บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์กับชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/ 80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์กับชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์กับชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านสระมาลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์กับชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์กับชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐศาสตร์กับชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์กับชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์กับชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เท่ากับ 85.22/ 85.98
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์กับชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เท่ากับ 0.6035 นั่นหมายความว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มสูงขึ้น 0.6035 หรือคิดเป็นร้อยละ 60.35
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์กับชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจทุกข้ออยู่ในระดับมากที่สุด