ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รางวัล “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ขอรับตราพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี

รางวัล “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ขอรับตราพระราชทาน

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ” ระดับประเทศ ประจำปี 2557

จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอน

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี

การจัดการศึกษาต้องมุ่งพัฒนาคุณภาพของคน ซึ่งการสร้างคุณภาพของคน ต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฐมวัย เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาการเรียนรู้สูง โดยการแสวงหาประสบการณ์ ที่แปลกใหม่รอบตัวด้วยความอยากรู้อยากเห็น เด็กปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่เหมาะกับการปูพื้นฐาน โดยการปลูกฝังคุณลักษณะต่าง ๆ เตรียมความพร้อมและพัฒนาการทุกด้านตามขีดความสามารถของเด็ก การส่งเสริมให้เด็ก ได้รับรู้สิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ต่าง ๆ เป็นพื้นฐานที่จะช่วยให้เด็กสามารถเผชิญปัญหา ด้วยความเข้าใจ มองเห็นแนวทางว่าแต่ละปัญหาจะแก้ไขโดยวิถีทางใด เด็กได้ฝึกคิดในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งทำให้เขาสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ประสบการณ์ที่เด็กได้รับในช่วงนี้ เป็นการพัฒนาทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้และการดำรงชีวิตในอนาคต อันจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าสืบต่อไป (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2546 : 21) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 มาตรา 22 ได้กำหนดว่า “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคน มีความสามารถ เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และยึดว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด เน้นการสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” สำหรับการจัดกระบวนการเรียนการสอนเด็กปฐมวัย ใช้หลักการจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยให้เด็กได้เล่น ได้สัมผัส และลงมือกระทำกิจกรรมด้วยตนเองโดยผ่านกิจกรรม ที่เปิดกว้างให้เด็ก ได้มีโอกาสทำกิจกรรมตามความสนใจ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ตามศักยภาพและตอบสนองความแตกต่าง ของแต่ละคน (กระทรวงศึกษาธิการ, 2548 : 21) ผลการประเมินของนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ปีการศึกษา 2551 (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน : 67) พบว่านักเรียนระดับปฐมวัยมี พัฒนาการด้านสติปัญญาระดับดีร้อยละ 59.17 ซึ่งต่ำกว่าพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ และด้านสังคม ที่มีผลประเมินระดับดีร้อยละ 71.67, 93.86 และ 98.00 ตามลำดับ และปีการศึกษา 2553 (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2555 : 56) พบว่านักเรียนระดับปฐมวัยมีพัฒนาการด้านสติปัญญาในระดับดีร้อยละ 65.53 ซึ่งต่ำกว่าพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ และสังคม ที่นักเรียนระดับปฐมวัยมีผลประเมินในระดับดีร้อยละ 75.23, 92.66, 98.97 ตามลำดับ ทำให้มี ความชัดเจนว่าเราต้องพัฒนาความพร้อมด้านสติปัญญาให้กับ เด็กปฐมวัยเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ การเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ เด็กอายุ 3-5 ปีเป็นวัยที่ร่างกายและสมองของเด็กกำลังเจริญเติบโต เด็กต้องการความรัก ความเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด เด็กวัยนี้มีโอกาสเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เช่น การเรียนรู้จากการสำรวจ เล่น ทดลอง ค้นพบด้วยตนเอง ได้มีโอกาสคิดแก้ปัญหา เลือกตัดสินใจ ใช้ภาษาสื่อความหมาย คิดริเริ่มสร้างสรรค์ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546 : ความนำ) รายงานผลการดำเนินงานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (กขป.) จัดทำความเห็น และข้อเสนอแนะ แนวทางการปฏิรูปการศึกษาอย่างเร่งด่วน ประเด็นหลักที่ 1 กระบวนการเรียนรู้ใหม่ : พัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศอื่น และเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งปรับหลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียน การสอนและการประเมินผลในรูปแบบใหม่ ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนตลอดชีวิต (สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา, 2555 : 38) ซึ่งพรพิไล เลิศวิชาได้กล่าวว่าปัจจุบันนักวิจัยได้ค้นพบ “ช่วงปฐมวัย เป็นเวลาที่พร้อมที่สุดสำหรับการเรียนรู้” กล่าวคือ ถ้าได้รับประสบการณ์ที่เหมาะสมในระหว่างเวลา ที่ดีเยี่ยม ก็จะสามารถกระตุ้นให้เด็กกระตือรือร้นในการเรียนรู้โดยเฉพาะสามารถพัฒนาศักยภาพได้ดี โดยการจัดสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ให้เหมาะสมและหลากหลาย (สถาบันวิทยาการการเรียนรู้, 2548 : 86) สอดคล้องกับจันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ ที่กล่าวว่า “การเรียนรู้ของเด็กเริ่มจากประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งที่สัมผัสนำมาเก็บไว้ เป็นความทรงจำในสมอง หากผู้ดูแลเด็กเข้าใจและต้องการให้เด็กเรียนรู้สิ่งใด ก็ต้องให้เด็กได้สัมผัสประสบการณ์นั้นบ่อย ๆ เป็นกระบวนการกระตุ้นให้ เซลล์สมอง เกิดการเชื่อมโยงได้มากที่สุด ซึ่งทำให้สมองสามารถเรียนรู้ได้มากขึ้น และเป็นการเรียนรู้ อย่างมีความสุข” ดังนั้น หากเด็กได้รับรู้ความรู้สึกจากประสาทสัมผัสในช่วงของ “โอกาสทองของ การเรียนรู้” (windows of opportunity) แล้วเด็กก็จะสามารถพัฒนาการเรียนรู้ ได้เต็มตามศักยภาพ (สถาบันวิทยาการการเรียนรู้, 2548 : 42) การรับรู้ความรู้สึกจากประสาทสัมผัสด้านต่าง ๆ เป็นทักษะที่เกิดจากประสบการณ์จริง เนื่องจากเด็กสามารถใช้ประสาทสัมผัสต่อวัสดุ รู้จักคุณสมบัติของวัตถุ และปฏิกิริยาโต้ตอบของวัตถุในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยตรง การสังเกตที่เด็กได้จากการสัมผัส ชิมรส ดมกลิ่น ฟังเสียง เป็นพื้นฐาน ในการพัฒนาความคิดของเด็ก (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน, 2536 : 90) การที่เด็กมีโอกาสได้สังเกตและสัมผัสสิ่งต่าง ๆ จะส่งผลให้เกิดการเรียนรู้และรับรู้สิ่งต่าง ๆ โดยใช้ประสาทสัมผัส ทั้ง 5 เป็นขั้นต้นในการฝึกทักษะกระบวนการคิดของเด็กปฐมวัย ในการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนจะต้องหาข้อมูลด้วยการลงมือปฏิบัติจริงและไม่ว่าจะเป็น การทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทดลอง สำหรับนักเรียนระดับเด็กเล็กก่อนวัยเรียน กระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์เป็นวิธีการหนึ่งของการคิด และการได้มาซึ่งความรู้ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ที่สัมพันธ์กัน ได้แก่ การสังเกต การค้นพบปัญหา หรือข้อสงสัย การหาคำตอบ และการบอกผล ให้ผู้อื่นทราบ (ฮาร์แลน, จีนดี, ริฟคิน และแมรีเอส, 2546 : 29) การพัฒนาเด็กปฐมวัย ด้วยการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์มีส่วนช่วยพัฒนาศักยภาพให้เกิดความมั่นใจในตนเอง และมีความสำคัญต่อเด็กปฐมวัย เป็นการช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย คือช่วยฝึกให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต ช่างสงสัย มีเหตุผล มีความอดทน รายงานผลการดำเนินงานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย และความคิดริเริ่ม การทำกิจกรรมเด็กจะต้องค้นคว้าอย่างมีระบบ การที่เด็กได้ทำบ่อยครั้ง จะทำให้ เด็กเกิดทักษะ อันนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ดี ในชีวิตประจำวันได้ (อรุณศรีจันทร์ทรง, 2548 : 7) กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นกระบวนการคิด เป็นกระบวนการทางปัญญาเป็นกระบวนการที่ใช้แก้ปัญหา ถ้าครูนำความรู้และวิธีทางวิทยาศาสตร์ มาจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับระดับ ความสามารถ สติปัญญา และธรรมชาติของเด็กปฐมวัยแล้ว ก็จะเป็นการพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยได้เด็กเป็นนักค้นคว้าเพื่อการเรียนรู้โดยธรรมชาติการหยิบจับ สัมผัส และการสังเกต เป็นวิธีการเรียนวิทยาศาสตร์ พฤติกรรมการเรียนวิทยาศาสตร์ ของเด็กคล้ายกับการเรียนทางคณิตศาสตร์ซึ่งต้องฝึกคิดอย่างมีเหตุผล เช่น การเปรียบเทียบ การจำแนกการหาความสัมพันธ์ ของวัตถุ การเรียนวิทยาศาสตร์จะเน้นการเรียนวิทยาศาสตร์และธรรมชาติรอบตัว ได้แก่ เรื่องพืช สัตว์เวลา ฤดูกาล น้ำ และอากาศ (กุลยา ตันติผลาชีวะ, 2547 : 170)

จากปัญหาและความสำคัญจำเป็นดังกล่าว โรงเรียนวัดปราโมทย์ (พิศสะอาดราษฎร์อำรุง) เป็นหน่วยงาน ในการจัดการศึกษาปฐมวัยที่ให้บริการจัดการศึกษาสำหรับเด็กกลุ่มอายุ 4-5 ปี ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยการพัฒนาเด็กปฐมวัยแบบองค์รวม ให้ครอบคลุมพัฒนาการเด็กทุกด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา จึงได้ ดำเนินการโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์

2. วิธีดำเนินการ

วิธีดำเนินการของโรงเรียนวัดปราโมทย์ (พิศสะอาดราษฎร์อำรุง) ในการดำเนินการโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย โดยใช้หลักการทำงานตามวงจรเดมมิ่ง (The Deming Cycle) ดังนี้

2.1 ประชุมวางแผนเพื่อทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน

2.2. การปฏิบัติ ในการปฏิบัติงานตามโครงการ โรงเรียนได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ ประชุมครูเพื่อมอบหมายงาน 1) พัฒนาบุคลากร โดยจัดส่งครูและผู้ปกครองเข้ารับการพัฒนาเพื่อเตรียมเครื่องมือ

และความพร้อมในการสอนแบบใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ จากวิทยากร 2) ครูปฐมวัยดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ใน"กล่องนักวิทยาศาสตร์น้อย" ในกล่องจะประกอบไปด้วย 6 หมวด ได้แก่ น้ำ อากาศ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไฟฟ้า แสง สี และ การมองเห็น และคณิตศาสตร์ ซึ่งในใบกิจกรรมการทดลองมีทั้งหมด 20 ได้แก่กิจกรรมการทดลอง (กักน้ำไว้ได้ การกรองน้ำ การละลายของน้ำตาล การหักเหน้ำ กิจกรรมเทศกาลวันวิทยาศาสตร์น้อย 2557 ความลับของสีดำ จรวดหลอด ตัวละลาย น้ำ ทราย น้ำมัน ปั๊มขวดและลิฟต์เทียน พับหรือตัดก็พับกันสนิท ภูเขาไฟระเบิด ระฆังดำน้ำ สถานีเติมลม สนุกกับฟองสบู่ สนุกกับไฟฟ้าสถิต หมุดลอยน้ำ เนินน้ำ เมล็ดเต้นระบำ แสงเลี้ยวเบน และไหลแรงหรือไหลค่อย นอกจากนี้ยังมีเทคนิคการสอนทฤษฏีและหลักการทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ อย่างง่าย พร้อมสมุดบันทึก บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เพื่อบันทึกกิจกรรมต่างๆ ที่นักเรียนปฐมวัยทำในโรงเรียน 3) ครูร่วมกับนักเรียนจัดทำรายงานผลการปฏิบัติกิจกรรม 4) ในระดับครอบครัว จะมีการให้ความรู้ความเข้าใจ แก่ผู้ปกครองให้มีบทบาท การปลูกฝังนิสัยรักวิทยาศาสตร์ให้แก่ลูกผ่านนิทานและการทดลองอย่างง่าย จากหนังสือ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย” 2.3 การตรวจสอบประเมินผล โรงเรียนได้ดำเนินการประเมินผลการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรม และโดยภาพรวม พบว่านักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมอย่างครบถ้วน และบันทึกผลการปฏิบัติกิจกรรมทุกครั้ง จึงจัดทำรายงานต่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม เพื่อรองรับการตรวจสอบและประเมินผล ซึ่งคณะกรรมการได้ประเมินผลและให้การรับรอง จนทำให้โรงเรียนได้รับตราพระราชทาน “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” 2.4 การปรับปรุงแก้ไข ในการดำเนินงานที่แม้จะประสบความสำเร็จ แต่ก็ยังพบว่า มีปัญหาที่โรงเรียนต้องดำเนินการแก้ไขดังนี้ 1) จากการสอบถามผู้ปกครอง พบว่าผู้ปกครองส่วนหนึ่งยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทดลองอย่างง่าย โรงเรียนจึงกำหนดที่จะพัฒนาผู้ปกครองในการสอนการทดลองอย่างง่ายให้ผู้ปกครองไปดำเนินการที่บ้าน โดยจะต้องพัฒนาในช่วงวันหยุดเพราะผู้ปกครองส่วนหนึ่งต้องประกอบอาชีพทำสวน และรับจ้าง ทำให้ไม่สามารถรับการพัฒนาในช่วงวันปกติได้ 2) ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความต้องการให้นักเรียนปฐมวัยเรียนอ่านเขียน ในระดับปฐมวัยโรงเรียนจึงต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้ปกครองให้เข้าใจถึงความสำคัญ ของการเตรียมความพร้อมให้เด็กก่อน

3. ผลที่เกิดจากการดำเนินงาน

จากการที่โรงเรียนวัดปราโมทย์ (พิศสะอาดราษฎร์อำรุง) ได้พัฒนาและดำเนินตาม โครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยน้อย ประเทศไทย เกิดผลดังนี้

3.1 ผลที่เกิดกับนักเรียน

1) นักเรียนมีเจตคติที่ดีในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เกิดการเรียนรู้ ด้วยตนเอง มีทักษะ ในการสังเกต และสามารถคิดได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล

2) นักเรียนสามารถนำไปเชื่อมโยงความหมายกับโลกของตัวเอง เด็กและครูร่วมกันสร้าง กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันที่เน้นการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างบุคคล

3) นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง มีจริยธรรม เป็นนักคิดและนักสร้างจินตนาการ

4) เด็กชายณัฐพล นิลเพชร ได้รับรางวัลเกียรติบัตรเหรียญทอง กิจกรรม ปฐมวัย (สร้างภาพ ฉีก ตัด ปะ) การแข่งขันทักษะทางวิชาการ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน เพื่อคัดเลือกตัวแทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม

5) นักเรียนนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันในอนาคตได้ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น

3.2 ผลที่เกิดกับครูและบุคลากร

1) ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 โดยมุ่งเน้นให้เด็ก ๆ ได้ลงมือปฏิบัติจริง เน้นทักษะการตั้งคำถามและค้นคว้าหาคำตอบของแต่ละบุคคล 2) ครูและบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจ เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้

3.3 ผลที่เกิดกับโรงเรียน

1) เป็นโรงเรียนต้นแบบในการจัดกิจกรรมบ้านวิทยาศาสตร์น้อย

2) โรงเรียนได้รับตราพระราชทาน โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย

3.4 ผลที่เกิดกับชุมชน

1) ชุมชนให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของโรงเรียนในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

2) ส่งเสริมให้เด็กทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการทดลองที่ปลูกฝังให้เด็ก มีความรับผิดชอบต่อสังคมแบบง่าย ๆ

3) ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง เป็นบุคคลสำคัญในการสนับสนุนให้ความร่วมมือในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย

4) ผู้ปกครอง ชุมชน ท้องถิ่น มีความศรัทธา เชื่อมั่นในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพในระดับปฐมวัย อันจะส่งผลดีในระดับประถมศึกษาต่อไป

5) สร้างผู้นำท้องถิ่น (Local network) ให้ผลักดันและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน

วิทยาศาสตร์ในโรงเรียนตลอดเวลา

3.5 ผลที่เกิดกับสังคมและประเทศชาติ

1) นักเรียน ครูและบุคลากรและประชาชนได้นำโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

2) ประสบการณ์จากโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยนี้จะเป็นเครื่องยืนยันถึงความเป็นนักวิทยาศาสตร์น้อย ที่จะนำพาประเทศไปสู่ความก้าวไกลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

3) เป็นสถานที่มาศึกษาดูงานของโรงเรียนอื่น ๆ

4. แนวคิดในการพัฒนาต่อไป

4.1 การคงสภาพการเป็นโรงเรียนบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย และต่อยอดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนเกิดความยั่งยืนต่อไป

4.2 จัดประชุมสัมมนาเปิดโอกาสให้บุคลากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการพัฒนาการจัดกิจกรรมในด้านวิทยาศาสตร์ให้เกิดขึ้นในทุกระดับชั้น

4.3 พัฒนาบุคลากรให้สามารถนำนวัตกรรม เทคโนโลยีที่หลากหลายและทันสมัยที่เกี่ยวข้องกับ โรงเรียนบ้านวิทยาศาสตร์น้อย มาใช้ในการพัฒนาอย่างเต็มที่และอย่างต่อเนื่อง

4.4 ขยายผลการดำเนินงานไปสู่ชุมชนและโรงเรียนอื่น ๆ โดยการร่วมมือกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

โพสต์โดย ลี : [9 เม.ย. 2559 เวลา 08:09 น.]
อ่าน [3936] ไอพี : 171.5.251.153
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โพสต์โดย

คุณ -

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 29,616 ครั้ง
การวัดระยะทางบนพื้นราบ
การวัดระยะทางบนพื้นราบ

เปิดอ่าน 33,629 ครั้ง
กีฬาฟุตบอล มาจากไหน?
กีฬาฟุตบอล มาจากไหน?

เปิดอ่าน 9,858 ครั้ง
สิ่งที่ลูกได้จากน้ำนมแม่
สิ่งที่ลูกได้จากน้ำนมแม่

เปิดอ่าน 12,027 ครั้ง
9 วิธีทำดีได้บุญแบบไม่เสียเงิน
9 วิธีทำดีได้บุญแบบไม่เสียเงิน

เปิดอ่าน 35,136 ครั้ง
ต้นสัตบรรณ - ต้นตีนเป็ด
ต้นสัตบรรณ - ต้นตีนเป็ด

เปิดอ่าน 2,286 ครั้ง
สั่งสินค้าจากจีนไม่เป็น PCS Cargo ช่วยคุณเรื่องบริการนำเข้าสินค้าจากจีน
สั่งสินค้าจากจีนไม่เป็น PCS Cargo ช่วยคุณเรื่องบริการนำเข้าสินค้าจากจีน

เปิดอ่าน 5,232 ครั้ง
ยางอินเดีย ต้นไม้ปลูกในร่ม ดูแลง่าย ช่วยฟอกอากาศ
ยางอินเดีย ต้นไม้ปลูกในร่ม ดูแลง่าย ช่วยฟอกอากาศ

เปิดอ่าน 34,179 ครั้ง
พู่กันของสง่า มะยุระ รู้ไหมว่าท่านคือใคร
พู่กันของสง่า มะยุระ รู้ไหมว่าท่านคือใคร

เปิดอ่าน 9,792 ครั้ง
ประกาศสงกรานต์ ปี ๒๕๕๒
ประกาศสงกรานต์ ปี ๒๕๕๒

เปิดอ่าน 20,241 ครั้ง
ลักษณะของช้างดี
ลักษณะของช้างดี

เปิดอ่าน 12,015 ครั้ง
จากหัวใจดวงน้อยๆ ที่อยากบอกรักพ่อหลวง ผ่านบทเพลง "เล่าสู่หลานฟัง"
จากหัวใจดวงน้อยๆ ที่อยากบอกรักพ่อหลวง ผ่านบทเพลง "เล่าสู่หลานฟัง"

เปิดอ่าน 24,244 ครั้ง
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาวิทยาศาสตร์ไทย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาวิทยาศาสตร์ไทย

เปิดอ่าน 24,117 ครั้ง
ความรู้ทั่วไป "8 วิธี ขับเกียร์ออโต้ ประหยัดน้ำมัน"
ความรู้ทั่วไป "8 วิธี ขับเกียร์ออโต้ ประหยัดน้ำมัน"

เปิดอ่าน 14,076 ครั้ง
ถั่วพร้า
ถั่วพร้า

เปิดอ่าน 9,955 ครั้ง
ใช้ มือถือ ขณะฝนฟ้าคะนอง จะมีโอกาสโดนฟ้าผ่าได้หรือไม่?
ใช้ มือถือ ขณะฝนฟ้าคะนอง จะมีโอกาสโดนฟ้าผ่าได้หรือไม่?

เปิดอ่าน 664,866 ครั้ง
ประวัติความเป็นมาของการศึกษาไทย
ประวัติความเป็นมาของการศึกษาไทย
เปิดอ่าน 100,140 ครั้ง
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 17 การเล่นลูกจากประตู
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 17 การเล่นลูกจากประตู
เปิดอ่าน 37,198 ครั้ง
ครีมเทียม กินมาก อันตรายกว่าที่คิด!
ครีมเทียม กินมาก อันตรายกว่าที่คิด!
เปิดอ่าน 15,718 ครั้ง
การสอนภาษาอังกฤษ ในสพฐ. จุดอ่อนที่ควรคำนึง
การสอนภาษาอังกฤษ ในสพฐ. จุดอ่อนที่ควรคำนึง
เปิดอ่าน 20,408 ครั้ง
อีกวิธีสำหรับหยุดอาการ "สะอึก"
อีกวิธีสำหรับหยุดอาการ "สะอึก"

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ