ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รูปแบบการนิเทศโดยทีมเพื่อพัฒนาหลักสูตรภาษาไทยสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในห้องเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ในห้องเรียนรวม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 2) เพื่อสร้างรูปแบบการนิเทศโดยทีมเพื่อพัฒนาหลักสูตรภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในห้องเรียนรวม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการนิเทศโดยทีมเพื่อพัฒนาหลักสูตรภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในห้องเรียนรวม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 4) เพื่อประเมินรูปแบบการนิเทศโดยทีมเพื่อพัฒนาหลักสูตรภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในห้องเรียนรวม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งตามขั้นตอนของ การวิจัย และวิธีวิจัยดังนี้ ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาหลักสูตรภาษาไทยสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในห้องเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จากการสัมภาษณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 2 จำนวน 9 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 17 คน ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนต้นแบบเรียนรวม จำนวน 5 คน ครูผู้สอนที่สอนการศึกษาพิเศษชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนต้นแบบเรียนรวม จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น 36 คน เลือกประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) (บุญชม ศรีสะอาด. 2545: 38) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการแบบสอบถามความต้องการการนิเทศการสอนของครู จำนวน 132 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอน ในโรงเรียนทั่วไปจัดการเรียนร่วมและเรียนรวม จำนวน 132 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ใช้ตารางสำเร็จรูปของเครอซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgon อ้างใน สิน พันธ์พินิจ 2555 : 212-213) ขั้นที่ 2 สร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยเพื่อพัฒนาหลักสูตรภาษาไทยสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในห้องเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 17 คน 1) กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ให้ข้อมูลใช้ในการกำหนดองค์ประกอบในการสร้าง และพัฒนารูปแบบการนิเทศ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาพิเศษเรียนรวม จำนวน 4 ท่าน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการนิเทศการศึกษา จำนวน 3 ท่าน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวัดผลและประเมินผล จำนวน 2 ท่าน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านหลักสูตร จำนวน 3 ท่าน รวม 12 ท่าน 2) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในทำการตรวจสอบคุณภาพและความเหมาะสม ของรูปแบบการนิเทศ จำนวน 5 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร ด้านกระบวนการเรียนการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านการนิเทศการศึกษา และด้านการจัดการศึกษาพิเศษ จำนวน 5 ท่าน ขั้นที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการนิเทศโดยทีมเพื่อพัฒนาหลักสูตรภาษาไทยสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในห้องเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ในโรงเรียนต้นแบบเรียนรวม จำนวน 5 โรงเรียน จำนวน 37 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน ครูผู้สอนการศึกษาพิเศษ จำนวน 5 คน นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 27 คน ขั้นที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศโดยทีมเพื่อพัฒนาหลักสูตรภาษาไทยสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในห้องเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 145 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 2 จำนวน 24 คน ครูผู้สอนที่สอนการพิเศษชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 24 คน รวมทั้งสิ้น 48 คน และนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นปะถมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาปีการศึกษา 2558 จำนวน 97 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับสภาพปัญหาและการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ในห้องเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 จำนวน 5 ข้อ 2) แบบสอบถามความต้องการการนิเทศการสอนของครู สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในห้องเรียนรวม จำนวน 29 ข้อ 3) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group) 4) แบบประเมินความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญ 5) แบบประเมินเกี่ยวกับผลการจัดกิจกรรมตามแนวทางการปรับหลักสูตรภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ในห้องเรียนรวม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 34 ข้อ 6) แบบประเมินรูปแบบการนิเทศโดยทีมเพื่อพัฒนาหลักสูตรภาษาไทยสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ในห้องเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 จำนวน 25 ข้อ 7) แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนบกพร่องทางการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ในห้องเรียนรวม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 จำนวน 30 ข้อ 8) แบบประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อรูปแบบการนิเทศโดยทีมเพื่อพัฒนาหลักสูตรภาษาไทยสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในห้องเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 จำนวน 8 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ตามจุดมุ่งหมาย และกรอบแนวคิดในการพัฒนาโดยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า t –test และค่าร้อยละ หาค่าความยากง่าย และค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินผลสัมฤทธิ์

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ผลจากศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาหลักสูตรภาษาไทยสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในห้องเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2

1.1 ผลการสัมภาษณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ ศึกษานิเทศก์ และตัวแทนผู้บริหารสถานศึกษา เรื่อง สภาพปัญหาและความต้องการการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ สรุปผลการสัมภาษณ์ พบว่า สาเหตุในการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ให้มีการพัฒนาเต็มตามศักยภาพนั้น มีปัจจัยและองค์ประกอบที่สำคัญคือ การจัดทำแนวทางการพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้จะทำเกิดประสิทธิภาพของครูผู้สอน และกระบวนการนิเทศและเทคนิควิธีการนิเทศของศึกษานิเทศก์ และเครือข่ายนิเทศ

1.2 ผลจาการสำรวจต้องการการนิเทศการสอนของครู สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในห้องเรียนรวมโดยรวม ของครูผู้สอน มีความต้องการโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด 3 ลำดับแรก พบว่า ลำดับแรกคือ ความต้องการด้านหลักสูตร รองลงมา คือ ความต้องการด้านการนิเทศการศึกษา ลำดับที่ 3 คือความต้องการด้านกระบวนการเรียนการสอน

2 ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยทีมเพื่อพัฒนาหลักสูตรภาษาไทยสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในห้องเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2

2.1 ผลและการวิเคราะห์การสนทนากลุ่ม (Focus Group) พบว่า หลักสูตรเปรียบได้กับหัวใจของการศึกษาซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นโครงร่างที่กำหนดไว้ว่าจะให้นักเรียนได้รับประสบการณ์จึงจะเป็นประโยชน์ต่อเด็กและสังคม โดยเฉพาะเมื่อใช้หลักสูตรเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนแก่ผู้เรียนแล้ว ดังนั้นหลักสูตรจึงเป็นเสมือนเบ้าหลอมเหมาะสมการพัฒนาผู้เรียนให้ได้เรียนรู้เต็มตามศักยภาพมีคุณภาพ และมีรูปแบบการนิเทศ กระบวนการนิเทศ เทคนิคการนิเทศที่เป็นระบบต่อเนื่องมีคณะกรรมการเพื่อให้การนิเทศอย่างทั่วถึง ช่วยเหลือครูอย่างหลากหลายวิธี มีการสะท้อนผลการนิเทศ เพื่อให้ครูได้นำมาปรับปรุงการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งทำให้ครูมีทิศทางในการพัฒนานักเรียน มีการวัดผลและประเมินผลตรงตามศักยภาพของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ทำให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากขึ้น

2.2 ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยทีมเพื่อพัฒนาหลักสูตรภาษาไทยสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในห้องเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 พบว่า โดยภาพรวมผู้เชี่ยวชาญเห็นสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันว่า องค์ประกอบที่นำมาสร้างรูปแบบการนิเทศโดยทีมเพื่อพัฒนาหลักสูตรภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในห้องเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 ที่เสนอมานั้นเพียงพอแล้ว การตั้งชื่อรูปแบบให้สื่อกับแนวคิดในการวิจัย และควรแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ รูปแบบ

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศโดยทีมเพื่อพัฒนาหลักสูตรภาษาไทย สำหรับนักเรียน

ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในห้องเรียนรวม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2

โดยผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาเห็นว่า รูปแบบการนิเทศโดยทีมเพื่อพัฒนาหลักสูตรภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่ ในห้องเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 มีความสอดคล้องกันในทุกประเด็นโดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ในระดับสูง คือตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้ การนิเทศแบบPIDRE ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน 1) วางแผนดำเนินการ (Planning-P) 2) สานสร้างความรู้สู่การปฏิบัติ (Informing- I) 3) ชี้ชัดด้วยการนิเทศติดตาม (Doing -D) 4) สร้างเสริมขวัญกำลังใจ (Reinforcing-R) 5) ถามไถ่ประเมินผล (Evaluating-E) โดยทีมร่วมพัฒนา โดยยึดหลัก 3 ให้ 2 ร่วม คือ ให้ใจ ให้งาน ให้โอกาส ร่วมคิด และร่วมพัฒนา และใช้กระบวนการพัฒนาหลักสูตร 1) การศึกษาข้อมูลสภาพปัญหาและความต้องการของนักเรียนและหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียน 2) กำหนดจุดหมายของหลักสูตร 3) จัดเนื้อหาสาระจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน 4) กำหนดมาตรฐานและการประเมินผลเพื่อกำหนดเป็นแนวทางให้ผู้เรียนพัฒนาสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย 5) การนำหลักสูตรไปใช้

3.1 ผลการจัดกิจกรรมตามแนวทางการปรับหลักสูตรภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่

มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในห้องเรียนรวม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 ก่อนและหลังการพัฒนาตามรูปแบบการนิเทศโดยทีมเพื่อพัฒนาหลักสูตรภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่ ในห้องเรียนรวมพบว่า ก่อนการพัฒนาตามรูปแบบการนิเทศ มีคุณภาพการจัดกิจกรรม ของครูผู้สอน มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง หลังการพัฒนาตามรูปแบบการนิเทศ มีคุณภาพการจัดกิจกรรม ของครูผู้สอน มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบระดับคุณภาพการจัดกิจกรรม ก่อนและหลังพัฒนาตามรูปแบบการนิเทศ นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งหลังการพัฒนาตามรูปแบบนิเทศ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดสูงกว่าก่อนการพัฒนาตามรูปแบบนิเทศ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางแสดงให้เห็นว่าผลการการพัฒนาตามรูปแบบนิเทศ คุณภาพการจัดกิจกรรมตามแนวทางการปรับหลักสูตรภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในห้องเรียนรวม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของครูผู้สอนดีขึ้น

3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศโดยทีมเพื่อพัฒนาหลักสูตรภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ในห้องเรียนรวม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2

พบว่า เปรียบเทียบผลการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ในห้องเรียนรวม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการพัฒนาตามรูปแบบนิเทศ นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งหลังการพัฒนาตามรูปแบบนิเทศ มี สูงกว่าก่อนการพัฒนาตามรูปแบบนิเทศ แสดงให้เห็นว่าผลการการพัฒนาตามรูปแบบนิเทศ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น ร้อยละผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 คะแนนเฉลี่ยโดยรวมก่อนพัฒนาตามรูปแบบการนิเทศมีค่าเท่ากับ 9.04 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 30.13 ในขณะที่หลังพัฒนาตามรูปแบบการนิเทศฯ มีค่าเท่ากับ 25.41 คิดเป็นร้อยละ 84.7 เมื่อพิจารณาผลต่าง พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังพัฒนาตามรูปแบบการนิเทศโดยรวมเพิ่มขึ้น 16.37 คิดเป็นร้อยละ 54.56

3.3 ผลจากความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และ ครูผู้สอนต่อรูปแบบการนิเทศโดยทีมเพื่อพัฒนาหลักสูตรภาษาไทยสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในห้องเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 ของหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด 3 ลำดับแรก พบว่า ลำดับแรกอยู่ในระดับมากที่สุดคือ ขั้นที่ 3 ชี้ชัดด้วยการนิเทศติดตาม (Doing -D) รองลงมาคือ ขั้นที่ 4 สร้างเสริมขวัญกำลังใจ (Reinforcing-R) และ ลำดับที่ 3 คือ ขั้นที่ 1 วางแผนดำเนินการ (Planning-P)

3.4. ผลการวัดความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการนิเทศโดยทีมเพื่อพัฒนาหลักสูตรภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่ ในห้องเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก พบว่า ข้อ 5 รูปแบบการนิเทศโดยทีมช่วยให้ครูผู้สอนมีความเข้าใจต่อลักษณะนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้ รองลงมา คือ ข้อ 6 รูปแบบการนิเทศโดยทีมมีส่วนช่วยให้ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพ และ ข้อ 3 รูปแบบการนิเทศโดยทีมช่วยกระตุ้นให้ผู้บริหารและครูผู้สอน มีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานเพื่อแก้ปัญหานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้ โดยสรุป รูปแบบการนิเทศโดยทีมเพื่อพัฒนาหลักสูตรภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่ ในห้องเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 ที่นำไปทดลองกับโรงเรียนต้นแบบเรียนรวม นั้น มีประสิทธิภาพเพียงพอเหมาะสมกับการนำไปใช้ในการพัฒนาโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างต่อไป

4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศโดยทีมเพื่อพัฒนาหลักสูตรภาษาไทยสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในห้องเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 พบว่า

4.1 คุณภาพการจัดกิจกรรมตามแนวทางการปรับหลักสูตรภาษาไทยสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในห้องเรียนรวม ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 ครูผู้สอน ก่อนและหลังพัฒนาตามรูปแบบการนิเทศ นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งหลังการพัฒนาตามรูปแบบนิเทศ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สูงกว่าก่อนการพัฒนาตามรูปแบบนิเทศ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง แสดงให้เห็นว่าผลการการพัฒนาตามรูปแบบนิเทศ คุณภาพการจัดกิจกรรมตามแนวทางการปรับหลักสูตรภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในห้องเรียนรวม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ครูผู้สอนดีขึ้น

4.2 ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเปรียบเทียบผลการทดสอบ

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ในห้องเรียนรวม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังพัฒนาตามรูปแบบนิเทศ ก่อนและหลังการพัฒนาตามรูปแบบนิเทศ นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งหลังการพัฒนาตามรูปแบบนิเทศ มีค่าเฉลี่ย สูงกว่าก่อนการพัฒนาตามรูปแบบนิเทศ แสดงให้เห็นว่าผลการการพัฒนาตามรูปแบบนิเทศ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้นร้อยละผลการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 คะแนนเฉลี่ยโดยรวมก่อนพัฒนาตามรูปแบบการนิเทศมีค่าเท่ากับ 8.97 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 29.9 ในขณะที่หลังพัฒนาตามรูปแบบการนิเทศฯ มีค่าเท่ากับ 25.69 คิดเป็นร้อยละ 85.63 เมื่อพิจารณาผลต่าง พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังพัฒนาตามรูปแบบการนิเทศโดยรวมเพิ่มขึ้น 16.72 คิดเป็นร้อยละ 55.73

4.3 ผลจากความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และ ครูผู้สอนต่อรูปแบบการนิเทศโดยทีมเพื่อพัฒนาหลักสูตรภาษาไทยสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในห้องเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 หลังการใช้รูปแบบการนิเทศ พบว่า หลังการพัฒนาตามรูปแบบการนิเทศ ระดับความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนต่อรูปแบบการนิเทศโดยทีมเพื่อพัฒนาหลักสูตรภาษาไทยสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ในห้องเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด 3 ลำดับแรก พบว่า ลำดับแรกคือ ขั้นที่ 3 ชี้ชัดด้วยการนิเทศติดตาม (Doing -D) รองลงมาคือ ขั้นที่ 4 สร้างเสริมขวัญกำลังใจ (Reinforcing-R) และ ลำดับที่ 3 คือ ขั้นที่ 5 ถามไถ่ประเมินผล (Evaluating-E)

4.4 ผลการวัดความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการนิเทศโดยทีมเพื่อพัฒนาหลักสูตรภาษาไทยสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในห้องเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 พบว่า ความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนต่อรูปแบบการนิเทศโดยทีมเพื่อพัฒนาหลักสูตรภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่ ในห้องเรียนรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก พบว่า ข้อ 7 รูปแบบการนิเทศโดยทีมตอบสนองความต้องการของครูผู้สอน ทำให้สามารถจัดการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ รองลงมา คือ ข้อ 6 รูปแบบการนิเทศโดยทีมมีส่วนช่วยให้ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพ และ ลำดับที่ 3 คือ ข้อ 3 รูปแบบการนิเทศโดยทีมช่วยกระตุ้นให้ผู้บริหารและครูผู้สอน มีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานเพื่อแก้ปัญหานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้ และข้อ 8 รูปแบบการนิเทศโดยทีมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาหลักสูตรภาษาไทยสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในห้องเรียนรวมได้

กล่าวโดยสรุป รูปแบบการนิเทศที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีส่วนช่วยให้ครูผู้สอนในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนรวมทำให้มีแนวทางการพัฒนาหลักสูตรภาษาไทยสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ให้มีการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ และเรียนรู้กับนักเรียนปกติได้อย่างมีความสุข

โพสต์โดย อ๋อย : [5 พ.ค. 2560 เวลา 19:17 น.]
อ่าน [3358] ไอพี : 10.19.171.11, 223.24
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 16,791 ครั้ง
ยาปฏิชีวนะ
ยาปฏิชีวนะ

เปิดอ่าน 33,737 ครั้ง
ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ว่าด้วยการกำหนดเครื่องแบบผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2561
ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ว่าด้วยการกำหนดเครื่องแบบผู้อำนวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2561

เปิดอ่าน 9,977 ครั้ง
แปรงสีฟันในท้องตลาด1ใน4ด้อยคุณภาพ
แปรงสีฟันในท้องตลาด1ใน4ด้อยคุณภาพ

เปิดอ่าน 61,469 ครั้ง
ประเทศที่ประสบความสำเร็จเขาดูแลครูอย่างไร
ประเทศที่ประสบความสำเร็จเขาดูแลครูอย่างไร

เปิดอ่าน 56,131 ครั้ง
การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์
การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์

เปิดอ่าน 27,008 ครั้ง
วิธีหลอกให้ "กบ" ผสมพันธุ์นอกฤดู ไอเดียคุณครูเรานี่เอง
วิธีหลอกให้ "กบ" ผสมพันธุ์นอกฤดู ไอเดียคุณครูเรานี่เอง

เปิดอ่าน 10,549 ครั้ง
วิธีแก้แบตเตอรี่ iPhone-iPad บนiOS 5.1.1 ให้ใช้งานเต็มประสิทธิภาพ
วิธีแก้แบตเตอรี่ iPhone-iPad บนiOS 5.1.1 ให้ใช้งานเต็มประสิทธิภาพ

เปิดอ่าน 74,376 ครั้ง
ถึงเวลาปลุก “จิตวิญญาณ” ความเป็น “ครู” ก่อนจะไปถึงการศึกษาไทย 4.0
ถึงเวลาปลุก “จิตวิญญาณ” ความเป็น “ครู” ก่อนจะไปถึงการศึกษาไทย 4.0

เปิดอ่าน 19,906 ครั้ง
เทคนิคการปลูกกล้วย ให้มีกลิ่นต่างๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างดี
เทคนิคการปลูกกล้วย ให้มีกลิ่นต่างๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างดี

เปิดอ่าน 20,887 ครั้ง
กองทัพเรือไทย
กองทัพเรือไทย

เปิดอ่าน 44,082 ครั้ง
"มะละกอ" มีถิ่นกำเนิดจากที่ใด?
"มะละกอ" มีถิ่นกำเนิดจากที่ใด?

เปิดอ่าน 11,823 ครั้ง
15 ภาพ “หมาธรรมดา” กลายเป็น “หมายักษ์” ด้วยมุมกล้อง
15 ภาพ “หมาธรรมดา” กลายเป็น “หมายักษ์” ด้วยมุมกล้อง

เปิดอ่าน 34,200 ครั้ง
ขิงแก้ผมร่วง
ขิงแก้ผมร่วง

เปิดอ่าน 10,390 ครั้ง
วิธีป้องกันไม่ให้เป็นร้อนใน
วิธีป้องกันไม่ให้เป็นร้อนใน

เปิดอ่าน 23,831 ครั้ง
คู่มือการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
คู่มือการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา

เปิดอ่าน 1,141 ครั้ง
จัดบ้านให้ปลอดภัยต่อวัยสูงอายุ
จัดบ้านให้ปลอดภัยต่อวัยสูงอายุ
เปิดอ่าน 10,297 ครั้ง
สูตรสำเร็จเพิ่มความฉลาด
สูตรสำเร็จเพิ่มความฉลาด
เปิดอ่าน 15,048 ครั้ง
กำจัดความเครียดได้ง่าย ๆ ด้วยการกินอาหาร
กำจัดความเครียดได้ง่าย ๆ ด้วยการกินอาหาร
เปิดอ่าน 9,423 ครั้ง
ซูฮก! ครูมะกันพิการแขน ใช้เท้าต่างมือสอนนักเรียน
ซูฮก! ครูมะกันพิการแขน ใช้เท้าต่างมือสอนนักเรียน
เปิดอ่าน 21,687 ครั้ง
การศึกษาประชารัฐ FOCUS ที่พัฒนาครู
การศึกษาประชารัฐ FOCUS ที่พัฒนาครู

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ