การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องแรงในชีวิตประจำวัน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องแรงในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องแรงในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องแรงในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 1) ชุดกิจกรรมารเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องแรงในชีวิตประจำวัน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiring Process) 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องแรงในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าที (t test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องแรงในชีวิตประจำวัน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.25 / 83.83 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องแรงในชีวิตประจำวัน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องแรงในชีวิตประจำวัน โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก