ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ เพื่อพัฒนาหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระดับมัธยมศึก

ชื่อเรื่อง การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ

เพื่อพัฒนาหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

ชื่อผู้วิจัย นงลักษณ์ แพงเรือน ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

สาขาวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)

ปีการศึกษา 2559

บทคัดย่อ

การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการเพื่อพัฒนาหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์การวิจัย 3 ประการ คือ 1) วิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษในปัจจุบันของผู้เรียนระดับความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้ภาษา (Learning needs) และในภาษาเป้าหมาย (Target needs) และการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ตามการรับรู้ของผู้เรียน ผู้สอนและผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร และศิษย์เก่าโรงเรียนนครสวรรค์ 2) ระบุหรือกำหนดความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการทั้งในทักษะหลักและทักษะย่อยของผู้เรียน (need identification) ตามการรับรู้ของผู้เรียน ผู้สอนและผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร และศิษย์เก่าโรงเรียนนครสวรรค์ และ 3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน หลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนครสวรรค์ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักที่จะประเมินความตองการจำเป็นในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางในการพัฒนาหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร และศิษย์เก่าโรงเรียนนครสวรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ ฃสำหรับผู้เรียน แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ สำหรับ ผู้สอนและผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร และศิษย์เก่าโรงเรียนนครสวรรค์ และแผนภูมิผังก้างปลา วิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้การหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index ในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ด้วยสูตร PNImodified

ผู้วิจัยได้ดำเนินการ 1) วิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ (learning situation analysis) ในการเรียนภาษาอังกฤษของผู้เรียน 2) ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชการ (needs identification) ตามการรับรู้ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้สอนและผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร และศิษย์เก่าโรงเรียนนครสวรรค์ 3) จัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในด้านทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการที่ต้องการพัฒนา จำแนกตามทักษะย่อย ทั้งในการเรียนรู้ภาษา (learning needs) และภาษาเป้าหมาย (target needs) ด้วยสูตร Priority Needs Index (PNI) สูตร PNImodified = (I-D)/D 4)นำข้อมูลสารสนเทศดังกล่าวมาพิจารณาร่วมกับข้อมูลที่ได้จากแผนผังก้างปลาแล้วลงข้อสรุปในประเด็นความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ 5) จัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการอีกครั้ง เพื่อยืนยันว่าความต้องการจำเป็นนั้นเป็นความต้องการจำเป็นอย่างแท้จริง และจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาอย่างแท้จริง รวมถึงเป็นข้อมูลที่สามารถใช้เป็นข้อมูลในการเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม อีกทั้ง ในการกำหนดแนวทางพัฒนาหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ผู้วิจัยได้ 1) ศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลโรงเรียนนครสวรรค์ที่เป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร เช่น โครงสร้างการบริหาร หลักสูตร กิจกรรมเสริมและกิจกรรมเฉพาะกิจ ผู้สอนและบุคลากรสนับสนุน ผู้เรียน การจัดการ ทรัพยากรการจัดการศึกษาเพิ่มเติม 2) เขียนร่างข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตร โดยพิจารณาข้อมูล 3 แหล่ง คือ ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนนครสวรรค์ และเอกสารรายงานผลการวิจัยทางการศึกษา 3) สังเคราะห์ข้อเสนอแนะแล้วเขียนร่างหลักการและแนวทางการดำเนินการพัฒนาหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ใน 7 ด้าน โดยยึดแนวปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ พ.ศ. 2557 ที่ประกอบด้วย ด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัดหลักสูตร ด้านการกำหนดเนื้อหาสาระการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรมเสริมและสื่อ ด้านการกำหนดวิธีการสอน และด้านการวัดและประเมินผลผู้เรียน 4) ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรงและประเมินความเหมาะสม คุ้มค่า ความเป็นไปได้ของข้อเสนอแนะ หลักการและแนวทางการดำเนินการในการพัฒนาหลักสูตร ผลการประเมินพบว่า หลักการ และแนวทางการดำเนินการในการพัฒนาหลักสูตรของมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความคิดเห็นตั้งแต่ 4.20-5.00 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าตั้งแต่ 0.00-1.41 เมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่า ค่าเฉลี่ยรวมมีค่าเท่ากับ 4.61 ซึ่งมากกว่า 3.51 และค่าเฉลี่ยรวมส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.20 ซึ่งน้อยกว่า 1.00 แสดงว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่าหลักการและแนวทางการดำเนินการในการพัฒนาหลักสูตรมีมีความตรง เหมาะสม คุ้มค่าและมีความเป็นไปได้มากที่สุด

สารสนเทศที่ได้จากการวิจัยประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ ที่ได้จากศึกษาวิจัย ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนนครสวรรค์ที่เป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรและเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยขอเสนอหลักการและแนวทางในการพัฒนาหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ดังรายละเอียด

หลักการ และแนวทางการพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

หลักการข้อที่ 1 ด้านบริหารจัดการหลักสูตร

โรงเรียนควรบริหารจัดการหลักสูตรโดยยึดเป้าหมายการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เปนสากล The Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) ทั้งในการออกแบบหลักสูตร การพัฒนาการเรียนการสอน การทดสอบ การวัดผล เพื่อสงเสริมการยกระดับความสามารถในการใชภาษาอังกฤษให้เทียบเคียงมาตรฐานสากล (World-Class Standard) และสร้างเสริมผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถ และมีคุณภาพได้มาตรฐานระดับสากลและก้าวสู่ Thailand 4.0 ทั้งนี้ การบริหารจัดการหลักสูตรควรใช้กระบวนการนิเทศ ติดตามการนำหลักสูตรไปใช้แบบบูรณาการแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การทำงานเป็นทีมของครู ผู้บริหาร นักการศึกษา โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียน อีกทั้งต้องคำนึงถึงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อพิจารณาถึงความสอดคล้องกันของ CEFR และหลักสูตรแกนกลางซึ่งได้กำหนดมาตรฐานของผู้เรียนไว้เช่นกัน เพื่อให้แนวทางการปรับหลักสูตรมีประสิทธิภาพและตอบโจทย์กับผู้เรียนมากขึ้น

แนวทางการดำเนินการ

1. บริหารจัดการหลักสูตรควรใช้กระบวนการนิเทศ ติดตามการนำหลักสูตรไปใช้แบบบูรณาการแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การทำงานเป็นทีมของครู ผู้บริหาร นักการศึกษา โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียน

2. จัดหาครูเจาของภาษาหรือวิทยากรที่มีความรูความเชี่ยวชาญทางภาษาอังกฤษมาชวยจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

3. จัดหองเรียน EP/MEP/EBE/EIS/IP หรือหองเรียนพิเศษดานภาษาอังกฤษ

4. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร

5. จัดรายวิชาและชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติม

6. จัดคายภาษาอังกฤษแบบเขมในชวงปดภาคเรียน

7. จัดสภาพแวดลอม/บรรยากาศที่สงเสริม/กระตุนการฝกทักษะการสื่อสาร เชน English Literacy Day, English Zone, English Corner, การประกวดแขงขัน

7. จัดสาระเพิ่มเติมหรือรายวิชาเพิ่มเติมนอกเหนือจากสาระหรือรายวิชาพื้นฐาน เช่น การพูดนำเสนองาน การพูดกล่าวสุนทรพจน์การพูดการอภิปรายการอ่านเพื่อความเข้าใจทั่วไป การอ่านเพื่อวิเคราะห์แนวความคิดของผู้เขียน การวิเคราะห์งานเขียน การเขียนสรุปความ การเขียนบทนำและการเขียนสรุป การเขียนเชิงสร้างสรรค์ และการเขียนงานเขียนตามหัวข้อที่สนใจ และการทำโครงงาน และอื่น ๆ ตามบริบทของโรงเรียนและตรงกับความต้องการจำเป็นของผู้เรียน

หลักการข้อที่ 2 ด้านการจัดหลักสูตร

โรงเรียนควรใชกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เปนสากล CEFR (The Common European Framework of Reference for Languages เปนกรอบความคิดหลักในการออกแบบหลักสูตร โดยใหมีสาระเพิ่มเติม หรือรายวิชาเพิ่มเติม หรือกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่หลากหลาย เช่น วิชาการสนทนาภาษาอังกฤษทั่วไป วิชาภาษาอังกฤษแบบเขมข้น วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาต่อ วิชาภาษาอังกฤษเชิงวิชาการเพื่อใหผู้เรียนเลือกเรียน ตามความสนใจ ความถนัด และตามศักยภาพของผู้เรียน และอื่น ๆ ตามบริบทของโรงเรียนและตรงกับความต้องการจำเป็นของผู้เรียน

แนวทางการดำเนินการ

1. จัดหลักสูตรที่มีความเขมขนดานทักษะการใชภาษาอังกฤษอยางหลากหลาย เพื่อสนองความแตกต่าง ความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน อาทิเช่น การสนทนาภาษาอังกฤษทั่วไป ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาต่อ และภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ โดยยึดสมรรถนะทางภาษาของผู้เรียนเป็นฐานในการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร

2. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เนนความสามารถทางดานภาษาตามระดับ CEFR

3. จัดหลักสูตรเทียบเคียงกับหลักสูตรตางประเทศ

4. จัดใหมีชั่วโมง Conversation

5. เพิ่มเวลาในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ

6. จัดทำหลักสูตร EP/MEP/EBE/ EIS/IP

7. จัดหลักสูตรคายอาเซียนหรือคายภาษาอังกฤษแบบเขม

หลักการข้อที่ 3 ด้านการกำหนดเนื้อหาสาระ

โรงเรียนควรใชกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เปนสากล CEFR (The Common European Framework of Reference for Languages เปนกรอบความคิดหลักในการออกแบบหรือกำหนดเนื้อหาสาระการเรียนรู้ ทีเชื่อมโยง บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ภายใต้หลักการและแนวคิดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ทุกประการ เพื่อเตรียมผู้เรียนให้มีพื้นฐานและมีความพร้อมในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

แนวทางการดำเนินการ

1 กำหนดหาสาระเพิ่มเติมที่เชื่อมโยงกับเนื้อหาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ หรือบูรณาการกับวิชาอื่น ๆ

2. พัฒนาสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษ

หลักการข้อที่ 4 ด้านการเรียนการสอน

โรงเรียนควรเพิ่มจุดเนนกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบเข้มตามแนวการสอนโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class-Standard School) ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในฐานะพลเมืองของชาติ พลโลก มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ที่เน้นการสื่อสารเชิงวิชาการเพิ่มมากขึ้นในทักษะการฟังเพื่อความเข้าใจ (Listening comprehension skills) โดยอาจจัดรายวิชาเพิ่มเติม หรือสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากสาระหรือรายวิชาพื้นฐานทั่วไป เพื่อสงเสริมการยกระดับความสามารถในการใชภาษาอังกฤษ สำหรับผู้เรียนที่มีความสามารถทางวิชาการสูง

แนวทางการดำเนินการ

1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะการฟังเพื่อความเข้าใจ (Listening comprehension skills) แบบเข้ม เช่น ฟังแล้วเข้าใจประโยคที่มีโครงสร้างซับซ้อน ฟังแล้วสรุปความหมายคำศัพท์หรือกลุ่มคำที่ไม่คุ้นเคย ฟังแล้วสกัดข้อมูลที่ผู้พูดไม่กล่าวไว้อย่างชัดเจนได้ ฟังแล้วสรุปใจความสำคัญ ฟังแล้วรับรู้ถึงเจตคติของผู้พูด ฟังแล้วแปลความ ฟังแล้วจับใจความสำคัญ ฟังแล้วประเมินความสำคัญของข้อมูล ฟังแล้วเขียนบันทึกย่อ และฟังข้อมูลเฉพาะทางวิชาการ

2. จัดเนื้อหาสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมแบบเข้ม ในทักษะการฟังเพื่อความเข้าใจ (Listening comprehension skills) เพื่อเตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เช่น การฟังคำบรรยายเพื่อจดบันทึกข้อมูล การอภิปรายผลการทดลองและในห้องเรียน การฟังคำบรรยายในห้องเรียนและปฏิบัติตาม การฟังการอภิปราย ประชุม สัมมนาเป็นภาษาอังกฤษ การฟังคำถามจากเพื่อนในห้องเรียน การฟังวิทยุข่าวสารภาษาอังกฤษ การฟังประกาศภาษาอังกฤษตามสถานที่ต่าง การฟังการนำเสนองาน การฟังและพูดในการสนทนาเผชิญหน้า การฟังรายการทีวีภาษาอังกฤษ เช่น ข่าว สารคดี การฟังบทสนทนาทางโทรศัพท์ การฟังชาวต่างชาติที่เป็นเจ้าของภาษา การฟังชาวต่างชาติที่ไม่ได้เป็นเจ้าของภาษา การฟังเสียงภาพยนตร์ ฟังเพลงภาษาอังกฤษ และการฟังคำอภิปรายผลการทดลองในห้องทดลองและห้องเรียน

หลักการข้อที่ 5 ด้านการเรียนการสอน

โรงเรียนควรเพิ่มจุดเนนกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบเข้ม ตามแนวการสอนโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class-Standard School) ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในฐานะพลเมืองของชาติ พลโลก มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ที่เน้นการสื่อสารเชิงวิชาการเพิ่มมากขึ้น ในทักษะการพูดเชิงวิชาการ (Academic speaking skills) โดยอาจจัดรายวิชาเพิ่มเติม หรือสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากสาระหรือรายวิชาพื้นฐานทั่วไป เพื่อสงเสริมการยกระดับความสามารถในการใชภาษาอังกฤษ สำหรับผู้เรียนที่มีความสามารถทางวิชาการสูง

แนวทางการดำเนินการ

1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะการพูดเชิงวิชาการ (Academic speaking skills) แบบเข้ม เช่น พูดนำเสนอรายงานในชั้นเรียน พูดอภิปรายกับครูชาวต่างชาติ พูดรายงาน นำเสนอข้อมูล ความรู้ต่าง ๆ พูดสรุปใจความสำคัญ พูดถาม/ตอบคำถามในชั้น พูดนำเสนอรายงานในชั้นเรียน พูดแนะนำตัวเอง พูดบอกความเหมือน/ความแตกต่าง พูดแสดงวิธีแก้ปัญหา พูดแสดงเหตุผล และพูดบรรยาย พูดใช้เสียงสูงต่ำและการเน้นคำได้เหมาะสม พูดและคิดคำพูดได้เร็ว พูดบอกความเหมือน /ความแตกต่าง พูดแสดงการวิเคราะห์ วิพากษ์ และพูดออกเสียงได้ถูกต้อง

2. จัดเนื้อหาสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมแบบเข้ม ในทักษะการพูดเชิงวิชาการ (Academic speaking skills) เพื่อเตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เช่น การพูดนำเสนอรายงานในห้องเรียนภาษาอังกฤษ) การพูดอภิปรายเรื่องทั่ว ๆ ไป เหตุการณ์ปัจจุบันกับชาวต่างชาติ การพูดนำเสนองาน หรือผลงานเป็นภาษาอังกฤษในสถานที่ทำงาน การพูดกับนักท่องเที่ยวอย่างไม่เป็นทางการ การพูดกับชาวต่างชาติที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา การพูดกับชาวต่างชาติที่เป็นเจ้าของภาษา การพูดอภิปรายเรื่องทั่ว ๆ ไปเหตุการณ์ปัจจุบันในห้องเรียนภาษาอังกฤษ และการพูดเพื่อการท่องเที่ยวในต่างประเทศ

หลักการข้อที่ 6 ด้านการเรียนการสอน

โรงเรียนควรเพิ่มจุดเนนกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบเข้ม ตามแนวการสอนโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class-Standard School) ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในฐานะพลเมืองของชาติ พลโลก มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ที่เน้นการสื่อสารเชิงวิชาการเพิ่มมากขึ้น ในทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ (Reading comprehension skills) โดยอาจจัดรายวิชาเพิ่มเติม หรือสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากสาระหรือรายวิชาพื้นฐานทั่วไป เพื่อสงเสริมการยกระดับความสามารถในการใชภาษาอังกฤษ สำหรับผู้เรียนที่มีความสามารถทางวิชาการสูง

แนวทางการดำเนินการ

1.จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ (Reading comprehension skills) แบบเข้ม เช่น อ่านแล้วสังเคราะห์เรื่องที่อ่าน รู้ไวยากรณ์ในเรื่องที่อ่าน เข้าใจเรื่องที่อ่านทั้งหมด จำแนก แยกแยะระหว่างข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น ทำนายหรือคาดเดาเหตุการณ์ของเรื่องที่อ่าน วิเคราะห์เรื่องที่อ่าน อ่านอย่างเร็ว อ่านเพื่อบันทึกย่อ กลวิธีการอ่านเพื่อความเข้าใจ เข้าใจข้อมูลที่ผู้เขียนตั้งใจบอก เข้าใจโครงสร้างของเรื่องที่อ่าน เข้าใจคำศัพท์ที่ปรากฏในบทอ่าน อ่านหาข้อความสนับสนุน เข้าใจรูปแบบของงานเขียน อ่านโดยไม่ต้องแปล อ่านเร็วเพื่อสำรวจค้นหาเฉพาะข้อความสำคัญก่อนที่จะอ่านข้อเขียนนั้นอย่างละเอียดแบบ skimming, scanning อ่านหาข้อความสนับสนุน เข้าใจใจความสำคัญ หรือจุดสำคัญของเรื่อง เดาความหมายคำศัพท์ที่ไม่รู้ความหมายจากบริบท และอ่านเพื่อความเข้าใจเนื้อหาเฉพาะวิชา

2. จัดเนื้อหาสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมแบบเข้ม ในทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ (Reading comprehension skills) เพื่อเตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เช่น การอ่านเนื้อหาเฉพาะวิชา เช่น เนื้อหาวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา, คณิตศาสตร์ การอ่านข้อมูลจากกราฟที่สอดคล้องกับเนื้อหาเฉพาะวิชา การอ่านเพื่อเข้าใจคำถามและข้อสอบ การอ่านแล้วแปลเนื้อหาเฉพาะวิชาเป็นภาษาไทย การอ่านหนังสืออ้างอิง การอ่านอย่างเร็ว การอ่านวารสารวิชาการ การอ่านแนวความคิดของผู้เขียน การอ่านหนังสือเรียน ตำราเรียนภาษาอังกฤษ การอ่านทั่วไปเพื่อความเข้าใจ การอ่านนิทาน เรื่องสั้น นิยาย การอ่านบทความในอินเทอร์เน็ต การเข้าใจคำศัพท์ที่ปรากฏในบทอ่านละ และการสังเคราะห์เรื่องที่อ่าน

หลักการข้อที่ 7 ด้านการเรียนการสอน

โรงเรียนควรเพิ่มจุดเนนกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบเข้ม ตามแนวการสอนโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class-Standard School) ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในฐานะพลเมืองของชาติ พลโลก มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ที่เน้นการสื่อสารเชิงวิชาการเพิ่มมากขึ้นในทักษะการเขียนเชิงวิชาการ (Academic writing skills) โดยอาจจัดรายวิชาเพิ่มเติม หรือสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากสาระหรือรายวิชาพื้นฐานทั่วไป เพื่อสงเสริมการยกระดับความสามารถในการใชภาษาอังกฤษ สำหรับผู้เรียนที่มีความสามารถทางวิชาการสูง

แนวทางการดำเนินการ

1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะการเขียนเชิงวิชาการ (Academic writing skills) แบบเข้ม เช่น เขียนสรุปย่อใจความสำคัญ เขียนบรรยายกระบวนการ วางแผนการเขียน เขียนเปรียบเหมือน/เปรียบต่าง เรียบเรียงเนื้อหาให้ได้ใจความตามรูปแบบของประโยคอย่างต่อเนื่อง สร้างสรรค์ความคิด เขียนงานเขียน จัดลำดับความคิดตามลำดับความสำคัญ เขียนโต้แย้ง จัดระบบความคิดเป็นระเบียบ เขียนประโยคใจความสำคัญ เขียนฉบับร่างและปรับปรุงงานเขียน เขียนอธิบายความ เชื่อมโยงความคิดให้สอดคล้องทักษะคิด วิพากษ์วิจารณ์ ระบุปัญหาและเขียนแนวทางการแก้ปัญหา เขียนถ่ายโยงเป็นภาษาของตนเอง

2. จัดเนื้อหาสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมแบบเข้ม ในทักษะการเขียนเชิงวิชาการ (Academic writing skills) เพื่อเตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เช่น การเขียนรายงานในวิชาเรียนเป็นภาษาอังกฤษ การเขียนบทนำและเขียนสรุป การเขียนเรียงความ การเขียนบรรยาย วัตถุสิ่งของและขั้นตอน การวิเคราะห์งานเขียน การเขียนแบบสังเคราะห์ข้อมูลจากหลายแหล่ง การเขียนสรุปใจความสำคัญของเรื่องที่ฟังหรืออ่าน การเขียนแบบกรณีศึกษา การเขียนสรุปข้อมูลที่เป็นจริง การเขียนประโยคซับซ้อน การสร้างสรรค์งานเขียน การเขียนอ้างอิงและการยกคำหรือข้อความ การจดบันทึกจดหมายเป็นภาษาอังกฤษ การเขียน e-mail เป็นภาษาอังกฤษถึงชาวต่างชาติ การเขียนประโยคต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง การวิเคราะห์งานเขียน การเขียนตอบในข้อสอบ

หลักการข้อที่ 8 ด้านการเรียนการสอน

โรงเรียนควรจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่เน้นการมีส่วนร่วมและบทบาทในการเรียนรู้ของผู้เรียน ครอบคลุมวิธีการเรียนการสอนที่หลากหลายวิธี เช่น การเรียนรู้ด้วยการค้นพบ (Discovery Learning) การเรียนรู้จากกรณีปัญหา (Problem–Based Learning) การเรียนรู้จากการสืบค้น (Inquiry–Based Learning) และการเรียนรู้ จากการทํากิจกรรม (Activity–Based Learning) โดยมีหลักการสําคัญคือ ให้ผู้เรียนมีบทบาทหลักในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความตื่นตัวและกระตือรือร้นด้านการรู้คิด (Cognitively Active) ทําให้ได้การเรียนรู้มีประสิทธิผลสูง เป็นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ ได้ด้วยตนเองทําให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องนอกห้องเรียน (Life–long Learning) เนื่องจากแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกเป็นแนวทางการดำเนินการที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ด้วยตนเอง (self-directed learning) และการเรียนรู้ตลอดชีวิต (life-long leaning)

แนวทางการดำเนินการ

1. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ภาษาในทุกรูปแบบ เช่น กิจกรรมเดี่ยว กิจกรรมคู่และกิจกรรมกลุ่ม

2. ใช้วิธีการสอนแบบตรง การสอนแบบการแก้ปัญหา การสอนที่ใช้จินตนาการและสร้างสรรค์ เช่น การสอนแบบโครงงาน การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน การศึกษาค้นคว้าและนำเสนอรายงาน

3. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เช่น การค้นพบ (Discovery Learning) การเรียนรู้จากกรณีปัญหา (Problem–Based Learning) การเรียนรู้จากการสืบค้น (Inquiry–Based Learning) และการเรียนรู้จากการทํากิจกรรม (Activity–Based Learning) อื่น ๆ

หลักการข้อที่ 9 ด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร

โรงเรียนควรจัดกิจกรรมและสภาพแวดลอมที่สงเสริมความสามารถดานภาษาอังกฤษ เชน

การเขาคายภาษาอังกฤษแบบเขม และคายนานาชาติสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถสูง การจัดสภาพแวดลอม บรรยากาศที่สงเสริม ที่เอื้อและกระตุนการฝึกทักษะการสื่อสาร การประกวดแขงขันตาง ๆ

ปายสารนิเทศ และการเพิ่มกิจกรรมการอานในและนอกหองด้วยเนื้อหาสาระที่หลากหลาย

แนวทางการดำเนินการ

1. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เนนความสามารถทางดานภาษาตามระดับ CEFR

2. จัดกิจกรรมและเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรูเพื่อฝกฝนและเสริมทักษะทางภาษา จัดบรรยากาศ กระตุนสงเสริมการใชภาษาอังกฤษของนักเรียนทั้งในและนอกหองเรียน

หลักการข้อที่ 10 ด้านสื่อการเรียนรู้

โรงเรียนควรสงเสริมใหมีการใชสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาเปนเครื่องมือสำคัญในการชวยพัฒนาความสามารถทางภาษาของผูเรียน ทั้งการสงเสริมใหมีการผลิต การสรรหา รวมถึงแบบฝก ใบงาน ที่ไดมาตรฐานและมีคุณภาพสำหรับการเรียนรู รวมทั้งสงเสริมใหมีการใชชองทางการเรียนรู้

ผานโลกดิจิทัล เช่น e-content, Learning applications Digital, e-book, learning.app., website

แนวทางการดำเนินการ

1. ใช้สื่อที่หลากหลายประเภท ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิดีโอคลิป You-tube, Internet และ Applications ต่าง ๆ

2. เลือกใชสื่อแบบเรียน/แบบฝกระดับสูงตามความเหมาะสม

3. ใชสื่อ Digital, e-book, learning.app., website ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู โดยใช ประโยชนจาก Tablet

4. จัดกิจกรรมการเรียนรู้อื่นเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมทักษะการสืบค้น การทำข้อสอบ และการจดบันทึกข้อมูล และอื่น ๆ

หลักการข้อที่ 11 ด้านการวัดและประเมินผล

โรงเรียควรใชกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เปนสากล The Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) เปนกรอบความคิดหลักในการการวัดและประเมินผล เน้นการประเมินตามสภาพจริงด้วยหลากหลายวิธีการ โดยยึดสมรรถนะทางภาษาอังกฤษของผู้เรียนเป็นฐาน

แนวทางการดำเนินการ

1. ส่งเสริมให้ผู้สอนใช้วิธีการวัดและประเมินผลโดยการทดสอบ ประเมินจากผลงาน ชิ้นงาน ภาระงาน ใบงานและแฟ้มสะสมผลงาน และประเมินโดยการสังเกตพัฒนาการเป็นรายบุคคล

2. วัดและประเมินผลทักษะพื้นฐานทางภาษาทั้งสี่ด้าน (ฟัง พูด อ่าน เขียน) และเน้นการวัดทักษะการสื่อสาร การฟงและการพูดเบื้องตนในลักษณะการประเมินตามสภาพจริงหรือประเมินรวบยอดปลายปีตามมาตรฐานที่กำหนดในหลักสูตร

3. วัดและประเมินผลทักษะ soft skill เพิ่มเติม เช่น ทักษะในการคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร

การเข้าสังคม การทำงานเป็นทีม การสืบค้นข้อมูล การทำงานร่วมกัน และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

คำสำคัญ

การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (needs assessment)

แนวทางการพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เปนสากล CEFR

แนวทางการรพัฒนาหลักสูตรตามแนวการสอนโรงเรียนมาตรฐานสากล

แนวทางการรพัฒนาหลักสูตรตามมาตรฐานระดับสากลและก้าวสู่ Thailand 4.0

โพสต์โดย Northstar : [1 ธ.ค. 2561 เวลา 18:45 น.]
อ่าน [3783] ไอพี : 182.53.122.181
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 26,995 ครั้ง
การนวดท้องแบบ"ชิเนซัง"(Shi-Nei-Tsang) ปลดปล่อยสารพิษในร่างกาย
การนวดท้องแบบ"ชิเนซัง"(Shi-Nei-Tsang) ปลดปล่อยสารพิษในร่างกาย

เปิดอ่าน 3,752 ครั้ง
พระรัตนตรัย
พระรัตนตรัย

เปิดอ่าน 19,481 ครั้ง
25 พฤศจิกายน วันวชิราวุธ
25 พฤศจิกายน วันวชิราวุธ

เปิดอ่าน 12,892 ครั้ง
เตาอบไมโครเวฟ ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ไหม
เตาอบไมโครเวฟ ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ไหม

เปิดอ่าน 9,891 ครั้ง
หายใจผิด ตัวการทำลายผิว
หายใจผิด ตัวการทำลายผิว

เปิดอ่าน 8,804 ครั้ง
พัฒนาไปไกล! อังกฤษตั้งทีมวิจัยศึกษา 5G แล้ว
พัฒนาไปไกล! อังกฤษตั้งทีมวิจัยศึกษา 5G แล้ว

เปิดอ่าน 9,223 ครั้ง
อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว
อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว

เปิดอ่าน 7,908 ครั้ง
ทดสอบความทนทาน"ไอโฟน 5" พัง-ไม่พัง แตก-ไม่แตก
ทดสอบความทนทาน"ไอโฟน 5" พัง-ไม่พัง แตก-ไม่แตก

เปิดอ่าน 17,995 ครั้ง
ปลูกว่านเสริมชะตา
ปลูกว่านเสริมชะตา

เปิดอ่าน 74,861 ครั้ง
ประวัติโทรทัศน์ไทย
ประวัติโทรทัศน์ไทย

เปิดอ่าน 12,775 ครั้ง
รูปหัวใจทำไมเป็นแบบนี้
รูปหัวใจทำไมเป็นแบบนี้

เปิดอ่าน 27,365 ครั้ง
E-mail Scams คืออะไร?
E-mail Scams คืออะไร?

เปิดอ่าน 172,116 ครั้ง
ดนตรีไทย
ดนตรีไทย

เปิดอ่าน 27,181 ครั้ง
งูพิษกัด
งูพิษกัด

เปิดอ่าน 11,830 ครั้ง
ปฏิรูปการศึกษาไม่มีวันสำเร็จ ถ้าไม่รื้อรากความงมงาย
ปฏิรูปการศึกษาไม่มีวันสำเร็จ ถ้าไม่รื้อรากความงมงาย

เปิดอ่าน 21,547 ครั้ง
ฟอร์บส์จัดอันดับ 50 อันดับมหาเศรษฐีเมืองไทย ใครติดอันดับปีนี้บ้าง
ฟอร์บส์จัดอันดับ 50 อันดับมหาเศรษฐีเมืองไทย ใครติดอันดับปีนี้บ้าง
เปิดอ่าน 21,592 ครั้ง
ทฤษฎี 3 องค์ประกอบ
ทฤษฎี 3 องค์ประกอบ
เปิดอ่าน 12,095 ครั้ง
6 เหตุผลน่าแปลกใจ ทำไมถึงนอนไม่หลับ
6 เหตุผลน่าแปลกใจ ทำไมถึงนอนไม่หลับ
เปิดอ่าน 12,156 ครั้ง
บริหารหน้าอย่างไร ให้ดูน่ามอง
บริหารหน้าอย่างไร ให้ดูน่ามอง
เปิดอ่าน 91,448 ครั้ง
การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอย่างพอเหมาะกับพืช
การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอย่างพอเหมาะกับพืช

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ