ชื่อเรื่อง ผลการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยปีที่ 2 โดยการจัดกิจกรรมศิลปะ
การปะติดเศษวัสดุ
ผู้วิจัย สุจัญญา รอดสุด
ปีที่ศึกษา พ.ศ. 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ผลการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยปีที่ 2 โดยการจัดกิจกรรมศิลปะการปะติดเศษวัสดุ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัยปีที่ 2 โดยการจัดกิจกรรมศิลปะการปะติด เศษวัสดุ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2เพื่อเปรียบเทียบผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยกิจกรรมศิลปะการปะติด เศษวัสดุ ของเด็กปฐมวัยปีที่ 2 ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมศิลปะการปะติด เศษวัสดุ 3) ความพึงพอใจต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยกิจกรรมศิลปะการปะติด เศษวัสดุ ของเด็กปฐมวัยปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 29 คน โรงเรียน อบจ.บ้านไม้เรียบ (ตันติโกวิทบำรุง) สังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต โดยการจัดกิจกรรมศิลปะการปะติดเศษวัสดุ จำนวน 9 หน่วย 27 แผน ใช้สอน 9 สัปดาห์ แบบสังเกตพฤติกรรมความคิดสร้างสรรค์ และแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ แผนการทดลองเป็นแบบ One Group Pre-test Post-test Design การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า
1.ประสิทธิภาพแผนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยปีที่ 2 โดยการจัดกิจกรรมศิลปะการปะติดเศษวัสดุ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.50/82.90 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. เปรียบเทียบผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยกิจกรรมศิลปะการปะติด เศษวัสดุ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมศิลปะการปะติด เศษวัสดุหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ความพึงพอใจต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยกิจกรรมศิลปะการปะติด เศษวัสดุ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 อยู่ในระดับมาก