การพัฒนาหนังสือเสริมการเรียนรู้ ชุด ประวัติศาสตร์ชาติไทย วิชาประวัติศาสตร์ 3 (ส22102) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพหนังสือเสริมการเรียนรู้ ชุด ประวัติศาสตร์ชาติไทย วิชาประวัติศาสตร์ 3 (ส22102) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยหนังสือเสริมการเรียนรู้ ชุด ประวัติศาสตร์ชาติไทย วิชาประวัติศาสตร์ 3 (ส22102) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และ 3) ศึกษาความ พึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสือเสริมการเรียนรู้ ชุด ประวัติศาสตร์ชาติไทย วิชาประวัติศาสตร์ 3 (ส22102) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนบุญเรืองวิทยาคม อำเภอเชียงชอง จังหวัดเชียงราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 จำนวน 46 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ประสิทธิภาพหนังสือเสริมการเรียนรู้ ชุด ประวัติศาสตร์ชาติไทย วิชาประวัติศาสตร์ 3 (ส22102) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม คำนวณได้จากสูตร E1/ E2 ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ t - test Dependent
ผลการพัฒนา พบว่า
1. ประสิทธิภาพของหนังสือเสริมการเรียนรู้ ชุด ประวัติศาสตร์ชาติไทย วิชาประวัติศาสตร์ 3 (ส22102) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีค่าเท่ากับ 86.16/85.26 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. นักเรียนที่เรียนด้วยหนังสือเสริมการเรียนรู้ ชุด ประวัติศาสตร์ชาติไทย วิชาประวัติศาสตร์ 3 (ส22102) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนหนังสือเสริมการเรียนรู้ ชุด ประวัติศาสตร์ชาติไทย วิชาประวัติศาสตร์ 3 (ส22102) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ภาพรวมมีความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด