ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รายงานการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหา

การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย (Research and Development) โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยผสมผสานวิธี (Mixed Methods Design) ด้วยการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Methods) ร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Methods) เพื่อการตอบคำถามการวิจัยให้คลอบคุลมวัตถุประสงค์ 4 ประการ ดังนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานผสานความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย และ 4) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการร์การเรียนรู้แบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัยไปใช้ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบกำหนดกลุ่มควบคุม ทดสอบก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ต่อเนื่องตามกำหนด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการจัดประสบการณ์เป็นครูปฐมวัย 6 คน และเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 1, 2 และ 3 จำนวน 30 คน ของโรงเรียนอนุบาลกันตวจระมวล ในภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t – test Dependent Samples) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การดำเนินการวิจัยสามารถสรุปผลการวิจัย ดังรายละเอียดต่อไปนี้

สรุปผลการวิจัย

ผลการวิจัย เรื่อง ปรากฏผลดังนี้การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานเอกสารและข้อมูลพื้นฐานบุคคล สามารถกำหนดนิยาม องค์ประกอบและพฤติกรรมบ่งชี้ในแต่ละองคฺประกอบของทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และแนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ พบว่า โดยพิจารณาระดับพฤติกรรมที่แสดงถึงความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย 5 ด้าน ดังนี้

1.1 ทักษะการค้นพบความจริง (Fact-Finding Skills) หมายถึง ระดับความสามารถในการค้นหาข้อมูลจากสถานการณ์หรือข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในสถานการณ์ วัดได้จากระดับพฤติกรรมบอกข้อมูลจากสถานการณ์หรือข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง

1.2 ทักษะการค้นพบปัญหา (Problem-Finding Skills) หมายถึง ระดับพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความสามารถในการระบุสาเหตุของปัญหา ที่เกิดจากสถานการณ์อื่นได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล

1.3 ทักษะการค้นพบแนวคิด (Idea -Finding Skills) หมายถึง ระดับพฤติกรรมการหาแนวทางและวิธีการแก้ปัญหาที่เป้นไปได้มากที่สุด และแนวโน้มนำไปแก้ปัญหาได้จริง 1.4 ทักษะการค้นพบวิธีการแก้ปัญหา (Solution-Finding Skills) หมายถึง ความสามารถในการเสนอเกณฑ์หรือแสดงเหตุผลในการต้ดสินใจเลือกแนวทางและวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

1.5 ทักษะการสร้างสรรค์ความรู้(Creating new knowledge Skills) หมายถึง ระดับพฤติกรรมในการนำความรู้ หรือข้อมูลจากคำตอบของปัญหามาสร้างความรู้ใหม่ โดยมีการเชื่อมต่อกับสถานการณ์อื่นๆ และมีแนวโน้มในการนำไปปฏิบัติจริงได้

แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย การใช้กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน 7 ขั้นตอนร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิครูปแบบการสืบสวนเป็นกลุ่ม (Group Investigation: GI) และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นองค์ประกอบในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยการใช้เทคนิคการสอนที่กระตุ้นพัฒนาการหลากหลายวิธี เช่น การใช้คำถามปลายเปิด การใช้สื่อและภูมิปัญญท้องถิ่นที่คุ้นเคยใกล้ชิดกับเด็กปฐมวัย ประกอบการสำรวจ สืบค้น และทดลองตามกระบวนการเรียนแบบโครงงาน

2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบโครงงานเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ได้ผลดังนี้ กระบวนการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยที่ส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย ขั้นตอนรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับกระบวนการเรียนแบบร่วมมือและภูมิปัญญาท้องถิ่น จนได้ผลการค้นพบว่าเป็นวิธีการสอนที่ช่วยส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย (PCLKK) ประกอบด้วย การเรียนแบบโครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning : P ) ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือรูปแบบการสืบสวนเป็นกลุ่ม (Cooperative Learning : C) และภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local knowledge : LK) สำหรับเด็กปฐมวัย (Kindergarten :K) โดยมีขั้นตอนในการจัดประสบการณ์จำนวน 7 ขั้นตอนคือ

ขั้นที่ 1 ขั้นการสำรวจ หมายถึง การสังเกต การสำรวจข้อมูล และทำความเข้าในในสถานการณ์ และนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาวิเคราะห์

ขั้นที่ 2 ขั้นกระตุ้นคิด หมายถึง การที่ครูกระตุ้นความคิดของนักเรียนโดยการใช้คำถามที่ยั่วยุ กระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดอย่างอิสระ เพื่อให้นักเรียนระบุปัญหาที่ต้องการสืบค้น

ขั้นที่ 3 สืบค้นและรวบรวมข้อมูล หมายถึง การเสาะแสวงหาข้อมุลจากแหล่งข้อมูลด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น การสัมภาษณ์ การค้นอินเทอร์เน็ต

ขั้นที่ 4 ขั้นทดลอง หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น มาวิเคราะห์วิธีการสดลอง นำข้อมูลมาทำการทดลอง

ขั้นที่ 5 ขั้นสรุปผลการทดลอง หมายถึง การนำผลการทอลองมาสรุปผล วิเคราะห์ผล แปลผล ตามแนวทางโครงงาน โดยความร่วมมือ

ขั้นที่ 6 ขั้นอภิปรายผล หมายถึง การนำสรุปผลการทดลอง มาวิเคราะห์หาสาเหตุที่เกิดขึ้น

ขั้นที่ 7 นำเสนอผลการทดลอง หมายถึง การนำเสนอผลการทลอง กระบวนการและขั้นตอนการทำงานทั้งหมด

3. ผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ให้ผลดังนี้

3.1 ผลการตรวจสอบเพื่อยืนยันความเหมาะสมของโครงร่างรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน พิจารณาได้ผลการประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 และค่าดัชนีความสอดคล้องโดยรวม ได้ค่าเท่ากับ 0.74 ซึ่งแสดงว่ามีความเหมาะสม และความสอดคล้องที่มีค่าสูง สามารถนำไปใช้ได้

3.2 ผลการตรวจสอบเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย 2 ประเภท ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก่ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60-1.00 ได้ค่าเท่ากับ 0.82 เครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย มีความสอดคล้อง สามารถนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์ได้ และเครื่องมือประเมินผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์ ประกอบด้วย แบบประเมินครูปฐมวัย ได้แก่ แบบประเมินความรู้ความเข้าใจของครูปฐมวัยเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ได้ค่าเท่ากับ 0.80 แบบประเมินความสามารถในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ของครูปฐมวัยตามรูปแบบการจัดประสบการณ์ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ได้ค่าเท่ากับ 0.73 แบบประเมินความสามารถในการจัดประสบการณ์ของครูปฐมวัยตามรูปแบบการจัดประสบการณ์ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ได้ค่าเท่ากับ 0.78 แบบประเมินความคิดเห็นของครูปฐมวัยที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์ ได้ค้าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60-1.00 ได้ค่าเท่ากับ 0.88 แสดงว่าเครื่องมือประเมินครูปฐมวัยทุกแบบประเมินมีความสอดคล้อง สามารถนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์ได้ สำหรับแบบประเมินเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย แบบสอบถามความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ได้ค่าเท่ากับ 0.87 แสดงว่าเครื่องมือประเมินความสามารถเด็กปฐมวัยมีความสอดคล้อง สามารถนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์ได้

3.2 ผลการศึกษานำร่อง ประกอบด้วย ผลจากการพัฒนาครูปฐมวัย จำนวน 6 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ของโรงเรียนอนุบาลกันตวจระมวล พบว่าครูปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการจัดประสบการณ์ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดีมาก ( =18) ความสามารถในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์ อยู่ในระดับ มากทุกรายการ ( = 2.75, S.D = 0.31) มีความสามารถในการจัดประสบการณ์ อยู่ในระดับ มาก ( = 2.60, S.D = 0.59) และมีความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์ อยู่ในระดับ มาก ( = 2.77, S.D = 0.38) ซึ่งสรุปผลจากการพัฒนาครูปฐมวัยพบว่า มีความรู้ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์อยู่ในระดับมาก แสดงว่า รูปแบบการจัดประสบการณ์ มีประสิทธิภาพและสามารถนำมาใช้ในการจัดประสบการณ์ได้ ด้านผลการประเมินเด็กปฐมวัยระหว่างศึกษานำร่อง นักเรียนอนุบาลปีที่ 1-3 ชั้นเรียนละ 10 คน รวม 30 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ของโรงเรียนอนุบาลกันตวจระมวล จังหวัดสุรินทร์ ผลการประเมินพบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยรวม อนุบาล 1 อยู่ในระดับปานกลาง ( =2.21,S.D=0.51) อนุบาล 2 อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =2.42, S.D=0.48)อนุบาล 3 อยู่ในรดับ มาก( =2.63,S.D =0.46)

4. ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ให้ผลดังนี้

4.1 ผลการประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย สูงกว่าก่อนเรียนด้วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย อย่างมีนัยสำคัญที่สถิติ .05

4.2 ผลการประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย เด็กที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย กับเด็กปฐมวัยที่ไม่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย พบว่า ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย กับเด็กปฐมวัยที่ไม่ได้รับการจัด

โพสต์โดย นางบุญส่ง เสียงหวาน : [3 ก.ย. 2562 เวลา 07:25 น.]
อ่าน [2980] ไอพี : 1.46.71.236
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 21,205 ครั้ง
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในระบบกราฟิก
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในระบบกราฟิก

เปิดอ่าน 15,318 ครั้ง
การดูแลรักษาตนเองเมื่อเจ็บคอ
การดูแลรักษาตนเองเมื่อเจ็บคอ

เปิดอ่าน 11,138 ครั้ง
ออกกำลังกายคลายเครียดในออฟฟิศ เหนื่อยนักก็พักหน่อย
ออกกำลังกายคลายเครียดในออฟฟิศ เหนื่อยนักก็พักหน่อย

เปิดอ่าน 3,189 ครั้ง
กระทรวงศึกษาธิการ ปลดล็อคการศึกษาไทย พลิกฟื้นวิกฤติด้วยนโยบาย "ซ่อม สร้าง ป้องกัน"
กระทรวงศึกษาธิการ ปลดล็อคการศึกษาไทย พลิกฟื้นวิกฤติด้วยนโยบาย "ซ่อม สร้าง ป้องกัน"

เปิดอ่าน 29,843 ครั้ง
ย้อนรอยสายราชสกุล…ในพระบรมราชจักรีวงศ์ (จบ)
ย้อนรอยสายราชสกุล…ในพระบรมราชจักรีวงศ์ (จบ)

เปิดอ่าน 337,860 ครั้ง
สุภาษิตพระร่วง
สุภาษิตพระร่วง

เปิดอ่าน 18,479 ครั้ง
การกัวซาบำบัดโรค
การกัวซาบำบัดโรค

เปิดอ่าน 12,795 ครั้ง
วิเคราะห์จุดอ่อน-แข็ง การถ่ายโอนการศึกษา : เพื่อหาความเป็นไปได้
วิเคราะห์จุดอ่อน-แข็ง การถ่ายโอนการศึกษา : เพื่อหาความเป็นไปได้

เปิดอ่าน 18,587 ครั้ง
ปัญหาเรื่องตา ในผู้ป่วยเบาหวาน
ปัญหาเรื่องตา ในผู้ป่วยเบาหวาน

เปิดอ่าน 57,838 ครั้ง
รับชมย้อนหลังการประชุมทางไกลผ่านระบบ Video Conference "พรบ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560"
รับชมย้อนหลังการประชุมทางไกลผ่านระบบ Video Conference "พรบ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560"

เปิดอ่าน 9,815 ครั้ง
ขับเคลื่อนการศึกษาไทยอย่างไร จึงถูกใจประชาชน โดย ดร.ดำรงค์ ชลสุข
ขับเคลื่อนการศึกษาไทยอย่างไร จึงถูกใจประชาชน โดย ดร.ดำรงค์ ชลสุข

เปิดอ่าน 14,355 ครั้ง
10 ข้อดีของการนอนเร็ว รู้แล้วเปลี่ยนพฤติกรรมด่วน
10 ข้อดีของการนอนเร็ว รู้แล้วเปลี่ยนพฤติกรรมด่วน

เปิดอ่าน 21,278 ครั้ง
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของตัวแปรปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในจังหวัดนค
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของตัวแปรปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในจังหวัดนค

เปิดอ่าน 18,574 ครั้ง
คุณครูที่กำลังมองหาวิธีเพิ่มความน่าสนใจของนักเรียนในห้องเรียน ลองใช้วิธีนี้ดูสิ
คุณครูที่กำลังมองหาวิธีเพิ่มความน่าสนใจของนักเรียนในห้องเรียน ลองใช้วิธีนี้ดูสิ

เปิดอ่าน 24,329 ครั้ง
“รังผึ้ง” นวัตกรรมใหม่…สามารถเก็บน้ำผึ้งโดยไม่ต้องกวนผึ้งเลย
“รังผึ้ง” นวัตกรรมใหม่…สามารถเก็บน้ำผึ้งโดยไม่ต้องกวนผึ้งเลย

เปิดอ่าน 23,481 ครั้ง
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ปี 58 ใน 7 สาขา 32 รายการ มีอะไรบ้าง คลิกเลย
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ปี 58 ใน 7 สาขา 32 รายการ มีอะไรบ้าง คลิกเลย
เปิดอ่าน 22,368 ครั้ง
ประวัติของทุเรียนในประเทศไทย
ประวัติของทุเรียนในประเทศไทย
เปิดอ่าน 14,309 ครั้ง
ระวัง! ของกินเล่นพลังงานสูง
ระวัง! ของกินเล่นพลังงานสูง
เปิดอ่าน 20,583 ครั้ง
ปฏิรูปการศึกษา เรียนรู้จากผู้ประสบผลสำเร็จ : "เกาหลีใต้"
ปฏิรูปการศึกษา เรียนรู้จากผู้ประสบผลสำเร็จ : "เกาหลีใต้"
เปิดอ่าน 18,575 ครั้ง
สาวจีนวัย 27 ป่วยเป็นโรคแก่ก่อนวัย เหมือนคนอายุ 70
สาวจีนวัย 27 ป่วยเป็นโรคแก่ก่อนวัย เหมือนคนอายุ 70

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ