ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รายงานการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด การใช้ภาษามหาสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้นประถมศึ

ชื่อเรื่อง รายงานการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด การใช้ภาษามหาสนุก

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ชื่อผู้รายงาน นางสาวธารี กอเด็ม

โรงเรียน บ้านหัวถนน อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

ปีการศึกษา 2557 ภาคเรียนที่ 1

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้าง และพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด การใช้ภาษามหาสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 2) ศึกษาเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์การอ่านในด้านการใช้ภาษาก่อน และหลังการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด การใช้ภาษามหาสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด การใช้ภาษามหาสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

กลุ่มประชากรที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน บ้านหัวถนน อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ คู่มือครูการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด การใช้ภาษามหาสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีแผนจัดการเรียนรู้ 32 แผน รวมเวลาทั้งหมด 32 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 ข้อ เป็นแบบปรนัย 3 ตัวเลือก หนังสือส่งเสริมการอ่านชุด การใช้ภาษามหาสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 เล่ม และแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 1 ฉบับ ผลการทดลองประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่านชุด การใช้ภาษามหาสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน

การศึกษาปรากฏผลดังนี้ (1) หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด การใช้ภาษามหาสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 87.39 / 85.11 (2) ผลสัมฤทธิ์การอ่านในด้านการใช้ภาษา พัฒนาขึ้นร้อยละ 41.11 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.81 และ (3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือส่งเสริมการอ่าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.89 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.39

ชื่อเรื่อง กระบวนการเรียนรู้พัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้วิจัย นางสาวธารี กอเด็ม

ตำแหน่ง ครูโรงเรียนบ้านหัวถนน

ปีที่วิจัย ปี พ.ศ. 2555-2557

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาทักษะการสื่อสาร

2. เพื่อออกแบบรูปแบบกระบวนการเรียนรู้พัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)

3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบกระบวนการเรียนรู้พัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)

4. เพื่อประเมินและพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้พัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)

กลุ่มเป้าหมาย

1. การศึกษาสภาพปัญหาทักษะการสื่อสาร

1.1 ครูวิชาการของโรงเรียน ในเครือข่ายโรงเรียนปริก อำเภอสะเดา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 7 คน

1.2 ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียน ในเครือข่ายโรงเรียนปริก อำเภอสะเดา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำนวน 7 คน

1.3 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับผลการประเมินทักษะการสื่อสารได้แก่

1.3.1 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนบ้านหัวถนน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ปีการศึกษา 2555

1.3.2 รายงานการพัฒนาจุดเน้น ของโรงเรียนบ้านหัวถนน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ปีการศึกษา 2555

1.3.3 รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของโรงเรียนบ้านหัวถนน สังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ปีการศึกษา 2555

1.3.4 รายงานผลการสอบ NT ของโรงเรียนบ้านหัวถนน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ปีการศึกษา 2555

1.3.5 รายงานผลการประเมินระบบประกันคุณภาพภายนอกรอบสามของโรงเรียนบ้านหัวถนน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จากสำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา

2. การออกแบบรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)

ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ผู้วิจัยได้ดำเนินการ

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการตรวจสอบและยืนยันรูปแบบกระบวนการเรียนรู้พัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)ได้แก่ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ด้านหลักสูตรและเนื้อหา ด้านการสร้างนวัตกรรม ด้านการวัดผลประเมินผล และด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้ที่มีวิทยฐานะระดับเชี่ยวชาญขึ้นไปหรือมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก และผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่

2.1 นางสาวศศิกาญจน์ รัตนศรี ข้าราชการบำนาญ อดีตศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ ด้านการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2

2.2 นางพรรณี ขาวมะลิ ข้าราชการบำนาญ อดีตศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ ด้านการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2

2.3 ดร. เดชกุล มัทวานุกูล อาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ด้านหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล

2.4 นางจิรฐา แซ่ค่ง ข้าราชการครู วิทยฐานะเชี่ยวชาญ ด้านนวัตกรรม กระบวนการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านคลองแงะ (ชาติบุณยวิทยาคาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3

2.5 นายบัญญัติ อัตมณีย์ ข้าราชการบำนาญ ปราชญ์ชาวบ้าน

3. การทดลองใช้รูปแบบกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)

3.1 กลุ่มทดลองแบบเดี่ยว (1:1) เป็นการทดลองโดยครู 1 คน ต่อเด็ก 1 คน คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนบ้านหัวถนน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สงขลา เขต 3 ปีการศึกษา 2556 ภาคเรียนที่ 1 ซึ่งเป็นนักเรียนที่เรียนอ่อน จำนวน 1 คน นักเรียนที่เรียนปานกลาง จำนวน 1 คน และนักเรียนที่เรียนเก่ง จำนวน 1 คน รวมทั้งหมด 3 คน

3.2 กลุ่มทดลองแบบกลุ่ม (1:10) เป็นการทดลอง ครู 1 คน ต่อเด็ก 6-12 คน คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนบ้านหัวถนน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สงขลา เขต 3 ปีการศึกษา 2556 ภาคเรียนที่ 2 ซึ่งเป็นนักเรียนที่เรียนอ่อน จำนวน 3 คน นักเรียนที่เรียนปานกลาง จำนวน 3 คน และนักเรียนที่เรียนเก่ง จำนวน 3 คน รวมทั้งหมด 9 คน

3.3 กลุ่มทดลองแบบกลุ่ม (1:100) เป็นการทดลอง ครู 1 คน กับเด็กทั้งชั้น 30-40 คน คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนชุมชนบ้านปาดัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สงขลา เขต 3 ปีการศึกษา 2556 ภาคเรียนที่ 2 ซึ่งเป็นนักเรียนที่เรียนอ่อน เรียนปานกลางและเรียนเก่งคละกัน จำนวน 33 คน

4. การประเมินผลและพัฒนาการใช้รูปแบบกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินและพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญา ท้องถิ่น (Local wisdom) คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนบ้านหัวถนน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลาเขต 3 ปีการศึกษา 2557 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 15 คน

เครื่องมือ

1. การศึกษาสภาพปัญหาทักษะการสื่อสาร

1.1 แบบสอบถามปัญหาทักษะการสื่อสาร

1.2 แบบสังเคราะห์เอกสารเรื่องสภาพปัญหาทักษะการสื่อสาร

1.3 แบบสรุปสภาพปัญหาทักษะการสื่อสาร

2. การออกแบบรูปแบบกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)

ตรวจสอบความเหมาะสมและ ความเป็นไป ได้ของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ

2.1 รูปแบบกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)

2.3 คู่มือการใช้กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)

2.4 หนังสือส่งเสริมทักษะการสื่อสาร ชุด ตำนานท้องถิ่น

3. การทดลองใช้รูปแบบกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)

3.1 คู่มือการใช้กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)

3.2 หนังสือส่งเสริมทักษะการสื่อสาร ชุด ตำนานท้องถิ่น

4. การประเมินผลและพัฒนาการใช้รูปแบบกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)

4.1 คู่มือการใช้กระบวนการเรียนรู้พัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) กลุ่มสาระภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

4.2 หนังสือส่งเสริมทักษะการสื่อสาร ชุด ตำนานท้องถิ่น

4.3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

4.4 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบกระบวนการเรียนรู้พัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)

ผลการวิจัย

1. การศึกษาสภาพปัญหาทักษะการสื่อสาร

ด้านทักษะการฟัง การดู พบว่า นักเรียนขาดความคงทนในการฟัง ฟังและดูแล้ว จับใจความไม่ได้ แสดงความคิดเห็นไม่ได้ ด้านทักษะการพูดพบว่า นักเรียนพูดแสดงความต้องการไม่ได้ ขาดทักษะการพูดในสถานการณ์ต่างๆ ขาดทักษะการพูดแสดงความคิดเห็น ด้านทักษะ การอ่านพบว่า นักเรียนขาดทักษะการอ่านจับใจความ การคิดวิเคราะห์ ขาดทักษะการอ่าน สรุปใจความสำคัญ ด้านทักษะการเขียนพบว่า นักเรียนขาดทักษะการเขียนสื่อความ ขาดทักษะการเขียนสรุปความ ขาดทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็น และขาดทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการ

2. การออกแบบรูปแบบกระบวนการเรียนรู้พัฒนาทักษะการสื่อสาร โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไป ได้ของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ

2.1 รูปแบบกระบวนการเรียนรู้พัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) ผลการประเมินความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด

2.3 คู่มือการใช้กระบวนการเรียนรู้พัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) ผลการประเมินความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด

2.4 หนังสือส่งเสริมทักษะการสื่อสาร ชุด ตำนานท้องถิ่น ผลการประเมิน ความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด

3. การทดลองใช้รูปแบบกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)

ประสิทธิภาพของรูปแบบกระบวนการเรียนรู้พัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) มีค่า 83.88 / 84.43

4. การประเมินผลและพัฒนาการใช้รูปแบบกระบวนการเรียนรู้พัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom)

4.1 ผลการพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการเรียนรู้พัฒนาทักษะการสื่อโดยใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) มีค่า 83.76 / 83.53

4.2 ผลสัมฤทธิ์ทักษะการสื่อสารหลังการใช้รูปแบบกระบวนการเรียนรู้พัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) เพิ่มขึ้น โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบกระบวนการ

เรียนรู้โดยพัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

โพสต์โดย ยะห์ : [24 ก.พ. 2559 เวลา 15:16 น.]
อ่าน [3515] ไอพี : 202.29.178.171
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โพสต์โดย

คุณ -

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 15,717 ครั้ง
การสอนภาษาอังกฤษ ในสพฐ. จุดอ่อนที่ควรคำนึง
การสอนภาษาอังกฤษ ในสพฐ. จุดอ่อนที่ควรคำนึง

เปิดอ่าน 95,694 ครั้ง
หลักเกณฑ์การอยู่เวรรักษาการณ์
หลักเกณฑ์การอยู่เวรรักษาการณ์

เปิดอ่าน 13,442 ครั้ง
ลูกบาศก์ของรูบิค
ลูกบาศก์ของรูบิค

เปิดอ่าน 15,480 ครั้ง
ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์รถยนต์ ขอสินเชื่อใหม่ไม่ยากอย่างที่คิด
ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์รถยนต์ ขอสินเชื่อใหม่ไม่ยากอย่างที่คิด

เปิดอ่าน 16,674 ครั้ง
ตอบข้อข้องใจ...สมาชิก ช.พ.ค. เรื่อง จำนวนสมาชิก ช.พ.ค. ทั้งหมด ใครถึงแก่กรรม/ใครสมัครใหม่
ตอบข้อข้องใจ...สมาชิก ช.พ.ค. เรื่อง จำนวนสมาชิก ช.พ.ค. ทั้งหมด ใครถึงแก่กรรม/ใครสมัครใหม่

เปิดอ่าน 53,267 ครั้ง
ความหมายและความสำคัญของการเกษตร
ความหมายและความสำคัญของการเกษตร

เปิดอ่าน 12,132 ครั้ง
ทุกข์ที่สุด จะหลุดได้อย่างไร
ทุกข์ที่สุด จะหลุดได้อย่างไร

เปิดอ่าน 9,084 ครั้ง
เทคนิคบอกลา "เครื่องดื่มแอลกอฮอล์"
เทคนิคบอกลา "เครื่องดื่มแอลกอฮอล์"

เปิดอ่าน 12,841 ครั้ง
6 ประการ สู่การเป็นมนุษย์เงินเดือนที่ทำงานดีและมีความสุข
6 ประการ สู่การเป็นมนุษย์เงินเดือนที่ทำงานดีและมีความสุข

เปิดอ่าน 559 ครั้ง
ความหมายของรังสี กัมมันตภาพรังสี และธาตุกัมมันตรังสี
ความหมายของรังสี กัมมันตภาพรังสี และธาตุกัมมันตรังสี

เปิดอ่าน 26,919 ครั้ง
การนำรูปเรขาคณิตมาวางเรียงกันทำให้เกิดลวดลาย
การนำรูปเรขาคณิตมาวางเรียงกันทำให้เกิดลวดลาย

เปิดอ่าน 8,905 ครั้ง
เคล็ดลับปรุงกาแฟแคลอรีต่ำ
เคล็ดลับปรุงกาแฟแคลอรีต่ำ

เปิดอ่าน 26,275 ครั้ง
8 ยุทธวิธี ออกจากเงินเดือนที่ไม่พอใช้
8 ยุทธวิธี ออกจากเงินเดือนที่ไม่พอใช้

เปิดอ่าน 16,549 ครั้ง
การศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิตเป็น‘ผู้นำสังคม’ : โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร
การศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิตเป็น‘ผู้นำสังคม’ : โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร

เปิดอ่าน 2,572 ครั้ง
ปลูกมะเขือเปราะกี่วันเก็บได้
ปลูกมะเขือเปราะกี่วันเก็บได้

เปิดอ่าน 11,229 ครั้ง
"Li-Fi" เน็ตไร้สายเร็วกว่าไว-ไฟ100เท่า
"Li-Fi" เน็ตไร้สายเร็วกว่าไว-ไฟ100เท่า
เปิดอ่าน 26,224 ครั้ง
ลายมือผู้ยิ่งใหญ่
ลายมือผู้ยิ่งใหญ่
เปิดอ่าน 16,869 ครั้ง
4 เกาะที่น่าไป หลังเกษียณอายุ
4 เกาะที่น่าไป หลังเกษียณอายุ
เปิดอ่าน 14,000 ครั้ง
สดชื่นยามเช้าสำหรับคนนอนดึก
สดชื่นยามเช้าสำหรับคนนอนดึก
เปิดอ่าน 22,620 ครั้ง
iPrice เจาะลึก! จริงหรือไม่? กรุงเทพฯ เป็นเมืองมีค่าครองชีพแพงที่สุดในภูมิภาค
iPrice เจาะลึก! จริงหรือไม่? กรุงเทพฯ เป็นเมืองมีค่าครองชีพแพงที่สุดในภูมิภาค

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ