หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
รัชนี คุณานุวัฒน์
จากจังหวัด ยโสธร

...ลีลา..ลีลาศ...
โพสต์เมื่อวันที่ : 3 มิ.ย. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6712 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(75.88%-68 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

                                                                 

 ...ไม่ว่าคุณจะทำอะไรอยู่ก็ตาม...วันนี้นึกอยากจะชวนคุณมาโชว์ลีลาลีลาศ กัน      สักหน่อย...ในฐานะดาราเท้าไฟเจ้าเก่า...หุ..หุ...แต่ก่อนจะโชว์ลีลา ขอเกริ่นถึงความเป็นมาของลีลาศก่อนนะคะ....

ประวัติความเป็นมาของลีลาศ

การเต้นรำพื้นเมืองในฉบับที่เรียกว่าลีลาศ นี้มีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับการเต้นรำ   พื้นเมือง (Folk Dance) และการเต้นบัลเลย์ (Ballet) เป็นอย่างยิ่ง ในที่นี้จะแบ่งประวัติความเป็นมาหรือพัฒนาการของลีลาศออกเป็น 2 สมัย คือ สมัยเก่าและสมัยใหม่

สมัยเก่า

ความต้องการการเต้นรำเป็นหนึ่งในสัญชาตญาณของมนุษย์ ถึงกับมีการกล่าวคำว่าการเต้นรำนั้นเก่าแก่และมีมาก่อนสิ่งอื่นใด ยกเว้นการดื่มกินและความรักเป็นความจริงที่ว่าอารมณ์เป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหวขึ้น และความต้องการอันเป็นสัญชาตญาณอันเก่าแก่นี้ก็ยังคงมีอยู่ตลอดมาไม่เปลี่ยนแปลง แม้ว่าอารยธรรม ความเจริญ และสภาพแวดล้อมต่างๆ จะสอนให้มนุษย์รู้จักระงับอารมณ์ความต้องการตามธรรมชาติก็ตาม ประกอบกับการเกิดจังหวะดนตรีต่างๆ ที่ได้นำมาผสมผสานเข้ากับการเคลื่อนไหวร่างกายแล้ว การเต้นรำจึงได้เกอดขึ้น แล้วจึงอาจสรุปได้ว่า อารมณ์และจังหวะดนตรีทำให้เกิดการเต้นรำขึ้น

การเต้นรำที่มีรูปแบบที่แน่นอนเกิดขึ้นในช่วงกลาง คริสต์ศตวรรษที่ 17 หลังจากที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้ก่อตั้งราชบัณฑิตสภาการดนตรีและการเต้นรำขึ้น (Académie Royale de Musique et de Danse) โดยบรรดาสมาชิกราชบัณฑิตยสภาฯ ได้กำหนดตำแหน่งการวางเท้าทั้ง 5ก้าวในการเต้นรำแบบแซงปาสในขณะเดียวกันได้มีการกำหนดกฎระเบียบที่เคร่งครัดในการเต้นรำทุกประเภทขึ้นเป็นครั้งแรก ในช่วงเวลานี้เป็นช่วงความรุ่งเรือของการเต้นรำแบบ มินูเอ และกาวอตเต้ มินูเอซึ่งแต่เดิมเป็นการเต้นรำพื้นเมืองของชาวปัวตูได้เข้ามาในปารีสในปี ค.. 1650 และต่อมาได้มีการใส่ทำนองดนตรีโดย หลุยลิ และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงนำเข้ามาใช้เต้นรำในที่สาธารณชน จึงอาจกล่าวได้ง่า ได้มีการควบคุมการเต้นรำแบบบอลรูมตั้งแต่นั้นมาจนกระทั่งสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 18

สมัยใหม่

การเต้นรำที่จัดอยู่ในช่วงสมัยใหม่เริ่มตั้งแต่ปี ค.. 1812 เมื่อมีการนำการจับคู่เต้นรำแบบใหม่ คือ ชาวจับมือและโอบเอวคู่เต้นรำ (Modern Hold) มาใช้กับการเต้นรำจังหวะวอลซ์ (Waltz) ซึ่งในขณะนั้นถูกต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายศาสนจักรโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้ปกครอง แต่ในที่สุดสังคมก็ยอมรับการเต้นรำแบบใหม่นี้ เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ (Alexander) แห่งรัสเซียได้เต้นรำจังหวะวอลซ์ที่อัลแมค ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับผู้ที่เกียรติยศชั้นสูง

ในประเทศสหรัฐอเมริกา ปี ค.. 1960 ได้มีการเต้นรำจังหวะใหม่ๆ เกิดขึ้น โดยพวกอเมริกันนิโกร คือ จังหวะทวิสต์ (Twist) และจังหวะ ฮัสเซิ่ล (Hustle) ซึ่งได้รับความนิยมไปทั่วโลกและต่อมาในปี ค.. 1970 เกิดจังหวะการเต้นรำที่เรียกว่า ดิสโก้(Disco Dancing) ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นจังหวะที่ผู้เต้นมีอิสระในการเคลื่อนไหวอย่างมาก และยังมีการเต้นรำแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นอีกหลายจังหวะ เช่น แฟลชแดนซ์ (Flash Dance) , เบรกแดนซ์ (Break Dance)และแรพ (Rap) เป็นต้น ซึ่งมักมีการกำเนิดจากพวกอเมริกันนิโกร นอกจากนั้นยังมีการเต้นรำโดยใช้ท่าการบริหารร่างกายประกอบจังหวะดนตรีที่เรียกว่า แอโรบิกแดนซ์ (Aerobic Dance) ซึ่งยังคงได้รับความนิยมมากจนถึงปัจจุบันนี้ การเต้นรำในแบบและจังหวะต่างๆ เหล่านี้ไม่จัดอยู่ในประเภทของการลีลาศ

 

ประวัติการลีลาศของประเทศไทย

ไม่มีหลักฐานยืนยันได้แน่ชัดว่าการลีลาศในประเทศไทยเกิดขึ้นในสมัยใด สันนิษฐานว่าชาวต่างชาติได้นำมาเผยแพร่ในรัชสมัยของพรบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จุลศักราช 1226จากบันทึกของแหม่มแอนนาทำให้มีหลักฐานเชื่อได้ว่า คนไทยลีลาศเป็นมาตั้งแต่สมัยพระองค์ และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงรบการยกย่องให้เป็นนักลีลาศคนแรกของไทย ตามบันทึกกล่าวว่า แหม่มแอนนาพยายามสอนพระองค์ท่านให้รู้จักวิธีการเต้นรำแบบสุภาพซึ่งเป็นที่นิยมของชาวตะวันตก โดยบอกว่าจังหวะวอลซ์นั้นหรูมาก นิยมเต้นกันในวังของประเทศในแถบยุโรป พร้อมกับแสดงท่าทางการเต้น พระองค์ท่านกลับสอนว่าใกล้เกินไป แขนต้องวางให้ถูกแล้ว พระองค์ท่านก็เต้นทำให้แหม่มแอนนาประหลาดใจ จึงไม่สามารถรู้ได้ว่าใครเป็นผู้สอนพระองค์ จึงได้สันนิษฐานกันว่า พระองค์ท่านคงจะศึกษาจากตำราด้วยพระองค์เอง

ปัจจุบันลีลาศได้รับการรับรองให้เป็นกีฬาจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee = IOC ) อย่างเป็นทางการมรการประชุมครั้งที่ 106 วันที่ 4 กันยายน พ.. 2540ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำหรับในประเทศไทยคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในสมัยที่มีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการ ได้มีมติรับรองลีลาศเป็นการกีฬาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ..2541 จัดเป็นกีฬาลำดับที่ 45 ของการกีฬาแห่งประเทศไทย และยังได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาลีลาศ ( สาธิต ) ขึ้นเป็นครั้งแรกในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกม ครั้งที่ 13 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ณ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 6-20 ธันวาคม พ..2541

 

ประเภทของลีลาศ

การลีลาศตามหลักมาตรฐานสากล หรือการเต้นรำแบบบอลรูม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. ประเภทบอลรูม หรือโมเดิร์น หรือสแตนดาร์ด (Ballroom or Modern or Standard)

การลีลาศประเภทนี้จะมีลักษณะการเต้นและท่วงทำนองดนตรีที่เต็มไปด้วยความสุภาพ นุ่มนวล อ่อนหวาน สง่างาม และเฉียบขาด ลำตัวของผู้ลีลาศจะตั้งตรงผึ่งผาย ขณะก้าวนิยมลากเท้าสัมผัสไปกับพื้น จังหวะที่จัดอยู่ในการเต้นรำประเภทนี้มี 5 จังหวะ คือ

1.1 ควิกสเตป (Quick Step)

1.2 วอลซ์ (Waltz)

1.3 ควิกวอลซ์ หรือเวียนนิสวอลซ์ (Quick Waltz or Viennese Waltz)

1.4 สโลว์ฟอกซ์ทรอต (Slow Foxtrot)

1.5 แทงโก้ (Tango)

2. ประเภทละตินอเมริกัน (Latin American)

การลีลาศประเภทนี้จะมีลักษณะการเต้นที่คล่องแคล่ว ปราดเปรียวกว่าประเภทบอลรูม ส่วนใหญ่จะใช้สะโพก เอว ขา และข้อเท้าเป็นส่วนใหญ่ ท่วงทำนองดนตรี และจังหวะจะเร้าใจและสนุกสนานร่าเริง จังหวะที่จัดอยู่ในการเต้นรำนี้มี 5 จังหวะ คือ

2.1 คิวบัน รัมบ้า (Cuban Rumba)

2.2 ชา ชา ช่า (Cha Cha Cha)

2.3 แซมบ้า (Samba)

2.4 ไจฟว์ (Jive)

2.5 พาโซโดเบล้ หรือพาโซโดเบิ้ล (Paso Doble)

สำหรับการลีลาศในประเทศไทยนั้น ยังมีการเต้นรำที่จัดอยู่ในประเภทเบ็ดเตล็ด (Pop and Social Dance) อีกหนึ่งประเภท ซึ่งจังหวะที่นิยมลีลาศกัน ได้แก่ จังหวะบีกิน (Beguine) อเมริกัน รัมบ้า (American Rumba) กัวราช่า (Guaracha) ออฟบีท (Off-Beat) ตะลุง เทมโป้ (Taloong Tempo) และร็อค แอนด์ โรลล์ (Rock and Roll) เป็นต้น

 

ประโยชน์ของลีลาศ

ลีลาศเป็นกิจกรรมการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (Aerobic Exercise) ชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งศาสตราจารย์โจเซฟ คูล (Joseph Keull) นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬากล่าวถึงผลของการลีลาศที่มีต่อร่างกายว่า ทำให้ลดความตึงเครียดทางร่างกาย มี ความอดทนความเร็ว และการเคลื่อนไหวที่คล่องแคล่วขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง การทรงตัวดีขึ้น ระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิตมีประสอทธิภาพดีขึ้น ระบบเผาผลาญในร่างกาย ระบบขับถ่ายดีขึ้น ช่วยชะลอความเสื่อมของอวัยวะ และทำให้จิตใจแจ่มใสเบิกบาน จะเห็นว่าลีลาศนอกจากจะช่วยผ่อนคลายความเครียดได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังช่วยพัฒนาด้านร่างกายและจิตใจ ได้เป็นอย่างดี จึงอาจสรุปประโยชน์ของการลีลาศได้ดังนี้

1. ทำให้มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ และมีสมรรถภาพทางกายดีขึ้น

2. ช่วยพัฒนาทักษะทางกลไก (Motor Skill) ให้ดียิ่งขึ้น

3. ทำให้มีบุคลิกภาพในด้านการเคลื่อนไหวที่ดูสง่างามยิ่งขึ้น

4. ช่วยผ่อยคลายความเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ

5. ทำให้มีชีวิตยืนยาว และปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข

6. ส่งเสริมให้รู้จักการเข้าสังคม รู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยดี ทำให้มีเพื่อนและสมาชิกเพิ่มมากขึ้น

7. ส่งเสริมให้มีความเชื่อมั่นในตนเองและกล้าแสดงออกในทางสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม

8. ส่งเสริมให้รู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

         9. เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี

                                                                        

                                               

 

ขอบคุณที่มาข้อมูล

                                                                        


                                                               

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง ...ลีลา..ลีลาศ...
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

รัชนี คุณานุวัฒน์
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
รัชนี คุณานุวัฒน์..