ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และ
วัฒนธรรม รหัสวิชา ส 23103 สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้รายงาน มะลิวัลย์ โสภาเลิศ
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
รายงานผลการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รหัสวิชา ส 23103 สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รหัสวิชา ส 23103 สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้เอกสารประกอบการเรียน การสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รหัสวิชา ส 23103 สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนห้วยเกิ้งพิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1 ห้องเรียน คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวนทั้งสิ้น 35 คน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รหัสวิชา ส 23103 สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 84.10/ 85.36 สรุปได้ว่าเอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รหัสวิชา ส 23103 สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้รายงานสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ ดังนี้ คือ นักเรียนสามารถทำแบบทดสอบท้ายเอกสารประกอบการเรียนการสอนแต่ละเล่มได้ถูกต้องโดยค่าเฉลี่ย ร้อยละ 84.10 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพตัวแรกและนักเรียนสามารถทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้โดยเฉลี่ยร้อยละ 85.36 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพตัวหลัง แสดงว่าเอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รหัสวิชา ส 23103 สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รหัสวิชา ส 23103 สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 คะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ที่เรียนโดยใช้ เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รหัสวิชา ส 23103 สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ผลการประเมินคิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.46 ผลการประเมินผ่านเกณฑ์ในระดับ พึงพอใจมาก