ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาไทยเรื่องการอ่านการเขียนคำตามมาตรา
ตัวสะกดตรงมาตราโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นและการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร
การสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle : 5 Es) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
โรงเรียนบ้านดอน(ศรีเสริมกสิกร)
ชื่อผู้วิจัย นางอังคณา ร่วมจิตร์
ปีการศึกษา ๒๕๕๘
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาไทยเรื่องการอ่านการเขียนคำตามมาตราตัวสะกดตรงมาตราโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นและการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle : 5 Es) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านดอน(ศรีเสริมกสิกร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต ๑ มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาแบบฝึกทักษะ การอ่านและเขียนภาษาไทยโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียน บ้านดอน(ศรีเสริมกสิกร) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกดโดยใช้แบบฝึกทักษะข้อมูลท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านดอน (ศรีเสริมกสิกร) ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทยโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านดอน(ศรีเสริมกสิกร) ที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทยโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นและการจัดการเรียนรู้แบบ แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle : 5 Es) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านดอน(ศรีเสริมกสิกร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต ๑ ภาคเรียนที่ ๒ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ จำนวน ๒๒๕ คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑/๑ โรงเรียนบ้านดอน(ศรีเสริมกสิกร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต ๑ ภาคเรียนที่ ๒ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ จำนวน ๓๕ คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ๑) แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกดตรงมาตราโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๘ ชุด ๒) แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนคำตามมาตราตัวสะกดตรงมาตราโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๑๖ แผน ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนเรื่องการอ่านและเขียนคำตามมาตราตัวสะกดตรงมาตราโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นและการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle : 5 Es) ชนิดเลือกตอบ จำนวน ๓๐ ข้อ ๔) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกดตรงมาตราโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น จำนวน ๑ ฉบับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) และทดสอบค่า t-test
ผลการศึกษาพบว่า
๑. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกดตรงมาตราโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ มีประสิทธิภาพรวมเป็น ๘๙.๕๐/๘๒.๕๗ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ ๘๐/๘๐ ที่กำหนดไว้
๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกด ตรงมาตราโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑
๓. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะ การอ่านและการเขียนคำตามมาตราตัวสะกดตรงมาตราโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย ๔.๖๕