ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของ นักเรียน วิชาชีว

รื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community

Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของ

นักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผู้วิจัย นายนิวัต สุวรรณศรี

โรงเรียน สาหร่ายวิทยาคม

ปีการศึกษา 2561

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนา เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ (4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา คือ (1) ข้อมูลพื้นฐานบริบทของโรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา (2) การศึกษาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (3) การศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม (4) การศึกษาแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) (5) เอกสาร ตำรา เกี่ยวกับ หลักการ แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับทักษะจำเป็นและสำคัญสำหรับผู้เรียนในการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21 (6) การสอบถามความต้องการในการเรียนรู้ของนักเรียนเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 และ 4/2 จำนวน 62 คน โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 และ (7) การสัมภาษณ์ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบวิเคราะห์เอกสารข้อมูลพื้นฐาน (2) แบบสอบถามความต้องการในการเรียนรู้ของนักเรียนเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (3) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม ขั้นตอนที่ 2 เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน สำหรับพิจารณาตรวจสอบความเหมาะสม สอดคล้องของเครื่องมือ (2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 และ 4/2 โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 44 คน สำหรับใช้ทดลองหาประสิทธิภาพของรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (2) แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วย การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต วิชาชีววิทยาพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 7 แผนการเรียนรู้ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน หน่วย การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 40 ข้อ (4) แบบประเมินพฤติกรรมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน และ (5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ ขั้นตอนที่ 3 เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) (2) แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วย การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต วิชาชีววิทยาพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 7 แผนการเรียนรู้ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วย การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต วิชาชีววิทยาพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (4) แบบประเมินพฤติกรรมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน (5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ ขั้นตอนที่ 4 เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) (2) ครูผู้สอนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสอนวิทยาศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หน่วย การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต วิชาชีววิทยาพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (2) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ สถิติดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence : IOC), ค่าเฉลี่ย ( ), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D), ค่าความยาก (p), ค่าอำนาจจำแนก (B) ของ เบรนแนน (Brennan), ความเชื่อมั่น ของโลเวท (Lovett), สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (rxy) ตามวิธีของ เพียร์สัน (Pearson), สัมประสิทธิ์แอลฟา (α-Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach), การทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples) และการหาประสิทธิภาพ (E1/E2)

สรุปผลการวิจัย

1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการสร้างและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า จากสภาพบริบทของสถานศึกษา สภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ จุดมุ่งหมายของพระราชบัญญัติการศึกษา นโยบายทางการศึกษา ความมุ่งหมายและความสำคัญของหลักสูตรวิทยาศาสตร์ ในวิชาชีววิทยาพื้นฐาน เป็นสาระการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต มีทักษะการทำงาน สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสอบถามความต้องการในการเรียนรู้ของนักเรียน การสัมภาษณ์ครูผู้สอน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนวิทยาศาสตร์ พบว่า ควรจะพัฒนารูปแบบการสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ โดยการนำกิจกรรมการสอนกลุ่มสัมพันธ์มาใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนได้ค้นหาและค้นพบคำตอบด้วยตนเอง การค้นหาและค้นพบความจริงใด ๆ จากประสบการณ์ด้วยตนเองนั้นผู้เรียนมักจะจดจำได้ดี นักเรียนชอบการเรียนที่มีการสอดแทรกการทำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ชอบทำกิจกรรมการเรียนรู้เนื้อหาชีววิทยาเป็นกลุ่ม ชอบทำกิจกรรมการเรียนร่วมกับเพื่อน โดยให้ทุกคนมีโอกาสปฏิสัมพันธ์กันในกลุ่ม โดยให้ครูพยายามส่งเสริมให้เกิดและอธิบายเพิ่มเติมในส่วนที่ไม่เข้าใจ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะกระบวนการกลุ่ม สามารถปฏิบัติงานร่วมกันและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น

2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการสอน และการประเมินผล โดยมีขั้นตอนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นนำ ขั้นปฏิบัติกิจกรรม ขั้นวิเคราะห์ประสบการณ์การเรียนรู้ ขั้นประยุกต์ใช้ และขั้นประเมินผล เมื่อนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.86 ซึ่งอยู่ในระดับ มากที่สุด และได้นำไปทดลองหาประสิทธิภาพ โดยทดลองแบบเดี่ยว (1:1) (One to One Testing) มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 72.54/71.67 ทดลองแบบกลุ่มเล็ก (1:10) (Small Group Testing) มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 79.14/78.75 และทดลองภาคสนาม (1:100) (Field Tryout) มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.27/80.81 ซึ่งมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน

3.1 ทบทวนประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 80.73/80.64 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้

3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3.3 ผลการประเมินพฤติกรรมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน ที่เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.87 ซึ่งอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 77.40 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (ร้อยละ 75 ขึ้นไป)

3.4 ผลการวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D.= 0.90)

4. ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

4.1 ผลการศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการเปรียบเทียบคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียน กับคะแนนหลังเรียนไปแล้ว 2 สัปดาห์ พบว่า ไม่แตกต่างกัน แสดงว่านักเรียนมีความคงทนในการเรียนรู้

4.2 ผลการศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสอนวิทยาศาสตร์ ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 ซึ่งอยู่ในระดับมาก ( = 4.43 . S.D.= 0.58)

โพสต์โดย นายนิวัต สุวรรณศรี : [31 ส.ค. 2561 เวลา 13:45 น.]
อ่าน [3463] ไอพี : 61.19.123.142
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 10,685 ครั้ง
วิดีทัศน์นำเสนอภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการ ด้านการศึกษา
วิดีทัศน์นำเสนอภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการ ด้านการศึกษา

เปิดอ่าน 17,861 ครั้ง
แฉกลโกง40ขายตรงตุ๋นผู้บริโภคหมื่นล.
แฉกลโกง40ขายตรงตุ๋นผู้บริโภคหมื่นล.

เปิดอ่าน 12,636 ครั้ง
การศึกษาไทย 2.0
การศึกษาไทย 2.0

เปิดอ่าน 17,177 ครั้ง
ฮือฮา! คลิปโพสต์ทั่วเฟซบุ๊ก "พระ" สวดมนต์จังหวะเพลงแร็พ-ร็อก งานขึ้นบ้านใหม่!
ฮือฮา! คลิปโพสต์ทั่วเฟซบุ๊ก "พระ" สวดมนต์จังหวะเพลงแร็พ-ร็อก งานขึ้นบ้านใหม่!

เปิดอ่าน 21,143 ครั้ง
หลากวิตามินพิชิตเบาหวาน หยุดน้ำตาลพุ่งสูง ก่อนสายเกินแก้
หลากวิตามินพิชิตเบาหวาน หยุดน้ำตาลพุ่งสูง ก่อนสายเกินแก้

เปิดอ่าน 11,637 ครั้ง
ระวัง นุ่งกางเกงคับรัดติ้ว แข้งขาเป็นเหน็บชาได้
ระวัง นุ่งกางเกงคับรัดติ้ว แข้งขาเป็นเหน็บชาได้

เปิดอ่าน 29,905 ครั้ง
การประกันคุณภาพการศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษา

เปิดอ่าน 8,880 ครั้ง
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ : กำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่อำนวยการระดับสูงหรือเทียบเท่าลงมา พ.ศ.2562
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ : กำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่อำนวยการระดับสูงหรือเทียบเท่าลงมา พ.ศ.2562

เปิดอ่าน 2,386 ครั้ง
ชวนลูกเล่น ตามรอยพระยุคลบาท… เด็กฉลาดสมวัย
ชวนลูกเล่น ตามรอยพระยุคลบาท… เด็กฉลาดสมวัย

เปิดอ่าน 17,004 ครั้ง
เตือนภัย ระวังไวรัสบน Facebook กำลังระบาด
เตือนภัย ระวังไวรัสบน Facebook กำลังระบาด

เปิดอ่าน 15,232 ครั้ง
สูตรดีท็อกซ์ทำเองได้! ง่าย ๆ แค่ 7 วัน
สูตรดีท็อกซ์ทำเองได้! ง่าย ๆ แค่ 7 วัน

เปิดอ่าน 16,776 ครั้ง
Microsoft Office สำหรับไอแพด
Microsoft Office สำหรับไอแพด

เปิดอ่าน 26,162 ครั้ง
Computing Science : วิชาบังคับสำหรับนักเรียน ป.1 ไทย
Computing Science : วิชาบังคับสำหรับนักเรียน ป.1 ไทย

เปิดอ่าน 10,219 ครั้ง
คลิปน่ารัก เด็กชายวัย4ขวบร้องเพลงแบบอินสุดๆ
คลิปน่ารัก เด็กชายวัย4ขวบร้องเพลงแบบอินสุดๆ

เปิดอ่าน 13,025 ครั้ง
แนะเด็กกินผักสด สู้หวัดหน้าหนาว
แนะเด็กกินผักสด สู้หวัดหน้าหนาว

เปิดอ่าน 18,700 ครั้ง
นวดแก้ปวดไม่ใช้มือ ศาสตร์บำบัดล้านนา
นวดแก้ปวดไม่ใช้มือ ศาสตร์บำบัดล้านนา
เปิดอ่าน 20,572 ครั้ง
การส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่ส่งในย่าน VHF
การส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่ส่งในย่าน VHF
เปิดอ่าน 10,252 ครั้ง
พสกนิกร..สุดปีติ ในหลวงทรงโบกพระหัตถ์ จาก รพ.ศิริราช
พสกนิกร..สุดปีติ ในหลวงทรงโบกพระหัตถ์ จาก รพ.ศิริราช
เปิดอ่าน 36,160 ครั้ง
ขั้นตอนการใช้งานระบบลงทะเบียนและติดตามประเมินผลครูผู้เข้ารับการพัฒนา
ขั้นตอนการใช้งานระบบลงทะเบียนและติดตามประเมินผลครูผู้เข้ารับการพัฒนา
เปิดอ่าน 23,433 ครั้ง
มาตรฐานรูปแบบการนำเสนอภาพ
มาตรฐานรูปแบบการนำเสนอภาพ

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ