ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

การเตรียมความพร้อมของกระทรวงศึกษาธิการ ก่อนเปิดภาคเรียน 1 กรกฎาคม 2563


ข่าวการศึกษา 10 พ.ค. 2563 เวลา 03:30 น. เปิดอ่าน : 10,821 ครั้ง
การเตรียมความพร้อมของกระทรวงศึกษาธิการ ก่อนเปิดภาคเรียน 1 กรกฎาคม 2563

Advertisement

❝ การแถลงข่าวของกระทรวงศึกษาธิการ ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2563 ณ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) โดยนางรักขณา ตัณฑวุฑโฒ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และรองโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ ❞
จากการที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันอังคารที่ 7 เมษายน 2563 มีมติรับทราบการเลื่อนเปิดเทอมจากวันที่ 16 พฤษภาคม เป็นวันที่ 1 กรกฎาคม 2563

กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เข้าใจดีถึงความกังวลและข้อสงสัยของทุกท่านต่อการเลื่อนเปิดเทอมและการจัดการเรียนการสอน ที่อาจส่งผลกระทบในหลายด้าน ทั้งต่อตัวเด็ก ผู้ปกครอง ไปจนถึงครูและโรงเรียน เพราะภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ที่ไม่มีใครเคยพบเจอมาก่อน จึงจำเป็นต้องวางแนวทางการจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ในทุกระดับชั้นและทุกประเภท ทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา การศึกษาเอกชน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาสำหรับผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งการเตรียมความพร้อมทักษะที่สำคัญในช่วงปิดเทอมให้แก่ผู้เรียน คือ ภาษาอังกฤษ และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น โค้ดดิ้ง

แนวนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ)

รมว.ศธ.ได้ชี้แจงต่อสังคมมาโดยตลอด เพราะตระหนักอยู่เสมอ ไม่ว่าสถานการณ์แวดล้อมจะเลวร้ายและรุนแรงแค่ไหน การเรียนรู้ที่เข้าถึงและมีคุณภาพสำหรับเด็กไทยทุกคนเป็นเป้าหมายสูงสุดของเรา ตามแนวคิด       
 
“การเรียนรู้นำการศึกษา”
โรงเรียนอาจหยุดได้”
แต่การเรียนรู้หยุดไม่ได้
 
จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำทุกวิถีทาง เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนสามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เท่าที่สภาพแวดล้อมจะอำนวย บนพื้นฐาน  6 ข้อ คือ
  1. จัดการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดของทุกคนที่เกี่ยวข้อง “การเปิดเทอม” หมายถึง การเรียนที่โรงเรียนหรือการเรียนที่บ้าน ทั้งนี้การตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับผลการประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
  2. อำนวยการให้นักเรียนทุกคน สามารถเข้าถึงการเรียนการสอนได้แม้จะไม่สามารถไปโรงเรียนได้    
  3. ใช้สิ่งที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การเสนอขอช่องดิจิทัล TV จาก กสทช. ทั้งหมด 17 ช่อง เพื่อให้นักเรียนทุกระดับชั้น สามารถเรียนผ่าน DLTV ได้ ทั้งนี้ ไม่มีการลงทุนเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ใด ๆ เพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น ซึ่ง กสทช.อนุมัติแล้วให้เริ่มออกอากาศ 16 พ.ค.นี้ เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน หรือถ้าสามารถกลับมาดำเนินการสอนได้ตามปกติก็ให้หยุดทดลองออกอากาศ แบ่งเป็นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 15 ช่อง เป็นของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จำนวน 1 ช่อง และเป็นของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จำนวน 1 ช่อง โดยให้ออกอากาศแบบความคมชัดปกติ (SD)
  4. ตัดสินใจนโยบายต่าง ๆ บนพื้นฐานของการสำรวจความต้องการทั้งจากนักเรียน ครู และโรงเรียน ไม่คิดเองเออเอง โดยให้การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเป็นที่ตั้ง และกระทรวงจะสนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่
  5. ปรับปฏิทินการศึกษาของไทย ให้เอื้อต่อการ “เรียนเพื่อรู้” ของเด็กมากขึ้น รวมทั้งมีการปรับตารางเรียนตามความเหมาะสม โดยเวลาที่ชดเชยจะคำนึงถึงภาระของทุกคนและการได้รับความรู้ครบตามช่วงวัยของเด็ก       
  6. บุคลากรทางการศึกษาทุกท่าน จะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และทำให้ท่านได้รับผลกระทบเชิงลบจากการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด         

 

เรื่องนี้ รมว.ศธ.ย้ำว่า การเลื่อนเปิดเทอม ในมุมหนึ่ง ก็เป็นการตัดสินใจเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แต่ในอีกมุมหนึ่ง ก็นับเป็นโอกาสและช่วงเวลาสำคัญในการปรับปรุงระบบการศึกษาของประเทศ ให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น เพื่อยกระดับการศึกษาไทย จึงได้ออกแบบการเรียนการสอนในช่วง COVID-19 โดยมีรายละเอียดในภาพรวม ดังนี้

  • รูปแบบการเรียนการสอนออกแบบให้สอดคล้องกับความปลอดภัยของพื้นที่ โดยมีการเรียนรู้แบบ onsite ในพื้นที่ที่มีความปลอดภัยสามารถไปโรงเรียนได้ ขณะที่พื้นที่ไม่ปลอดภัยจะมีการเรียนรู้หลักผ่านทางการ on-air ของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และมีการเรียนรู้เสริมผ่านระบบ online
  • นโยบายหลักที่นำมาใช้ คือ เพิ่มเวลาพัก ลดการประเมินและงดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็น โดยเน้นเรียนเฉพาะวิชากลุ่มสาระหลัก เพื่อให้นักเรียนผ่อนคลายลง ซึ่งนักเรียนมีเวลาพักในภาคเรียนที่ 1/2563 จำนวน 17 วัน และในภาคเรียนที่ 2/2563 จำนวน 37 วัน รวมทั้งสิ้น 54 วัน ฉะนั้นภาคเรียนที่ 1/2563 เรียนตั้งแต่ 1 ก.ค.-13 พ.ย.63 เป็นเวลา 93 วัน แล้วปิดภาคเรียน 17 วัน ส่วนภาคเรียนที่ 2/2563 เรียนตั้งแต่ 1 ธ.ค.63-9 เม.ย.64 เป็นเวลา 88 วัน แล้วปิดภาคเรียน 37 วัน ตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย.64 ซึ่งจะมีเวลาเรียนรวมทั้งสิ้น 181 วัน ส่วนเวลาที่ขาดหายไป 19 วัน จาก 200 วัน ให้แต่ละโรงเรียนสอนชดเชย ดังนั้น การเปิดเทอมปีการศึกษาหน้า จะกลับมาปกติในวันจันทร์ที่ 17 พ.ค.64
  • การเตรียมพร้อมในด้านระบบการเรียนรู้ทางไกลและระบบออนไลน์จะเริ่มทดสอบตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคมนี้เป็นต้นไป เพื่อเตรียมความพร้อมให้มากที่สุด ในกรณีที่วันที่ 1 กรกฎาคมนี้ เราไม่สามารถเปิดเทอมที่โรงเรียนได้
  • ศธ.จะเป็นผู้สนับสนุนการเรียนการสอนทางไกล ในสัดส่วน 80%เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนขั้นพื้นฐานได้ อีก 20% หรือมากกว่า ให้ทางโรงเรียนและคุณครูในแต่ละพื้นที่พิจารณาออกแบบตามความเหมาะสม
  • การเรียนผ่านการสอนทางไกล จะใช้ทีวิดิจิตอล และ DLTV เป็นหลัก ซึ่งได้รับการอนุเคราะห์สื่อจากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีดิจิทัลแพลตฟอร์มของกระทรวงศึกษาธิการ หรือ DEEP และการเรียนการสอนแบบโต้ตอบออนไลน์เป็นสื่อเสริม

  

แนวทางจัดการเรียนการสอน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 
ได้มีการกำหนดแนวทางการจัดการเรียนการสอนระบบทางไกล โดยแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ

 

 
      ระยะที่ 1 การเตรียมความพร้อม (7 เมษายน – 17 พฤษภาคม 2563) สำรวจความพร้อมในด้านอุปกรณ์การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ของนักเรียน ผู้ปกครอง ครู และระบบการบริหารจัดการการเรียนการสอน รวมถึงขออนุมัติใช้ช่องรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัยถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พร้อมขออนุมัติเผยแพร่การเรียนการสอนจากห้องเรียนต้นทาง ในระดับปฐมวัยถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของสถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) จากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดทำสื่อวีดิทัศน์การสอน โดยครูต้นแบบ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และรวบรวมสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ใน OBEC Content Center ชุดโปรแกรมและแพลตฟอร์มการเรียนรู้ครบวงจรของกระทรวงศึกษาธิการ เช่น Tutor ติวฟรี.com, e-Book เป็นต้น รวมถึงเตรียมโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบเครือข่าย เพื่อรองรับการให้บริการ แพลตฟอร์มการเรียนรู้ให้เชื่อมโยงกับระบบ Digital e-Learning ของกระทรวงศึกษาธิการ


        ระยะที่ 2 การทดลองจัดการเรียนการสอนทางไกล (18 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2563) จะทดลองจัดการเรียนการสอนทางไกล ในระดับปฐมวัยถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ผ่านช่องรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล โดยการเผยแพร่สัญญาณจากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (DLTV) ในระดับปฐมวัยเน้นกิจกรรมเตรียมความพร้อมเด็ก และระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ผ่านช่องรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลและระบบออนไลน์โดยครูต้นแบบ ด้วยเครื่องมือการเรียนรู้ตามความเหมาะสมและบริบทของสถานศึกษา รวมทั้งเปิดศูนย์รับฟังความคิดเห็นการเรียนการสอนทางไกล จากผู้ปกครอง ประชาชน และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางการปรับปรุงและพัฒนา และประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ ความเข้าใจ แนะนำช่องทางการเรียนทางไกลให้กับผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง


        ระยะที่ 3 การจัดการเรียนการสอน (1 กรกฎาคม 2563 – 30 เมษายน 2564) ได้วางแผนไว้สำหรับ 2 สถานการณ์ นั่นคือ สถานการณ์ที่ 1 กรณีที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ยังไม่คลี่คลาย จะจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัยถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ด้วยระบบทางไกลผ่าน DLTV และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้วยวีดิทัศน์การสอนโดยครูต้นแบบ และระบบออนไลน์ด้วยเครื่องมือการเรียนรู้ตามความเหมาะสมและบริบทของสถานศึกษา และสถานการณ์ที่ 2 กรณีที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid–19) คลี่คลาย จะจัดการเรียนการสอนปกติในโรงเรียน โดยให้เว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และมีแผนเตรียมการเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ โดยจะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน       


         ระยะที่ 4 การทดสอบและการศึกษาต่อ (1 เมษายน – 15 พฤษภาคม 2564) จะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบและคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ นั่นคือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เกี่ยวกับระบบคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (TCAS GAT PAT) และ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ เกี่ยวกับการทดสอบ O-net ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

 

สำหรับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาส ซึ่ง รมช.ศธ.(คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ดูแลรับผิดชอบ จัดทำ Platform ของ ศธ. เพื่อเป็นเวทีเชื่อม 176 หน่วยงาน และโยงคนพิการทั้งประเทศ ให้สามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา การพัฒนาตนเองได้มากขึ้น ตามแนวทาง“ปรับบ้านเป็นห้องเรียน เปลี่ยนพ่อแม่เป็นครู”
โดย Platform นี้จะสามารถทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเรียนรู้วิธีการดูแล พัฒนาผู้เรียนที่พิการ ตามแบบต่าง ๆ ต่อไปได้ ทั้งยังสามารถบรรจุสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ การให้คำปรึกษา แนะนำ และเรื่องอื่น ๆ ไปยังหน่วยงาน สถานศึกษาในสังกัด ศธ. ได้ด้วย

 

 

ทั้งนี้ Platform ของโรงเรียนที่จัดการศึกษาพิเศษ คือ เมื่อค้นหาเข้าไปก็จะทราบข้อมูลว่าจังหวัดนี้มีคนพิการประเภทใดบ้าง มีกี่คน บ้านอยู่ที่ไหน เป็นต้น โดยดำเนินการได้แล้ว 3 จังหวัด และจะขยายผลให้ครบทุกจังหวัด

ในขณะที่การส่งเสริมการเรียนรู้และการสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ และการเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) คุณหญิงกัลยาฯ ใช้แนวทางการพัฒนาครูในฐานะผู้นำการเรียนรู้ (Teacher as Lead Learner) มีการอบรมครูแล้วให้ครูกลับไปสอนนักเรียน มีการประเมินตั้งแต่ก่อนเริ่มโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ และเมื่อจบโครงการ

ซึ่งในช่วงเวลา 1 เทอมที่ผ่านมา พบว่าเด็กมีทัศนคติที่ดีขึ้น มีทักษะเพิ่มมากขึ้นในทุกกลุ่มโรงเรียน จึงจะขยายความร่วมมือกับ ELERNITY เพื่อขยายผลฝึกอบรมครูกว่า 10,000 โรงเรียน ตามแนวทางการพัฒนาครูในฐานะผู้นำการเรียนรู้ (Teacher as Lead Learner)

รูปแบบนี้มีข้อดีคือ ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเทคโนโลยีราคาแพง ก็สามารถสอนภาษาอังกฤษ และ Coding ได้ผลดีอย่างไม่แตกต่างกันมากนัก

ปฏิทินการรับนักเรียน สพฐ.

  • การรับนักเรียน โดยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รับสมัครทางออนไลน์ ระหว่างวันที่ 3-12 พฤษภาคม 2563
  • การสอบ/คัดเลือก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในวันที่ 6 มิถุนายน 2563 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในวันที่ 7 มิถุนายน 2563 และจับฉลาก (ถ้ามี) ในวันที่ 12 มิถุนายน 2563 โดยจัดสอบที่โรงเรียน มีการดำเนินการตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข เช่น จำนวนผู้สอบต่อห้อง การเว้นระยะห่างในการสอบ ฯลฯ
  • การประกาศผลสอบ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในวันที่ 10 มิถุนายน 2563 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในวันที่ 11 มิถุนายน 2563
  • การจัดหาสถานศึกษาและการรับรายงานตัว/มอบตัว ของนักเรียนทุกคน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในวันที่ 12-13 มิถุนายน 2563 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในวันที่ 14-15 มิถุนายน 2563

ฉะนั้น ในวันที่ 16 มิถุนายน 2563 เด็กทุกคนต้องมีที่เรียน เพื่อเตรียมตัวเปิดเรียนในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563

แนวทางจัดการเรียนการสอนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) 
ได้เตรียมการไว้สำหรับผู้เรียนทุกระดับ ทั้งระดับ ปวช. ปวส. และปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ โดยแบ่งเป็น 4 รูปแบบ

  1. จัดการเรียนผ่านเอกสารตำราเรียน  โดยให้ครูทำการสอนผ่านเอกสาร ตำราเรียน หนังสือเรียน และชีทต่าง ๆ ซึ่งเป็นรูปแบบพื้นฐาน (Basic) ที่ไม่ต้องเตรียมอะไรเพิ่มเติมมาก เนื่องจากมีเอกสารและหนังสือตำราเรียนแจกฟรีอยู่แล้ว ทั้งนี้ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน อาจแบ่งเป็นกลุ่มย่อยที่มีจำนวนคนไม่มาก สลับกันมาเรียน หรือใช้ช่องทางสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ Line ข้อความผ่านเครือข่ายออนไลน์ เป็นต้น รวมถึงการให้ครูไปพบผู้เรียนที่บ้านบ้างตามความเหมาะสมของแต่ละสถานศึกษา ซึ่งเป็นรูปแบบที่สามารถดำเนินการได้ทันที
  2. จัดการเรียนด้วยระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ถือเป็นการจัดการศึกษาแบบสากล เนื่องจากปัจจุบันผู้เรียนสามารถเข้าถึงช่องทางโทรทัศน์ได้มากกว่า 90% แล้ว โดย สอศ.จะจัดเนื้อหาให้ครอบคลุมทุกวิชา ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ขณะเดียวกันจะมีการเชื่อมโยงเนื้อหาไปยังช่องทางออนไลน์อื่นเพิ่มเติม เช่น FACEBOOK YOUTUBE ให้สามารถดูไปพร้อมกันได้ เพื่อให้เข้าถึงผู้เรียนให้มากที่สุด
  3. จัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์  ผ่านโปรแกรมฟรีที่ให้บริการ เช่น Zoom, Microsoft Team ซึ่งสถานศึกษาอาชีวะหลายแห่งทั้งของรัฐและเอกชน มีระบบและบทเรียนการสอนออนไลน์ที่พร้อมใช้อยู่บ้างแล้ว ก็สามารถดำเนินการต่อเนื่องได้ทันที และจะพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถแบ่งปันให้สถานศึกษาอื่น ๆ มาใช้งานร่วมกันได้ตามความเหมาะสม พร้อมทั้งจะผลักดันการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในแต่ละสถานศึกษาให้มากขึ้น เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้สมัยใหม่ในโลกดิจิทัล ไม่ใช่เฉพาะช่วงวิกฤต COVID-19 เท่านั้น         
  4. จัดการเรียนผ่านการสอนสด (Live)  ที่ผ่านมาอาชีวะยังขาดแคลนครูหลายสาขา เช่น สาขาช่างอากาศยาน ซึ่งต้องจ้างวิทยากรภายนอกมาสอน ดังนั้น จึงจะใช้โอกาสนี้ให้เกิดประโยชน์โดยถ่ายทอดการสอนของครูและวิทยากรชั้นนำในสาขาที่ขาดแคลน เพื่อให้ผู้เรียนจากวิทยาลัยอื่นได้เรียนไปพร้อม รวมทั้งจะพัฒนาให้สถานศึกษาอาชีวะที่มีความพร้อมเป็นต้นแบบการสอน เช่น วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง เป็นต้นแบบการสอนการบิน เป็นต้น       

การจัดการศึกษาระดับอาชีวศึกษา ยังมีความแตกต่างไปจากการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ มีภาคปฏิบัติ หรือฝึกประสบการณ์ หากในช่วงเวลาเปิดเรียนแล้ว ภาคทฤษฎียังไม่สามารถเปิดทำการสอนตามปกติได้ ในส่วนของภาคปฏิบัติยังคงสามารถจัดระเบียบการเข้าใช้ได้ตามปกติ โดยอาจจะแบ่งให้กลุ่มผู้เรียนมีจำนวนน้อยลง และเข้าเรียนตามรอบเวลา ให้สอดคล้องกับจำนวนผู้เรียนและความเหมาะสมของแต่ละสถานศึกษา

นอกจากนี้ ยังวางแผนพัฒนาครูอาชีวะของรัฐกว่า 30,000 คน และเอกชนกว่า 10,000 คน เพื่อให้เป็นครูพี่เลี้ยง ถ่ายทอดความรู้ไปยังครูเครือข่ายอาชีวศึกษาทุกคนต่อไปใน 3 ทักษะที่สำคัญ ได้แก่ ทักษะภาษาอังกฤษ ทักษะภาษาจีน และทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) ช่วงปิดเทอมนี้ด้วย

แนวทางจัดการเรียนการสอน ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)

รมช.ศธ. (กนกวรรณ วิลาวัลย์) ซึ่งดูแลรับผิดชอบการศึกษาเอกชน ได้มอบหมายให้ สช.จัดรูปแบบการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียนเอกชน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 มี 3 วิธี คือ

  1. เรียนในโรงเรียนปกติ ในพื้นที่ที่มีความพร้อม โดยจัดการเรียนการสอนตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข และให้มีระยะห่างของสังคม
  2. เรียนผ่านระบบทางไกล On Air  คือ DLTV ในระดับอนุบาล-ม.3 และผ่านทีวิดิจิตอล 17 ช่อง โดย สพฐ.ผลิตคลิปทุกกลุ่มสาระทุกระดับชั้น 
  3. ระบบออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต

ในช่วงปิดเทอม สช.ได้ร่วมกับสถานศึกษาเอกชน 5 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียนกรุงเทพวิทยาการคอมพิวเตอร์ โรงเรียนมัธยมยานากาวา โรงเรียนวรรัตน์ศึกษา และสถาบัน 168 ติวเตอร์ออนไลน์ จัดการศึกษาออนไลน์ นักเรียนทุกคนได้เข้าถึงการศึกษาออนไลน์ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างทั่วถึง นักเรียนสามารถเรียนฟรีที่บ้าน ปลอดภัย และได้ความรู้

รูปแบบการสอน จะมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ไปจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งจะเป็นการสอนทั้งไลฟ์สด และบันทึกเทปการสอน โดยมีครูโรงเรียนดังและติวเตอร์ที่มีชื่อเสียงเข้ามาร่วมสอนออนไลน์ในครั้งนี้

โดยนักเรียนสามารถเข้าใช้บริการเว็บไซต์ ศูนย์การเรียนรู้ด้วยระบบดิจิทัล สช. ได้จากเว็บไซต์ สช. (www.opec.go.th) จากนั้นเลือกโรงเรียนต้นทางที่ให้บริการ กรอกข้อมูลพื้นฐานตามที่ระบบร้องขอ ก็สามารถเริ่มการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online) ได้ทันที โดยโรงเรียนเอกชนสามารถใช้ระบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online) ควบคู่ไปกับการเรียนการสอนแบบปกติได้

นอกจากนี้ สช.ยังได้ขยายความร่วมมือกับพันธมิตร 8 แห่ง คือ บริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท เจเนซิส มีเดียคอม จำกัด, อมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์, ไอดี ไดร์ฟ, สสวท., สํานักพิมพ์วัฒนาพานิช จํากัด,  บริษัท ดนตรีและศิลปะซิมโฟนี่ จํากัด รวมทั้งโรงเรียนทิวไผ่งามและนานาชาติ แคนาเดียน ประเทศไทย  เพื่อนำแพลตฟอร์มและเนื้อหาบทเรียนออนไลน์ที่ทันสมัยและครอบคลุมการเรียนทุกกลุ่มสาระวิชา มาใช้ในการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียนเอกชนทั่วประเทศ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

แนวทางจัดการเรียนการสอน ของสำนักงาน กศน.
รมช.ศธ. (กนกวรรณ วิลาวัลย์) ซึ่งดูแลรับผิดชอบสำนักงาน กศน. กำหนดแนวทางไว้ ดังนี้

  1. ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา (ETV) เป็นหลักในการผลิตรายการโทรทัศน์และวิทยุเพื่อการศึกษา เพื่อตอบโจทย์การจัดศึกษาตลอดชีวิต สำหรับผู้เรียนทุกช่วงวัย ทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักสูตร และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อเสริมทักษะต่าง ๆ สำหรับผู้เรียนทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็นรายการ ETV ติวเข้มออนไลน์ โดยได้คัดสรรครูที่มากความสามารถและติวเตอร์ระดับประเทศ มาสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนให้ความรู้ในทุกสาระวิชา รายการภาษาเพื่ออาชีพ รายการเพื่อผู้สูงอายุ รายการเสริมทักษะสำหรับผู้พิการ รายการทักษะอาชีพดิจิทัล เป็นต้น โดยได้คัดสรรส่งตรงถึงบ้าน ผ่านทางสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) รวมทั้งผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ ETV ด้วย
  2. สถาบันการศึกษาทางไกล ที่มีบทบาทหน้าที่ในการจัดและส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาต่อเนื่องด้วยวิธีทางไกล วางแผน พัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่น และช่องทางอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้มีความน่าสนใจ เพื่ออำนวยความสะดวกและง่ายต่อการเรียนรู้ เพราะเรามีเป้าหมายที่จะให้ประชาชนได้เข้าถึงการศึกษาอย่างทั่วถึง

นางรักขณาฯ กล่าวด้วยว่า รมว.ศธ. “ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ” ฝากถึงผู้ปกครองว่าเด็ก ๆ ที่อยู่ในระบบการศึกษา ล้วนแล้วแต่เป็นลูกและหลานของพวกเรา เป็นอนาคตของประเทศทั้งสิ้น เราจะพยายามอย่างสุดความสามารถ ให้ผ่านช่วงวิกฤตนี้ไปได้อย่างราบรื่นที่สุด มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยคำนึงผลประโยชน์ระยะยาว ควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาระยะสั้น โดยระบบการศึกษาที่ดีไม่ควรทำให้เด็กมีความรู้ ทักษะ และความสามารถเท่านั้น แต่จะต้องสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยความร่วมมือร่วมใจกัน ที่จะก้าวเดินไปในทิศทางเดียวกัน ขอเพียงพวกเราทุกฝ่ายสนับสนุนซึ่งกันและกัน เราจะผ่านอุปสรรคเหล่านี้ไปได้อย่างแน่นอน ขอบคุณทุกท่าน ที่ช่วยกันสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีให้กับการศึกษาไทย

 

ที่มา เว็บไซต์รัฐบาลไทย


การเตรียมความพร้อมของกระทรวงศึกษาธิการ ก่อนเปิดภาคเรียน 1 กรกฎาคม 2563การเตรียมความพร้อมของกระทรวงศึกษาธิการก่อนเปิดภาคเรียน1กรกฎาคม2563

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 2416 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม)

ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 2416 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม)

เปิดอ่าน 9,328 ☕ 11 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป
ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป
เปิดอ่าน 170 ☕ 18 เม.ย. 2567

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)
สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)
เปิดอ่าน 228 ☕ 18 เม.ย. 2567

ก.ค.ศ. จับมือ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบผลงานวิชาการครูขอเลื่อนวิทยฐานะ
ก.ค.ศ. จับมือ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบผลงานวิชาการครูขอเลื่อนวิทยฐานะ
เปิดอ่าน 223 ☕ 18 เม.ย. 2567

สพฐ. แจงชัดให้อิสระโรงเรียนซื้อหนังสือ เน้นย้ำดำเนินการตามแนวทางการจัดซื้ออย่างเคร่งครัด
สพฐ. แจงชัดให้อิสระโรงเรียนซื้อหนังสือ เน้นย้ำดำเนินการตามแนวทางการจัดซื้ออย่างเคร่งครัด
เปิดอ่าน 546 ☕ 17 เม.ย. 2567

การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 1,774 ☕ 15 เม.ย. 2567

OECD ห่วงการศึกษาได้รับผลกระทบจาก AI
OECD ห่วงการศึกษาได้รับผลกระทบจาก AI
เปิดอ่าน 886 ☕ 15 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ส่อง 10 เทรนด์เทคโนโลยีด้านเฮลท์แคร์ ปี 2023
ส่อง 10 เทรนด์เทคโนโลยีด้านเฮลท์แคร์ ปี 2023
เปิดอ่าน 1,383 ครั้ง

"ยาเสียสาว" คืออะไร? ต้องป้องกันตัวอย่างไร?
"ยาเสียสาว" คืออะไร? ต้องป้องกันตัวอย่างไร?
เปิดอ่าน 3,489 ครั้ง

1 กรกฎาคม วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ
1 กรกฎาคม วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ
เปิดอ่าน 35,196 ครั้ง

ปฏิรูปการศึกษาสิงคโปร์
ปฏิรูปการศึกษาสิงคโปร์
เปิดอ่าน 9,368 ครั้ง

"กูเกิล"เผยสุดยอดคำค้นปี 2558 "เชือกวิเศษ" "รักนะเป็ดโง่" ติดอันดับดาวรุ่งพุ่งแรง
"กูเกิล"เผยสุดยอดคำค้นปี 2558 "เชือกวิเศษ" "รักนะเป็ดโง่" ติดอันดับดาวรุ่งพุ่งแรง
เปิดอ่าน 9,551 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ