ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค TGT เรื่อง ผัก ผลไม้ดีมีคุณค่า สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
ผู้รายงาน วิภาพรรณ แก้วศรี
สถานศึกษา โรงเรียนเมืองพัทยา 9 (วัดโพธิสัมพันธ์)
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค TGT เรื่อง ผัก ผลไม้ดีมีคุณค่า สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 2) พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค TGT เรื่อง ผัก ผลไม้ดีมีคุณค่า สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค TGT เรื่อง ผัก ผลไม้ดีมีคุณค่า สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 และ 4) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค TGT เรื่อง ผัก ผลไม้ดีมีคุณค่า สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 การวิจัยดำเนินการตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค TGT เรื่อง ผัก ผลไม้ดีมีคุณค่า สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 (Design and Develop : D1, D2)ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค TGT เรื่อง ผัก ผลไม้ดีมีคุณค่า สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 (Implement : I) ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค TGT เรื่อง ผัก ผลไม้ดีมีคุณค่า สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 (Evaluation : E) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเมืองพัทยา 9 (วัดโพธิ์สัมพันธ์) จำนวน 35 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณลักษณ์อันพึงประสงค์ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค TGT เรื่อง ผักผลไม้ดีมีคุณค่า ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า
1.รูปแบบการจัดประสบการณ์ที่พัฒนาขึ้น คือ รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค TGT เรื่อง ผักผลไม้ดีมีคุณค่า สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่สร้างขึ้นมา 6 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ ดังนี้ กรอบแนวคิดทฤษฎีพื้นฐาน หลักการของรูปแบบ เน้นผู้เรียนเรียนรู้ร่วมกัน มีการแข่งขันและยอมรับในความสำเร็จของทีม วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เนื้อหา ขั้นตอนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการวัดผลประเมินผล มีกระบวนการเรียนรู้ดังนี้ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม 2) ขั้นสอน 3) ขั้นจัดทีม 4) ขั้นแข่งขัน และ 5) ขั้นยอมรับสำเร็จ
2. ผลการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า รูปแบบการจัดประสบการณ์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก
3.ผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค TGT เรื่อง ผักผลไม้ดีมีคุณค่า สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 พบว่า พบว่า คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะพึงประสงค์ของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือโดยเทคนิค TGT สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05