การสร้างรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดเกษมจิตตาราม (อนุบาลศึกษาพัฒนาการ) ตามรูปแบบ (PISAA) 5 ขั้นตอน เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ผู้วิจัยแบ่งการดำเนินงาน การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดเกษมจิตตาราม (อนุบาลศึกษาพัฒนาการ) แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดเกษมจิตตาราม (อนุบาลศึกษาพัฒนาการ) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) เป็นการออกแบบและพัฒนา (Design and Development D & D) การพัฒนาหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดเกษมจิตตาราม (อนุบาลศึกษาพัฒนาการ) ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) เป็นการนำไปใช้ (Implementation : I)การทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดเกษมจิตตาราม (อนุบาลศึกษาพัฒนาการ) และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) เป็นการประเมินผล (Evaluation : E) การประเมินและปรับปรุง แก้ไขการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดเกษมจิตตาราม (อนุบาลศึกษาพัฒนาการ) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบ การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดเกษมจิตตาราม (อนุบาลศึกษาพัฒนาการ) 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพ ของรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดเกษมจิตตาราม (อนุบาลศึกษาพัฒนาการ) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดเกษมจิตตาราม (อนุบาลศึกษาพัฒนาการ) และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูปฐมวัยที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดเกษมจิตตาราม (อนุบาลศึกษาพัฒนาการ) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) เด็กเพศชายและเพศหญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3/4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 25560 โรงเรียนเทศบาลวัดเกษมจิตตาราม (อนุบาลศึกษาพัฒนาการ) ซึ่งได้มาโดยการเลือกสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) จำนวน 20 คน 2) ครูปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดเกษมจิตตาราม (อนุบาลศึกษาพัฒนาการ)ซึ่งได้มาโดยการเลือกสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 12 คน ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย 1) ตัวแปรต้น (Independent Variable) ได้แก่ รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดเกษมจิตตาราม (อนุบาลศึกษาพัฒนาการ) ตามรูปแบบ (PISAA) 5 ขั้นตอน 2) ตัวแปรตาม (Dependent Variable) ได้แก่ ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ประกอบด้วย 5 ด้านและความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดเกษมจิตตาราม (อนุบาลศึกษาพัฒนาการ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดเกษมจิตตาราม (อนุบาลศึกษาพัฒนาการ) โดยถ่ายทอดแนวคิดของรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ออกมาในรูปแบบของแผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดเกษมจิตตาราม (อนุบาลศึกษาพัฒนาการ) 2) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดเกษมจิตตาราม (อนุบาลศึกษาพัฒนาการ) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) สถิติ Wilcoxon Signed-Ranks Test (Wilcoxon Value, Wilcoxon Prob)
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดเกษมจิตตาราม (อนุบาลศึกษาพัฒนาการ) ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานเอกสารและข้อมูลพื้นฐานบุคคล สามารถกำหนดเป็นนิยาม องค์ประกอบและพฤติกรรมในแต่ละองค์ประกอบของความสามารถใน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และแนวทางการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา พบว่า พฤติกรรมที่แสดงถึงการรับรู้การทำความเข้าใจกับปัญหาและการคิดหาเหตุผลเพื่อแสวงหาหาทางเลือกมาปฏิบัติในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยการกระตุ้นให้เด็กปฐมวัยคิดและตอบคำถามอย่างสม่ำเสมอ กิจกรรมการระดมสมอง ครูปฐมวัยและเด็กปฐมวัย มีส่วนร่วม ในกิจกรรมสร้างสรรค์โดยครูสามารถเป็นผู้กำหนดกรอบของคำถามในการระดมสมองเพื่อให้เกิดทิศทางในการค้นหาและได้มาซึ่งคำตอบตามวัตถุประสงค์ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ให้เด็กปฐมวัยคิดวางแผนและลงมือปฏิบัติกิจกรรมสร้างสรรค์ด้วยตนเองมีหลากหลาย ใช้หลายวิธีเหมาะสมกับวัยเด็กปฐมวัยโดยมีสื่อ วัสดุอุปกรณ์ที่แปลกใหม่ สีสันสวยงามประกอบกับ การสร้างสถานการณ์จำลองโดยใช้เหตุการณ์เกี่ยวกับชีวิตประจำวันเพื่อให้เด็กปฐมวัยได้แก้ปัญหา จากประสบการณ์ตรง มีการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในห้องเรียนสม่ำเสมอเพื่อสร้างแรงจูงใจ เด็กปฐมวัยได้เกิดคำถามและต้องการค้นหาคำตอบในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
2. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดเกษมจิตตาราม (อนุบาลศึกษาพัฒนาการ) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ดังนี้
2.1 ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดเกษมจิตตาราม (อนุบาลศึกษาพัฒนาการ) พบว่า กระบวนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ที่พัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วยความเป็นมาและความสำคัญ หลักการและแนวคิดพื้นฐาน วัตถุประสงค์ รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ขั้นตอนของรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ การประเมินผลและเงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ไปใช้ โดยกระตุ้นให้เด็กปฐมวัยใช้จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ คิดหาเหตุผล ในการนำความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่มีอยู่ตามระดับพัฒนาการมาใช้ในการแก้ปัญหาด้วยวิธีการซึ่งเป็นของตนเอง มีลักษณะแปลกใหม่ต่างจากสิ่งที่มีอยู่เดิมและหรือมีวิธีในการแก้ปัญหาที่หลากหลายมากกว่าหนึ่งแนวคิดหรือหนึ่งวิธีจนได้ผลการค้นพบว่าเป็นวิธีการที่สามารถใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามรูปแบบ (PISAA)
2.2 ผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดเกษมจิตตาราม (อนุบาลศึกษาพัฒนาการ) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 พบว่ารูปแบบการจัดกิจกรรม เสริมประสบการณ์ มีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ ( ) และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ( ) เท่ากับ 85.18/86.25 ตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
3. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล วัดเกษมจิตตาราม (อนุบาลศึกษาพัฒนาการ) พบว่าเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 หลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นจากก่อนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของครูปฐมวัยที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดเกษมจิตตาราม (อนุบาลศึกษาพัฒนาการ) พบว่าความพึงพอใจของครูปฐมวัยที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดเกษมจิตตาราม (อนุบาลศึกษาพัฒนาการ) รวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ( =4.36, =0.68)