บทคัดย่อ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม (STS) เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านดงมะกรูดทรายทอง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม (STS) วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม (STS) วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม (STS) วิชาวิทยาศาสตร์เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน ระหว่างก่อนเรียนและ หลังเรียน เป็นการดำเนินการวิจัยตามรูปแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One Group Pretest posttest Design) กลุ่มตัวอย่างชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 20 คน ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 1. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม (STS) เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน มีจำนวน 7 เล่ม เวลา 12 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม (STS) วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 12 แผน แบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการนำคะแนนมาหาคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า
ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีค่าเท่ากับ 85.00/89.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนเท่ากับ 13.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 2.40 คิดเป็นร้อยละ 44.00 และมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียน เท่ากับ 26.25 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 2.10 คิดเป็นร้อยละ 87.50 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนเรียน เท่ากับ 13.40 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.70 คิดเป็นร้อยละ 44.67 และมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังเรียน เท่ากับ 26.70 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.41 คิดเป็นร้อยละ 89.00 พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน