ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ที่ส่งเสริมสมรรถนะ
สำคัญของผู้เรียน
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ ผู้วิจัย นางโสพิศ ขุนรัง
ปีการศึกษา 2563
การพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ที่ส่งเสริมสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ที่ส่งเสริมสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ที่ส่งเสริมสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ ที่ประเมินด้วยครูผู้สอนและนักเรียนประเมินตนเองก่อนละหลังการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ที่ส่งเสริมสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภารเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ที่ผู้วิจัยเป็นผู้สอน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) ใช้วิธีการจับฉลาก โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม (Sampling Unit) สุ่มได้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/4 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนทีมีต่อการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่แบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ MLCDAIE Model มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ สาระความรู้และการปฏิบัติ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม สิ่งสนับสนุนและหลักการตอบสนอง ซึ่งมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Motivation : M) ขั้นที่ 2 เรียนรู้และฝึกปฏิบัติ (Learning and Action : L) ขั้นที่ 3 สร้างความคิดรวบยอด (Conceptualization of Knowledge : C) ขั้นที่ 4 พัฒนาสมรรถนะ (Develop Competency : D) ขั้นที่ 5 ประเมินความก้าวหน้า (Assessment of Growth Development : A) ขั้นที่ 6 เพิ่มระดับสมรรถนะ (Increase the Level of Competency : I) ขั้นที่ 7 ขั้นประเมินผล (Evaluation : E) เมื่อนำไปหาประสิทธิภาพ ( E1/E2) โดยการทดลองภาคสนาม (Field Tryout) พบว่าประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้มีค่าเท่ากับ 82.46/81.94 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
2. ผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ที่ส่งเสริมสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
3. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ที่ส่งเสริมสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ ประเมินโดยครูผู้สอนและผู้เรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ที่ส่งเสริมสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ อยู่ในระดับมาก