การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/5 โรงเรียนบ้านมาบตาพุด ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 45 คน จาก 1 ห้อง ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t test (Dependent Samples)
ผลการศึกษา พบว่า
1. แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 81.39/80.00 ซึ่งสูงกว่าที่ตั้งไว้
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ที่ระดับเหมาะสมมากที่สุด มีคะแนนรวมเฉลี่ยเท่ากับ 4.56
โดยสรุป แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และนักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียน สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้