปี มีการค้นพบก๊าซธรรมชาติประกาศว่า เราจะเข้าสู่ประเทศโชติช่วงชัชวาล จนถึงถึงฟองสบู่แตก ถึงแม้จะมีการลงทุนจากต่างประเทศในเรื่องโรงงานอุตสากรรมหลากหลาย มีการจ้างแรงงานในประเทศมากมายก็ตาม แต่รายได้ของคนส่วนใหญ่ยังตกอยู่ในรายได้ปานกลาง มีความเหลื่อมลํ้าทางสังคม และรายได้สูง ประเทศไทยเป็นเพียงแค่รับจ้างในการผลิตเท่านั้น เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมพลาสติก อื่นๆ ที่เห็นชัดเจนที่สุด คืออุตสาหกรรมรถยนต์ เราเป็นแหล่งผลิตรถยนต์ส่งขายทั่วโลก แต่เราไม่มีรถยนต์ที่เป็นนวัตกรรมของคนไทยเอง ในขณะที่ประเทศไทยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 เกาหลีใต้ประเทศยังไม่สามารถกำหนดอนาคตของประเทศได้เลยว่าจะเดินไปทางใด เพราะอยู่ในภาวะสงคราม ประชาชนยากจน แต่ปัจจุบันเกาหลีใต้เป็นประเทศชั้นนำของเอเชีย มีนวัตกรรมเป็นของตนเอง ไม่ว่ารถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์ที่สามารถแข่งขันกับของอเมริกาได้อย่างภาคภูมิใจ
       
       การเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 เป็นการเข้าสู่ยุคที่ประเทศไทยต้องมีนวัตกรรมเป็นของตนเอง ไม่ต้องพึ่งจากต่างชาติ ซึ่งเป็นโจทย์ที่ท้ายทายสูงมากๆ ทำอย่างไรเราจะพัฒนานวัตกรรมเป็นของตนเองได้ทั้งๆ ที่เรามีทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศมากมาย เช่น ข้าว ยางพารา แร่ ผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ เราทำอย่างไรที่จะมีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเรื่องข้าวที่มากกว่าอาหารประจำวัน เราทำอย่างไรที่จะมีผลิตภัณฑ์ยางพารา นอกเหนือจากนํ้ายางพารา หรืออื่นๆ ที่เป็นนวัตกรรมของเรา เราเคยมีวิทยุ โทรทัศน์ยี่ห้อธานินท์ ซึ่งเป็นของคนไทยผลิตโดยคนไทย แต่เสียดายไม่ได้ต่อยอดและต้องปิดตัวเองไป ถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนต้องเข้ามาช่วยระดมความคิดในการพัฒนาประเทศให้เข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 ฉะนั้นแต่ละกระทรวงจึงมีสโลแกนของตัวเองต่อด้วย 4.0 กระทรวงศึกษาฯเองก็มีสโลแกน “การศึกษา 4.0” ส่วนรายละเอียดผู้เขียนเองก็ไม่เห็นแผนแม่บทว่าจะเดินอย่างไร
       
       การศึกษา 1.0 เป็นยุค พ.ศ. 2503 หรือเราเรียกว่า หลักสูตร 2503 (ซึ่งก่อนหน้านี้ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา ในปี พ.ศ. 2464 ส่วนใหญ่จะเป็นการเรียนตามตำรา ไม่ได้กำหนดเป็นหลักสูตร) เป็นยุคที่เน้นให้นักเรียนเกิดทักษะ 4 ด้าน คือ พุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และพลศึกษา การวัดผลวัดเป็นองค์รวม โดยตัดสินเป็นร้อยละ ใครสอบผ่านร้อยละ 50 ถือว่าผ่าน ตํ่ากว่าเป็นการสอบตกต้องเรียนซํ้าชั้น การสอนของครู เน้นการบรรยาย เป็นลักษณะบอกเล่า จดในกระดานหรือตามคำบอก ครูว่าอย่างไรนักเรียนจะเชื่อครูทั้งหมด นักเรียนไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ ได้ฟังครูอย่างเดียว หนังสือเรียนสำคัญที่สุด สื่อการสอนกระดาน ชอล์ค บัตรคำ รูปภาพ โครงสร้างเวลา 4 : 3 : 3 : 2 ประถมต้นเรียน 4 ปี ประถมปลายเรียน 3 ปี มัธยมต้นเรียน 3 ปี มัธยมปลายสายสามัญเรียน 2 ปี สายอาชีพเรียน 3 ปี หลักการ/แนวคิด สนองความต้องการของสังคม เป็นหลักสูตรแบบเน้นวิชา
       
       การศึกษา 2.0 เป็นยุค พ.ศ. 2521 หลังจากสังคมมีการเปลี่ยนแปลง ประชากรมากขึ้น จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนหลักสูตร เป็นการเปลี่ยนใหม่ทั้งระบบ ให้มีระดับประถมศึกษา 6 ปี ยกเลิกชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 ระดับมัธยมศึกษา 6 ปี ระดับมัธยมศึกษาใช้อักษรย่อว่า “ม.” ทั้งมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย การจัดการเรียนการสอนเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง มีวิชาเลือกมากมายนักเรียนสามารถเลือกเรียนตามความถนัดความสนใจ เริ่มมีสื่อการสอนที่เร้าใจ เช่น มีภาพสไลด์ มี วิดีโอ มีภาพยนตร์ ฯลฯ เป็นสื่อในการจัดการเรียนสอน การวัดประเมินผลเป็นการประเมินแยกส่วน หมายถึงประเมินเป็นรายวิชา สอบตกรายวิชาใดก็สามารถซ่อมในรายวิชานั้นๆ ไม่มีการเรียนซ้ำชั้น ข้อจำกัดของหลักสูตรการศึกษาพุทธศักราช 2521
       
       1. การกำหนดหลักสูตรไม่สามารถสะท้อนสภาพความต้องการของท้องถิ่น
       
       2. การจัดการเรียนการสอนทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยียังไม่สามารถผลักดันให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
       
       3. การนำหลักสูตรไปใช้ไม่สามารถสร้างพื้นฐานทางการคิดวิเคราะให้กับผู้เรียน
       
       4. การจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาต่างประเทศยังไม่สามารถสื่อสารและค้นคว้าหาความรู้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
       
       จากเหตุผลดังกล่าวจึงปรับปรุงหลักสูตรเป็นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544
       
       การศึกษา 3.0 เป็นยุค 2551 จากข้อจำกัดของหลักสูตรการศึกษาพุทธศักราช 2521 และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 และพบว่า มีความสับสนของผู้ปฏิบัติการในสถานศึกษา เป็นหลักสูตรเนื่อหาแน่นเกินไปเรียนทั้งวัน มีปัญหาในการเทียบโอน และปัญหาคุณภาพผู้เรียนในด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ จึงเปลี่ยนมาใช้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยเพิ่มสมรรถสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน มีการกำหนดตัวชี้วัดมาให้ เป็นการจัดหลักสูตรที่ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการเมือง ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการด้านต่างๆ ของโลกยุคปัจจุบัน มีศักยภาพพร้อมที่จะแข่งขัน และร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในเวทีโลก จุดหมายของหลักสูตร มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดีมีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้
       
       1. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยในการปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดมั่นปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
       
       2. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต
       
       3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
       
       4. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
       
       5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งบำเพ็ญประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
       
       การศึกษา 4.0 จากปัญหาต่างๆ ของประเทศไทย เช่น เศรษฐกิจล้มเหลว การเมืองล้มแล้ว สังคมล้มเหลว หรือทุกๆ ปัญหาที่ล้มเหลวต่างก็โทษการศึกษาล้มเหลว ไทยแลนด์ 4.0 เป้าหมายต้องการให้ประเทศไทยมีนวัตกรรมเป็นของตนเอง แต่หลักสูตรการศึกษาและการจัดการเรียนการสอนของครูตอบสนองเป้าหมายของไทยแลนด์ 4.0 แล้วหรือยัง ทั้งๆ ที่มีการเปลี่ยนและปรับหลักสูตรมาตลอดกว่า 50 ปี ถึงเวลาแล้วที่จะต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการศึกษาของประเทศ เพื่อตอบสนองการสร้างนวัตกรรมของประเทศ โดยกระทรวงศึกษาต้องเป็นผู้นำที่ต้องเดินพร้อมไปกับโรงเรียนที่เป็นหน่วยปฏิบัติโดยตรง ดังนี้
       
       1. ต้องกำหนดนโยบายหรือออกกฎกระทรวงนักเรียนต่อห้องต้องไม่เกิน 36 คน เพื่อให้เกิดประสิทธิการในการสอนอย่างจริงจัง ครูสามารถดูแลนักเรียนในการจัดกิจกรรมการสอนได้อย่างทั่วถึง จะออกข้อสอบอัตนัย ครูก็สามารถที่จะตรวจข้อสอบได้ในเวลาที่พอเหมาะ ไม่ใช่นักเรียนห้องละ 50 ครูดูแลไม่ทั่วถึง ใครไม่สนใจครูจำเป็นต้องปล่อย ปัจจุบันอัตราการเกิดของประชากรน้อยมาก นักเรียนก็ลดลงทุกโรงเรียน ฉะนั้น โรงเรียนสามารถรับนักเรียนได้อย่างเพียงพอ
       
       2. การจัดความพร้อมของโรงเรียน หมายถึงโรงเรียนทั้งประเทศอย่างน้อยในทุกตำบล หรืออำเภอ หรือจังหวัด ต้องมีความพร้อมเท่าเทียมกัน ทั้งสื่อ อุปกรณ์ ครู อาคารสถานที่ ต้องมีความพร้อมเท่ากัน ไม่ให้เกิดการเปรียบเทียบถึงความแตกต่าง
       
       3. หลักสูตรต้องมีการปรับปรุง อาจจะหลักสูตรรายวิชา มีการยกระดับวิชาคอมพิวเตอร์ วิชาเทคโนโลยี มาเป็นวิชาหลัก ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการงานอาชีพ การเรียนเป็นรายวิชาจะมีข้อดี คือสามารถจะเปลี่ยนรายวิชาได้ทุกปี เป็นวิชาที่โรงเรียนสามารถจัดให้นักเรียนเรียนวิชาที่ทันยุคทันสมัยได้เลย ไม่กำหนดตายตัว
       
       4. ต้องนำสะเต็มศึกษา (STEM EDUCATION) และ Active Learning เข้ามาจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน คำว่า “สะเต็ม” หรือ “STEM” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) หมายถึงองค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน การจัดการเรียนการสอนของไทยเรา ครูผู้สอนจะสอนแยกส่วน เช่น สอนเคมี ก็เคมีล้วนๆ ฟิสิกส์ ก็ฟิสิกส์ล้วนๆ หรือคณิตศาสตร์ก็คณิตศาสตร์ล้วนๆ ไม่เคยนำมาบูรณาการในชิ้นงาน หลักของวัตกรรมทั้งหมดเกิดจากการบูรณาการของคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ แล้วจึงเกิดนวัตกรรมจนกลายเป็นเทคโนโลยี ต่อมามีนำการนำเทคโนโลยีมาบูรณาการกับวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จึงเกิดนวัตกรรมใหม่ต่อยอดไปเรื่อยๆ ทั้งนี้ โดยใช้กระบวนการทางวิศวกรรมในการสร้างนวัตกรรม
       
       การสอนให้นักเรียนสร้างนวัตกรรมนั้น ต้องสอนให้นักเรียนรู้แบบโครงงาน หรือการสร้างชิ้นงาน โดยในโครงงานหรือชิ้นงานนั้น นักเรียนต้องตอบได้ว่ามีคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างไร ในอดีตการสร้างชิ้นงานของนักเรียน เราไม่เคยนำวิชา STEM เข้ามาบูรณาการ ตัวอย่างเช่น อดีตการหุงข้าวเป็นวิถีชีวิตประจำวัน แม่บอกให้กรอกข้าว 1 หรือ 2 กระป๋อง ใส่น้ำให้สูงจากข้าวสาร 1 ข้อ หรือแล้วแต่บางคนให้ท่วมหลังมือ การหุงข้าวใช้ไม้ฟืนหรือถ่าน หุงข้าวสุกไม่ดิบสามารถรับประทานได้เสร็จก็จบ แต่เราไม่เคยนำหลักคณิตศาสตร์เรื่องการตวง เรื่องปริมาตร หลักวิทยาศาสตร์ เรื่องความร้อน เข้ามาคิดในเรื่องการหุงข้าว ญี่ปุ่นนำหลักของ STEM มาใช้ในการหุงข้าว โดยใช้หลักของคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เช่น เรื่องของปริมาตร การตวง เรื่องของความร้อน เรื่องของเวลา จนสามารถสร้างหม้อหุงข้าวไฟฟ้าได้สำเร็จ และมีการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ เช่น กำหนดเวลาในการหุงข้าว การอุ่นข้าว การต้มข้าว ฯลฯ
       
       หรือขอยกตัวอย่างในชีวิตจริง คนไทยมีการปรุงอาหารต่างๆ มากมาย เช่น แกงบ้าง ทำขนมบ้าง บ้างคนทำอร่อย บางคนไม่อร่อย ขึ้นอยู่กับฝีมือ การปรุงอาหาร หรือขนม ก็ใช้ความเคยชินในการปรุง เช่น การเหยาะนํ้าปลา ใส่นํ้าตาล ใส่เกลือ เป็นฝีมือเฉพาะคน แต่ถ้าเรานำหลัก STEM เข้ามาจับ ก็จะทำเกิดแฟรนไชส์ (Franchise) เป็นของตนเอง ฉะนั้นหลักสูตรต้องกำหนดให้นักเรียนต้องมีโครงงาน หรือชิ้นงานที่ตอบโจทย์ STEM ได้ ครูผู้สอนในกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการงานอาชีพ ต้องมีความรู้ในนำ STEM มาบูรณาการในโครงงาน หรือชิ้นงานของนักเรียนได้ ส่วน Active Learning เป็นการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนลงมือปฏิบัติจริง สร้างชิ้นงานเป็นของตนเองได้จริง โดยงานเดี่ยวหรืองานกลุ่ม ซึ่งสอดคล้องกับ STEM ถ้าเป็นวิชาที่เป็นเนื้อหา นักเรียนสามารถที่จะสรุปนำเสนอผลงานของตนเองได้
       
       5. ต้องสร้างตัวชี้วัดระดับบุคคลในการประเมินผลการปฏิบัติงานของครู เพื่อจะทำให้ทราบจุดเด่นจุดด้อย ต้องพัฒนาครูเป็นรายบุคคล กระทรวงต้องการให้ครูเป็นอย่างไรก็กำหนดตัวชี้วัดมาประเมินในสิ่งที่ต้องการให้เป็น ปัจจุบันตอบไม่ได้ว่าครูแต่ละคนมีสิ่งที่จะต้องพัฒนาอะไรบ้าง จุดเด่นของครูมีอะไรบ้าง เช่น ต้องการให้ครูนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน ก็ต้องสร้างตัวชี้วัดเพื่อประเมินครูว่ามีการใช้ได้หรือเปล่า เช่น กระทรวงมีนโยบายอย่างไร นโยบายจะสำเร็จหรือไม่ต้องกำหนดตัวชี้วัดของนโยบายนั้นๆ ระดับโรงเรียน และระดับตัวบุคคลของแต่ละนโยบาย ถึงจะตอบโจทย์แห่งความสำเร็จนั้นได้
       
       ไทยแลนด์ 4.0 เป็นสิ่งที่ดี ถ้าเป็นไปตามโมเดลนี้ ประเทศจะต้องมีนวัตกรรมเป็นของตนเองอย่างแน่นนอน ฉะนั้น การศึกษา 4.0 เป็นส่วนหนึ่งของไทยแลนด์ 4.0 ที่จะนำพาไปสู่ความสำเร็จ จึงต้องอาศัยทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือ โดยเฉพาะครูต้องปรับการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM) และ Active Learning นำมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างจริงจัง ผู้บริหารโรงเรียนต้องเป็นผู้นำทางวิชาการ การปฏิรูปการศึกษาต้องเน้นที่ห้องเรียน ติดตามพฤติกรรมการสอนของครูโดยสร้างตัวชีวัดผลการปฏิบัติงาน โรงเรียนทุกโรงเรียนต้องมีมาตรฐานเดียวกัน ภายใน 10 ปี ประเทศไทยต้องมีนวัตกรรมเป็นของตนเองแน่นอน 

 

ขอบคุณที่มาเนื้อหาจาก MGR Online 12 มีนาคม 2560

 


บทความพิเศษ : การศึกษา 4.0 / ดร.โพยม จันทร์น้อยบทความพิเศษ:การศึกษา4.0ดร.โพยมจันทร์น้อย

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ปฏิรูปการศึกษา ?

ปฏิรูปการศึกษา ?


เปิดอ่าน 8,283 ครั้ง
โอเน็ต!ยัง โอเค?

โอเน็ต!ยัง โอเค?


เปิดอ่าน 9,034 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เทคนิคการจัดการชั้นเรียนด้วยโมเดล 3 C"s

เทคนิคการจัดการชั้นเรียนด้วยโมเดล 3 C"s

เปิดอ่าน 12,682 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ความคิดสร้างสรรค์ (1)
ความคิดสร้างสรรค์ (1)
เปิดอ่าน 8,322 ☕ คลิกอ่านเลย

Computing Science : วิชาบังคับสำหรับนักเรียน ป.1 ไทย
Computing Science : วิชาบังคับสำหรับนักเรียน ป.1 ไทย
เปิดอ่าน 26,107 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษา เรียนรู้จากผู้ประสบผลสำเร็จ : "เกาหลีใต้"
ปฏิรูปการศึกษา เรียนรู้จากผู้ประสบผลสำเร็จ : "เกาหลีใต้"
เปิดอ่าน 20,526 ☕ คลิกอ่านเลย

"ครู" คือ "ปูชนียบุคคล" หรือ "ผู้แจวเรือจ้าง"
"ครู" คือ "ปูชนียบุคคล" หรือ "ผู้แจวเรือจ้าง"
เปิดอ่าน 12,535 ☕ คลิกอ่านเลย

จะยกคุณภาพ..การศึกษา ต้องพัฒนา “ครู”
จะยกคุณภาพ..การศึกษา ต้องพัฒนา “ครู”
เปิดอ่าน 26,190 ☕ คลิกอ่านเลย

อาลัยการศึกษาไทย เก่งเจ๋งในกระดาษ
อาลัยการศึกษาไทย เก่งเจ๋งในกระดาษ
เปิดอ่าน 19,322 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

นักวิจัยเผย ผู้หญิงมากกว่าชาย เกือบเก้าแสนคน
นักวิจัยเผย ผู้หญิงมากกว่าชาย เกือบเก้าแสนคน
เปิดอ่าน 9,938 ครั้ง

ปรากฏการณ์ในโฟโตสเฟียร์
ปรากฏการณ์ในโฟโตสเฟียร์
เปิดอ่าน 13,645 ครั้ง

DIY วิธีทำหน้ากากอนามัยแบบมีช่องใส่แผ่นกรอง สามารถซักแล้วนำกลับมาใช้ได้ใหม่
DIY วิธีทำหน้ากากอนามัยแบบมีช่องใส่แผ่นกรอง สามารถซักแล้วนำกลับมาใช้ได้ใหม่
เปิดอ่าน 75,493 ครั้ง

"สมุยหอม หรือ หมุย" พืชสารพัดประโยชน์
"สมุยหอม หรือ หมุย" พืชสารพัดประโยชน์
เปิดอ่าน 82,747 ครั้ง

กรมอนามัย เผยวัยทำงานสุขภาพแย่ แนะกินถูกหลัก ออกกำลังกาย ลดเครียด
กรมอนามัย เผยวัยทำงานสุขภาพแย่ แนะกินถูกหลัก ออกกำลังกาย ลดเครียด
เปิดอ่าน 1,585 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 096-7158383

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ