การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการเขียน เชิงสร้างสรรค์ผ่านวรรณกรรมท้องถิ่นสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนครบุรี กรณีศึกษาตำนานเขาจอมทอง 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการเขียนเชิง สร้างสรรค์ผ่านวรรณกรรมท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนครบุรี กรณีศึกษาตำนานเขาจอมทอง 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการเขียนเชิง สร้างสรรค์ผ่านวรรณกรรมท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนครบุรี กรณีศึกษา นานเขาจอมทอง 3.1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษาตำนานเขาจอมทอง ผ่านวรรณกรรมท้องถิ่น ระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรม สำหรับนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3.2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษาตำนานเขาจอมทอง ผ่านวรรณกรรมท้องถิ่น ระหว่างห้องเรียนควบคุมกับห้องเรียนปกติ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการเขียนเชิงสร้างสรรค์ผ่านวรรณกรรมท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนครบุรี กรณีศึกษาตำนานเขาจอมทอง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนครบุรี อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 34 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม(Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 14 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.42 0.69 ค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.33 0.55 และแบบประเมินความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการเขียน เชิงสร้างสรรค์ผ่านวรรณกรรมท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนครบุรี กรณีศึกษาตำนานเขาจอมทอง พบว่า การจัดการศึกษามีสภาพที่คาดหวังคือเพื่อมุ่งปฏิรูปการเรียนรู้โดยยึดหลักผู้เรียนเป็นสำคัญ หลักการเรียนรู้ตนเองและหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต เน้นพลังความคิดสร้างสรรค์ การสร้างนิสัยรักการอ่าน การจัดการเรียนรู้ต้องปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนไปจากเดิม คือ เปลี่ยน จากการสอนความรู้เป็นการสอนวิธีการเรียนรู้ ซึ่งเทคนิควิธีการเรียนรู้คือรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการเขียนเชิงสร้างสรรค์ผ่านวรรณกรรมท้องถิ่น การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการลงมือกระทำด้วยตนเอง การจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนครบุรี การเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผู้เรียน มีความรู้สึกว่า การเขียนเชิงสร้างสรรค์เป็นเรื่องที่ยาก จึงไม่ชอบและอยากที่จะฝึกฝน คิดเป็นร้อยละ 98.18 มีค่าเฉลี่ย = 4.91 , S.D. = 0.29 ลำดับรองลงมา คือ สภาพแวดล้อม บรรยากาศในการเรียนที่สนุกสนานทำให้ข้าพเจ้ามีความสุข จนสามารถสร้างผลงานเขียนได้ คิดเป็นร้อยละ 93.94 มีค่าเฉลี่ย = 4.70 , S.D. = 0.64 และข้าพเจ้ามีความสุขในการนำเรื่องในท้องถิ่นมาเขียนให้ผู้อื่นได้รับรู้ คิดเป็นร้อยละ 93.33 มีค่าเฉลี่ย = 4.67, S.D. = 0.65 แสดงให้เห็นว่า การเขียนเป็นทักษะที่ยากสำหรับนักเรียน แต่ถ้าได้มาซึ่งสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยและการประชาสัมพันธ์ท้องถิ่นของตนเอง ก็จะเป็นแรงผลักดันให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ได้ดีขึ้นได้
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการเขียนเชิงสร้างสรรค์ผ่านวรรณกรรมท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนครบุรี กรณีศึกษาตำนานเขาจอมทอง เรียกว่า PEACE Model พบว่า มีประสิทธิภาพ 80.75/89.31 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการเขียน เชิง สร้างสรรค์ผ่านวรรณกรรมท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนครบุรี กรณีศึกษาตำนานเขาจอมทอง พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการเขียนเชิงสร้างสรรค์ผ่านวรรณกรรมท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 โรงเรียนครบุรี กรณีศึกษาตำนานเขาจอมทอง มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัด การเรียนรู้วิชาภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการเขียนเชิงสร้างสรรค์ผ่านวรรณกรรมท้องถิ่น สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนครบุรี กรณีศึกษาตำนานเขาจอมทอง มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่ต่อรูปแบบการจัด การเรียนรู้วิชาภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการเขียนเชิงสร้างสรรค์ผ่านวรรณกรรมท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนครบุรี กรณีศึกษาตำนานเขาจอมทอง อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.75 , S.D. = 0.43)