ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

ชื่อเรื่อง รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

ชื่อผู้ศึกษาค้นคว้า นางณัชมนลักษณ์ ขัดแสนจักร์

ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลร้องกวาง สังกัด กองการศึกษา เทศบาลตำบลร้องกวาง จังหวัดแพร่

ปีที่ศึกษา 2561

บทคัดย่อ

รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับสร้างรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย จากผลการศึกษา ดังนี้ 3.1 การเปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อน และหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย 3.2 การเปรียบเทียบความสามารถทางภาษา ด้านการฟังการพูด การอ่าน และการเขียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย 4)เพื่อประเมินความพึงพอใจของการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย แหล่งข้อมูล ศึกษาหลักสูตรปฐมวัย ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรม ครูปฐมวัย ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้อำนวยการกองการศึกษา เครื่องมือในแต่ละขั้น รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย แผนการจัดประสบการณ์รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย แบบทดสอบรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย แบบสอบถามความพึงพอใจรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ปัจจุบันสังคมมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก่อให้เกิดสภาพโลกาภิวัฒน์ คือ เป็นสังคมแห่งยุคข่าวสารไร้พรมแดน การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางจนกล่าวได้ว่า ผู้ใดสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้เร็วกว่าย่อมมีความรู้ความสามารถในการต่อรอง มีข้อมูลในการตัดสินใจที่ถูกต้อง และบุคคลที่มีความสามารถในการใช้ภาษาได้ดีย่อมได้เปรียบในการดำรงชีวิต เพราะสามารถรู้เท่าทันเหตุการณ์และความเป็นไปต่างๆ ได้ดี ดังนั้นการพัฒนาประชากรของประเทศจึงต้องคำนึงถึงแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่จะต้องพัฒนาให้ประชากรมีทักษะในการสื่อสารและใช้ภาษาที่มีประสิทธิภาพทัดเทียม และสามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ ซึ่งจะต้องเริ่มพัฒนาตั้งแต่เด็กในระดับปฐมวัยอันเป็นวัยที่เด็กมีพัฒนาการทางภาษาเจริญงอกงามอย่างรวดเร็ว

จากกระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ผ่านมา พ่อ แม่ ผู้ปกครอง และชุมชนได้เล็งเห็นคุณค่าของการศึกษาและตระหนักในสิทธิของบุตรหลานที่จะต้องได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ และเริ่มมีความกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมรับรู้และสนับสนุนการจัดการศึกษา รวมทั้งตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา (วารุณี สกุลภารักษ์ และคณะ, 2550 : 28) ความเปลี่ยนแปลงทางความคิดดังกล่าวก่อให้เกิดความคาดหวัง และผลักดันให้เกิดพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ซึ่งกำหนดว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนามนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ผู้เรียนมีความสามารถที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ (กรมสามัญศึกษา, 2546 : 2)

การจัดการศึกษาปฐมวัยนับว่ามีความสำคัญยิ่งเพราะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี ให้มีพัฒนาการด้านต่างๆ ที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถ ความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็นการเตรียมความพร้อมที่จะเรียนรู้และสร้างรากฐานชีวิตให้พัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในอนาคต ดังที่จีระพันธุ์ พูลพัฒน์ (2549 : 1) เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยว่า การศึกษาปฐมวัยเป็นการมุ่งหวังให้เด็กเจริญเติบโตสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ มีความสุข สนุกสนาน และได้เรียนในสิ่งที่ต้องการเรียน ได้ทำกิจกรรมในสิ่งที่ต้องการศึกษาค้นคว้าทั้งด้วยตนเอง และการทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ประกอบกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ได้กำหนดวิสัยทัศน์การศึกษาไว้ว่า มุ่งให้เด็กพัฒนาความพร้อมทั้ง 4 ด้าน มีร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพจิตดี มีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม มีความสามารถใน การคิด การแก้ปัญหา มีนิสัยรักการอ่าน รักการเรียนรู้และใช้ภาษาสื่อสารในชีวิตประจำวันได้ (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, 2547 : 1-2) การกำหนดสาระการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ประสบการณ์สำคัญและสาระการเรียนรู้ ซึ่งทั้ง 2 ส่วน ใช้เป็นสื่อกลางในการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านโดยครูผู้สอน อาจจัดในรูปแบบการสอนแบบบูรณาการ หรือเลือกใช้รูปแบบที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย (กระทรวงศึกษาธิการ, 2548 : 16)

การเรียนรู้ภาษาเพื่อใช้ภาษาสื่อสารในชีวิตประจำวัน เป็นความสามารถด้านสติปัญญา ซึ่งเด็กทุกคนมีศักยภาพที่จะเรียนรู้ภาษาได้ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมหรือวัฒนธรรมใด การเรียนรู้ภาษาจึงมีความสำคัญกับเด็กมาก เพราะเด็กต้องสื่อสารกับผู้อื่นในสังคม ภาษาจึงเป็นสื่อกลางให้เด็กได้แสดงออกถึงความคิด หรือสิ่งที่ตนเองต้องการให้ผู้อื่นทราบผ่านการอ่าน การเขียน การพูด หรือการแสดงออกจากท่าทางโดยครูจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีพัฒนาการ และการเรียนรู้ของเด็กตลอดจนเลือกสื่อ เทคนิค วิธีการที่เหมาะสม และควรพัฒนาการทางภาษาทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้เด็กได้รับการฝึกทักษะทางภาษา และพัฒนาความสามารถทางภาษาอย่างเต็มศักยภาพ (สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์, 2545 :75)

ทิศนา แขมมณี (2554 : 126-127) ได้กล่าวถึง กระบวนการเรียนภาษาที่มุ่งให้เกิดการพัฒนาทักษะทางภาษามีขั้นตอนดังนี้

1. ทำความเข้าใจสัญลักษณ์ สื่อ รูปภาพ รูปแบบ เครื่องหมาย ผู้เรียนรู้เกี่ยวกับความหมายของคำ กลุ่มคำ ประโยค และถ้อยคำสำนวนต่างๆ

2. สร้างความคิดรวบยอด ผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้จากประสบการณ์นำไปสู่ความเข้าใจและเกิดภาพรวมเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนด้วยตนเอง

3. สื่อความหมาย ความคิด ผู้เรียนถ่ายทอดทางภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้

4. พัฒนาความสามารถ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามขั้นตอน คือ ความรู้ ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า

การสอนภาษาแบบธรรมชาติเป็นการเรียนการสอนที่เน้นการสอนภาษาอย่างมีความหมาย โดยผู้เรียนอาศัยประสบการณ์ของตนเองประกอบการเรียน ไม่แบ่งแยกภาษาออกเป็นส่วนย่อย เป็นการเรียนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความกล้า และมั่นใจในตนเองในการที่จะใช้ภาษา ไม่กลัวว่าจะผิด ทั้งนี้เพราะผู้สอนไม่เน้นการลงโทษ เมื่อเด็กใช้ภาษาผิดแต่พยายามชี้ให้เห็นข้อบกพร่องโดยทางอ้อม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแก้ไขตนเอง การเรียนจึงยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง กูดแมน (Goodman, 1986 : 287) ในทำนองเดียวกัน กรวิภา สรรพกิจจำนง (2548: 2) กล่าวว่า การเรียนภาษาจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติเช่นเดียวกับภาษาพูด เด็กมีโอกาสสนทนา พูดคุย และมีปฏิสัมพันธ์กับครูและเพื่อน ซึ่งการสอนภาษาโดยวิธีธรรมชาติมีความสำคัญมาก เพราะทำให้เด็กได้แสดงออกโดยไม่กลัวผิด การเรียนรู้ภาษาจะง่ายและสนุก ช่วยให้ผู้เรียนเรียนภาษาอย่างมีความสุข

ส่วนวิธีสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา เป็นวิธีสอนแบบใหม่มีแนวทางในการจัดการเรียนการสอนน่าสนใจและสนุกสนาน สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่ง วอล์กเกอร์ (Walker, 1984 : 178) ได้ทำการศึกษาค้นคว้าวิธีสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา พบว่า การจัดการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทางภาษาไปสู่พัฒนาทักษะอื่นๆ เช่น การฟัง การพูด และการเขียนในลักษณะทักษะสัมพันธ์ หรือในลักษณะบูรณาการตามหลักการสอนเพื่อ การสื่อสาร และเน้นปฏิสัมพันธ์ในการใช้ภาษาระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน

ผู้รายงานได้รับมอบหมายจากโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลร้องกวาง ให้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าระดับการศึกษาปฐมวัย เป็นครูประจำชั้นและสอนนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 ก่อนเริ่มดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ได้ศึกษาปัญหาและวิเคราะห์สภาพปัญหาเพื่อนำมาวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยศึกษารายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ระดับการศึกษาปฐมวัย (2-5 ปี) จากสำนักรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) ผลการประเมินพบว่า กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ และกลุ่มตัวบ่งชี้มาตรฐาน การส่งเสริม มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก และกลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมากเช่นเดียวกัน แต่ตัวบ่งชี้ที่ 4 เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญาสมวัย พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับดี และเมื่อวิเคราะห์ลึกลงไปในตัวบ่งชี้ย่อยคือ เด็กมีความใฝ่รู้สมวัย มีการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องสมวัย และเด็กมีทักษะในการสื่อสารสมวัย มีคุณภาพอยู่ในระดับดี และผู้ประเมินได้ให้ข้อเสนอแนะสำคัญเพื่อการพัฒนาด้านสติปัญญาไว้ว่า ครูควรจัดประสบการณ์โดยใช้นิทานเป็นสื่อ ฝึกให้เด็กเปิด-ปิดหนังสือ อ่านนิทานให้เด็กฟัง ฝึกการอ่านภาพ ให้เด็กดูการ์ตูนจากแผน VCD เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน และถ่ายทอดออกมาเป็นเรื่องราวง่ายๆ ได้ อีกทั้งส่งเสริมกิจกรรมรักการอ่าน

จากสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้รายงานจึงมีความสนใจที่จะสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัย โดยศึกษาแนวคิด หลักการสอนภาษาแบบธรรมชาติและหลักการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา และแนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญอื่นๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัย ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

1. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ผ่านการเล่น (Learning by Doing) เป็นการนำสิ่งที่เรียนรู้แล้วไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ตามทฤษฎีของธอร์นไดด์ (Thorndike, 1913) และจัตต์ (Judd, 1998) และนักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ (สุรางค์โค้วตระกูล, 2545 :262-268) กล่าวว่า การเรียนรู้ทางพุทธิปัญญาจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนมีความเข้าใจอย่างมีความหมาย สามารถนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน เพลิดเพลิน และเรียนรู้อย่างมีความสุข ดังที่ ชัยอนันต์ สมุทวณิช (2540 : 6-8) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ที่เรียกว่า “กระบวนการเพลิน” หรือ “Plearning Process” และสอดคล้องกับแนวคิดของฟลอเบลและ เพลสตาลอสซี่ (Froebel and Pestalozzi, อ้างถึงใน ทิศนา แขมมณี, 2550 : 187) ซึ่งเป็นแนวคิดเรื่องการเรียนปนเล่นที่สำคัญในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดการถ่ายโยงการเรียนรู้ไปสู่สิ่งใหม่หรือนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

2. ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) เป็นทฤษฎีทางเชาว์ปัญญาของ เพียเจท์ (Piaget, 1972 : 1-2) อธิบายไว้ว่า คนทุกคนจะมีพัฒนาการทางเชาว์ปัญญาไปตามลำดับขั้น จากการมีปฏิสัมพันธ์และประสบการณ์กับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ดังนั้นการเรียนรู้ภาษาจะเกิดผลดี เมื่อผู้เรียนได้ลงมือกระทำและเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Active Learning) และทฤษฎีเชาวน์ปัญญาของวีก็อทสกี้ (Vygotsky, อ้างถึงใน ทิศนา แขมมณี, 2550 : 90-94) ได้ให้ความสำคัญของสังคม วัฒนธรรม และการเรียนรู้ที่มีต่อการพัฒนาเชาว์ปัญญา การเข้าใจถึงพัฒนาการของมนุษย์จะต้องเข้าใจวัฒนธรรมที่เด็กได้รับการอบรมเลี้ยงดู เพราะตั้งแต่แรกเกิดมนุษย์จะได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้น สถาบันสังคมต่างๆ ตั้งแต่ครอบครัว ขึ้นไป จึงมีอิทธิพลและมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ พัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของเด็กแต่ละวัยจะเพิ่มถึงขีดสูงสุดตามศักยภาพของแต่ละบุคคลได้ก็ต่อเมื่อได้รับการช่วยเหลือจากผู้ใหญ่หรือผู้ใกล้ชิดกับเด็ก

3. แนวคิดการเรียนรู้ที่เป็นไปอย่างธรรมชาติ ( Naturally Learning ) ศ.ดร.อารี สันหฉวี กล่าวว่า การเรียนรู้ภาษาที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ตัวเล็กๆที่เหมาะกับพัฒนาการและความสามารถของเด็กตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงตอนโต มีความชัดเจนอยู่สองแนว คือ การที่ผู้เรียนได้เรียนรู้อยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่อบอุ่นเหมือนบ้านและอาบเอิบ (Immersion) ไปด้วยโลกของภาษาและหนังสือ การเรียนรู้ที่แท้จริงของเด็กนั้นเป็นการเรียนรู้ที่เป็นไปอย่างธรรมชาติ (Naturally) (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา , 2550 : 6)

4. ทฤษฎีเกมกับการศึกษา Thomas Schelling และ Robert Aumann ซึ่งเป็นผู้นำ Game Theory มาใช้เพื่อทำความเข้าใจถึงสภาพของความขัดแย้ง และความร่วมมือ ความสัมพันธ์ขององค์กร ทฤษฎีเกมไม่ได้ใช้เฉพาะสาขาเศรษฐศาสตร์หรือรัฐศาสตร์เท่านั้น แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับทางสาขาสังคมวิทยาอื่นๆ ได้อีกด้วย โดยเฉพาะการใช้ ทฤษฎีเกมเพื่อประโยชน์ในด้านสาขาการศึกษา ซึ่งการใช้ ทฤษฎีเกมเพื่อการศึกษานั้นเป็นการใช้หลักการทางจิตวิทยามาใช้เพื่อสร้างหรือจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการเล่นให้กับผู้เรียน โดยมองว่ามนุษย์จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือมีการเรียนรู้อย่างมีความหมายในขณะหรือหลังจากการเล่นเกม เป็นเกมการเรียนรู้(Game of Learning) โดยไม่ได้เน้นว่าเกมมีทางเลือกอย่างไรหรือควรจะตัดสินใจว่าจะเล่นเกมอย่างไร แต่เน้นผลที่ได้รับจากการเล่นเกม

5.ทฤษฎีที่เน้นเนื้อหา (Content Theories) โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gange’) ได้นำเอาแนว

แนวความคิด 9 ประการ มาใช้ประกอบ การเรียนการสอน โดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หลักการสอนทั้ง 9 ประการได้แก่ เร่งเร้า กระตุ้น และดึงดูดความสนใจ (Gain Attention) ของผู้เรียน บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective) ของบทเรียนให้ผู้เรียนทราบ ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge) หรือการกระตุ้นให้ระลึกถึงความรู้เดิม นำเสนอเนื้อหาใหม่ หรือสิ่งเร้าใหม่ (Present New Information) ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning) หรือการจัดระบบข้อมูลให้มีความหมาย กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response) หรือกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความสามารถ ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback) เป็นการให้การเสริมแรงแก่ผู้เรียน การประเมินผลการแสดงออก (Assess Performance) ของผู้เรียนและ สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer) เป็นการส่งเสริมความคงทนและการถ่ายโอนการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถทางภาษา จึงควรจัดสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ภาษาให้เด็กได้ลงมือกระทำ เพื่อให้การเรียนรู้มีความหมายกับเด็กมากที่สุด โดยเปิดโอกาสให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเพื่อกระตุ้นให้เด็กเป็นผู้แสวงหาความรู้และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เด็กต้องทำความเข้าใจเนื้อหา(Understand content) เรียนรู้เนื้อหาและเรื่องราวต่างๆ ผ่านกระบวนการคิดและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

6. แนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Action Learning) กับการประยุกต์ใช้ มาร์ควาร์ท ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้(Learning Organization) โดยต้องมีการสร้างพลวัตการเรียนรู้ (Learning dynamics) ให้เกิดขึ้นซึ่งต้องมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม บุคลากรมี ความกระตือรือร้น สนใจ ใฝ่รู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ บุคลากรมีการคิดอย่างเป็นระบบ บุคลากรมีแบบแผนทาง ความคิด ไม่ยึดติดกับความเชื่อทัศนคติเดิมมองโลกอนาคต บุคลากรมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นมีการสนทนาที่เป็นเปิดเผย มีรูปแบบการเรียนรู้หลายรูปแบบ เช่น เรียนรู้จากการปรับตัว การเรียนรู้จากการคาดการณ์ และ ที่สำคัญต้องมีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง (Action learning) อีกด้วย ดังนั้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถทางภาษาจำเป็นต้องใช้วิธีการปฏิบัติจริง ได้สื่อสารทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน ผ่านกิจกรรมที่ได้ดำเนินในชีวิตประจำวัน

7.ทฤษฎีกระบวนการกลุ่ม (Group Process) กระบวนการกลุ่มเป็นวิทยาการที่ศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มคนเพื่อนำความรู้ไปใช้ในการปรับเปลี่ยนเจตคติและพฤติกรรมของคน ซึ่งจะนำไปสู่ การเสริมสร้างความสัมพันธ์และการพัฒนาการทำงานของกลุ่มคนให้มีประสิทธิภาพจุดเริ่มต้นของค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ การศึกษากลุ่มคนด้านพลังกลุ่มและผู้ที่ได้เชื่อว่าเป็นบิดา ของกระบวนการกลุ่มก็คือ เคริร์ท เลวิน (Kurt Lewin) นักจิตวิทยาสังคมและนักวิทยาศาสตร์ ชาวเยอรมัน โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ 1920 เป็นต้นมา และได้มีผู้นำหลักการของพลังกลุ่มไปใช้ในการพัฒนาพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม การพัฒนาบุคลิกภาพและจุดประสงค์อื่น ๆ วงการ รวมทั้งในวงการศึกษา ดังนั้นการสอนภาษาสามารถใช้กระบวนการกลุ่ม ให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องราว บทเรียนเป็นกลุ่มย่อย (Group Lessons) เพื่อนำเสนอความคิดและใช้ภาษาสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยจากความคิดในกลุ่มย่อยและนำมาขยายผลในกลุ่มใหญ่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาเกี่ยวกับภาษาของเด็กได้ดีขึ้น

8. แนวคิดการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม จากทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ให้ความสำคัญกับตัวผู้เรียน หรือ นักเรียนมากกว่า ครู หรือ ผู้สอน ผู้เรียนจะเป็นผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์ (interact) กับ วัตถุ (object) หรือเหตุการณ์ ด้วยตัวของเขาเอง ซึ่งก็คือ การสร้าง (construct) การทำความเข้าใจ (conceptualization) และ การแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตัวของเขาเองโดยสภาพแวดล้อมทางการเรียน (Environment of Learning) ( อ้างใน อรพันธุ์ ประสิทธิรัตน์ และตรงกับแนวคิดของ ฮอลิเดย์ ( Holiday , อ้างถึงในสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา , /2550 : 4) กล่าวถึงพลังของบริบทที่แวดล้อมในสถานการณ์ที่หลากหลายมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้และการใช้ภาษาของเด็ก การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่เกี่ยวข้อง เด็กจะเป็นผู้ใช้ภาษาจากการเรียนรู้ทุกสิ่งผ่านภาษาและเรียนเกี่ยวกับภาษาไปพร้อมๆกัน

ผู้รายงานได้นำแนวคิด ทฤษฎีดังกล่าวมาแทนด้วยตัวอักษรย่อ ได้ดังนี้

L = Learning by Doing

A = Active Learning

N = Naturally Learning

G = Game of Learning

U = Understand content

A = Action Learning

G = Group Lessons

E = Environment of Learning

รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยประกอบด้วยขั้นตอนการสอน 5 ขั้น ดังนี้

1. ขั้นการเลือกเรื่อง (A/G)

2. ขั้นการเล่าเรื่อง (L/E)

3. ขั้นการสรุป (A)

4. ขั้นการสร้างความรู้ใหม่ (U/N)

5. ขั้นการแสดงผลงาน (G)

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย

2. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80

3. เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย จากผลการศึกษา ดังนี้

3.1 การเปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อน และหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE

3.2 การเปรียบเทียบความสามารถทางภาษา ด้านการฟังการพูด การอ่าน และการเขียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE

4. เพื่อประเมินความพึงพอใจของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย

สมมติฐานการศึกษา

1. ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย มีประสิทธิภาพผ่านเกณฑ์ 80/80

2. ความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัย หลังใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE MODEL เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย

3. เด็กปฐมวัย มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

ขอบเขตการศึกษา

1. ขั้นศึกษาข้อมูลพื้นฐาน

1.1 แหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูล คือ ศึกษาหลักสูตร ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรม ครูปฐมวัย ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้อำนวยการกองการศึกษา

1.2 เนื้อหา

เนื้อหา คือ เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาการฟัง พูด อ่าน เขียน และถ่ายทอดออกมาเป็นเรื่องราวและเป็นการส่งเสริมกิจกรรมรักการอ่าน

1.3 ระยะเวลา

ระยะเวลา คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561

2. ขั้นการสร้างและหาประสิทธิภาพ รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE MODEL เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย

2.1 แหล่งข้อมูล

ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน

2.2 เนื้อหา ที่นำมาใช้ในการสร้างรูปแบบ การพัฒนากิจกรรม การเรียนการสอนใช้รูปแบบดังนี้

1. สาระการเรียนรู้เรื่อง ธรรมชาติรอบตัว

2. สาระการเรียนรู้เรื่องวันสำคัญ

2.3 ระยะเวลา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561

3. ขั้นการศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE MODEL เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย

3.1 แหล่งข้อมูล

เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 26 คน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลร้องกวาง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561

3.2 สิ่งที่สนใจศึกษา

3.2.1 นวัตกรรมคือ รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย

3.2.2 ผลที่เกิดจากผู้เรียน

- เด็กปฐมวัยมีการพัฒนาการด้านภาษา ระหว่างเรียนสูงขึ้น

- เด็กปฐมวัยมีการพัฒนาการด้านภาษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

3.3 ระยะเวลา

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559

4. ขั้นประเมินความพึงพอใจรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย

4.1 แหล่งข้อมูล

เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 26 คน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลร้องกวาง

4.2 ระยะเวลา

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561

นิยามศัพท์เฉพาะ

รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE หมายถึง รูปแบบที่ผู้รายงานสร้างและพัฒนาขึ้นเพื่อใช้จัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย โดยพัฒนาจากแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ และการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา รวมทั้งแนวคิด ทฤษฎี หลักการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม แนวคิดเกี่ยวกับความฉลาดทางอารมณ์ ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้กระบวนการกลุ่ม แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ผ่านการเล่น และแนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย โดยนำแนวคิด ทฤษฎีมาบูรณาการเป็นขั้นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 5 ขั้น ดังนี้

1. ขั้นการเลือกเรื่อง เป็นขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน โดยให้เด็กเลือกกิจกรรมทางภาษาที่สนใจ ได้แก่ นิทาน คำคล้องจอง หรือเกม ว่าเด็กสนใจ ชอบกิจกรรมใดมากที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กได้ตัดสินใจ และเลือกในสิ่งที่ตนเองสนใจและพอใจ

2. ขั้นการเล่าเรื่อง ครูกำเนินการเล่าเรื่องหรือจัดกิจกรรมที่เด็กเลือกในขั้นที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และมีความสุขจากการได้ฟัง ได้ทำกิจกรรมที่ตนเองสนใจและพอใจ

3. ขั้นการสรุป ให้เด็กเล่าเรื่องในขั้นที่ 2 ในลักษณะเป็นความเข้าใจของเด็กถ่ายทอดออกมาเป็นภาษา และทบทวนเรื่องที่ตนเองได้ฟังไปแล้ว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนความรู้ ความเข้าใจของเด็กอีกครั้ง

4. ขั้นสร้างความรู้ใหม่ เด็กสามารถเลือกสื่ออย่างอิสระนำไปสร้างและพัฒนาชิ้นงานด้วยตนเอง กับสมาชิกภายในกลุ่มตามความประทับใจที่ได้จากการฟังเรื่อง หรือทำกิจกรรมและถ่ายโยงความรู้ความเข้าใจลงในชิ้นงานใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการมีปฏิสัมพันธ์ ความร่วมมือและช่วยกันเรียนรู้

5. ขั้นการเสนอผลงาน เด็กนำเสนอผลงานที่สร้างเสร็จแล้วโดยออกมาเล่าเรื่องประกอบภาพ หรือผลงานที่สร้างขึ้นและให้เพื่อนๆ อ่านตาม หรือร่วมกันแสดงบทบาทสมมติโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กเรียนรู้อย่างสนุกสนาน เพลิดเพลิน ผ่านการเล่น และเด็กเกิดการถ่ายโยงการเรียนรู้ไปสู่สิ่งใหม่

ประสิทธิภาพของรูปแบบ หมายถึง ผลการเรียนรู้จากรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80

80 ตัวแรก หมายถึง ค่าคะแนนของนักเรียนทุกคนที่ทำได้จากการทำแบบทดสอบระหว่างเรียน โดยได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

80 ตัวหลัง หมายถึง ค่าคะแนนของนักเรียนทุกคนที่ทำได้จากการทำแบบทดสอบหลังเรียน โดยได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

ความสามารถทางภาษา หมายถึง การรับรู้หรือการแสดงออกทางภาษา ทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ดังนี้

1. ความสามารถทางการฟัง หมายถึง การตั้งใจรับรู้เสียงที่ได้ยินโดยผ่านประสาทสัมผัสทางหู และส่งผ่านไปยังสมองเพื่อแปลความหมายให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่ได้ยิน

2. ความสามารถทางการพูด หมายถึง การเปล่งเสียงออกมาเป็นคำ เป็นประโยคและมีความหมาย หรือโดยการใช้ภาษาท่าทางสื่อออกมาเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจ

3. ความสามารถทางการอ่าน หมายถึง การแปลความหมายหรือการตีความจากสื่อหรือสัญลักษณ์ที่เห็น เช่น ของจริง ตัวอักษรได้อย่างถูกต้อง

4. ความสามารถทางการเขียน หมายถึง การบังคับกล้ามเนื้อมือให้สัมพันธ์กับสายตา และสามารถขีดเขียนเป็นภาพ สัญลักษณ์หรือตัวอักษรให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายได้

ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกชื่นชอบ พอใจหรือความประทับใจของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE

ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา

ประโยชน์ต่อผู้เรียน

1. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาความสามารถทางภาษาด้านการฟัง การพูด การอ่าน และ การเขียนเต็มศักยภาพของแต่ละคน

2. ผู้เรียนที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาอย่างสมดุลรอบด้าน

ประโยชน์ต่อครู

1. ได้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

2. ใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

ประโยชน์ต่อผู้บริหาร

1. ใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานวิชาการ พัฒนาหลักสูตร นวัตกรรม และการจัดกระบวนการการเรียนรู้สู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ

2. ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา และรายงานความก้าวหน้าในการจัดการศึกษาต่อหน่วยงานต้นสังกัด สาธารณชน และเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก

ประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้อง

1. ผลการศึกษา ใช้เป็นเอกสารสำหรับเผยแพร่ ค้นคว้า และอ้างอิงแก่สถานศึกษา หน่วยงานทางการศึกษา และผู้สนใจ

2. ใช้เป็นแนวทางในการนำรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ใน การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และนักเรียนทุกระดับชั้น

การดำเนินการวิจัย

รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลร้องกวาง ได้นำเสนอ การดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ดังนี้

ขั้นที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย

ขั้นที่ 2 การสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80

ขั้นที่ 3 ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE MODEL เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย จากผลการศึกษา ดังนี้

3.1 การเปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อน และหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE

3.2 การเปรียบเทียบความสามารถทางภาษา ด้านการฟังการพูด การอ่าน และการเขียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE

ขั้นที่ 4 เพื่อประเมินความพึงพอใจของการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย

สรุปผลการศึกษา

1.จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อพัฒนารูปแบบพบว่าปัญหาที่เกิดคือเด็กมีปัญหาทางด้านภาษาทั้งการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน ทำให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำจึงได้แก้ปัญหาโดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย

2. ผลการศึกษาการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยพบว่า

2.1 เด็กมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ

2.2 เด็กมีทักษะทางภาษา ด้านการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน หลังการใช้

รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็ก

ปฐมวัย สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้าง

ทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย

3. การประเมินความพึงพอใจของเด็กที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

แบบ LANGUAGE เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

บรรณานุกรม

กรวิภา สรรพกิจจำนง. (2548). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบฮาร์ทสที่มีต่อ

ความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัย.ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กาวินท์ พานเทียมทอง. (2548). ความพึงพอใจของผู้เอาประกันตนต่อบริการของสำนักงาน

ประกันสังคม จังหวัดสงขลา. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ :

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กาญจนา วัฒายุ. (2548). การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา.กรุงเทพฯ. : ธนพรการพิมพ์.

กุลยาตันติผลาชีวะ. (2545). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพฯ. : เอดิสัน

เพรสโปรดักส์.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, ส านักงาน. (2543). การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทยตามแนว

การเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวม. สวศ : มูลนิธิชมรมไทยอิสราแอล.

จิรัฐยา แก้วป่อง. (2544). ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนที่มีความบกพร่อง

ทางการได้ยินชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยวิธีการสอนแบบมุ่งประสบการณ์.

ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จีระพันธ์พูลพัฒน์. (2549). การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย ตามแนวคิดของ

มอนเตสซอรี่. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จันทนา ชูชื่น (2553) . ผลของการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบหุ่นมือที่มีต่อความสามารถ

ด้านการพูดของเด็กปฐมวัย . ภาคนิพนธ์การศึกษาค้นคว้าอิสระ , การศึกษามหาบัณฑิต

มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชมพู แก้วด้วง และบัณฑิตา อินสมบัติ (2555) . ผลการจัดประสบการณ์ตามแนวภาษาธรรมชาติที่

มีต่อความสามารถด้านการอ่านและการเขียนของเด็กปฐมวัย . ภาคนิพนธ์การศึกษา

ค้นคว้าอิสระ , การศึกษามหาบัณฑิต มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชวนิต ศิวะเกื้อ. (2546). เมื่ออนาคตไล่ล่าคุณ. กรุงเทพฯ. : เนชั่นบุ๊คส์อินเตอร์เนชั่นแนล.

ชัยยงค์ พรหมวงษ์ และคณะ (2531).เอกสารการสอนวิชาสื่อการสอนประถมศึกษา หน่วยที่ 8- 15.

นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2540). กระบวนการเรียนรู้ “กระบวนการเพลิน” หรือ Plearning

Process. (อัดสำเนา).

ชูเกียรติ มูลทา. (2547). ความพึงพอใจในการให้บริการของบริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จ ากัด

(มหาชน) อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสน-

ศาสตรมหาบัณฑิต มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณัฏฐพงษ์ เจริญพิทย์. (2542). การวัดผลการเรียนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : ภาควิชา

หลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ตุลา มหาพสุชานนท์. (2546). หลักการจัดการและหลักการบริหาร. กรุงเทพฯ : บริษัท

สำนักพิมพ์ พ.ศ.พัฒนา จำกัด.

ทองพูล บุญอึ่ง. (2544). การพัฒนาการสอนและผลงานทางวิชาการของครูอาจารย์ด้าน

วัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี

ประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

_______.(2554). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภเนตร ธรรมบวร. (2549). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

นิตยาประพฤติกิจ. (2549). การพัฒนาเด็กปฐมวัย.กรุงเทพฯ. : โอเดียนสโตร์.

เนื้อทอง สนับบุญ. (2541). ความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์เล่า

นิทาน. ปริญญานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย บัณฑิต

วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บันลือ พฤกษวัน. (2543). แนวทางการอ่านเร็ว คิดเป็น. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

บุษบง ตันติวงษ์. (2546). กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน. เอกสารประกอบการสอนวิชานิเทศการสอน

ในระดับปฐมวัย. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประนอม สุขนาคะ. (2545). การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านความสามารถในการเขียน

และความรับผิดชอบของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนแบบมุ่ง

ประสบการณ์ภาษา. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการ มัธยมศึกษา

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประเทือง สุภาสอน (2550 ) . ผลการจัดประสบการณ์ตามแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติที่มีต่อ

ความสามารถทางภาษาและความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2

โรงเรียนอนุบาลสกลนคร . ภาคนิพนธ์การศึกษา ค้นคว้าอิสระ , การศึกษามหาบัณฑิต

มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปิยาภรณ์ สร้อยระย้า. (2547). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก

ทักษะการสะกดคำยากภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ภาคนิพนธ์การศึกษา

ค้นคว้าอิสระ, การศึกษามหาบัณฑิต มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พนิดา ชาตยาภา. (2544). กระบวนการพัฒนาสื่อความหมายของเด็กปฐมวัยโดยการสร้าง

เรื่องราวในกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะตามแนวทางการสอนภาษาแบบธรรมชาติ.

ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ

พรรณี ช.เจนจิต. (2548). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : คอมแพคท์ พริ้น.

พราวพรรณ เหลืองสุวรรณ. (2545).ปฐมวัย : กิจกรรม และสื่อการสอนเพื่อฝึกทักษะ พัฒนาการ

และการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชรี ผลโยธิน. (2547). การจัดกิจกรรมและประสบการณ์ในระดับปฐมวัยศึกษาเอกสาร

การสัมมนาการศึกษาปฐมวัย หน่วยที่ 4-7. กรุงเทพฯ : สหมิตร.

พิชิต ฤทธิ์จำรูญ. (2547). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน. ก รุ ง เท พ ฯ

คณะครุศาสตร์ สภาบันราชภัฎพระนคร.

ภัทรดรา พันธุ์สีดา. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARPS เพื่อ

เสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

มยุรี กันทะลือ. (2543). ผลการจัดกิจกรรมการอ่านตามแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติเพื่อ

พัฒนาการด้านการอ่านภาษาไทยของเด็กปฐมวัยที่พูดภาษาถิ่น.

ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ.

เยาวภา เดชะคุปต์. (2542). กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เจ้าพระยาระบบการ

พิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : นาน

มีบุ๊คพับลิเคชั่นส์.

รติรัตน์ คล่องแคล่ว (2551) . ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทางภาษาแบบธรรมชาติ

ที่มีต่อทักษะการพูดภาษาไทยของเด็กปฐมวัยไทยอีสาน . ภาคนิพนธ์การศึกษาค้นคว้า

อิสระการศึกษามหาบัณฑิต มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยการศึกษา. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ลัดดาวัลย์ แดงใหญ่. (2546). ความพึงพอใจของนักเรียนนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรม

นักเรียนในวิทยาลัยพณิชยการ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาอาชีวศึกษา

ในเขตกรุงเทพมหานคร.ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิตหาวิทยาลัย

สุโขทัยธรรมาธิราช.

วรรณี โสมประยูร. (2544). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนา

พานิช.

วิลาวัล แสนชนะ (2557) . การพัฒนาการจัดประสบการณ์ตามแนวทางการสอนภาษาแบบ

ธรรมชาติเพื่อส่งเสริมความสามารถทางภาษาด้านการพูดและการเขียนสำหรับนักเรียน

ชั้น อนุบาลปีที่ 2 . ภาคนิพนธ์การศึกษาค้นคว้าอิสระ , การศึกษามหาบัณฑิต มหาสารคาม

: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด.

คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

วารุณี สกุลภารักษ์ และคณะ. (2550). ผลการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบเพลงที่มีต่อ

การพัฒนาร่างกายของเด็กปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สวนดุสิต.

วิชาการ, กรม. (2546). แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตาม

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและ

พัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)

วิภาวี แป้นเรือง. (2546). การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่าน ความสามารถในการ

เขียน และเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่

ได้รับการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษาอังกฤษกับการสอนตามคู่มือครู.ปริญญานิพนธ์

การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร

วิโรฒ.

ศิริรัตน์ ท้องที่ (2553) . ผลการส่งเสริมทักษะการใช้ภาษาไทยสำหรับเด็กปฐมวัยในท้องถิ่นอีสาน

ตามแนวคิดการสอนภาษาแบบธรรมชาติ . ภาคนิพนธ์การศึกษาค้นคว้าอิสระ

การศึกษามหาบัณฑิต มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2548). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (สำหรับเด็ก

อายุ 3-5 ปี). กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

ศุภลักษณ์ สุวรรณศรี. (2548). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการบริการของศูนย์บริการ

ลูกค้าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. ภาคนิพนธ์การบริหารธุรกิจ

มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น, กรม. (2547). แนวการจัดกิจกรรมเตรียมประสบการณ์ตาม

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : ชุมนุม สหกรณ์

การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สมยศ นาวีการ. (2545). พฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ.

สามัญศึกษา, กรม. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไข เพิ่มเติม

(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

สำอาง หิรัญ บูรณะ. (2544). รายงานการวิจัยรูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับผู้มี

ความสามารถพิเศษ ด้านภาษาไทย .กรุงเทพฯ : ศูนย์แห่งชาติเพื่อพัฒนาผู้มี

ความสามารถพิเศษ สกศ.

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2545). แนวคิดสู่การปฏิบัติ : แนวการจัดประสบการณ์ปฐมวัย.

กรุงเทพฯ : ศูนย์การพิมพ์ดวงกมล.

สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. (2545). เอกสารการสอนชุดวิชาสื่อการสอน ระดับ

ปฐมวัยศึกษาหน่วยที่11.กรุงเทพฯ:สาขาวิชาศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุจิตรา สิงหการ. (2547). การเปรียบเทียบความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษและ พฤติกรรม

ด้านความมีระเบียบวินัยของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนแบบมุ่ง

ประสบการณ์ภาษากับการสอนตามคู่มือครู. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต

สาขาวิชาการมัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุรพันธ์ กุศลส่ง. (2543). การเปรียบเทียบความสามารถและทัศนคติในการฟัง-พูด

ภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนตามแนวทฤษฎี

ธรรมชาติ ประกอบด้วยการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์กับการสอนตามคู่มือครู. ปริญญา

นิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ.

เสาวลักษณ์ รัตนวิชช์. (2543). การพัฒนาการสอนภาษาไทยแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา.

ภาควิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อเนก หิรัญสถิตย์. (2548). การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถทางการอ่าน เจตคติต่อการอ่าน

ภาษาอังกฤษ และพฤติกรรมการเรียนรู้อันพึงประสงค์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษากับการสอนแบบเดิม. ปริญญานิพนธ์

การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทาลัยศรีนครินทร

วิโรฒ.

Abell, P.(1991). Model Building in Sociology. New York : Sehoeren

Baloer,H.M. (1969). Theory Conxtrueton,From Vabel to Mathematical

Formulations. Englewood clifts, NJ : Prentice – Hall.

Coombs, C.H. (1992).A theory of Data. New york : John wiley,Spring.

Curtis , R.F. and Jackson, E.F. (1 9 9 2 ) . Multiple Indicators. American Journal of

Sociology : 68.

Eiser, E. (1976). Education Connoisseurship and Criticism : Their From and

Functions in Education Evaluation. Journal of Aesthetic Education.

Fontana, D. (1995). Psychology for Teacher.3rded Hound wills : Mc millan Press Ltd.

Goodman, K.S. (1986).What’s whole in Whole Language. New Hampshire :

Heinemann.

Goodman, Y.M. (1989) Roots of the whole Language Movement. The Elementary

School Journal the university of Chicago. 90 : 113-127.

John, W.S. and Mary, J.S. (1995). LanguageArts in the Earle Childhood Classroom.

United Stale of America : Wadsworth.

Johnson , D.W. Johnson , R.T. (1994). Instructional goal Structure : Cooperative,

competition or Individualistic. Review of Educational Research, 44, 213-240.

Keeves, J.P.(1 9 8 8 ). Education Research, Methodology am Measurement : An

International Handbook. Oxford : Pergarmon.

Kennedy, L.D. (1995). Teaching Elementary Language Arts. New York : Harper

and Row, Publishes.

Petty, W.T. (1985). Experiences in Language. United States of America : Allyn

and Bacon, Inc.

Piaget, J.(1972). The Psychology of Child. New York : Basic Books.

_______. (1990). The Child’s conception of the word. New York : Liltle field Adoma.

Taylor, D. (1983). Family Literacy Young Children Learning to read and write.

Exeter New Hamshire : Heineman Education Books, Inc.

Vyotsky, L.S. (1962). Thought and language. Cambridge, MA : MIT Press.

_______. (1980). Mind in Society : The Development of higher psychological

process. Cambridge : Havard University Press.

Walker,R.F. (1984).The English use a by Entering. Children at Trager Park

School. Australan Curriculum Development Center Occasional Paper 11.

โพสต์โดย ครูกานต์ : [6 ก.พ. 2563 เวลา 08:21 น.]
อ่าน [3100] ไอพี : 118.175.230.54
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 19,029 ครั้ง
เรื่องของกลิ่นปาก
เรื่องของกลิ่นปาก

เปิดอ่าน 15,861 ครั้ง
13 เรื่องจริงของสุนัขที่คุณอาจยังไม่เคยรู้
13 เรื่องจริงของสุนัขที่คุณอาจยังไม่เคยรู้

เปิดอ่าน 25,053 ครั้ง
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือน (ฉบับที่3)
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือน (ฉบับที่3)

เปิดอ่าน 24,974 ครั้ง
ส่งเครื่องมือไปพิสูจน์หลักฐานว่ามนุษย์โลกเป็น ลูกหลานดาวอังคาร
ส่งเครื่องมือไปพิสูจน์หลักฐานว่ามนุษย์โลกเป็น ลูกหลานดาวอังคาร

เปิดอ่าน 8,576 ครั้ง
ภัยผิวที่แฝงมากับฤดูฝน
ภัยผิวที่แฝงมากับฤดูฝน

เปิดอ่าน 24,647 ครั้ง
ไขข้อข้องใจ การบ้านยังจำเป็นสำหรับเด็กยุคใหม่หรือไม่?
ไขข้อข้องใจ การบ้านยังจำเป็นสำหรับเด็กยุคใหม่หรือไม่?

เปิดอ่าน 374,881 ครั้ง
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ (Pavlov)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ (Pavlov)

เปิดอ่าน 14,380 ครั้ง
สตอร์มเสิร์จ (Storm surge) คืออะไร
สตอร์มเสิร์จ (Storm surge) คืออะไร

เปิดอ่าน 18,947 ครั้ง
ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔

เปิดอ่าน 10,589 ครั้ง
ปฏิรูปการศึกษา คือ รากฐานของการปฏิรูปประเทศ โดย รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์
ปฏิรูปการศึกษา คือ รากฐานของการปฏิรูปประเทศ โดย รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์

เปิดอ่าน 29,169 ครั้ง
"หอยนางรม" บำรุง "ตับ-ไต-สุขภาพ-เพศ"
"หอยนางรม" บำรุง "ตับ-ไต-สุขภาพ-เพศ"

เปิดอ่าน 17,092 ครั้ง
กินอาหารจากไมโครเวฟบ่อย ๆ อันตรายไหมนะ?
กินอาหารจากไมโครเวฟบ่อย ๆ อันตรายไหมนะ?

เปิดอ่าน 31,420 ครั้ง
โรคพยาธิตัวจี๊ด
โรคพยาธิตัวจี๊ด

เปิดอ่าน 10,475 ครั้ง
Student Perceptions of Selected Technology Student Association Activit
Student Perceptions of Selected Technology Student Association Activit

เปิดอ่าน 17,648 ครั้ง
พี่น้องร่วมสาบาน
พี่น้องร่วมสาบาน

เปิดอ่าน 26,633 ครั้ง
การเรียนการสอนทางไกลแบบปฏิสัมพันธ์
การเรียนการสอนทางไกลแบบปฏิสัมพันธ์
เปิดอ่าน 28,258 ครั้ง
การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี
การยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี
เปิดอ่าน 24,645 ครั้ง
กินไข่ไก่...อย่างไรให้ได้ประโยชน์
กินไข่ไก่...อย่างไรให้ได้ประโยชน์
เปิดอ่าน 24,486 ครั้ง
เมฆสีรุ้ง
เมฆสีรุ้ง
เปิดอ่าน 16,503 ครั้ง
ฮือฮา พญานาคโผล่รับเครื่องสักการะ หลังพิธีบุญกฐินน้ำ
ฮือฮา พญานาคโผล่รับเครื่องสักการะ หลังพิธีบุญกฐินน้ำ

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ